พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1395/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะนิติบุคคลโรงเรียนเอกชน, อายุความค่าจ้าง: ศาลฎีกาพิพากษาจำกัดจำนวนค่าจ้างค้างจ่ายตามอายุความ
พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา 44 ประกอบด้วยมาตรา 18 (2) บัญญัติให้โรงเรียนเอกชนเป็นนิติบุคคล ซึ่งบทบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม 2542 แม้ตามบทเฉพาะกาลตามมาตรา 71 จะให้จำเลยซึ่งเป็นสถานศึกษาที่ยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลที่มีอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับให้คงมีฐานะและอำนาจหน้าที่เช่นเดิมต่อไปจนกว่าจะได้มีการจัดระบบการบริหารและการจัดการศึกษาตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งต้องไม่เกินสามปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ปรากฏว่าครบสามปีเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2545 จำเลยย่อมมีสภาพเป็นนิติบุคคลโดยไม่จำต้องไปจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานทะเบียน โจทก์ฟ้องจำเลยเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2546 หลังจากจำเลยมีฐานะเป็นนิติบุคคลแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์เป็นครูลูกจ้างจำเลยฟ้องเรียกเอาค่าจ้างจากจำเลยที่จ่ายขาดตามสัญญาจ้างแรงงาน ย่อมมีกำหนดอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (9) โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2546 ดังนั้น คำฟ้องที่เรียกเอาค่าจ้างที่ถึงกำหนดจ่ายตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2542 ถึงเดือนมิถุนายน 2544 ย่อมเกิน 2 ปี จึงขาดอายุความ คงเรียกค่าจ้างค้างจ่ายได้เดือนละ 1,360 บาท ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2544 ถึงเดือนสิงหาคม 2545 เป็นค่าจ้างค้างจ่ายจำนวน 14 เดือน เป็นเงิน 19,040 บาท
โจทก์เป็นครูลูกจ้างจำเลยฟ้องเรียกเอาค่าจ้างจากจำเลยที่จ่ายขาดตามสัญญาจ้างแรงงาน ย่อมมีกำหนดอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (9) โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2546 ดังนั้น คำฟ้องที่เรียกเอาค่าจ้างที่ถึงกำหนดจ่ายตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2542 ถึงเดือนมิถุนายน 2544 ย่อมเกิน 2 ปี จึงขาดอายุความ คงเรียกค่าจ้างค้างจ่ายได้เดือนละ 1,360 บาท ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2544 ถึงเดือนสิงหาคม 2545 เป็นค่าจ้างค้างจ่ายจำนวน 14 เดือน เป็นเงิน 19,040 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8115/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โรงเรียนเอกชนเก็บค่าธรรมเนียมและรับเงินอุดหนุน ถือเป็นกิจการแสวงหากำไร ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน
ทรัพย์สินที่จะได้รับยกเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดินนั้นได้แก่ทรัพย์สินตามที่ระบุไว้ในมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 โรงเรียนของโจทก์เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการเรียนจากนักเรียนตามอัตราที่ได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ.โรงเรีอนเอกชน พ.ศ. 2525 และค่าธรรมเนียมอื่นได้แก่ ค่าอุปกรณ์ ค่าอาหาร ค่าซักฟอก ค่าบำรุงสมาชิกยุวกาชาด เนตรนารี หนังสือ สมุด ค่าประกันอุบัติเหตุ และค่าเรียนคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ยังได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลในอัตราร้อยละ 40 ของจำนวนนักเรียน เงินที่ได้รับมาทั้งหมดนำไปใช้ในกิจการของโรงเรียนของโจทก์ จ้างครูมาสอน พัฒนาขยายโรงเรียน หากปีใดไม่ต้องซ่อมแซมหรือสร้างอาคารและมีเงินเหลือก็จะส่งให้โจทก์ ย่อมเป็นข้อชี้แสดงว่าโรงเรียนของโจทก์เป็นโรงเรียนเอกชนที่กระทำกิจการเพื่อเป็นผลกำไรส่วนบุคคล โรงเรือนและที่ดินจึงไม่ใช่ทรัพย์ของโรงเรียนสาธารณะซึ่งกระทำกิจการอันมิใช่เพื่อเป็นผลกำไรส่วนบุคคล และใช้เฉพาะในการศึกษาอันไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 9 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4003/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินของโรงเรียนเอกชน การพิสูจน์ว่าโรงเรียนไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อการกุศล และการใช้ประโยชน์เพื่อหารายได้
