พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6-10/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะโรงงานยาสูบและการจ่ายค่าชดเชย: การจ้างไม่มีกำหนดระยะเวลา และเงินบำเหน็จไม่ใช่ค่าชดเชย
โรงงานยาสูบกระทรวงการคลังมิใช่กรมหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีฐานะเป็นกรมในสังกัดของกระทรวงการคลังดังนั้นโรงงานยาสูบจึงมิใช่ราชการส่วนกลางหาได้รับยกเว้นมิให้ใช้ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานลงวันที่16เมษายน2515ข้อ1(1)บังคับไม่ การที่ระเบียบโรงงานยาสูบว่าด้วยคุณสมบัติมาตรฐานพนักงานยาสูบพ.ศ.2518และที่แก้ไขเพิ่มเติมพ.ศ.2520กำหนดไว้ว่าพนักงานยาสูบคนใดมีอายุครบ60ปีบริบูรณ์แล้วถือว่าครบเกษียณอายุและพ้นจากตำแหน่งหน้าที่เมื่อสิ้นปีงบประมาณของปีที่พนักงานผู้นั้นมีอายุครบ60ปีบริบูรณ์ระเบียบดังกล่าวนี้ออกมาภายหลังที่พ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจพ.ศ.2518มีผลบังคับแล้วระเบียบนี้จึงได้ออกมาอนุวัตตามเป็นการกำหนดคุณสมบัติโดยแท้มิใช่กรณีที่นายจ้างต้องผูกพันจ้างลูกจ้างจนมีอายุครบ60ปีนายจ้างจะเลิกจ้างเมื่อใดก็ได้ จึงมิใช่การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน ค่าชดเชยเป็นเงินที่นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานซึ่งต่างประเภทกับเงินบำเหน็จที่นายจ้างต้องจ่ายให้ลูกจ้างตามระเบียบการจ่ายบำเหน็จของโรงงานยาสูบฉะนั้นเงินบำเหน็จที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างไปแล้วตามระเบียบดังกล่าวจึงมิใช่ค่าชดเชย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6-10/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะโรงงานยาสูบ, เกษียณอายุ, การจ่ายค่าชดเชย และการพิจารณาเป็นลูกจ้างที่มีกำหนดเวลา
โรงงานยาสูบกระทรวงการคลังมิใช่กรมหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีฐานะเป็นกรมในสังกัดของกระทรวงการคลังดังนั้นโรงงานยาสูบจึงมิใช่ราชการส่วนกลางหาได้รับยกเว้นมิให้ใช้ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานลงวันที่16เมษายน2515ข้อ1(1)บังคับไม่ การที่ระเบียบโรงงานยาสูบว่าด้วยคุณสมบัติมาตรฐานพนักงานยาสูบพ.ศ.2518และที่แก้ไขเพิ่มเติมพ.ศ.2520กำหนดไว้ว่าพนักงานยาสูบคนใดมีอายุครบ60ปีบริบูรณ์แล้วถือว่าครบเกษียณอายุและพ้นจากตำแหน่งหน้าที่เมื่อสิ้นปีงบประมาณของปีที่พนักงานผู้นั้นมีอายุครบ60ปีบริบูรณ์ระเบียบดังกล่าวนี้ออกมาภายหลังที่พ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจพ.ศ.2518มีผลบังคับแล้วระเบียบนี้จึงได้ออกมาอนุวัตตามเป็นการกำหนดคุณสมบัติโดยแท้ มิใช่กรณีที่นายจ้างต้องผูกพันจ้างลูกจ้างจนมีอายุครบ60ปีนายจ้างจะเลิกจ้างเมื่อใดก็ได้จึงมิใช่การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน ค่าชดเชยเป็นเงินที่นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานซึ่งต่างประเภทกับเงินบำเหน็จที่นายจ้างต้องจ่ายให้ลูกจ้างตามระเบียบการจ่ายบำเหน็จของโรงงานยาสูบฉะนั้นเงินบำเหน็จที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างไปแล้วตามระเบียบดังกล่าวจึงมิใช่ค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2343-2346/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โรงงานยาสูบเป็นรัฐวิสาหกิจ นายจ้างลูกจ้างบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองแรงงานได้
