พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3860/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทลงโทษตามกฎหมายยาเสพติดใหม่ แม้กระทำผิดก่อนประกาศใช้กฎหมายใหม่ ศาลต้องใช้กฎหมายที่เบากว่า
ขณะจำเลยกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีน ซึ่งเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ 1.507 กรัม เกินกว่าปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดไว้ ตาม พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 6(7ทวิ) ต้องรับโทษตาม มาตรา 106 ทวิ ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปีและปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท ต่อมาเมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขระบุให้เมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 เท่านั้น จึงมีผลให้การมีเมทแอมเฟตามีนคำนวณเป็น สารบริสุทธิ์เพียง 1.507 กรัม ไม่ถึง20 กรัม เป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522มาตรา 67 ซึ่งระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท ไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 อีกต่อไปเมื่อ พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 67 ระวางโทษเบากว่าระวางโทษตาม พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ. 2518 มาตรา 106 ทวิ ซึ่งใช้อยู่ในขณะจำเลยกระทำความผิดจึงเป็นกฎหมายส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลย ต้องปรับบทลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 67 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 739/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทลงโทษในความผิดพรากผู้เยาว์ แม้ฟ้องตามมาตราอื่น หากพยานหลักฐานฟังได้ว่าเข้าข่ายความผิดอื่นที่มีโทษเบากว่า
การพรากผู้เยาว์กฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิด ไม่ว่าผู้เยาว์จะเต็มใจไปด้วยหรือไม่ แม้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา318 แต่ทางพิจารณาฟังได้ว่าจำเลยกระทำผิดตาม ป.อ. มาตรา 319ศาลย่อมปรับบทลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 319 ซึ่งมีโทษเบากว่าได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทลงโทษตามกฎหมายใหม่ที่มีโทษเบากว่าหลังกระทำผิด โดยอาศัยหลักกฎหมายที่ให้ใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลย
เมื่อตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ภายหลังการกระทำผิด ข้อ 14 ในส่วนที่เกี่ยวกับประมวลกฎหมายอาญามาตรา 340 วรรค 4 ได้แก้ไขใหม่ให้ผู้กระทำผิดต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี ซึ่งมีระวางโทษเบากว่าระวางโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 340 วรรค 4 เดิม ซึ่งมีระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือจำคุกยี่สิบปี ในการลงโทษจำเลยสำหรับความผิดตามวรรคนี้จึงต้องปรับบทลงโทษจำเลยตาม มาตรา 340 วรรค 4 ที่แก้ไขใหม่ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 3ซึ่งบัญญัติให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1019-1021/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้กฎหมายอาญาที่เป็นคุณแก่จำเลย: เลือกใช้บทลงโทษที่เบากว่า แม้กฎหมายเดิมมีโทษขั้นต่ำ
จำเลยปลอมหนังสือในหน้าที่ตน มีความผิดตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 229 มีอัตราโทษอย่างต่ำให้จำคุกตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ขณะกระทำผิด แต่เมื่อประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 ให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิด จึงต้องใช้มาตรา 161 แห่งประมวลกฎหมายอาญาเป็นบทลงโทษ และในบทความผิดที่จะใช้แก่จำเลยนี้ ไม่มีอัตราโทษจำคุกอย่างต่ำไว้ เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ ศาลก็ลงโทษจำเลยได้โดยไม่ต้องฟังพยานโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 175/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลาง: ใช้กฎหมายในขณะกระทำผิดหากมีโทษเบากว่า ตามหลัก ก.ม.ลักษณะอาญา มาตรา 8
การริบทรัพย์เป็นโทษทางอาญาอย่างหนึ่ง ถ้ากฎหมายที่ใช้ในขณะที่จำเลยกระทำผิดให้อยู่ในดุลยพินิจของศาล จะริบหรือไม่ริบก็ได้ แต่กฎหมายที่ใช้ในขณะพิจารณาคดีบัญญัติว่าต้องริบ เช่นนี้ต้องใช้กฎหมายในขณะจำเลยกระทำผิด คือศาลจะไม่ริบก็ได้ ตาม ก.ม.ลักษณะอาญา มาตรา 8.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 650/2490
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษความผิดเดิมภายใต้กฎหมายใหม่: การใช้มาตรา 8 อาญาเพื่อลงโทษตามกฎหมายที่โทษเบากว่า
ขึ้นค่าเช่าเคหะอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติ 2486 นั้นแม้ใช้พระราชบัญญัติ 2489 แล้ว ก็ลงโทษได้ตามพระราชบัญญัติ 2486ซึ่งมีโทษเบากว่าได้ โดยกรณีต้องด้วยกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 8