พบผลลัพธ์ทั้งหมด 21 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1776/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานมีไม้แปรรูปและไม้ยังไม่แปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต เจ้าของโรงสีและลูกจ้างมีส่วนร่วม
ก่อนที่เจ้าพนักงานตำรวจจะเข้าจับกุมไม้แปรรูปและมิได้แปรรูปของกลาง เจ้าพนักงานสืบสวนแล้วทราบว่าบริเวณโรงสีของจำเลยที่ 2 ที่เกิดเหตุเป็นแหล่งลักลอบขนไม้เถื่อน จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของดำเนินกิจการเกี่ยวกับโรงสีทุกอย่างในเมื่อจำเลยที่ 2 ไม่อยู่หากจำเลยที่ 1 มิได้มีส่วนร่วมในการมีไม้ของกลางไว้ใน ครอบครอง ก็ไม่มีเหตุอันใดที่จำเลยที่ 1 จะปล่อยให้รถบรรทุกไม้ จำนวนถึง 13 คัน คลุมด้วยผ้าใบเข้าไปจอดในบริเวณโรงสี ซึ่งมีรั้วรอบขอบชิด บางคันซุกซ่อนอยู่ในโกดังโดยจำเลยที่ 1 ไม่ตรวจสอบ และเมื่อถูกจับกุมจำเลยที่ 1 ก็ให้การว่า เคยพบเห็นรถบรรทุกในลักษณะนี้เข้ามาจอดในโรงสีหลายครั้งแล้ว จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของโรงสีถ้ามิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ในการกระทำผิดด้วยแล้วก็ไม่มีเหตุอันใดที่จะยินยอมให้ รถบรรทุกไม้ของกลางเข้ามาจอดในโรงสีของตนได้เช่นนั้นจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นตัวการมีไม้แปรรูปและมิได้แปรรูปไว้ในครอบครองอันเป็นความผิดตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3480/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและโรงสี แม้ไม่มีกำหนดวันโอน แต่เมื่อผู้ขายได้กรรมสิทธิ์แล้ว ผู้ซื้อมีสิทธิเรียกร้องให้โอนได้
ตามสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยมีข้อความว่าจำเลยจะขายโรงสีให้โจทก์ และต่อมามีข้อความว่าและที่ที่ตั้งโรงสีด้วยยาวประมาณ 13 วาเศษ กว้าง 11 วาเศษ ทิศเหนือมีทางออกถนน 4 วาด้วย เห็นได้ว่าเป็นการตกลงจะซื้อตัวโรงสีทั้งที่ดินที่ตั้งโรงสีและมีทางเข้าออกโรงสีด้วย
สัญญาระบุว่าเป็นสัญญามัดจำมีข้อความว่าจะขายอยู่ด้วย ผู้ขายได้รับมัดจำไว้จำนวนหนึ่ง ส่วนราคาที่เหลือชำระในวันหลังต่อมาผู้ซื้อได้ชำระราคาส่วนเหลือให้ผู้ขาย ที่มิได้กำหนดวันโอนไว้ในสัญญาเพราะขณะทำสัญญาผู้ขายยังไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทเมื่อผู้ขายได้กรรมสิทธิ์มาแล้ว ผู้ซื้อได้เรียกร้องให้ผู้ขายโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้ผู้ซื้อ สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน มิใช่สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด
สัญญาระบุว่าเป็นสัญญามัดจำมีข้อความว่าจะขายอยู่ด้วย ผู้ขายได้รับมัดจำไว้จำนวนหนึ่ง ส่วนราคาที่เหลือชำระในวันหลังต่อมาผู้ซื้อได้ชำระราคาส่วนเหลือให้ผู้ขาย ที่มิได้กำหนดวันโอนไว้ในสัญญาเพราะขณะทำสัญญาผู้ขายยังไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทเมื่อผู้ขายได้กรรมสิทธิ์มาแล้ว ผู้ซื้อได้เรียกร้องให้ผู้ขายโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้ผู้ซื้อ สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน มิใช่สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3480/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมโรงสี แม้ไม่มีกำหนดวันโอน แต่เมื่อผู้ขายได้กรรมสิทธิ์แล้ว ผู้ซื้อมีสิทธิเรียกร้องได้
ตามสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยมีข้อความว่าจำเลยจะขายโรงสีให้โจทก์ และต่อมามีข้อความว่าและที่ที่ตั้งโรงสีด้วยยาวประมาณ 13 วาเศษ กว้าง11 วาเศษ ทิศเหนือมีทางออกถนน 4 วาด้วยเห็นได้ว่าเป็นการตกลงจะซื้อตัวโรงสีทั้งที่ดินที่ตั้งโรงสีและมีทางเข้าออกโรงสีด้วย
สัญญาระบุว่าเป็นสัญญามัดจำมีข้อความว่าจะขายอยู่ด้วยผู้ขายได้รับมัดจำไว้จำนวนหนึ่ง ส่วนราคาที่เหลือชำระในวันหลัง ต่อมาผู้ซื้อได้ชำระราคาส่วนเหลือให้ผู้ขาย ที่มิได้กำหนดวันโอนไว้ในสัญญาเพราะขณะทำสัญญาผู้ขายยังไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทเมื่อผู้ขายได้กรรมสิทธิ์มาแล้ว ผู้ซื้อได้เรียกร้องให้ผู้ขายโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้ผู้ซื้อ สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน มิใช่สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด
สัญญาระบุว่าเป็นสัญญามัดจำมีข้อความว่าจะขายอยู่ด้วยผู้ขายได้รับมัดจำไว้จำนวนหนึ่ง ส่วนราคาที่เหลือชำระในวันหลัง ต่อมาผู้ซื้อได้ชำระราคาส่วนเหลือให้ผู้ขาย ที่มิได้กำหนดวันโอนไว้ในสัญญาเพราะขณะทำสัญญาผู้ขายยังไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทเมื่อผู้ขายได้กรรมสิทธิ์มาแล้ว ผู้ซื้อได้เรียกร้องให้ผู้ขายโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้ผู้ซื้อ สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน มิใช่สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3480/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและโรงสี: สัญญาจะซื้อจะขายมีผลผูกพันเมื่อผู้ขายได้รับกรรมสิทธิ์และผู้ซื้อเรียกร้องให้โอน
ตามสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยมีข้อความว่าจำเลยจะขายโรงสีให้โจทก์และต่อมามีข้อความว่าและที่ที่ตั้งโรงสีด้วยยาวประมาณ13วาเศษกว้าง11วาเศษทิศเหนือมีทางออกถนน4วาด้วยเห็นได้ว่าเป็นการตกลงจะซื้อตัวโรงสีทั้งที่ดินที่ตั้งโรงสีและมีทางเข้าออกโรงสีด้วย สัญญาระบุว่าเป็นสัญญามัดจำมีข้อความว่าจะขายอยู่ด้วยผู้ขายได้รับมัดจำไว้จำนวนหนึ่งส่วนราคาที่เหลือชำระในวันหลังต่อมาผู้ซื้อได้ชำระราคาส่วนเหลือให้ผู้ขายที่มิได้กำหนดวันโอนไว้ในสัญญาเพราะขณะทำสัญญาผู้ขายยังไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทเมื่อผู้ขายได้กรรมสิทธิ์มาแล้วผู้ซื้อได้เรียกร้องให้ผู้ขายโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้ผู้ซื้อสัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินมิใช่สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2371/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดชอบหนี้จากการกู้เบิกเงินเกินบัญชีและการแบ่งปันผลกำไรจากกิจการโรงสี
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เข้าหุ้นส่วนทำการค้าข้าวเปลือก ข้าวสารกับผู้ตายเพื่อแบ่งปันกำไรกัน ผู้ตายลงทุนด้วยโรงสี โจทก์ลงทุนด้วยเงินสด โดยโจทก์ได้เปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันไว้แก่ธนาคารแล้วขอกู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้จำนวนหนึ่ง เมื่อโจทก์ได้รับสมุดเช็คจากธนาคารแล้ว โจทก์ลงชื่อเป็นผู้สั่งจ่ายในเช็คทั้งหมดมอบให้ผู้ตายไปกรอกจำนวนเงินและวันที่สั่งจ่ายเอง เพื่อใช้ซื้อข้าวเปลือกมาสี เมื่อขายข้าวที่สีได้แล้วผู้ตายนำเงินฝากเข้าบัญชีของโจทก์ ต่อมาผู้ตายถึงแก่ความตายก่อนที่จะแบ่งปันผลกำไรกัน โจทก์เป็นหนี้ธนาคารอยู่ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและโจทก์ถูกธนาคารฟ้องให้ชำระหนี้ดังกล่าว