คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โรงงาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 92 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8309/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากการประกอบกิจการโรงงานสร้างความเดือดร้อน – สิทธิในการเยียวยาและบังคับตามคำพิพากษา
จำเลยทั้งสองประกอบกิจการโรงงานส่งเสียงดังและมีการพ่นสีส่งกลิ่นเหม็นเป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายแก่อนามัยและเดือดร้อนรำคาญอันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสอง จึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ทั้งสองตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 นอกจากนี้โจทก์ทั้งสองมีสิทธิจะปฏิบัติการเพื่อยังความเสียหายหรือเดือดร้อนรำคาญให้สิ้นไป โดยไม่ลบล้างสิทธิที่จะเรียกเอาค่าทดแทนตามมาตรา 1337 อีกด้วย แต่จำเลยทั้งสองเป็นเจ้าของโรงงานย่อมมีสิทธิที่จะใช้สอยโรงงานอันเป็นทรัพย์สินของตนได้ เพียงแต่ต้องอยู่ภายในบังคับแห่งกฎหมาย ไม่ละเมิดสิทธิของบุคคลอื่น หากจำเลยทั้งสองมิได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลที่ห้ามมิให้จำเลยทั้งสองกระทำการใดๆ ที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเดือนร้อนรำคาญแก่โจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองชอบที่จะขอให้บังคับคดีได้ ซึ่งย่อมทำให้ความเสียหายหรือเดือดร้อนรำคาญระงับสิ้นลง การตั้งโรงงานของจำเลยแม้จะเป็นการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.โรงงานฯ แต่เป็นการกระทำผิดต่อรัฐ พนักงานเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีอำนาจหน้าที่กำกับและดูแลจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีสิทธิขอให้จำเลยทั้งสองย้ายโรงงานไปอยู่ที่อื่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6158-6220/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างพนักงานเนื่องจากสิ้นสุดสัญญาเช่าโรงงานและเลิกกิจการ มิใช่การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งหมดเนื่องจากสัญญาเช่าโรงงานสุราบางยี่ขันระหว่างจำเลยกับกรมโรงงานอุตสาหกรรมสิ้นสุดลง เป็นเหตุให้ใบอนุญาตการผลิตและจำหน่ายสุราของจำเลยสิ้นสุดไปด้วย จำเลยไม่สามารถประกอบธุรกิจต่อไปได้ จึงต้องเลิกกิจการและส่งมอบโรงงานคืนแก่กรมโรงงานอุตสาหกรรม การเลิกจ้างครั้งนี้เป็นการเลิกจ้างพนักงานของจำเลยทุกคน ไม่เป็นการเลือกปฏิบัติหรือมีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์ทั้งหมด จึงเป็นการเลิกจ้างโดยมีเหตุอันสมควร ไม่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 486/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกอบกิจการโรงงานต้องได้รับอนุญาตและแจ้งก่อนเริ่มดำเนินการ การรื้อถอนเพื่อระงับเหตุไม่ถือเป็นทำให้เสียทรัพย์
การตั้งโรงงานหรือประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 3 ผู้ประกอบกิจการโรงงานจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตและต้องได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาตเสียก่อน เมื่อได้รับใบอนุญาตดังกล่าวแล้ว หากประสงค์จะเริ่มประกอบกิจการต้องแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบอีกครั้งหนึ่งตาม พ.ร.บ. โรงงาน ฯ มาตรา 12 และ 13 ดังนั้น โจทก์ทั้งสองจะถือเอาวันที่หัวหน้าฝ่ายโรงงานสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดออกใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานให้ เป็นวันเริ่มประกอบกิจการโรงงานโดยชอบด้วยกฎหมายหาได้ไม่