ผู้แทนหรือผู้มีอำนาจกระทำแทนมิซซังตามพระราชบัญญัติว่าด้วยลักษณะฐานะของวัดบาทหลวงโรมันคาทอลิกในกรุงสยามตามกฎหมาย ร.ศ. 128 ข้อ 2 วรรคสองมีอยู่ 2 คน คือ อ. ที่โป๊ปได้แต่งตั้งมา และถ้าไม่มีตัวอยู่คนที่เป็นผู้แทนอีกคนหนึ่งคือผู้บัญชาการของมิซซังมิซซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพมหานครโจทก์มี ค. เป็นมุขนายกซึ่งมีสิทธิและหน้าที่ในการปกครองดูแลมิซซัง จึงถือว่า ค. เป็นผู้บัญชาการของมิซซังมีอำนาจกระทำการแทนโจทก์และมีอำนาจมอบอำนาจให้ผู้อื่นดำเนินการแทนต่อไป เมื่อ ค. มอบอำนาจให้ ป. ฟ้องคดีและให้มีอำนาจมอบอำนาจช่วงได้ เมื่อ ป. มอบอำนาจให้ ม. และหรือ ว. ฟ้องคดีแทน ม. และหรือ ว. จึงมีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ได้
แม้คณะเทศมนตรีไม่ใช่นิติบุคคล แต่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 เป็นคณะเทศมนตรี โดย ศ. นายกเทศมนตรีในฐานะประธานกรรมการผู้มีอำนาจรับคำร้องและวินิจฉัยแจ้งคำชี้ขาดการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินของผู้ร้องอุทธรณ์ตามกฎหมาย ถือได้ว่าโจทก์ฟ้อง ศ. นายกเทศมนตรีในฐานะผู้แจ้งคำชี้ขาดคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินใหม่ เมื่อโจทก์ไม่พอใจคำวินิจฉัยชี้ขาด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดของคณะเทศมนตรี เพื่อให้ ศ. ในฐานะผู้แจ้งคำชี้ขาดเข้ามาต่อสู้คดีและชี้แจงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยเพื่อแก้ข้ออ้างของโจทก์
โรงเรียนที่จะได้รับยกเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดินตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 9(3) ต้องมีลักษณะเป็นโรงเรียนสาธารณะ กระทำกิจการอันมิใช่เพื่อเป็นผลกำไรส่วนบุคคล และจะต้องใช้ในการศึกษาเท่านั้น โรงเรียนของโจทก์เป็นโรงเรียนเอกชนเก็บค่าธรรมเนียมการเรียนเป็นอัตราแน่นอนและได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาล ทั้งมีรายได้แต่ละปีเป็นจำนวนมาก และโจทก์ยังใช้สถานที่ของโรงเรียนหารายได้นอกเหนือจากการศึกษา โดยนำไปให้บุคคลภายนอกใช้และเรียกเก็บค่าใช้จ่ายจึงมิใช่เป็นการกระทำกิจการอันมิใช่เพื่อเป็นผลกำไรส่วนบุคคลและมิได้ใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น เมื่อโรงเรียนของโจทก์ไม่ใช่ลักษณะของโรงเรียนตามมาตรา 9(3) โจทก์จึงต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน
แม้คณะเทศมนตรีไม่ใช่นิติบุคคล แต่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 เป็นคณะเทศมนตรี โดย ศ. นายกเทศมนตรีในฐานะประธานกรรมการผู้มีอำนาจรับคำร้องและวินิจฉัยแจ้งคำชี้ขาดการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินของผู้ร้องอุทธรณ์ตามกฎหมาย ถือได้ว่าโจทก์ฟ้อง ศ. นายกเทศมนตรีในฐานะผู้แจ้งคำชี้ขาดคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินใหม่ เมื่อโจทก์ไม่พอใจคำวินิจฉัยชี้ขาด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดของคณะเทศมนตรี เพื่อให้ ศ. ในฐานะผู้แจ้งคำชี้ขาดเข้ามาต่อสู้คดีและชี้แจงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยเพื่อแก้ข้ออ้างของโจทก์
โรงเรียนที่จะได้รับยกเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดินตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 9(3) ต้องมีลักษณะเป็นโรงเรียนสาธารณะ กระทำกิจการอันมิใช่เพื่อเป็นผลกำไรส่วนบุคคล และจะต้องใช้ในการศึกษาเท่านั้น โรงเรียนของโจทก์เป็นโรงเรียนเอกชนเก็บค่าธรรมเนียมการเรียนเป็นอัตราแน่นอนและได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาล ทั้งมีรายได้แต่ละปีเป็นจำนวนมาก และโจทก์ยังใช้สถานที่ของโรงเรียนหารายได้นอกเหนือจากการศึกษา โดยนำไปให้บุคคลภายนอกใช้และเรียกเก็บค่าใช้จ่ายจึงมิใช่เป็นการกระทำกิจการอันมิใช่เพื่อเป็นผลกำไรส่วนบุคคลและมิได้ใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น เมื่อโรงเรียนของโจทก์ไม่ใช่ลักษณะของโรงเรียนตามมาตรา 9(3) โจทก์จึงต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4003/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีโรงเรือน: โรงเรียนเอกชนเก็บค่าธรรมเนียมและใช้สถานที่หารายได้นอกเหนือการศึกษา ไม่ได้รับการยกเว้นภาษี
