คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โทษหนักกว่า

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7126/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความบทบัญญัติประมวลกฎหมายอาญามาตรา 336 ทวิ ว่าเป็นบทกำหนดโทษหนักกว่ากึ่งหนึ่ง ไม่ใช่บทเพิ่มโทษ
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 336 ทวิ เป็นบทบัญญัติ ถึงเหตุที่จะทำให้ผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334, 335,335 ทวิ หรือมาตรา 336 ต้องระวางโทษ หนักกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้น ๆ กึ่งหนึ่งเท่านั้น หาใช่เป็นบทบัญญัติเรื่องของการเพิ่มโทษเหมือนเช่นที่ บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 และมาตรา 93 ไม่ การที่ศาลพิพากษากำหนดโทษจำคุกจำเลยและเพิ่มโทษกึ่งหนึ่ง ตามมาตรา 336 ทวิ นั้น จึงไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2763/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานเก็บรังนกอีแอ่นและทำลายรัง โดยใช้กฎหมายฉบับใหม่ที่บัญญัติโทษหนักกว่า
รังนกอีแอ่น ในถ้ำเป็นทรัพย์ไม่มีเจ้าของ แต่บุคคลอาจได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดยเข้ายึดถือเอา การที่บริษัทผู้เสียหายได้รับอนุญาตให้เก็บรังนกอีแอ่น อันเป็นการผูกขาดจากรัฐบาล ผู้เสียหายมีสิทธิเพียงว่าถ้าประสงค์จะเก็บรังนกอีแอ่น ในถ้ำที่ผูกขาดย่อมมีสิทธิที่จะเข้าเก็บเอาได้ไม่ถูกหวงห้ามเสมือนบุคคลผู้ไม่ได้รับอนุญาต แต่จะมีกรรมสิทธิ์ได้ในรังนกอีแอ่น ยังจะต้องมีการเข้ายึดเอาอีกชั้นหนึ่งก่อนเมื่อผู้เสียหายยังมิได้เข้าถือเอารังนกอีแอ่น ตามมาตรา 1318แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ผู้เสียหายจึงมิได้ เป็นเจ้าของในรังนกรายพิพาทการเก็บรังนกอีแอ่น ดังกล่าว ของจำเลยทั้งสามกับพวกจึงไม่มีความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์ ของผู้เสียหาย ขณะเกิดเหตุการกระทำของจำเลยทั้งสามกับพวกเป็นความผิดฐานเข้าหรือขึ้นไปบนเกาะที่นกอีแอ่นทำรัง อยู่ ตามธรรมชาติแต่ระหว่างการพิจารณาคดีของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ได้มีพระราชบัญญัติ อากรรังนกอีแอ่น พ.ศ. 2540 ยกเลิกพระราชบัญญัติอากรรังนกอีแอ่น ฉบับเดิมทั้งหมด โดยไม่มีบทบัญญัติใดระบุการเข้าหรือขึ้นไปบนเกาะที่นกอีแอ่นทำรังอยู่ ตามธรรมชาติ จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้รับอนุญาตเก็บรังนกอีแอ่นหรืออาศัยอำนาจผู้ได้รับอนุญาตหรือเจ้าหน้าที่ของ รัฐบาลตามมาตรา 6 พระราชบัญญัติ ฉบับเดิมและไม่มีบทกำหนดโทษเช่นพระราชบัญญัติฉบับเดิม ถือได้ว่าตามบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง การกระทำเช่นนั้นไม่เป็นความผิดจำเลยทั้งสามจึงพ้นจากการเป็นผู้กระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3965/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงกฎหมายระหว่างการพิจารณาคดีส่งผลต่อการลดโทษจำเลย แม้คดีถึงที่สุดแล้ว
เมื่อคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญํติแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2522 ยกเลิกความใน ม. 91 และให้ใช้ข้อความใหม่แทนว่าให้ศาลลงโทษทุกกรรม แต่เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้วจะต้องไม่เกิน 50 ปี สำหรับกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกิน 10 ปีขึ้นไป ถือได้ว่ากฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด แม้คดีเฉพาะตัวจำเลยที่ 2 ที่ 3จะถึงที่สุดแล้วก็ถือได้ว่าเป็นกรณีที่โทษที่กำหนดตามคำพิพากษาหนักกว่าโทษที่กำหนดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3(1) ต้องนำ มาตรา 91 ที่แก้ไขใหม่ซึ่งเป็นคุณแก่จำเลยมาใช้ คดีนี้ เมื่อ ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืนลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 ที่ 3 คนละ 50 ปี 9 เดือน ศาลฎีกา พิพากษาแก้เป็นจำคุกเพียงคนละ 50 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2843/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเท็จ: การระบุสถานที่เกิดเหตุเท็จและการขอโทษหนักกว่าความผิด ไม่ถือเป็นความผิดฐานฟ้องเท็จ
โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยกระทำผิดฐานฟ้องเท็จ โดยจำเลย ได้ ฟ้องโจทก์ว่ากระทำผิดฐานหมิ่นประมาทแต่ระบุสถานที่เกิดเหตุเป็นเท็จ และอ้างกฎหมายขอให้ลงโทษแรงกว่าที่เป็นจริงดังนี้ เหตุ 2 ประการดังกล่าวมิใช่เนื้อหาแห่งการ กระทำ อันจะเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท แม้จะอ้างกฎหมายขอให้ลงโทษหลายบทรวมกันมา โดยกฎหมายบางบท มีโทษหนักกว่า ความผิด ก็เป็นเรื่องมีคำขอฟุ่มเฟือย เกินเลยไปกรณีจะเป็นความผิดอาญาลงโทษได้ ตามกฎหมายบทใดหรือไม่ ย่อมอยู่ที่การกระทำ ซึ่งบรรยายในฟ้อง ข้ออ้างตามฟ้อง โจทก์ยังถือไม่ได้ว่า จำเลยกระทำผิดฐานฟ้องเท็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1150/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษผู้ร่วมกระทำความผิดปล้นทรัพย์โดยใช้อาวุธปืน: จำเลยที่ใช้ปืนต้องโทษหนักกว่า
ข้อความของบทบัญญัติมาตรา 340 ตรีแห่งประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งเพิ่มเติมโดยข้อ 15 ของประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 นั้นแสดงความมุ่งหมายที่จะลงโทษให้หนักขึ้นเฉพาะตัวผู้ซึ่งต้องด้วยหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้เป็นพิเศษนี้เท่านั้น มิใช่ว่าผู้ที่ร่วมกระทำการชิงทรัพย์หรือปล้นทรัพย์รายเดียวกันจะต้องระวางโทษหนักขึ้นเช่นนี้ทุกคนเสมอไปจำเลยที่ 1 ที่ 3 กับพวกร่วมกันปล้นทรัพย์ ขณะทำการปล้น จำเลยที่ 3 ได้ใช้อาวุธปืนยิงขู่ด้วย จำเลยที่ 3 จึงมีความผิดตามมาตรา 340 ตรี ต้องระวางโทษหนักกว่าโทษตามมาตรา 340 วรรคสี่อีกกึ่งหนึ่ง ส่วนจำเลยที่ 1 นั้นไม่ปรากฏว่าเป็นคนร้ายที่ใช้อาวุธปืนด้วยจึงมีความผิดตามมาตรา 340วรรคสี่เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 341/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมเครื่องหมายการค้าและผลิตยาปลอมเพื่อขาย ถือเป็นความผิดหลายกระทง ศาลลงโทษตามบทที่มีโทษหนักกว่า
ความผิดหลายกระทงต้องกระทำต่างกรรมต่างวาระกันทำยาปลอมเครื่องหมายการค้า เพื่อขาย เป็นความผิดหลายบทตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 236(ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา273) และ พระราชบัญญัติการขายยา พ.ศ.2493 มาตรา 37 วรรคแรกไม่ใช่หลายกระทงศาลลงโทษตามพระราชบัญญัติการขายยา พ.ศ.2493 มาตรา37 ซึ่งโทษหนักกว่ามาตรา236

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 260/2479

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษฐานความผิดหลายกระทง แม้ไม่ได้ระบุในฟ้อง ก็ลงโทษได้หากเป็นความผิดประเภทเดียวกันและโทษหนักกว่า
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยปล้นทรัพย์ทำร้ายร่างกายขอให้ลงโทษ ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยนี้มีผิดฐานชิงทรัพย์ลงโทษได้
ไม่เสนอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 337/2472

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแย่งทรัพย์และการพิจารณาความผิดฐานลักทรัพย์ ชิงทรัพย์ หรือวิ่งราว พิจารณาบทที่มีโทษหนักกว่า
