พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1770/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำโทษจำคุกที่รอการลงโทษมาบวกกับโทษใหม่ ต้องมีหลักฐานชัดเจนว่าจำเลยยอมรับการเคยต้องโทษในคดีก่อน
การที่จะนำโทษจำคุกที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนมาบวกเข้ากับโทษจำคุกของจำเลยที่ศาลพิพากษาในคดีหลังตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58 นั้น ไม่ว่าจะเป็นกรณีที่ความปรากฏแก่ศาลเองหรือความปรากฏตามคำแถลงของโจทก์หรือเจ้าพนักงานก็ตาม จะต้องปรากฏข้อเท็จจริงเป็นยุติว่า จำเลยยอมรับหรือไม่คัดค้านในข้อที่เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีก่อนให้ลงโทษจำคุกและโทษจำคุกนั้นศาลให้รอการลงโทษไว้เสียก่อน ศาลจึงจะนำโทษจำคุกที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนมาบวกเข้ากับโทษจำคุกในคดีหลังได้ เมื่อจำเลยที่ 1 ให้การว่าขอให้การรับสารภาพตามฟ้องทุกประการ อันเป็นเพียงการยอมรับว่ากระทำความผิดตามคำฟ้องเท่านั้นมิได้เป็นการยอมรับว่าเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีก่อนที่โจทก์อ้างมาในคำฟ้อง ทั้งโจทก์ไม่สืบพยานให้ปรากฏความในเรื่องนี้ จึงไม่อาจฟังเป็นยุติว่าจำเลยที่ 1 เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกและโทษจำคุกนั้นศาลรอการลงโทษไว้ ที่ศาลล่างทั้งสองนำโทษจำคุกที่รอการลงโทษไว้มาบวกเข้ากับโทษของจำเลยที่ 1 ในคดีนี้จึงไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขได้เองแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1150/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขบทบัญญัติกฎหมายอาญาเกี่ยวกับโทษจำคุก และการพิจารณาโทษแก่จำเลยตามกฎหมายใหม่
เมื่อคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา มี พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2526 ยกเลิกมาตรา 91 ให้ใช้ข้อความใหม่แทนว่า ให้ศาลลงโทษผู้กระทำ ความผิด ทุกกระทงความผิด แต่ต้องไม่เกิน 50 ปีสำหรับกรณี ความผิดกระทง ที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกิน 10 ปีขึ้นไป เว้นแต่กรณี ศาลลงโทษจำคุกตลอดชีวิต อันเป็น กฎหมายที่ใช้ภายหลังการกระทำ ความผิดที่ แตกต่างกับกฎหมาย ที่ใช้ในขณะกระทำความผิด และเป็น คุณแก่ จำเลยทุกคน ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 2 ที่มิได้ฎีกาด้วย เมื่อศาลล่างพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 ที่ 3 คนละ 51 ปี ศาลฎีกาพิพากษาแก้เป็นให้ จำคุกคนละ 50 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 39/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โทษจำคุกรอลงอาญาและผลกระทบหลังพ.ร.บ.ล้างมลทินฯ: การนำโทษเดิมมารวมกับโทษใหม่
ศาลพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยแต่ให้รอลงอาญาไว้ก่อนใช้ พ.ร.บ.ล้างมลทินฯ พ.ศ. 2499 ต่อมาภายหลังเมื่อใช้ พ.ร.บ.ล้างมลทินฯแล้วจำเลยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุกในคดีใหม่ ย่อมนำเอาโทษจำคุกที่รอการลงอาญาไว้ในคดีก่อนมาบวกกับโทษในคดีใหม่นี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1063/2472
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษใหม่และการหักเวลาโทษในคดีหนีออกจากเขตที่กำหนด
หนีจากเขตต์ที่กำหนด วิธีพิจารณาอาญา วิธีนับโทษใหม่ พ.ร.บ.ดัดสันดาร หักเวลาที่ถูกโทษใหม่กับโทษเนรเทศ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8472/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดโทษใหม่ตามกฎหมายยาเสพติดที่แก้ไข ศาลไม่อาจปรับโทษเดิมเมื่อคดีถึงที่สุดหลังกฎหมายใหม่มีผลบังคับใช้
พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2545 และคดีของจำเลยที่ 1 ถึงที่สุดเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2551 โดยศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 9 และศาลฎีกาพิพากษาหลังจาก พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 ใช้บังคับแล้ว และได้ปรับบทลงโทษและกำหนดโทษตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่แล้ว กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับตาม ป.อ. มาตรา 3 (1) ที่ศาลจะกำหนดโทษจำเลยที่ 1 ใหม่ได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6923/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรอการลงโทษและการนำโทษเดิมมาบวกกับโทษใหม่ แม้จะมีการล้างมลทินตาม พ.ร.บ. ล้างมลทิน
ตาม พ.ร.บ. ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษาฯ ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4 ว่า "ให้ล้างมลทินแก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีความผิดต่างๆ ซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2550 และได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่ พ.ร.บ. นี้ใช้บังคับ โดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในกรณีควมผิดนั้นๆ" นั้น หมายความว่าผู้ที่จะได้รับประโยชน์ตาม พ.ร.บ. นี้ ต้องเป็นผู้ที่ได้กระทำความผิดก่อนหรือในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 โดยได้รับโทษและพ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 ซึ่งเป็นวันที่ พ.ร.บ. นี้มีผลใช้บังคับ แต่สำหรับคดีก่อนทั้งสามคดีของจำเลย แม้จะได้กระทำผิดก่อนวันที่ 5 ธันวาคม 2550 ก็ตาม แต่ศาลก็ให้รอการลงโทษไว้ จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้รับโทษและพ้นโทษไปแล้ว กรณีของจำเลยไม่เข้าหลักเกณฑ์อันเป็นองค์ประกอบที่จะได้รับประโยชน์ตาม พ.ร.บ. ดังกล่าว ดังนั้น เมื่อจำเลยได้มากระทำผิดในคดีนี้ภายในกำหนดเวลาที่ศาลให้รอการลงโทษไว้ จึงต้องนำโทษในคดีก่อนทั้งสามคดีมาบวกกับโทษในคดีนี้ตาม ป.อ. มาตรา 58