แม้จะมีคำสั่งกระทรวงอุตสาหกรรมแต่งตั้งจำเลยที่ 1 ซึ่งดำรงตำแหน่งนายอำเภอให้มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติการตาม พ.ร.บ. โรงงาน ฯ แต่ก็เป็นอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบโรงงานหรือเครื่องจักรเพื่อปฏิบัติตามกฎหมายเท่านั้น จำเลยที่ 1 ไม่มีหน้าที่ต้องสอบถามไปยังสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดว่าโรงงานของโจทก์ทั้งสองได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการโรงงานแล้วหรือไม่ แต่เป็นหน้าที่ของโจทก์ทั้งสองในฐานะผู้ประกอบกิจการโรงงานที่จะต้องแสดงหลักฐานต่อจำเลยที่ 1 ให้ปรากฏชัดว่าได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานแล้วตาม พ.ร.บ. โรงงาน ฯ มาตรา 23
เมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ. โรงงาน ฯ และจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาจำเลยที่ 1 เข้าไปตรวจสภาพโรงงานและยึดเครื่องจักรอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการโรงงานโดยมีเจตนาเพียงระงับเหตุร้ายและความวุ่นวายของผู้ชุมนุมประท้วงมิให้ลุกลามไป แม้จำเลยทั้งสามจะได้สั่งให้รื้อถอนเครื่องจักรกับอุปกรณ์ในที่เกิดเหตุและทำให้อุปกรณ์เสียหาย ก็ด้วยประสงค์จะระงับการประกอบกิจการและยึดเครื่องจักรกับอุปกรณ์ซึ่งติดตั้งที่พื้นดินซึ่งต้องรื้อถอนไปตามอำนาจหน้าที่ การรื้อสิ่งของที่ติดอยู่กับพื้นดินย่อมทำให้เกิดความชำรุดเสียหายบ้าง ก็เป็นผลธรรมดาของการรื้อถอนที่ต้องเกิดขึ้น สภาพความชำรุดเสียหายมิใช่เกิดขึ้นเพราะกระทำโดยเจตนาให้เสียทรัพย์ การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 486/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งโรงงานต้องได้รับอนุญาตก่อน และการรื้อถอนเครื่องจักรเพื่อระงับเหตุชุมนุมไม่ถือเป็นทำให้เสียทรัพย์
พระราชบัญญัติโรงงานฯ มาตรา 12 และ 13 กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 3 ต้องได้รับอนุญาตจากผู้อนุญาต โดยห้ามมิให้ตั้งโรงงานก่อนได้รับใบอนุญาตและหากได้รับใบอนุญาตแล้วถ้าประสงค์จะเริ่มประกอบกิจการโรงงานส่วนหนึ่งส่วนใดต้องแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบไม่น้อยกว่า 15 วัน ก่อนเริ่มประกอบกิจการ ดังนั้นวันที่ออกใบอนุญาตให้ประกอบกิจการโรงงานจึงมิใช่วันเริ่มประกอบกิจการดังกล่าว
แม้กระทรวงอุตสาหกรรมจะแต่งตั้งจำเลยที่ 1 ให้มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติโรงงานฯ ก็ตาม แต่ก็เป็นอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบโรงงานหรือเครื่องจักรเพื่อปฏิบัติตามพระราชบัญญัติดังกล่าว หาใช่เป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ที่จะต้องสอบถามไปยังสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดว่าโรงงานที่ตั้งในเขตท้องที่ที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของตนนั้นได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานแล้วหรือไม่ แต่เป็นหน้าที่ของโจทก์ในฐานะผู้ประกอบกิจการโรงงานที่จะต้องแสดงหลักฐานต่อจำเลยที่ 1 ว่าได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานแล้ว