มีพรรคพวกแย่งทรัพย์ของเขาพาหนีไปต่อหน้ามีผิดฐานลักทรัพย์ตาม ม.293 ข้อ 11 วิธีพิจารณาอาญา ความผิดฐานวิ่งราวกับฐานลักทรัพย์เปนประเภทเดียวกัน การกระทำผิดกฎหมายหลายบท ให้ใช้บทที่หนักลงโทษฟ้องว่าชิงพิจารณาได้ความว่าวิ่งราวโดยมีพรรคพวกลงโทษได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5513/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทลงโทษฐานลักทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะ – จำเป็นต้องลงโทษตามมาตราที่หนักกว่า
คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรโดยบรรยายฟ้องว่า ในการร่วมกันลักทรัพย์มีการใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำความผิด หรือพาทรัพย์นั้นไป หรือเพื่อให้พ้นจากการจับกุม ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่ต้องระวางโทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้น ๆ กึ่งหนึ่ง ตาม ป.อ. มาตรา 336 ทวิ เมื่อความผิดฐานลักทรัพย์ดังกล่าวกฎหมายไม่ได้กำหนดอัตราโทษอย่างต่ำไว้ให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปหรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น ซึ่งศาลต้องฟังพยานหลักฐานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจำเลยได้กระทำความผิดจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การรับสารภาพฐานลักทรัพย์ จึงไม่จำต้องสืบพยานโจทก์ประกอบคำรับสารภาพและข้อเท็จจริงย่อมฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันกระทำผิดตามที่โจทก์บรรยายฟ้องมา ดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองคงลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตาม ป.อ. มาตรา 335 โดยมิได้ปรับบทลงโทษ ตาม ป.อ. มาตรา 336 ทวิ จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5969/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขกฎหมายยาเสพติดโทษหลังกระทำความผิดและการกำหนดโทษใหม่ในคดีที่ถึงที่สุดแล้ว
แม้เมทแอมเฟตามีนที่จำเลยที่ 1 มีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ 16.833 กรัม ซึ่งความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายในส่วนของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวต้องด้วยบทกำหนดโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 66 วรรคสอง ที่แก้ไขใหม่ ซึ่งมีระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่สี่แสนบาทถึงห้าล้านบาท อันเป็นคุณแก่จำเลยที่ 1 มากกว่ากฎหมายเดิม ส่วนการกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองฐานร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน 400 เม็ด นั้น ไม่ปรากฏว่ามีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เท่าใด กรณีต้องด้วยบทกำหนดโทษตามมาตรา 66 วรรคหนึ่ง ที่แก้ไขใหม่ ซึ่งมีระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงสิบห้าปี หรือปรับตั้งแต่แปดหมื่นบาทถึงสามแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ อันเป็นคุณแก่จำเลยที่ 1 มากกว่ากฎหมายเดิมเช่นกันก็ตาม แต่การจะนำโทษตามกฎหมายที่ใช้ภายหลังกระทำความผิดมากำหนดโทษใหม่ในคดีที่ถึงที่สุดแล้วนั้น จะต้องปรากฏว่าโทษที่กำหนดตามคำพิพากษาหนักกว่าโทษที่กำหนดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำคุก 50 ปี และฐานร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน จำคุก 10 ปี แล้วลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 25 ปี และ 5 ปี ตามลำดับ การกำหนดโทษตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นในความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวจึงอยู่ในระวางโทษตามบทบัญญัติกฎหมายที่แก้ไขใหม่ จึงถือไม่ได้ว่าโทษที่กำหนดตามคำพิพากษาหนักกว่าโทษที่กำหนดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง กรณีไม่เข้าอยู่ในเกณฑ์ ป.อ. มาตรา 3 (1) ที่ศาลจะรื้อฟื้นกำหนดโทษใหม่ให้จำเลยที่ 1 ได้