โรงงานยาสูบเป็นโรงงานผลิตบุหรี่ซิกาแรตจำหน่ายเพื่อแสวงหากำไรเป็นรายได้ของแผ่นดินที่รัฐเป็นผู้ดำเนินการเช่นเอกชนผู้ประกอบอุตสาหกรรมอื่นโดยทั่วไป มิใช่ราชการส่วนกลางตามความหมายที่ยกเว้นไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน แต่เป็นรัฐวิสาหกิจที่กระทรวงการคลังเป็นเจ้าของ จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นผู้แทนได้แต่งตั้งให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้อำนวยการโรงงานยาสูบมีอำนาจควบคุมดูแลจัดกิจการของโรงงานตามที่จำเลยที่ 1 มอบหมาย ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นนายจ้างตามความของประกาศกระทรวงมหาดไทย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1856/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตบังคับใช้ประกาศคุ้มครองแรงงานกับหน่วยงานของรัฐ: โรงงานยาสูบไม่ใช่ราชการส่วนกลาง
โรงงานยาสูบเป็นโรงงานของกระทรวงการคลังจำเลยที่ 1มิใช่ส่วนราชการของจำเลยที่ 1 โรงงานยาสูบจึงมิใช่ราชการส่วนกลาง ต้องอยู่ในบังคับของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน จำเลยที่ 1 ในฐานะนิติบุคคลผู้เป็นเจ้าของโรงงานยาสูบ และเป็นนายจ้างของโจทก์จึงอาจถูกฟ้องให้รับผิดจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ได้ มิใช่เป็นการใช้ประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวบังคับแก่จำเลยที่ 1 ในฐานะเป็นราชการส่วนกลาง
จำเลยที่ 2 มีอำนาจกระทำแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล ย่อมเป็นนายจ้างตามความหมายในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 และมีหน้าที่ในฐานะเป็นนายจ้างที่จะต้องจ่ายค่าชดเชยตามข้อ 46 จำเลยที่ 2 จึงอาจถูกฟ้องเรียกค่าชดเชยได้เช่นกัน
จำเลยที่ 2 มีอำนาจกระทำแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล ย่อมเป็นนายจ้างตามความหมายในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 และมีหน้าที่ในฐานะเป็นนายจ้างที่จะต้องจ่ายค่าชดเชยตามข้อ 46 จำเลยที่ 2 จึงอาจถูกฟ้องเรียกค่าชดเชยได้เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1575/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเพราะเกษียณอายุเป็น 'การเลิกจ้าง' ต้องจ่ายค่าชดเชย โรงงานยาสูบไม่อยู่ในข้อยกเว้น
การที่ระเบียบของจำเลยกำหนดให้พนักงานพ้นจากตำแหน่งเมื่อมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์นั้น มิใช่เป็นการกำหนดระยะเวลาการจ้างเพราะมิใช่เป็นการกำหนดว่าให้ผูกพันจ้างกันจนกว่าพนักงานจะมีอายุครบ60 ปีบริบูรณ์ จึงหาทำให้การจ้างนั้นเป็นการจ้างที่มีกำหนดเวลาไม่
แม้ระเบียบของจำเลยและพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจฯ จะกำหนดไว้ว่า พนักงานที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ถือว่าขาดคุณสมบัติและเป็นอันพ้นจากตำแหน่งก็ตาม ก็หมายความถึงให้จำเลยดำเนินการให้พนักงานที่ขาดคุณสมบัติเพราะเหตุดังกล่าวออกจากงานนั่นเอง ฉะนั้น การที่จำเลยให้โจทก์ออกจากงานเพราะเหตุเกษียณอายุจึงเป็นการเลิกจ้าง
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 46มีหลักการให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้าง และในวรรคสามยกเว้นไว้ให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยในกรณีเลิกจ้างลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน กับกรณีเลิกจ้างลูกจ้างทดลองปฏิบัติงานแสดงว่ามิได้ประสงค์ให้ยกเว้นถึงการเลิกจ้างที่ลูกจ้างรู้ตัวล่วงหน้าทั่วไปทุกกรณี จึงจะถือว่าการที่ลูกจ้างออกจากงานเพราะเกษียณอายุ ลูกจ้างรู้ตัวล่วงหน้าเหมือนกับกรณีดังกล่าวและไม่อยู่ในขอบเขตแห่งเจตนารมณ์ที่จะให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยเช่นเดียวกันหาได้ไม่
โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง มิได้เป็นส่วนราชการของกรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นกรมซึ่งสังกัดกระทรวงการคลังจึงมิใช่ราชการส่วนกลาง หาได้รับยกเว้นมิให้ใช้ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ บังคับไม่ ฉะนั้น กระทรวงการคลังในฐานะเป็นนิติบุคคลผู้เป็นเจ้าของโรงงานยาสูบฯ ซึ่งเป็นนายจ้างโจทก์ จึงต้องรับผิดจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ ถือไม่ได้ว่าเป็นการใช้ประกาศฯ ดังกล่าวบังคับแก่กระทรวงการคลังในฐานะเป็นราชการส่วนกลาง
แม้ระเบียบของจำเลยและพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจฯ จะกำหนดไว้ว่า พนักงานที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ถือว่าขาดคุณสมบัติและเป็นอันพ้นจากตำแหน่งก็ตาม ก็หมายความถึงให้จำเลยดำเนินการให้พนักงานที่ขาดคุณสมบัติเพราะเหตุดังกล่าวออกจากงานนั่นเอง ฉะนั้น การที่จำเลยให้โจทก์ออกจากงานเพราะเหตุเกษียณอายุจึงเป็นการเลิกจ้าง
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 46มีหลักการให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้าง และในวรรคสามยกเว้นไว้ให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยในกรณีเลิกจ้างลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน กับกรณีเลิกจ้างลูกจ้างทดลองปฏิบัติงานแสดงว่ามิได้ประสงค์ให้ยกเว้นถึงการเลิกจ้างที่ลูกจ้างรู้ตัวล่วงหน้าทั่วไปทุกกรณี จึงจะถือว่าการที่ลูกจ้างออกจากงานเพราะเกษียณอายุ ลูกจ้างรู้ตัวล่วงหน้าเหมือนกับกรณีดังกล่าวและไม่อยู่ในขอบเขตแห่งเจตนารมณ์ที่จะให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยเช่นเดียวกันหาได้ไม่
โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง มิได้เป็นส่วนราชการของกรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นกรมซึ่งสังกัดกระทรวงการคลังจึงมิใช่ราชการส่วนกลาง หาได้รับยกเว้นมิให้ใช้ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ บังคับไม่ ฉะนั้น กระทรวงการคลังในฐานะเป็นนิติบุคคลผู้เป็นเจ้าของโรงงานยาสูบฯ ซึ่งเป็นนายจ้างโจทก์ จึงต้องรับผิดจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ ถือไม่ได้ว่าเป็นการใช้ประกาศฯ ดังกล่าวบังคับแก่กระทรวงการคลังในฐานะเป็นราชการส่วนกลาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2963/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งโรงงานยาสูบเรื่องการจ่ายเงินชดเชยขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทย ลูกจ้างมีสิทธิได้รับเงินชดเชย
คำสั่งโรงงานยาสูบเรื่องการจ่ายเงินชดเชยแก่พนักงานยาสูบกำหนดว่า พนักงานยาสูบที่พ้นจากหน้าที่การงานเพราะเหตุเกษียณอายุ ไม่มีสิทธิได้รับเงินชดเชย เป็นคำสั่งที่มีวัตถุประสงค์จะไม่จ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง จึงเป็นคำสั่งที่ขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ไม่มีผลบังคับ หรือผูกพันลูกจ้าง โรงงานยาสูบต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 470/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของกระทรวงการคลัง กรณีความเสียหายจากหน้าที่ของผู้อำนวยการโรงงานยาสูบ
โรงงานยาสูบ ซึ่งขึ้นอยู่ในกระทรวงการคลัง ไม่ใช่เป็นนิติบุคคล เมื่อกระทรวงการคลังได้มอบอำนาจการบริหารกิจการงานต่าง ๆ ให้ผู้อำนวยการโรงงานยาสูบแล้ว กระทรวงการคลังก็ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 470/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของกระทรวงการคลังเมื่อโรงงานยาสูบไม่ได้เป็นนิติบุคคล และการรับผิดในสัญญาค้ำประกัน
โรงงานยาสูบ ซึ่งขึ้นอยู่ในกระทรวงการคลัง ไม่ใช่เป็นนิติบุคคลเมื่อกระทรวงการคลังได้มอบอำนาจการบริหารกิจการงานต่างๆ ให้ผู้อำนวยการโรงงานยาสูบแล้วกระทรวงการคลังก็ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีได้