คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โรงเรียน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 40 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8141/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกจ้างลักทรัพย์และทำให้เสียหายซึ่งเอกสารการเงินของนายจ้าง ก่อให้เกิดความเสียหายต่อโรงเรียน
โจทก์ร่วมเป็นเจ้าของโรงเรียนสอนภาษา อ. โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินทุกประเภทรวมทั้งสองเอกสารใบเสร็จรับเงินและเงินค่าสมัครเรียนซึ่งเป็นของกิจการโรงเรียนดังกล่าว ส่วนการได้รับอนุญาตให้โอนโรงเรียนเพื่อดำเนินกิจการในนามของโจทก์ร่วมเมื่อใดนั้น หาได้กระทบถึงความเป็นเจ้าของกิจการโรงเรียนของโจทก์ร่วมไม่ เมื่อมีการรับเงินค่าสมัครเรียนดังกล่าวโดยมีการออกใบเสร็จรับเงินในนามของโรงเรียนโจทก์ร่วมให้แก่ผู้สมัครเรียน ซึ่งจำเลยลูกจ้างโจทก์ร่วมทำหน้าที่รับเงินค่าสมัครเรียนไว้ต้องส่งมอบเงินนั้นให้แก่โจทก์ร่วมผู้เป็นนายจ้าง การที่จำเลยเอาเอกสารใบเสร็จรับเงินและเงินดังกล่าวไปเสียโดยทุจริตย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ร่วม โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหายคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5129/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากการสั่งการออกกำลังกายเกินขนาดเป็นเหตุให้เด็กนักเรียนเสียชีวิต โรงเรียนต้องรับผิด
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นอาจารย์สอนวิชาพลศึกษา ได้สั่งให้นักเรียนชั้น ม.1 วิ่งรอบสนามระยะทาง 200 เมตร ต่อ 1 รอบ จำนวน 3 รอบ เป็นการอบอุ่นร่างกายก่อนการเรียนวิชาพลศึกษาในภาคปฏิบัติ และได้สั่งให้นักเรียนวิ่งรอบสนาม ต่ออีก 3 รอบ เป็นการกระทำโทษที่วิ่งไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย ซึ่งเหมาะสมตามสมควรแก่พฤติการณ์ แต่การที่สั่งให้วิ่งรอบสนามต่อไปอีก 3 รอบ และเมื่อนักเรียนยังทำไม่ได้เรียบร้อย ก็สั่งให้วิ่งต่อไปอีก 3 รอบ ในช่วงเวลาหลังเที่ยงวันเพียงเล็กน้อย สภาพอากาศร้อนและมีแสงแดดแรง นับเป็นการใช้วิธีการลงโทษนักเรียนที่ไม่เหมาะสมและไม่ชอบเพราะจำเลยที่ 1 น่าจะเล็งเห็นได้ว่าการลงโทษนักเรียนซึ่งมีอายุระหว่าง 11 ถึง 12 ปี ด้วยวิธีการดังกล่าวอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของนักเรียนได้ เป็นความประมาทเลินเล่อ จนทำให้เด็กชาย พ. ซึ่งเป็นโรคหัวใจอยู่ก่อนล้มลง ในการวิ่งรอบสนามรอบที่ 11 และถึงแก่ความตายในเวลาต่อมาเพราะสาเหตุระบบหัวใจล้มเหลว การตายของเด็กชาย พ. จึงเป็นผลโดยตรงจากการวิ่งออกกำลังตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 1 จะไม่ทราบว่าเด็กชาย พ. เป็นโรคหัวใจ ก็ตาม มิใช่เกิดจากเหตุสุดวิสัย ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดเป็นเหตุให้เด็กชาย พ. ถึงแก่ความตาย แต่ความไม่รู้ของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวเป็นเหตุประกอบดุลพินิจในการกำหนดค่าสินไหมทดแทนให้น้อยลง
การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นข้าราชการในสังกัดของจำเลยที่ 2 ทำการสอนวิชาพลศึกษาในชั่วโมงวิชาพลศึกษาของนักเรียนชั้น ม.1 ห้อง 1/4 ของโรงเรียน ว. เป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการในฐานะผู้แทนกรมสามัญศึกษาจำเลยที่ 2 การออกคำสั่งให้นักเรียนวิ่งรอบสนามเพื่ออบอุ่นร่างกายและการลงโทษนักเรียนให้วิ่งรอบสนาม ก็ถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วย เมื่อการปฏิบัติหน้าที่ราชการดังกล่าวของจำเลยที่ 1 ทำให้เด็กชาย พ. นักเรียนคนหนึ่งในชั้นดังกล่าวถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายแก่โจทก์ผู้เป็นมารดาของเด็กชาย พ. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 76 วรรคหนึ่ง
