พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6632/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดโทษทางอาญา: ลดโทษรายกระทงก่อนแล้วค่อยรวมโทษ เพื่อหลีกเลี่ยงการเพิ่มโทษโดยไม่สมเหตุผล
ฎีกาของจำเลยที่ว่าเมทแอมเฟตามีนของกลางที่จำเลยมีไว้ในครอบครองมีเพียง 2 เม็ด จำเลยมิได้นำมาไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายนั้น เป็นฎีกาที่ขัดกับคำให้การรับสารภาพของจำเลยจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสองศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ศาลล่างทั้งสองรวมโทษจำคุกจำเลยทั้งสองกระทงก่อนแล้วจึงลดโทษนั้นไม่ถูกต้อง เพราะหากลดโทษให้แต่ละกระทงก่อนจะเหลือโทษจำคุกกระทงละ 2 ปี 6 เดือน เมื่อรวมโทษทั้งสองกระทงเข้าด้วยกันแล้วนำโทษจำคุกเฉพาะ 6 เดือน มารวมกันเป็น 1 ปีย่อมจะทำให้จำเลยต้องรับโทษหนักขึ้น เนื่องจากโทษจำคุก 12 เดือนคำนวณได้ 360 วัน แต่โทษจำคุก 1 ปี จะมีถึง 365 วันหรือ 366 วันแล้วแต่กรณี ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 21 วรรคสองปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้
ศาลล่างทั้งสองรวมโทษจำคุกจำเลยทั้งสองกระทงก่อนแล้วจึงลดโทษนั้นไม่ถูกต้อง เพราะหากลดโทษให้แต่ละกระทงก่อนจะเหลือโทษจำคุกกระทงละ 2 ปี 6 เดือน เมื่อรวมโทษทั้งสองกระทงเข้าด้วยกันแล้วนำโทษจำคุกเฉพาะ 6 เดือน มารวมกันเป็น 1 ปีย่อมจะทำให้จำเลยต้องรับโทษหนักขึ้น เนื่องจากโทษจำคุก 12 เดือนคำนวณได้ 360 วัน แต่โทษจำคุก 1 ปี จะมีถึง 365 วันหรือ 366 วันแล้วแต่กรณี ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 21 วรรคสองปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8102/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทลงโทษในคดีพยายามลักทรัพย์: ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขได้ แต่จำกัดด้วยการที่โจทก์มิได้อุทธรณ์/ฎีกาขอโทษหนักขึ้น
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 335,336 ทวิ,80 เมื่อจำเลยรับสารภาพ จึงต้องฟังว่าจำเลยได้กระทำผิดตามฟ้องซึ่งต้องปรับบทลงโทษตามมาตรา 336 ทวิ และต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท แต่ศาลชั้นต้นไม่ได้ปรับบทลงโทษตามมาตรา 336 ทวิและวางโทษจำคุก 8 เดือน แล้วลดโทษให้กึ่งหนึ่งคงจำคุก 4 เดือนต่ำกว่าอัตราโทษขั้นต่ำของมาตรา 335(1)(8) วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 80,336 ทวิ จึงเป็นการไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจปรับบทลงโทษให้ถูกต้องได้ แต่เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์หรือฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยเพิ่มขึ้นศาลฎีกาไม่อาจแก้ไขโทษที่ลงแก่จำเลยได้ เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 212ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2871/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปล้นทรัพย์โดยมีอาวุธและใช้ยานพาหนะ: การพิจารณาโทษหนักขึ้นตาม ป.อ. มาตรา 340 ตรี