โจทก์จึงฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเป็นคดีนี้ ขอให้บังคับจำเลยแบ่งปันผลกำไรและใช้ทุนเท่าจำนวนที่โจทก์ถูกธนาคารฟ้องเรียกคืนให้แก่โจทก์ ทางพิจารณาฟังไม่ได้ว่าโจทก์เป็นหุ้นส่วนทำการค้าข้าวเปลือกข้าวสารกับผู้ตายตามฟ้อง แต่ฟังได้ว่าผู้ตายได้ขอให้โจทก์ช่วยหาเงินมาให้ผู้ตายเป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการโรงสีของผู้ตายด้วยการกู้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคาร ผู้ตายใช้เช็คของโจทก์เพื่อประโยชน์ในกิจการโรงสีของผู้ตาย ทำให้โจทก์เป็นหนี้ธนาคารตามจำนวนในฟ้อง ซึ่งเข้าใจได้โดยปริยายว่าผู้ตายต้องชำระหนี้นั้นแก่ธนาคารแทนโจทก์ มิฉะนั้นโจทก์ก็ต้องรับผิดชำระแก่ธนาคาร เมื่อข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณาเป็นข้อที่โจทก์ได้บรรยายมาในคำฟ้องแล้ว ทั้งได้มีคำขอให้จำเลยชำระเงินเท่าจำนวนที่โจทก์ถูกธนาคารฟ้องด้วย ศาลย่อมพิพากษาให้จำเลยใช้เงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2542/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายข้าวเปลือกจากบุคคลทั่วไปที่โรงสี ไม่ถือเป็นการซื้อในท้องตลาด
แม้โรงสีเป็นสถานที่แหล่งรับซื้อข้าวเปลือกแต่การที่จำเลยซื้อข้าวเปลือกของโจทก์ที่ ส. ลักเอามาขายให้โรงสีของจำเลยนั้น มิใช่การซื้อจากร้านค้าใดร้านค้าหนึ่งที่อยู่ในชุมนุมการค้า จึงไม่เป็นการซื้อทรัพย์ในท้องตลาดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1332
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 899/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีการค้าข้าว: หลักฐานการซื้อจากโรงสีต้องชัดเจนเพื่ออ้างสิทธิไม่ต้องเสียภาษี
โจทก์ประกอบการค้าข้าวโดยซื้อข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศในปี พ.ศ. 2504 และ 2510 โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบการค้าตามประเภทการค้า 2 ชนิด 1 (ข) แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้า มีหน้าที่เสียภาษีการค้าจากรายรับของทุกเดือนภาษีตามอัตราในบัญชี และรายรับจากการค้าประเภทการค้าข้าวหมายความรวมถึงเงินที่ได้รับหรือพึงได้จากการขายข้าวซึ่งไม่มีหลักฐานแสดงว่าเป็นข้าวที่ได้มาหรือได้รับช่วงมาจากผู้ประกอบกิจการตามประเภทการค้า 2 ชนิด 1 (ก) แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้า (การสีข้าวทุกชนิด)
โจทก์อ้างว่าข้าวที่โจทก์ส่งไปจำหน่ายเป็นข้าวที่โจทก์ซื้อจากบรรดาโรงสีต่างๆ ทั่วราชอาณาจักร มีใบเสร็จรับเงินที่โรงสีข้าวนั้นๆ ออกให้เป็นหลักฐาน เมื่อทางนำสืบรับฟังได้ว่าผู้ที่ขายข้าวให้โจทก์ตามใบเสร็จดังกล่าวมิใช่ผู้ประกอบการค้าประเภทการค้า 2 ชนิด 1 (ก) ตามบัญชีอัตราภาษีการค้า จึงถือไม่ได้ว่าใบเสร็จนั้นเป็นหลักฐานที่แสดงว่าโจทก์ซื้อข้าวจากผู้ประกอบการค้าตามประเภทการค้า 2 ชนิด 1 (ก) แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้า (การสีข้าวทุกชนิด) โจทก์จึงต้องมีหน้าที่เสียภาษีการค้าจากรายรับในการที่ขายข้าวที่ซื้อมาดังกล่าว