แม้เหตุละเมิดคดีนี้เกิดขึ้นก่อนที่ พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ใช้บังคับ แต่เมื่อโจทก์ฟ้องเป็นคดีนี้นั้น พ.ร.บ. ฉบับนี้ใช้บังคับแล้ว สิทธิของโจทก์ในการฟ้องเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานของรัฐให้รับผิดทางละเมิดต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ. ฉบับนี้ ฉะนั้น เมื่อคดีปรากฏว่าการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์เป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ของกรมสามัญศึกษาจำเลยที่ 2 โจทก์จึงต้องห้ามมิให้ฟ้องจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ดังกล่าว ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246, 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7713/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาแบ่งปันผลประโยชน์จากโรงเรียน: ศาลยืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จำกัดค่าเสียหาย
โจทก์จำเลยทำสัญญาแบ่งปันผลประโยชน์ระหว่างโจทก์และจำเลย โดยคิดจากจำนวนนักเรียนที่เรียนวิชาคอมพิวเตอร์ไม่น้อยกว่า 700 คน ต่อ 1 ภาคการศึกษากรณีที่มีน้อยกว่า 700 คน ให้ถือว่าจำนวนนักเรียนเป็น 700 คน จำเลยเป็นผู้เก็บค่าเล่าเรียน คนละ 700 บาท ส่งแก่โจทก์ทุกภาคการศึกษา จำเลยจะได้ผลตอบแทนเป็นเงินร้อยละ 15 ของค่าเล่าเรียนที่เก็บได้ โดยโจทก์เป็นผู้จัดหาวัสดุอุปกรณ์ตกแต่งจัดสร้างห้องเรียนคอมพิวเตอร์ให้จำเลย 1 ห้อง เมื่อครบ 4 ปีแล้ว โจทก์จะมอบคอมพิวเตอร์ วัสดุอุปกรณ์ห้องเรียน และหลักสูตรการเรียนการสอนให้จำเลยทั้งหมด เมื่อผลของสัญญามิได้กระทบต่อสิทธิหรือประโยชน์ของคนโดยทั่วไป จึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนรูปแบบหนึ่งซึ่งใช้บังคับกันได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 149 และ 369 ไม่ใช่เป็นการหลีกเลี่ยงภาษีหรือเป็นสัญญาเช่าซื้อหรือสัญญาซื้อขายเงินผ่อน จึงเป็นธรรมและไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนอันจะตกเป็นโมฆะตามมาตรา 150
การตีความสัญญาต้องเป็นไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 368 เมื่อจำเลยมีหน้าที่ต้องจัดหานักเรียนเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ให้ได้ภาคการศึกษาละ 700 คน และกำหนดให้จำเลยจะต้องเก็บค่าเล่าเรียนจากเด็กนักเรียนคนละ 700 บาทต่อหนึ่งภาคการศึกษา โดยจำเลยจะต้องนำเงินค่าเล่าเรียนส่งแก่โจทก์ในภาคการศึกษาที่ 1 และที่ 2 ตามที่กำหนด ย่อมหมายถึงว่าจำเลยจะต้องเก็บเงินจากนักเรียนเหล่านั้นให้ได้ หากจำเลยเก็บไม่ได้จำเลยก็ต้องรับผิดในเงินส่วนนั้น ซึ่งตามความประสงค์ของคู่สัญญาย่อมจะเข้าใจตรงกันเช่นนั้น โจทก์มิได้มาลงทุนจัดสร้างห้องคอมพิวเตอร์เองและว่าจ้างให้จำเลยเป็นผู้หานักเรียนมาเรียนวิชาคอมพิวเตอร์และว่าจ้างจำเลยให้เป็นตัวแทนเก็บค่าเล่าเรียนของนักเรียนแก่โจทก์แต่อย่างใด มิฉะนั้นโจทก์คงจะไม่ตอบแทนจำเลยเมื่อเก็บเงินครบ 4 ปีแล้ว โดยยกกรรมสิทธิ์เครื่องคอมพิวเตอร์วัสดุอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ให้แก่จำเลย ทั้งจำเลยก็ได้ปฏิบัติตามสัญญาครบถ้วนในการศึกษาภาคที่ 1 ดังนั้น เมื่อภาคการศึกษาที่ 2 จำเลยหาเงินมาชำระแก่โจทก์ไม่ครบจึงต้องถือว่าจำเลยผิดสัญญา
จำเลยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ 3 ภาคการศึกษา โจทก์จึงยึดเครื่องคอมพิวเตอร์คืนไป เท่ากับโจทก์และจำเลยตกลงเลิกสัญญาต่อกัน คู่กรณีย่อมกลับคืนสู่ฐานะเดิมโจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าตอบแทนที่จำเลยค้างชำระในภาคการศึกษาที่ 2 ปี 2537ที่ขาดอยู่และในภาคการศึกษาที่ 1 ปี 2538 รวมเป็นเงิน 583,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยเท่ากับเรียกค่าเสียหายส่วนที่เป็นการงานอันได้กระทำให้และเป็นการยอมให้ใช้ทรัพย์นั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 391 วรรคสาม การที่ศาลกำหนดค่าเสียหายเป็นเงิน 250,000 บาทจึงเหมาะสมแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2424/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดิน: การครอบครองปรปักษ์ไม่อาจใช้ได้บังคับกับแผ่นดิน
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยโดยบรรยายในฟ้องว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลและเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น มีอำนาจ หน้าที่ในการดูแลรักษาที่ดินสาธารณะ โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทซึ่งปัจจุบันใช้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนป. อันเป็นสถานศึกษาในสังกัดของโจทก์ จำเลยต่อสู้ว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยแล้วโดยการครอบครองเกินกว่า 10 ปี ฉะนั้นการที่โจทก์นำสืบว่า เดิมที่ดินพิพาทเป็นของใครและโจทก์ได้ที่ดินพิพาทมาโดยเจ้าของเดิมยกให้เพื่อใช้ในกิจการของโจทก์นั้น เป็นการนำสืบถึงมูลเหตุซึ่งได้ที่ดินพิพาทมาเป็นของตนพร้อมทั้งวัตถุประสงค์ของการยกให้ไม่ใช่เป็นการนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็น ทรัพย์สินของแผ่นดินมี 2 ประเภท คือ ทรัพย์สินของแผ่นดิน ธรรมดาซึ่งเป็นของรัฐ กับสาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งมีลักษณะสำคัญอยู่ที่ว่าใช้เพื่อสาธารณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน ฉะนั้น ทรัพย์สินของแผ่นดินที่จะเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่นั้น จึงขึ้นอยู่กับสภาพของทรัพย์สินนั้นเองว่าได้ใช้เพื่อสาธารณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันหรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาปรากฏว่า ที่ดินพิพาทซึ่งบริษัทช. ยกให้โจทก์ได้ใช้เป็นที่ตั้งโรงเรียนป. และเนื่องจากโจทก์เป็นหน่วยงานของรัฐ ทรัพย์สินของโจทก์จึงเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน ประเภทสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 จำเลยจึงไม่อาจยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1306 เมื่อประเด็น ในคดีนี้มีว่า จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองตามข้อต่อสู้หรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งกฎหมายห้ามมิให้จำเลยยกอายุความขึ้นต่อสู้กับแผ่นดิน จำเลยย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองตามมาตรา 1382 จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4129/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกที่ดินให้สร้างโรงเรียนมีเงื่อนไข: สิทธิครอบครองยังคงอยู่กับผู้ให้ หากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข
ขณะโจทก์ยกที่ดินพิพาทให้จำเลยเพื่อเป็นสถานที่ก่อสร้างโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอนั้น โรงเรียนที่จะสร้างขึ้นยังไม่มีที่ดินและอาคารเรียนเป็นของตนเอง และยังไม่มีบุคคลหนึ่งบุคคลใดยกที่ดินให้แก่จำเลยเพื่อเป็นที่สร้างโรงเรียนดังกล่าว จึงเป็นการที่โจทก์ยกให้ที่มีวัตถุประสงค์ชี้ชัดอยู่ในตัวว่าเพื่อให้จำเลยนำที่ดินพิพาทไปใช้เป็นสถานที่สำหรับสร้างโรงเรียน ได้แก่อาคารเรียนและสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นที่เกี่ยวข้องเป็นประการสำคัญ กรณีมิใช่เป็นการสละสิทธิครอบครองด้วยการยกให้โดยเด็ดขาด แต่เป็นการยกให้โดยมีเงื่อนไข ดังนี้ จำเลยย่อมไม่สามารถนำที่ดินพิพาทไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้ตามอำเภอใจ และเมื่อโจทก์ยังครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทอยู่โดยจำเลยไม่เคยเข้าครอบครองที่ดินพิพาทเลย แม้คณะกรรมการศึกษาโดยศึกษาธิการอำเภอเคยจ้างรถเกรดมาไถที่ดินพิพาทให้เตียน ก็ไม่ปรากฏว่าได้ดำเนินการอื่นใดต่อมาเป็นกิจจะลักษณะที่พอจะแสดงว่าจำเลยได้เข้ายึดถือครอบครองที่ดินพิพาท และตั้งแต่โจทก์ยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย ทางโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอก็ไม่ได้เข้าไปก่อสร้างหรือทำประโยชน์อย่างอื่นในที่ดินพิพาทเลย การที่หลังจากจำเลยได้รับงบประมาณสำหรับสร้างโรงเรียนแล้ว จำเลยไม่ได้ใช้ที่ดินพิพาทเป็นสถานที่สร้างโรงเรียน แต่กลับไปสร้างโรงเรียนในที่ดินแปลงอื่นที่ไกลออกไปจากที่ดินพิพาทซึ่งบุคคลอื่นยกให้และมีความเหมาะสมกว่า โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เข้าปลูกสร้างอาคารหรือปลูกสร้างสิ่งหนึ่งสิ่งใดอันเกี่ยวกับการสร้างโรงเรียนลงในที่ดินพิพาทดังนี้จึงเท่ากับจำเลยไม่ได้รับเอาที่ดินพิพาทที่โจทก์ยกให้ไปสร้างโรงเรียนตามเงื่อนไขของโจทก์ จำเลยจะอ้างเอาภายหลังว่าจำเลยจะสงวนที่ดินพิพาทไว้ใช้เพื่อประโยชน์อย่างอื่นของโรงเรียนเป็นการฝ่าฝืนต่อความประสงค์ที่แท้จริงของโจทก์หาได้ไม่ที่ดินพิพาทจึงไม่ตกเป็นของทางราชการและไม่ตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
นับตั้งแต่โจทก์ยกที่ดินให้แก่จำเลยโดยมีเงื่อนไขให้จำเลยสร้างโรงเรียน จำเลยไม่ได้ยุ่งเกี่ยวที่ดินพิพาทเลย มีแต่ในระยะแรก นักเรียนโรงเรียนมัธยมที่จำเลยสร้างขึ้นในที่ดินแปลงอื่นได้มาขออนุญาตโจทก์ทำแปลงสาธิตการเกษตรในที่ดินพิพาทบางส่วน แต่ปลูกพืชไม่ได้ผลเพราะขาดแคลนน้ำ จึงเลิกไปไม่ได้กลับมาปลูกอีก โจทก์ก็ได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมา ต่อมาเมื่อทางราชการประกาศให้มีการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ โจทก์ไปขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาท เจ้าพนักงานออกมารังวัดตรวจสอบที่ดิน จำเลยก็ไม่ได้คัดค้าน หลังจากนั้น โจทก์และบุตรปลูกบ้านและห้องแถวลงในที่ดินพิพาทจำเลยก็ไม่ได้คัดค้านเช่นเดียวกัน และเมื่อโจทก์ทราบว่าจำเลยขึ้นทะเบียนที่ดินพิพาทเป็นที่ดินราชพัสดุ โจทก์ก็ไปขอคืน จำเลยจึงให้โจทก์หาที่ดินแปลงอื่นไปแลก แต่ตกลงราคากันไม่ได้ โจทก์ก็ยังคงครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมา ดังนี้ เมื่อโจทก์ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมา โจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทจำเลยย่อมไม่มีสิทธิคัดค้านการขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาทของโจทก์ และไม่มีสิทธินำที่ดินพิพาทไปขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุ
เมื่อกรณีเป็นเรื่องที่จำเลยนำที่ดินของโจทก์ไปขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุโดยไม่ชอบ มิใช่เป็นเรื่องการทำนิติกรรมระหว่างโจทก์หรือจำเลยศาลจึงมีอำนาจสั่งให้จำเลยกระทำให้ถูกต้องโดยให้จำเลยถอนคำคัดค้าน และให้เพิกถอนที่พิพาทออกจากทะเบียนได้ โดยไม่จำต้องสั่งให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา ตาม ป.พ.พ.มาตรา 213 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4619/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตโรงเรียนชอบด้วยกฎหมายเมื่อสถานที่ตั้งไม่เป็นไปตามเงื่อนไข และเจ้าของที่ดินไม่อนุญาตใช้พื้นที่