จำเลยร่วมกับพวกอีก 3 คน ปล้นทรัพย์ผู้เสียหายโดยคนร้ายซึ่งเป็นพวกของจำเลยคนหนึ่งมีอาวุธปืนติดตัวไปด้วยและใช้อาวุธปืน ดังนี้ จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 340 วรรคสอง เท่านั้น ศาลจะนำ ป.อ. มาตรา340 ตรี มาประกอบการลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 340 วรรคสอง เพื่อให้ต้องรับโทษหนักขึ้นหาได้ไม่ เพราะจำเลยไม่ได้เป็นผู้มีหรือใช้อาวุธปืนเพื่อกระทำผิดแต่อย่างใด
ขณะที่จำเลยกับพวกมาทำการปล้นทรัพย์ จำเลยกับพวกไม่มียานพาหนะมา รถยนต์กระบะที่จำเลยขับไปในขณะที่ปล้นทรัพย์นั้นเป็นรถของผู้เสียหายเอง โดยผู้เสียหายนั่งไปด้วย จำเลยเป็นคนร้ายที่ใช้มีดปลายแหลมของกลางบังคับผู้เสียหายและขึ้นขับรถของผู้เสียหายไป ระหว่างที่จำเลยขับรถไป พวกจำเลยก็บังคับผู้เสียหายให้ปลดทรัพย์ให้ การที่จำเลยขับรถไปเป็นการขับไปตามสภาพของทรัพย์นั้นเองถือไม่ได้ว่าเป็นการปล้นทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะเพื่อกระทำผิดหรือเพื่อให้พ้นการจับกุมอันเป็นเหตุให้รับโทษหนักขึ้นตาม ป.อ. มาตรา 340 ตรี
ขณะที่จำเลยกับพวกมาทำการปล้นทรัพย์ จำเลยกับพวกไม่มียานพาหนะมา รถยนต์กระบะที่จำเลยขับไปในขณะที่ปล้นทรัพย์นั้นเป็นรถของผู้เสียหายเอง โดยผู้เสียหายนั่งไปด้วย จำเลยเป็นคนร้ายที่ใช้มีดปลายแหลมของกลางบังคับผู้เสียหายและขึ้นขับรถของผู้เสียหายไป ระหว่างที่จำเลยขับรถไป พวกจำเลยก็บังคับผู้เสียหายให้ปลดทรัพย์ให้ การที่จำเลยขับรถไปเป็นการขับไปตามสภาพของทรัพย์นั้นเองถือไม่ได้ว่าเป็นการปล้นทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะเพื่อกระทำผิดหรือเพื่อให้พ้นการจับกุมอันเป็นเหตุให้รับโทษหนักขึ้นตาม ป.อ. มาตรา 340 ตรี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1884/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามหรือไม่เมื่อศาลอุทธรณ์แก้ไขโทษหนักขึ้น และดุลพินิจไม่รอการลงโทษในคดีป่าไม้
การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลย 6 เดือน ไม่รอการลงโทษ และไม่ปรับนั้นเป็นการแก้ไขมากและเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย ไม่ ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2993/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข่มขืนกระทำชำเราผู้สืบสันดาน แม้ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ก็มีโทษหนักขึ้นได้ และการนับอายุผู้เสียหายเป็นข้อเท็จจริง
แม้โจทก์จะต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 ก็ตาม แต่ฎีกาของโจทก์ที่ว่าศาลอุทธรณ์นับอายุของผู้เสียหายคลาดเคลื่อน เป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงผิดจากพยานหลักฐานในสำนวน ไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณานั้น เป็นข้อกฎหมายจึงไม่ต้องห้ามฎีกา
การข่มขืนกระทำชำเราผู้สืบสันดานอันจะต้องรับโทษหนักขึ้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 285 นั้น หมายถึงการกระทำแก่ผู้สืบสันดานในทางสืบสายโลหิตโดยแท้จริง เพราะบทกฎหมายมาตรานี้ไม่ได้มุ่งลงโทษหนักขึ้นเฉพาะการกระทำแก่บุตรชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น จึงใช้คำว่า 'กระทำแก่ผู้สืบสันดาน' ดังนั้น การที่จำเลยข่มขืนกระทำชำเราผู้สืบสายโลหิตโดยตรงลงมา แม้ผู้นั้นจะมิใช่เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของจำเลยก็ตาม ก็ถือได้ว่าจำเลยได้กระทำต่อผู้สืบสันดานตามความหมายของ มาตรา 285 นี้แล้ว.