เมื่อโจทก์ยังไม่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน การตั้งโรงงานตลอดจนการประกอบกิจการโรงงานทำนาเกลือสินเธาว์ของโจทก์จึงฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติโรงงานฯ มาตรา 12 จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงาน กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาและปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจเข้าไปตรวจสภาพโรงงานสถานที่ สภาพเครื่องจักร ตลอดจนตรวจยึดสิ่งใด ๆ ที่เกี่ยวข้องในการประกอบกิจการของโจทก์ได้ หาเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและบุกรุกไม่
เหตุแห่งการที่จำเลยทั้งสามเข้าไปตรวจสภาพโรงงานและยึดเครื่องจักรอุปกรณ์ต่าง ๆ ของโจทก์ เนื่องจากรับแจ้งว่ามีราษฎรประมาณ 100 คน มาชุมนุมแสดงความไม่เห็นด้วยในการทำนาเกลือของโจทก์ การที่จำเลยทั้งสามสั่งให้อุดท่อ พีวีซี และให้รื้อถอนเครื่องจักรในที่เกิดเหตุก็ด้วยเจตนาเพียงระงับเหตุร้ายและความวุ่นวายของผู้ชุมนุมประท้วงมิให้ลุกลามไป ทั้งเป็นการรื้อถอนตามอำนาจหน้าที่ซึ่งย่อมทำให้เกิดความชำรุดเสียหายบ้างอันเป็นผลธรรมดาของการรื้อถอนที่ต้องเกิดขึ้น สภาพความชำรุดเสียหายจึงมิใช่เกิดขึ้นเพราะกระทำโดยเจตนาให้เสียทรัพย์การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 486/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งโรงงานโดยไม่ได้รับอนุญาต และอำนาจหน้าที่เจ้าพนักงานในการตรวจสอบและยึดเครื่องจักร
พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 มาตรา 12 และมาตรา 13 กำหนดไว้ชัดเจนว่าไม่ว่าจะเป็นการตั้งโรงงานหรือประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 3 ผู้ประกอบกิจการโรงงานจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตและต้องได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาตเสียก่อนและเมื่อได้รับใบอนุญาตดังกล่าวแล้ว หากประสงค์จะเริ่มประกอบกิจการต้องแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบอีกครั้งหนึ่ง จะถือวันที่การออกใบอนุญาตประกอบกิจการเป็นวันเริ่มประกอบกิจการโรงงานโดยชอบด้วยกฎหมายไม่ได้
การที่มีคำสั่งกระทรวงอุตสาหกรรมแต่งตั้งจำเลยที่ 1 ซึ่งดำรงตำแหน่งนายอำเภอให้มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ก็เป็นอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบโรงงานหรือเครื่องจักรเพื่อปฏิบัติตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2535เท่านั้น มิใช่ว่าเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ที่จะต้องเป็นผู้สอบถามไปยังสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดว่าโรงงานที่ตั้งในเขตท้องที่ซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ของตนนั้น ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานแล้วหรือไม่ แต่เป็นหน้าที่ของโจทก์ในฐานะผู้ประกอบกิจการโรงงานที่จะต้องแสดงหลักฐานต่อจำเลยที่ 1 ให้ปรากฏชัดว่าได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานแล้ว
โจทก์ยังไม่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน การตั้งโรงงานตลอดจนการประกอบกิจการโรงงานทำนาเกลือสินเธาว์ของโจทก์จึงฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติโรงงานพ.ศ. 2535 มาตรา 12 จำเลยที่ 1 รวมทั้งจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 1 และปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 ย่อมมีอำนาจเข้าไปตรวจสภาพโรงงาน สถานที่ สภาพเครื่องจักร ตลอดจนตรวจยึดสิ่งใด ๆ ที่เกี่ยวข้องได้ การที่จำเลยทั้งสามเข้าไปในที่ดินของโจทก์และยึดเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการประกอบกิจการนาเกลือสินเธาว์ของโจทก์ จึงไม่เป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานร่วมกันปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและความผิดฐานบุกรุก
การที่จำเลยทั้งสามเข้าไปตรวจสภาพโรงงานและยึดเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการโรงงานเนื่องจากได้รับแจ้งว่ามีราษฎรประมาณ 100 คนมาชุมนุมแสดงความไม่เห็นด้วยในการทำนาเกลือสินเธาว์ของโจทก์จำเลยทั้งสามจึงมีเจตนาเพียงระงับเหตุร้ายและความวุ่นวายมิให้ลุกลามไปแม้การที่จะระงับการประกอบกิจการนาเกลือสินเธาว์นั้น จำเลยทั้งสามได้สั่งให้อุดท่อพีวีซี ตลอดจนสั่งให้รื้อถอนเครื่องจักรและอุปกรณ์ในที่เกิดเหตุ ก็ด้วยประสงค์จะยึดเครื่องจักรและอุปกรณ์ซึ่งติดตั้งที่พื้นดินโดยต้องรื้อถอนไปตามอำนาจหน้าที่ การรื้อสิ่งของที่ติดอยู่กับพื้นดินย่อมทำให้เกิดความชำรุดเสียหายบ้าง ซึ่งเป็นผลธรรมดาของการรื้อถอนที่ต้องเกิดขึ้น มิใช่เกิดขึ้นเพราะกระทำโดยเจตนาให้เสียทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2906/2545 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าโรงงานเป็นโมฆะเมื่อขัดต่อ พ.ร.บ.โรงงาน และผู้เช่าไม่สามารถต่อใบอนุญาตได้
เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัท ก. โจทก์ให้จำเลยที่ 1 เช่าโรงงานต้องถือว่าบริษัท ก. เลิกประกอบกิจการโรงงานในวันที่ให้เช่า ตาม พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ.2512 มาตรา 31 วรรคหนึ่ง ซึ่งใช้บังคับในขณะนั้น และในวันเดียวกันนั้นใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานของบริษัท ก. ก็เป็นอันสิ้นอายุลง ตาม พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ.2512 มาตรา 16 เช่นกัน การต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานต้องกระทำโดยผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานและต้องทำการก่อนวันที่ใบอนุญาตสิ้นอายุตาม พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ.2512 มาตรา 17 วรรคหนึ่ง แต่ตามสัญญาเช่ากำหนดให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ดำเนินการขอต่อใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานในนามของบริษัท ก. และใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานของบริษัท ก. สิ้นอายุลงแล้วในวันทำสัญญาเช่า จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาเช่าดังกล่าวได้ เพราะขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ข้อสัญญาเช่าจึงมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายย่อมเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 150 ทำให้สัญญาเช่าเฉพาะ ข้อ 8 ตกเป็นโมฆะทั้งสิ้นตาม ป.พ.พ.มาตรา 173 จำเลยที่ 1 จึงไม่ผิดสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2906/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าโรงงานที่เป็นโมฆะเนื่องจากขัดต่อกฎหมายโรงงานเมื่อเจ้าของโรงงานถูกพิทักษ์ทรัพย์