ขณะที่โจทก์ได้รับใบอนุญาตให้เปิดสอนระดับประถมศึกษาโรงเรียนของโจทก์มีคุณสมบัติครบถ้วนตามกฎกระทรวงฉบับที่ 2(พ.ศ. 2529) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 และระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานของโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษาระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา พ.ศ. 2528 แต่ต่อมาที่ดินที่ใช้จัดตั้งโรงเรียนถูกแบ่งแยกออกไป มิใช่เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์และเจ้าของที่ดินไม่ยินยอมให้โจทก์ใช้ที่ดินต่อไปจึงมีสภาพขัดต่อกฎกระทรวงดังกล่าว ซึ่งตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 มาตรา 55ให้ผู้อนุญาตมีอำนาจออกคำสั่งให้ผู้รับใบอนุญาตแก้ไขสภาพเช่นว่านั้น เมื่อเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาเอกชนจำเลยซึ่งเป็นผู้อนุญาต ได้มีหนังสือแจ้งให้โจทก์แก้ไขให้ถูกต้องแล้วแต่โจทก์ไม่ปฏิบัติตาม และทำให้เป็นที่เดือดร้อนแก่นักเรียนและครูผู้สอน กรณีต้องด้วยมาตรา 85(3) ที่ให้อำนาจจำเลยสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4619/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เพิกถอนใบอนุญาตโรงเรียน: สถานที่ตั้งไม่เป็นไปตามกฎหมาย และเจ้าของที่ดินไม่ยินยอม
ตามกฎกระทรวงฉบับที่2(พ.ศ.2529)ออกตามความในพระราชบัญญัติ โรงเรียนเอกชนพ.ศ.2525ข้อ6กำหนดว่าที่ดินที่ใช้จัดตั้งโรงเรียนต้องเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ขอรับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนหรือเป็นที่เช่าที่มีลักษณะดังนี้คือถ้าเป็นที่ดินของเอกชนต้องมีสัญญาเช่าซึ่งมีระยะเวลาเช่าเหลืออยู่นับแต่วันยื่นคำขอไม่น้อยกว่าสิบปีและได้จดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ส่วนระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานของโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษาระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษาพ.ศ.2528ข้อ5(1)ระบุว่าที่ดินของโรงเรียนต้องเป็นผืนเดียวติดต่อกันมีเนื้อที่ไม่น้อยกว่า2ไร่และมีบทเฉพาะกาลข้อ16ระบุว่าโรงเรียนที่ได้รับอนุญาตให้เปิดสอนระดับประถมศึกษาอยู่แล้วก่อนวันใช้ระเบียบนี้เกี่ยวกับสถานที่และอาคารซึ่งกำหนดไว้ในข้อ5(1)ถ้าโรงเรียนใดได้รับอนุญาตให้ใช้อยู่แล้วให้ใช้ต่อไปได้แต่ถ้าจะขอจัดตั้งใหม่หรือขอเปลี่ยนแปลงจะต้องให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ดังนั้นขณะที่โจทก์ได้รับใบอนุญาตให้เปิดสอนระดับประถมศึกษาแม้โรงเรียนของโจทก์จะมีคุณสมบัติครบถ้วนถูกต้องก็ตามแต่ต่อมาที่ดินที่ใช้จัดตั้งโรงเรียนถูกแบ่งแยกออกเป็นหลายเจ้าของและเจ้าของที่ดินที่อาคารของโรงเรียนตั้งอยู่ไม่ยินยอมให้โจทก์ใช้ที่ดินต่อไปดังนี้จึงเป็นกรณีที่โจทก์ผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนมิใช่เจ้าของที่ดินที่ใช้ตั้งโรงเรียนทั้งโจทก์ก็มิได้มีสัญญาเช่าที่ดินดังกล่าวจากเจ้าของที่ดินย่อมขัดต่อกฎกระทรวงฉบับที่2ข้อ6ซึ่งตามพระราชบัญญัติ โรงเรียนเอกชนพ.ศ.2525มาตรา55บัญญัติว่าในกรณีที่สถานที่หรือบริเวณที่ตั้งของโรงเรียนมีสภาพขัดต่อหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา18ให้ผู้อนุญาตมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้ผู้รับใบอนุญาตดำเนินการแก้ไขสภาพเช่นว่านั้นเมื่อจำเลยที่2ได้มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ดำเนินการให้ถูกต้องแล้วแต่โจทก์ไม่ปฏิบัติตามจึงได้มีการออกคำสั่งให้หยุดทำการสอนชั่วคราวและเพิกถอนใบอนุญาตในเวลาต่อมาฉะนั้นไม่ว่าโจทก์จะได้รับประโยชน์จากบทเฉพาะกาลของระเบียบกระทรวงศึกษาธิการดังที่อ้างหรือไม่ก็ไม่ทำให้กรณีของโจทก์ถูกต้องตามเงื่อนไขในกฎกระทรวงฉบับที่2แต่อย่างใดกรณีต้องด้วยมาตรา85(3)แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชนพ.ศ.2525ที่บัญญัติให้ผู้อนุญาตมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนตามมาตรา18ได้คำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตในส่วนที่เกี่ยวกับระดับประถมศึกษาจึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3806/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกโดยการปิดประกาศที่โรงเรียนที่ไม่มีรั้วและป้ายชื่ออยู่ริมถนนสาธารณะไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โรงเรียนวัดหนองจิกไม่มีรั้วล้อมรอบ ป้ายชื่อโรงเรียนอยู่ติดถนนสายไปตลาดห้วยกระบอกซึ่งเป็นทางสาธารณะ ตัวอาคารเรียนอยู่ลึกเข้าไปข้างในสามารถเดินเข้าไปได้ หน้าห้องธุรการโรงเรียนมีแผ่นป้ายสามารถปิดประกาศต่าง ๆ ได้ ดังนี้การปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องที่ป้ายโรงเรียนในวันหยุดราชการและไม่มีผู้ใดอยู่ย่อมหลุดหายไม่ถึงมือผู้รับได้โดยง่าย ถือไม่ได้ว่าเป็นการส่งคำคู่ความโดยการปิดคำคู่ความ ณ สำนักทำการงานของจำเลย การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 79 วรรคแรก กระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นตั้งแต่การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยและภายหลังแต่นั้นมาจึงเป็นการไม่ชอบและไม่มีผลตามกฎหมาย ทั้งเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมและเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ชอบที่ศาลชั้นต้นจะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1339/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายโรงเรียน: ศาลฎีกาแก้ไขจำนวนเงินคืนและค่าปรับตามความเหมาะสม โดยยึดหลักการกลับคืนสู่ฐานะเดิม
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า การที่จำเลยไม่สามารถโอนสิทธิการเช่ารวมทั้งเปลี่ยนชื่อเจ้าของโรงเรียนให้แก่โจทก์ไม่เป็นเหตุสุดวิสัยถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา แต่พิพากษายกฟ้องโจทก์โดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องใหม่ภายในอายุความ เมื่อโจทก์อุทธรณ์จำเลยมิได้โต้แย้งในประเด็นข้อนี้ การที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยมิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา จึงเป็นเรื่องที่มิได้ว่ากล่าวกันในศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาและโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้วคู่สัญญาจะต้องกลับคืนสู่ฐานะดั่งที่เป็นอยู่เดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 แต่โจทก์ได้ครอบครองและใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินที่ซื้อขายตลอดมา การที่จำเลยจะต้องคืนเงินทั้งหมดให้แก่โจทก์ จึงไม่เป็นธรรมแก่จำเลย ศาลมีอำนาจกำหนดจำนวนเงินที่จำเลยต้องคืนให้แก่โจทก์เมื่อเลิกสัญญาตามที่เห็นสมควรได้ และให้โจทก์คืนทรัพย์สินที่ซื้อขายให้แก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2084/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินสาธารณประโยชน์: สิทธิครอบครองและค่าเสียหายจากการปรับปรุงเพื่อสร้างโรงเรียน
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของผู้ครอบครองที่ดินพิพาท จำเลยทั้งสิบห้าบุกรุกเข้าไปในที่ดินพิพาท ทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่า หรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งหน้าดิน กับไถดินปิดกั้นทางเกวียน ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสิบห้าและให้จำเลยทั้งสิบห้าร่วมกันชดใช้ค่าเสียหาย แต่ทางพิจารณาข้อเท็จจริงได้ความว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณประโยชน์อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน โจทก์ไม่มีสิทธิครอบครอง และการที่จำเลยเข้าไปปรับปรุงที่ดินพิพาทก็เพื่อใช้เป็นที่สร้างโรงเรียน โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายที่ไม่สามารถเข้าทำนาในที่ดินพิพาท
of 4