โจทก์อ้างว่าข้าวที่โจทก์ส่งไปจำหน่ายเป็นข้าวที่โจทก์ซื้อจากบรรดาโรงสีต่างๆ ทั่วราชอาณาจักร มีใบเสร็จรับเงินที่โรงสีข้าวนั้นๆ ออกให้เป็นหลักฐาน เมื่อทางนำสืบรับฟังได้ว่าผู้ที่ขายข้าวให้โจทก์ตามใบเสร็จดังกล่าวมิใช่ผู้ประกอบการค้าประเภทการค้า 2 ชนิด 1 (ก) ตามบัญชีอัตราภาษีการค้า จึงถือไม่ได้ว่าใบเสร็จนั้นเป็นหลักฐานที่แสดงว่าโจทก์ซื้อข้าวจากผู้ประกอบการค้าตามประเภทการค้า 2 ชนิด 1 (ก) แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้า (การสีข้าวทุกชนิด) โจทก์จึงต้องมีหน้าที่เสียภาษีการค้าจากรายรับในการที่ขายข้าวที่ซื้อมาดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 899/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีการค้าข้าว: หลักฐานการซื้อจากโรงสี ต้องแสดงได้ว่าเป็นผู้ประกอบการค้าจริง
โจทก์ประกอบการค้าข้าวโดยซื้อข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศในปี พ.ศ.2509 และ 2510 โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบการค้าตามประเภทการค้า 2 ชนิด 1(ข) แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้า มีหน้าที่เสียภาษีการค้าจากรายรับของทุกเดือนภาษีตามอัตราในบัญชี และรายรับจากการค้าประเภทการค้าข้าวหมายความรวมถึงเงินที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการขายข้าวซึ่งไม่มีหลักฐานแสดงว่าเป็นข้าวที่ได้มาหรือได้รับช่วงมาจากผู้ประกอบกิจการตามประเภทการค้า 2 ชนิด 1(ก) แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้า (การสีข้าวทุกชนิด)
โจทก์อ้างว่าข้าวที่โจทก์ส่งไปจำหน่ายเป็นข้าวที่โจทก์ซื้อจากบรรดาโรงสีต่างๆ ทั่วราชอาณาจักร มีใบเสร็จรับเงินที่โรงสีข้าวนั้นๆ ออกให้เป็นหลักฐานเมื่อทางนำสืบรับฟังได้ว่าผู้ที่ขายข้าวให้โจทก์ตามใบเสร็จดังกล่าวมิใช่ผู้ประกอบการค้าประเภทการค้า 2 ชนิด1(ก) ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าจึงถือไม่ได้ว่าใบเสร็จนั้นเป็นหลักฐานที่แสดงว่าโจทก์ซื้อข้าวจากผู้ประกอบการค้าตามประเภทการค้า 2 ชนิด 1(ก) แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้า (การสีข้าวทุกชนิด) โจทก์จึงต้องมีหน้าที่เสียภาษีการค้าจากรายรับในการที่ขายข้าวที่ซื้อมาดังกล่าว
โจทก์อ้างว่าข้าวที่โจทก์ส่งไปจำหน่ายเป็นข้าวที่โจทก์ซื้อจากบรรดาโรงสีต่างๆ ทั่วราชอาณาจักร มีใบเสร็จรับเงินที่โรงสีข้าวนั้นๆ ออกให้เป็นหลักฐานเมื่อทางนำสืบรับฟังได้ว่าผู้ที่ขายข้าวให้โจทก์ตามใบเสร็จดังกล่าวมิใช่ผู้ประกอบการค้าประเภทการค้า 2 ชนิด1(ก) ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าจึงถือไม่ได้ว่าใบเสร็จนั้นเป็นหลักฐานที่แสดงว่าโจทก์ซื้อข้าวจากผู้ประกอบการค้าตามประเภทการค้า 2 ชนิด 1(ก) แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้า (การสีข้าวทุกชนิด) โจทก์จึงต้องมีหน้าที่เสียภาษีการค้าจากรายรับในการที่ขายข้าวที่ซื้อมาดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 183/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของร่วม: สิทธิการร้องขัดทรัพย์มิอาจใช้ได้เมื่อทรัพย์สินเป็นของเจ้าของร่วม
คดีร้องขัดทรัพย์ ซึ่งโจทก์นำยึดอ้างว่าเป็นทรัพย์ของจำเลย ผู้ร้องคัดค้านว่าเป็นทรัพย์ของตนนั้น เมื่อทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยและผู้ร้องเป็นเจ้าของร่วมกัน ผู้ร้องก็ย่อมไม่มีสิทธิร้องขัดทรัพย์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 183/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของร่วม: สิทธิการร้องขัดทรัพย์เมื่อทรัพย์สินเป็นของร่วม
คดีร้องขัดทรัพย์ ซึ่งโจทก์นำยึดอ้างว่าเป็นทรัพย์ของจำเลย ผู้ร้องคัดค้านว่าเป็นทรัพย์ของตนนั้น เมื่อทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยและผู้ร้องเป็นเจ้าของร่วมกันผู้ร้องก็ย่อมไม่มีสิทธิร้องขัดทรัพย์ได้