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัท ก. โจทก์ ให้จำเลยที่ 1 เช่าโรงงานของบริษัทก. โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันการชำระค่าเช่าและค่าเสียหาย กรณีต้องถือว่าบริษัทก. เลิกประกอบกิจการโรงงานในวันที่ให้เช่าแล้วตามพระราชบัญญัติโรงงานฯมาตรา 31 วรรคหนึ่ง และในวันเดียวกันนั้นใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานของบริษัทก. ก็เป็นอันสิ้นอายุลงตามมาตรา 16 ด้วย ซึ่งการต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานต้องกระทำโดยผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานและต้องกระทำก่อนที่ใบอนุญาตสิ้นอายุตามมาตรา 17 วรรคหนึ่ง แต่เมื่อสัญญาเช่ากำหนดให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ดำเนินการต่อใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานในนามของบริษัท ก. และใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานของบริษัท ก. สิ้นอายุลงแล้ว จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาเช่าได้เพราะขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมาย ข้อสัญญาเช่าดังกล่าวจึงมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้ง โดยกฎหมายย่อมเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 จำเลยที่ 1 มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาจำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4040/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีสรรพสามิต: การนำสินค้าออกจากโรงงานโดยไม่เสียภาษี, ครอบครองสินค้าผิดกฎหมาย, และการริบของกลาง
พระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตฯ มาตรา 5 ให้อำนาจอธิบดีกรมสรรพสามิตที่จะตีความในพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต โดยให้ถือตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดเมื่อโจทก์ได้นำสืบถึงคำสั่งกรมสรรพสามิต ซึ่งได้อ้างอิงถึงประกาศกระทรวงการคลังเรื่องกำหนดหลักเกณฑ์การตีความในพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตแล้ว ข้ออ้างของจำเลยที่ว่าโจทก์มิได้นำสืบถึงหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดว่ามีหลักการตีความอย่างไรและการตีความได้กระทำถูกต้องตามหลักเกณฑ์หรือไม่ จึงฟังไม่ขึ้น
จำเลยที่ 1 เป็นบริษัทจำกัด จดทะเบียนสรรพสามิตต่อกรมสรรพสามิตเพื่อประกอบอุตสาหกรรมผลิตเครื่องปรับอากาศ มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ถนนรามคำแหง โรงงานอยู่ที่ถนนลาดพร้าว โดยจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้จัดการและจำเลยที่ 3 เป็นผู้จัดการสาขาของจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ดูแลสาขาปิ่นเกล้า เริ่มทำงานในเดือนธันวาคม 2536 และในวันที่ 14 มกราคม2537 เจ้าพนักงานสรรพสามิตได้เข้าตรวจค้นที่สาขาปิ่นเกล้า ยึดได้เครื่องปรับอากาศที่มิได้เสียภาษีสรรพสามิตจำนวน 455 เครื่อง เมื่อตามทางพิจารณานำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 3 มีส่วนเกี่ยวข้องรู้เห็นในการหลีกเลี่ยงการเสียภาษีสรรพสามิตของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ทั้งเจ้าหน้าที่ของโจทก์ก็รับว่าลำพังเพียงการตรวจดูเครื่องปรับอากาศที่ส่งไปจำหน่ายที่สาขาปิ่นเกล้าคนทั่วไปก็ไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าเครื่องปรับอากาศดังกล่าวเสียภาษีแล้วหรือไม่ แม้จำเลยที่ 3 เป็นน้องชายของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3เคยให้การรับสารภาพและยินยอมให้เปรียบเทียบปรับก็ตาม พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมายังมีเหตุระแวงสงสัยว่าจำเลยที่ 3 รู้หรือไม่ว่าเครื่องปรับอากาศของกลางที่ยึดได้จากสาขาปิ่นเกล้าเป็นสินค้าที่ยังมิได้เสียภาษี จึงต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยที่ 3 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 227
การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันนำสินค้าของกลางที่ยังมิได้เสียภาษีโดยถูกต้องและครบถ้วนออกไปจากโรงงานอุตสาหกรรม ย่อมเป็นความผิดสำเร็จตั้งแต่ตอนนำสินค้าออกจากโรงงานอุตสาหกรรมตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิตฯ มาตรา 19,147(1) แล้วกรรมหนึ่งเมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 นำสินค้านั้นไปเก็บไว้ที่สำนักงานใหญ่และสาขาปิ่นเกล้าเป็นความผิดฐานร่วมกันมีไว้ในครอบครองซึ่งสินค้าโดยรู้ว่าเป็นสินค้าที่มิได้เสียภาษีหรือเสียภาษีไม่ครบถ้วนตามมาตรา 161(1) และมีไว้เพื่อขายซึ่งสินค้าโดยรู้อยู่ว่าเป็นสินค้าที่มิได้เสียภาษีหรือเสียภาษีไม่ครบถ้วนเป็นความผิดตามมาตรา 162(1) ถือว่าเป็นการกระทำความผิดกรรมเดียว แต่เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทต้องลงโทษตามมาตรา 162(1) ถือว่าเป็นการกระทำความผิดกรรมเดียว แต่เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทต้องลงโทษตามมาตรา 162(1) ซึ่งเป็นบทหนักตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90 เป็นอีกกรรมหนึ่ง
เมื่อเครื่องปรับอากาศที่ยึดได้จากสาขาปิ่นเกล้าจำนวน 455 เครื่องเป็นสินค้าที่ยังมิได้เสียภาษี ซึ่งตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิตฯมาตรา 19 ห้ามมิให้นำสินค้าที่ยังมิได้เสียภาษีโดยถูกต้องและครบถ้วนออกจากโรงงานอุตสาหกรรมหรือคลังสินค้าทัณฑ์บน เว้นแต่จะเข้ากรณียกเว้นที่กฎหมายกำหนดการฝ่าฝืนบทบัญญัติดังกล่าวจึงเป็นความผิดตามมาตรา 147(1) และตามมาตรา 168 วรรคสอง บัญญัติว่า สินค้าในการกระทำความผิดที่มีโทษตามมาตรา 147 ให้ศาลสั่งริบเป็นของกรมสรรพสามิต ไม่ว่าจะมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่ ศาลจึงต้องริบเครื่องปรับอากาศจำนวนดังกล่าวตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิตฯ หาใช่เป็นการริบตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33 ไม่
การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ฎีกาขอให้ลงโทษโดยสถานเบา ซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริงเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้ปรับจำเลยที่ 1 และที่ 2คนละ 2,665,400 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงเป็นคดีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลล่างให้จำคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับ จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3651/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีโรงงาน: การยินยอมเปรียบเทียบปรับต้องแจ้งพนักงานสอบสวนก่อน
กรณีตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 มาตรา 65เมื่อคดีถึงพนักงานสอบสวน การที่พนักงานสอบสวนจะส่งเรื่องให้แก่คณะกรรมการเปรียบเทียบคดีได้นั้น ผู้ต้องหานั้นต้องแสดงความยินยอมให้เปรียบเทียบปรับเสียก่อน ผู้ต้องหานั้นจะแสดงความยินยอมให้เปรียบเทียบปรับในระหว่างการพิจารณา ของศาลหาได้ไม่ คดีนี้จำเลยไม่ได้แสดงความยินยอมต่อพนักงานสอบสวนว่าจำเลยยินยอมให้เปรียบเทียบปรับ พนักงานสอบสวนย่อมไม่จำต้องส่งเรื่องให้แก่คณะกรรมการเปรียบเทียบคดีก่อน ดังนั้น การที่พนักงานสอบสวนส่งเรื่องให้พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องคดี โดยไม่ได้ส่งเรื่องให้แก่คณะกรรมการเปรียบเทียบคดีจึงมิใช่ เป็นการไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายบัญญัติ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1232/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายโรงงานเกินกำลังผลิตที่ได้รับอนุญาตและการชำระเงินทดแทนพิเศษตามมติคณะรัฐมนตรี
โจทก์ได้รับใบอนุญาตให้ตั้งโรงงาน และมีกำลังการผลิตได้ไม่เกินนโยบายที่รัฐบาลกำหนดไว้ แต่ปรากฏว่าโจทก์ได้ติดตั้งลูกหีบในโรงงานโจทก์ และโจทก์มีโครงการจะติดตั้งลูกหีบ ซึ่งหากคำนวณกำลังการผลิตทั้งหมดแล้วจะเป็นจำนวนที่จำเลยถือว่าโจทก์เพิ่มกำลังการผลิต ซึ่งต้องชำระเงินทดแทนพิเศษให้แก่รัฐตามมติคณะรัฐมนตรี หรือมิฉะนั้นโจทก์จะต้องทำการปรับปรุงแก้ไขโรงงานของโจทก์ให้เป็นไปตามที่โจทก์ได้รับอนุญาตไว้เดิม ซึ่งโจทก์ยอมรับโดยตรงว่าเครื่องจักรโรงงาน โจทก์มีกำลังการผลิตเกินกว่าที่ได้รับใบอนุญาตไว้ นอกจากนั้นเมื่อจำเลยที่ 2 มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ชำระเงินทดแทนพิเศษ จำเลยที่ 2 ก็ได้ระบุไว้ในหนังสือนั้นว่า โจทก์ติดตั้งลูกหีบไม่ตรงตามที่ได้รับอนุญาต ทำให้มีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นเกินสิทธิเดิม โจทก์ก็ไม่ได้โต้แย้งเรื่องกำลังการผลิตดังกล่าวและไม่ได้อุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่ 2 ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมตามมาตรา 14 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.โรงงานพ.ศ.2512 ในเมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ออกใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานให้แก่โจทก์การที่โจทก์ตั้งโรงงานน้ำตาลทรายโดยเพิ่มขยายกำลังการผลิตเกินกว่าที่ได้รับอนุญาตดังนั้น การที่คณะกรรมการทำการปรับเกี่ยวกับการลงโทษโรงงานน้ำตาล และการที่จำเลยที่ 2 มีคำสั่งให้โจทก์ชำระเงินทดแทนพิเศษก็ให้ชำระให้แก่รัฐโดยนำส่งกระทรวงการคลังเพื่อประโยชน์แก่รายได้ของแผ่นดินอันเป็นส่วนรวม จึงมิใช่เพื่อประโยชน์แก่ส่วนตน กรณีถือได้ว่าจำเลยทั้งสองกระทำการโดยสุจริต ส่วนการที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งเป็นส่วนราชการของจำเลยที่ 1 ได้แจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่โจทก์ ก็เป็นเรื่องที่ผู้แจ้งความเชื่อว่า โจทก์กระทำผิดกฎหมาย ฉะนั้นการใช้สิทธิอันใดอันหนึ่งตามปกตินิยมหรือตามกฎหมายย่อมไม่เป็นการข่มขู่ นอกจากนี้ มติของคณะรัฐมนตรีที่ห้ามตั้งหรือขยายโรงงานน้ำตาลทรายนั้นไม่ได้ออกตามพ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ.2512 มาตรา 33 แต่ออกตามรัฐธรรมนูญ หากไม่ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีจะมีมาตรการให้ชำระเงินทดแทนพิเศษให้แก่รัฐ ซึ่งใช้แก่โรงงานน้ำตาลทรายที่ฝ่าฝืนทุกแห่งไม่มีข้อยกเว้น แต่เนื่องจากคำนึงถึงความเดือดร้อนของชาวไร่อ้อย และในระหว่างนั้นจำเลยที่ 1 ได้มีหนังสือทวงถามให้โจทก์ชำระเงินทดแทนพิเศษให้แก่รัฐเพื่อทางรัฐจะได้ออกใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานให้โจทก์ต่อมาคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายได้สั่งระงับการกำหนดวันเปิดหีบอ้อยแก่โรงงานของโจทก์ ซึ่งเป็นไปตามมติส่วนใหญ่ของคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายมิใช่การชี้แนะของจำเลยที่ 2 