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2610/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดโทษใหม่ตามกฎหมายยาเสพติดที่แก้ไข และการเพิ่มโทษฐานไม่เข็ดหลาบ
คำว่า "กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิด หรือกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด" ตาม ป.อ. มาตรา 3 นั้น หมายถึงกฎหมายที่บัญญัติถึงการกระทำอันเป็นความผิดหรือบัญญัติถึงโทษ หรือโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิด ซึ่งในคดีนี้ได้แก่บทความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีนกับฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และบทกฎหมายให้เพิ่มโทษแก่ผู้กระทำความผิด หากมีการแก้ไขบทกฎหมายดังกล่าวในทางที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิด และมีผลให้จำเลยได้รับโทษน้อยลง ศาลก็มีอำนาจแก้ไขโทษที่จะลงแก่จำเลยได้ภายในเงื่อนไขของมาตรา 3 (1) ในความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีน กับฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ศาลชั้นต้นวางโทษจำคุก 8 เดือน กับจำคุก 10 ปี และปรับ 700,000 บาท ตามลำดับ เมื่อโทษที่กำหนดในภายหลังสำหรับความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีน ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง, 157/1 วรรคสอง ประกอบ ป.ยาเสพติด มาตรา 162 ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี 4 เดือน หรือปรับไม่เกิน 26,666.66 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และเมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย เป็นความผิดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังตาม ป.ยาเสพติด มาตรา 90, 145 วรรคหนึ่ง มีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 15 ปี และปรับไม่เกิน 1,500,000 บาท ดังนั้น โทษที่กำหนดตามคำพิพากษาจึงไม่หนักกว่าโทษที่กำหนดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง ความผิดทั้งสองฐานจึงไม่อยู่ในบังคับตาม ป.อ. มาตรา 3 (1) ที่ศาลจะกำหนดโทษจำเลยใหม่ได้
สำหรับประเด็นเรื่องการเพิ่มโทษกึ่งหนึ่งตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 97 ถูกยกเลิกไปโดย พ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 มาตรา 4 ส่วน ป. ยาเสพติด ซึ่งเป็นกฎหมายใหม่ก็ไม่มีบทบัญญัติให้เพิ่มโทษได้ แม้กฎหมายเฉพาะเกี่ยวกับยาเสพติดซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะมิได้บัญญัติเรื่องการเพิ่มโทษไว้ แต่ก็มิได้หมายความว่าศาลไม่อาจเพิ่มโทษตามบทบัญญัติที่ใช้แก่ความผิดทั่วไปตาม ป.อ. เมื่อจำเลยกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษอีกโดยไม่เข็ดหลาบ และโจทก์มีคำขอให้เพิ่มโทษตามกฎหมายเดิมไว้แล้ว ย่อมถือได้ว่าโจทก์มีความประสงค์จะขอเพิ่มโทษฐานไม่เข็ดหลาบและได้กล่าวในฟ้องแล้ว ศาลย่อมมีอำนาจเพิ่มโทษจำเลยหนึ่งในสาม ตาม ป.อ. มาตรา 92 ที่เป็นบททั่วไปได้ และถือว่าการเพิ่มโทษเป็นส่วนหนึ่งของโทษตามคำพิพากษา ที่ศาลชั้นต้นกำหนดโทษให้แก่จำเลยใหม่จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว หาใช่เป็นการแก้ไขคำพิพากษาอันถึงที่สุดอันเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 190 ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 มาตรา 3 ไม่
สำหรับประเด็นเรื่องการเพิ่มโทษกึ่งหนึ่งตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 97 ถูกยกเลิกไปโดย พ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 มาตรา 4 ส่วน ป. ยาเสพติด ซึ่งเป็นกฎหมายใหม่ก็ไม่มีบทบัญญัติให้เพิ่มโทษได้ แม้กฎหมายเฉพาะเกี่ยวกับยาเสพติดซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะมิได้บัญญัติเรื่องการเพิ่มโทษไว้ แต่ก็มิได้หมายความว่าศาลไม่อาจเพิ่มโทษตามบทบัญญัติที่ใช้แก่ความผิดทั่วไปตาม ป.อ. เมื่อจำเลยกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษอีกโดยไม่เข็ดหลาบ และโจทก์มีคำขอให้เพิ่มโทษตามกฎหมายเดิมไว้แล้ว ย่อมถือได้ว่าโจทก์มีความประสงค์จะขอเพิ่มโทษฐานไม่เข็ดหลาบและได้กล่าวในฟ้องแล้ว ศาลย่อมมีอำนาจเพิ่มโทษจำเลยหนึ่งในสาม ตาม ป.อ. มาตรา 92 ที่เป็นบททั่วไปได้ และถือว่าการเพิ่มโทษเป็นส่วนหนึ่งของโทษตามคำพิพากษา ที่ศาลชั้นต้นกำหนดโทษให้แก่จำเลยใหม่จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว หาใช่เป็นการแก้ไขคำพิพากษาอันถึงที่สุดอันเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 190 ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 มาตรา 3 ไม่