ผู้แทนหรือผู้มีอำนาจกระทำแทนมิซซังตามพระราชบัญญัติว่าด้วยลักษณฐานะของวัดบาทหลวงโรมันคาทอลิกในกรุงสยามตามกฎหมายฯ ข้อ 2 วรรคสอง มีอยู่ 2 คนคือ วิการิโออาปอสตอลิโกที่โป๊ปได้แต่งตั้งมา และถ้าไม่มีตัวอยู่คนที่เป็นผู้แทนอีกคนหนึ่งคือผู้บัญชาการของมิซซัง โจทก์มี ค. เป็นมุขนายกซึ่งมีสิทธิและหน้าที่ในการปกครองดูแลมิซซัง จึงถือว่า ค. เป็นผู้บัญชาการของมิซซัง มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์และมีอำนาจมอบอำนาจให้ผู้อื่นดำเนินการแทนต่อไป เมื่อ ค. มอบอำนาจให้ ป. ฟ้องคดีและให้มีอำนาจมอบอำนาจช่วงได้ เมื่อ ป. มอบอำนาจให้ ม. และหรือ ว. ฟ้องคดีแทนม. และหรือ ว. จึงมีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ได้
แม้คณะเทศมนตรีไม่ใช่นิติบุคคล แต่โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 2 เป็นคณะเทศมนตรี โดย ศ. นายกเทศมนตรีในฐานะประธานกรรมการผู้มีอำนาจรับคำร้อง และวินิจฉัยแจ้งคำชี้ขาดการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินของผู้ร้องอุทธรณ์ตามกฎหมายถือได้ว่าโจทก์ฟ้องตัว ศ. นายกเทศมนตรีในฐานะผู้แจ้งคำชี้ขาดคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินใหม่ เมื่อโจทก์ไม่พอใจคำวินิจฉัยชี้ขาด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดของคณะเทศมนตรี เพื่อให้ ศ. ในฐานะผู้แจ้งคำชี้ขาด เข้ามาต่อสู้คดีและชี้แจงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยเพื่อแก้ข้ออ้างของโจทก์
โรงเรียนที่จะได้รับยกเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดินตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ มาตรา 9(3) นั้นต้องเป็นโรงเรียนสาธารณะ ซึ่งกระทำกิจการอันมิใช่เพื่อเป็นผลกำไรส่วนบุคคล และจะต้องใช้ในการศึกษาเท่านั้น โรงเรียนของโจทก์เก็บค่าธรรมเนียมการเรียนเป็นอัตราแน่นอนและยังได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลทั้งยังมีรายได้แต่ละปีเป็นจำนวนมาก การเก็บค่าธรรมเนียมการเรียนและค่าธรรมเนียมอื่นของโจทก์จึงเป็นการกระทำกิจการเพื่อเป็นผลกำไรส่วนบุคคลและโจทก์ยังใช้สถานที่ของโรงเรียนหารายได้นอกเหนือจากการศึกษาอีกด้วย โดยนำไปให้บุคคลภายนอกใช้และเรียกเก็บค่าใช้จ่าย กิจการโรงเรียนของโจทก์จึงมิใช่เป็นการกระทำกิจการอันมิใช่เพื่อเป็นผลกำไรส่วนบุคคล และมิได้ใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น เมื่อโรงเรียนของโจทก์ไม่ใช่ลักษณะของโรงเรียนตามมาตรา 9(3) แล้วโจทก์จึงต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน
แม้คณะเทศมนตรีไม่ใช่นิติบุคคล แต่โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 2 เป็นคณะเทศมนตรี โดย ศ. นายกเทศมนตรีในฐานะประธานกรรมการผู้มีอำนาจรับคำร้อง และวินิจฉัยแจ้งคำชี้ขาดการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินของผู้ร้องอุทธรณ์ตามกฎหมายถือได้ว่าโจทก์ฟ้องตัว ศ. นายกเทศมนตรีในฐานะผู้แจ้งคำชี้ขาดคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินใหม่ เมื่อโจทก์ไม่พอใจคำวินิจฉัยชี้ขาด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดของคณะเทศมนตรี เพื่อให้ ศ. ในฐานะผู้แจ้งคำชี้ขาด เข้ามาต่อสู้คดีและชี้แจงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยเพื่อแก้ข้ออ้างของโจทก์