เพื่อให้โจทก์ชำระเงินทดแทนพิเศษให้แก่รัฐ แต่เป็นเรื่องต้องปฏิบัติตามกฎหมาย รัฐบาลเคยปิดโรงงานน้ำตาลทรายที่จังหวัดอื่น แต่ไม่สามารถปิดได้เนื่องจากชาวไร่อ้อยประท้วง นอกจากนั้นนโยบายของรัฐในการควบคุมการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายก็เพื่อมิให้ประชาชนและเศรษฐกิจของชาติเสียหายเป็นส่วนรวม แต่ในขณะเดียวกันรัฐก็ไม่ต้องการทำลายการลงทุนของเอกชนด้วย จึงได้กำหนดนโยบายที่มีเงื่อนไขในการอนุญาตเพื่อป้องกันและปราบปรามมิให้โรงงานขยายกำลังผลิตหากฝ่าฝืนก็ต้องให้จ่ายเงินทดแทนแก่รัฐ ทั้งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2521 มาตรา 146 วรรคหนึ่ง คณะรัฐมนตรีมีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งถือว่าได้กระทำในนามแห่งพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นพระประมุขตามมาตรา 3 การพิจารณาอนุญาตให้ตั้งประกอบกิจการและขยายโรงงานน้ำตาลทรายจึงต้องพิจารณาถึง พ.ร.บ.น้ำตาลทราย พ.ศ.2511พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 และ พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ. 2512ประกอบกัน ซึ่งถือเป็นงานบริหารราชการแผ่นดินที่คณะรัฐมนตรีมีอำนาจกำหนดนโยบายแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้จัดตั้งโรงงานโดยมีหรือไม่มีเงื่อนไขได้ ดังนั้น มติคณะรัฐมนตรีที่ได้กำหนดขึ้นไว้ใช้บริหารราชการแผ่นดินเพื่อประโยชน์ของรัฐ โดยได้มีมติให้ลงโทษโรงงานที่ตั้งหรือขยายกำลังการผลิตเพิ่มจากที่ได้รับอนุญาตไว้เดิมโดยไม่ได้รับอนุญาตตามขั้นตอนที่ชอบด้วยกฎหมายให้จ่ายเงินทดแทนพิเศษให้แก่รัฐตามกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นเกินสิทธิเดิม โรงงานใดไม่ประสงค์จะจ่ายเงินทดแทนพิเศษให้แก่รัฐดังกล่าวก็ต้องแก้ไขปรับปรุงโรงงานของตนให้ถูกต้องตามที่ได้รับอนุญาตไว้ แต่ถ้าจะขอตั้งโรงงานตามกำลังการผลิตที่ได้ติดตั้งไว้เกินสิทธิเดิมต้องจ่ายเงินทดแทนพิเศษให้แก่รัฐในอัตราดังกล่าวเป็นมาตรการอย่างหนึ่งในการที่รัฐบาลกำหนดขึ้นเพื่อควบคุมการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายเพื่อประโยชน์แก่ประชาชนและเศรษฐกิจส่วนรวมของประเทศชาติอันเป็นมาตรการที่ใช้บังคับสำหรับผู้ฝ่าฝืนนโยบายดังกล่าว ซึ่งเป็นคนละส่วนกับการกระทำผิดต่อ พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ.2512 โจทก์ทราบดีอยู่แล้วและโจทก์เคยยืนยันรับรองว่ายินดีจะปฏิบัติตามกฎเกณฑ์เงื่อนไขของทางราชการทุกประการดังกล่าวข้างต้น และโจทก์ก็ได้เลือกปฏิบัติในทางยินยอมชำระเงินทดแทนพิเศษให้แก่รัฐเพื่อประโยชน์ของโจทก์เองที่จะได้รับอนุญาตให้ตั้งโรงงานและประกอบกิจการโรงงานน้ำตาลทรายที่มีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากที่เคยได้รับใบอนุญาตไว้โดยโจทก์เลือกไม่ยอมปรับปรุงแก้ไขหรือหรือดำเนินการในทางที่โจทก์ได้รับอนุญาตไว้แต่เดิม เงื่อนไขตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวมิได้เป็นสิ่งที่ขัดต่อกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน โจทก์จึงต้องปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีซึ่งเป็นนโยบายที่ได้กำหนดไว้โดยชอบนั้น เมื่อโจทก์เลือกปฏิบัติดังกล่าวย่อมถือได้ว่าเป็นความสมัครใจของโจทก์ในการทำสัญญายินยอมผ่อนชำระเงินทดแทนพิเศษให้แก่รัฐ สัญญายินยอมผ่อนชำระเงินทดแทนพิเศษให้แก่รัฐ และมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน และมีผลใช้บังคับได้ ไม่เป็นโมฆะ
of 10