การข่มขืนกระทำชำเราผู้สืบสันดานอันจะต้องรับโทษหนักขึ้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 285 นั้น หมายถึงการกระทำแก่ผู้สืบสันดานในทางสืบสายโลหิตโดยแท้จริง เพราะบทกฎหมายมาตรานี้ไม่ได้มุ่งลงโทษหนักขึ้นเฉพาะการกระทำแก่บุตรชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น จึงใช้คำว่า 'กระทำแก่ผู้สืบสันดาน' ดังนั้น การที่จำเลยข่มขืนกระทำชำเราผู้สืบสายโลหิตโดยตรงลงมา แม้ผู้นั้นจะมิใช่เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของจำเลยก็ตาม ก็ถือได้ว่าจำเลยได้กระทำต่อผู้สืบสันดานตามความหมายของ มาตรา 285 นี้แล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2470/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำเลยข้าราชการตำรวจในความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ต้องลงโทษตามบทบัญญัติที่ทำให้รับโทษหนักขึ้น มิใช่เพิ่มโทษ
การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษมาตรา 66 ประกอบมาตรา 100 ซึ่งต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น การที่ศาลชั้นต้น กำหนดโทษที่จะลงแก่จำเลยก่อน แล้วจึงระวางโทษเป็นสามเท่า ของโทษที่ศาลกำหนดนั้นเท่ากับเป็นการเพิ่มโทษแก่จำเลย เป็นสามเท่าของโทษที่ศาลกำหนดหาใช่ลงโทษจำเลยในระวาง สามเท่าของโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2470/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำเลยข้าราชการตำรวจในความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดต้องเป็นไปตามบทบัญญัติที่ทำให้รับโทษหนักขึ้น ไม่ใช่เพิ่มโทษ
การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษมาตรา 66 ประกอบมาตรา 100 ซึ่งต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น การที่ศาลชั้นต้น กำหนดโทษที่จะลงแก่จำเลยก่อน แล้วจึงระวางโทษเป็นสามเท่า ของโทษที่ศาลกำหนดนั้นเท่ากับเป็นการเพิ่มโทษแก่จำเลย เป็นสามเท่าของโทษที่ศาลกำหนดหาใช่ลงโทษจำเลยในระวาง สามเท่าของโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 453/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษตามมาตรา 340 ตรี มิใช่ความผิดเพิ่ม แต่เป็นเหตุให้โทษหนักขึ้น การลงโทษประหารชีวิตแล้ว ไม่สามารถปรับโทษตามมาตรานี้ได้
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา340 ตรี เป็นเพียงเหตุที่ทำให้ผู้กระทำความผิดตามมาตราที่ระบุไว้ได้รับโทษหนักขึ้นเท่านั้น หาได้เป็นความผิดต่างหากอีกบทหนึ่งไม่ และไม่ใช่เรื่องของการเพิ่มโทษดังนั้นเมื่อลงโทษให้ประหารชีวิตแล้วก็ไม่มีทางที่จะระวางโทษหนักกว่าหรือหนักขึ้นกึ่งหนึ่งตามที่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรี บัญญัติไว้ได้ จึงนำ มาตรา 340 ตรี นี้มาปรับด้วยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 316/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปล้นทรัพย์ด้วยยานพาหนะที่ปล้นมา ไม่ถือเป็นเหตุให้โทษหนักขึ้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรี
ขณะจำเลยมาทำการปล้นทรัพย์จำเลยไม่มียานพาหนะมาเมื่อจำเลยปล้นเงินและรถยนต์สามล้อของผู้เสียหายได้แล้วจำเลยก็ขับรถยนต์คันที่ปล้นได้หลบหนีไป ดังนี้ เป็นการเอาทรัพย์ที่ปล้นได้หลบหนีไปตามสภาพของทรัพย์นั้นเอง ถือไม่ได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นการปล้นโดยใช้ยานพาหนะเพื่อพาทรัพย์นั้นไปหรือเพื่อให้พ้นจากการจับกุมอันเป็นเหตุให้โทษหนักขึ้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1098/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์: 'สิ่งที่ใช้บรรจุทรัพย์' ตาม ม.293(5) ต้องเป็นสิ่งมั่นคง ยากต่อการเคลื่อนย้าย เช่น ตู้ หรือกำปั่น
การลักสิ่งที่ใช้บรรจุทรัพย์อันเป็นเหตุฉกรรจ์อย่างหนึ่งซึ่งจะทำให้โทษหนักขึ้นตาม กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 293(5) นั้น ต้องเป็นสิ่งที่ใช้บรรจุทรัพย์เพื่อเก็บรักษาไว้อย่างมั่นคงตามปกติย่อมยากแก่การที่จะพาไป เช่น ตู้หรือกำปั่นเหล็ก เพียงแต่เป็นกระเป๋าเดินทางหรือกระเป๋าเสื่อ หาได้อยู่ในความหมายแห่งข้อนี้ไม่