โรงเรียนที่จะได้รับยกเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดินตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ มาตรา 9(3) นั้นต้องเป็นโรงเรียนสาธารณะ ซึ่งกระทำกิจการอันมิใช่เพื่อเป็นผลกำไรส่วนบุคคล และจะต้องใช้ในการศึกษาเท่านั้น โรงเรียนของโจทก์เก็บค่าธรรมเนียมการเรียนเป็นอัตราแน่นอนและยังได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลทั้งยังมีรายได้แต่ละปีเป็นจำนวนมาก การเก็บค่าธรรมเนียมการเรียนและค่าธรรมเนียมอื่นของโจทก์จึงเป็นการกระทำกิจการเพื่อเป็นผลกำไรส่วนบุคคลและโจทก์ยังใช้สถานที่ของโรงเรียนหารายได้นอกเหนือจากการศึกษาอีกด้วย โดยนำไปให้บุคคลภายนอกใช้และเรียกเก็บค่าใช้จ่าย กิจการโรงเรียนของโจทก์จึงมิใช่เป็นการกระทำกิจการอันมิใช่เพื่อเป็นผลกำไรส่วนบุคคล และมิได้ใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น เมื่อโรงเรียนของโจทก์ไม่ใช่ลักษณะของโรงเรียนตามมาตรา 9(3) แล้วโจทก์จึงต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3855/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นภาษีป้ายสำหรับโรงเรียนเอกชน ป้ายต้องแสดงชื่อโรงเรียนเป็นอักษรไทยตามกฎหมายเฉพาะ
ตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชนฯ มาตรา 46 ป้ายของโรงเรียนเอกชนหมายถึงป้ายแสดงชื่อโรงเรียนที่เป็นอักษรไทยเท่านั้น เมื่อป้ายพิพาทมิใช่ป้ายแสดงชื่อโรงเรียนที่เป็นอักษรไทย จึงมิใช่ป้ายโรงเรียนเอกชนที่จะได้รับยกเว้นภาษีป้ายตามพระราชบัญญัติภาษีป้ายฯ มาตรา 8(9) จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของป้ายมีหน้าที่ต้องเสียภาษีป้ายตามมาตรา 7 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติภาษีป้ายฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3855/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นภาษีป้ายโรงเรียนเอกชนต้องเป็นป้ายแสดงชื่อโรงเรียนเป็นอักษรไทยตามกฎหมายเฉพาะ
มาตรา 8(9) แห่งพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. 2510 บัญญัติยกเว้นภาษีป้ายสำหรับป้ายของโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน การที่จะพิจารณาว่าป้ายใดจะถือเป็นป้ายโรงเรียนเอกชนหรือไม่ จึงต้องพิจารณาตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 ซึ่งมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติว่า "ให้ผู้รับใบอนุญาตจัดให้มีป้ายแสดงชื่อโรงเรียนเป็นอักษรไทย ขนาดใหญ่พอเห็นได้ในระยะอันสมควรติดไว้ที่โรงเรียนหรือบริเวณโรงเรียน ณ ที่ซึ่งเห็นได้ง่าย" ดังนั้นป้ายของโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนจึงหมายความถึงป้ายแสดงชื่อโรงเรียนที่เป็นอักษรไทยตามบทบังคับของมาตรา 46 เท่านั้น ป้ายพิพาทมิใช่ป้ายแสดงชื่อโรงเรียนที่เป็นอักษรไทยตามบทกฎหมายดังกล่าว จึงมิใช่ป้ายของโรงเรียนเอกชนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 8(9)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7767/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างครูโรงเรียนเอกชนเป็นสัญญาจ้างแรงงาน ฟ้องศาลแรงงานได้ แม้มีกฎกระทรวงคุ้มครองเฉพาะ
โจทก์และจำเลยต่างเป็นเอกชนที่ตกลงทำสัญญาจ้างกัน โดยจำเลยตกลงจ้างโจทก์ทำงานเป็นครู และให้ค่าจ้างเป็นรายเดือนตลอดเวลาที่ทำงานให้จำเลย สัญญาจ้างเป็นครูดังกล่าวจึงเป็นการจ้างแรงงานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 575 แต่มิใช่สัญญาทางการปกครองแม้กฎกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม (ฉบับที่ 1)ฯ ข้อ (1) จะกำหนดมิให้ใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ บังคับแก่นายจ้างซึ่งประกอบกิจการโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับครูใหญ่และครู แต่เมื่อสัญญาการเป็นครูเป็นสัญญาจ้างแรงงานโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยใช้เงินอันเนื่องมาจากสัญญาจ้างแรงงานได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯมาตรา 8 เพียงแต่ศาลแรงงานกลางจะนำพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯมาบังคับใช้แก่คดีนี้ไม่ได้เท่านั้น พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชนฯ มีวัตถุประสงค์ควบคุมโรงเรียนเอกชนให้เป็นระเบียบและมีประสิทธิภาพ มิใช่กฎหมายที่ให้ความคุ้มครองแก่นายจ้างและลูกจ้างหรือกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างลูกจ้าง หรือแก้ไขข้อขัดแย้งระหว่างนายจ้างลูกจ้างอันเป็นวัตถุประสงค์ของกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานหรือกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์แม้จะมีการกำหนดให้การคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโดยมีคณะกรรมการคุ้มครองการทำงานเป็นผู้ควบคุมดูแลให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง แต่บทบัญญัติดังกล่าวไม่ใช่กฎหมายที่ขจัดข้อพิพาทระหว่างครูใหญ่หรือครูกับผู้รับใบอนุญาตหรือผู้จัดการพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชนฯ จึงไม่ใช่กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานหรือกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ที่โจทก์จะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมายดังกล่าวก่อนฟ้องคดี โจทก์มีอำนาจฟ้อง
ในการฟ้องคดีแพ่งโจทก์เพียงแสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นเท่านั้นไม่จำต้องอ้างบทกฎหมายที่กำหนดให้จำเลยต้องจ่ายเงินตามฟ้องมาด้วย ศาลก็มีอำนาจนำบทกฎหมายที่นอกเหนือจากที่โจทก์อ้างมาปรับกับข้อเท็จจริงตามฟ้องได้เพราะเป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องยกบทกฎหมายที่ถูกต้องมาปรับแก่ข้อเท็จจริงนั้น ที่ศาลแรงงานกลางนำระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชนฯ มาปรับแก่คดีนี้ จึงไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
ในการฟ้องคดีแพ่งโจทก์เพียงแสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นเท่านั้นไม่จำต้องอ้างบทกฎหมายที่กำหนดให้จำเลยต้องจ่ายเงินตามฟ้องมาด้วย ศาลก็มีอำนาจนำบทกฎหมายที่นอกเหนือจากที่โจทก์อ้างมาปรับกับข้อเท็จจริงตามฟ้องได้เพราะเป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องยกบทกฎหมายที่ถูกต้องมาปรับแก่ข้อเท็จจริงนั้น ที่ศาลแรงงานกลางนำระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชนฯ มาปรับแก่คดีนี้ จึงไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5364-5368/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างครูเป็นสัญญาจ้างแรงงาน การเลิกจ้างต้องเป็นไปตามกฎหมายแรงงาน แม้มีระเบียบ รร.เอกชน
โจทก์จำเลยต่างเป็นเอกชน จำเลยตกลงรับโจทก์เข้าทำงานตำแหน่งครูผู้สอนและจ่ายค่าจ้างเป็นเงินเดือนให้โจทก์ตลอดเวลาที่ทำงานให้จำเลยมีลักษณะเป็นสัญญาจ้างแรงงานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 575 มิใช่สัญญาทางปกครองตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 3 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลแรงงาน
โจทก์เป็นครูตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยซึ่งประกอบกิจการโรงเรียนเอกชนเพื่อเรียกร้องสิทธิตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 แต่ตามคำฟ้องของโจทก์ที่ขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมพอถือได้ว่าเป็นการฟ้อง เรียกค่าชดเชยตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครอง การทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชนฯ ข้อ 32 และข้อ 33 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 6 มาตรา 17 มาตรา 44 และ มาตรา 66 แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 และฟ้องเรียก สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 582 ซึ่งมิใช่ฟ้องเรียกร้องสิทธิหรือประโยชน์ตามพระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงานฯ ส่วนที่ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งห้าโดยไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ก็มิใช่ฟ้องที่อ้างสิทธิตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯโจทก์ทั้งห้าจึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจากจำเลยได้
พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 มีวัตถุประสงค์ที่จะควบคุมการดำเนินงานของโรงเรียนเอกชนให้เป็นระเบียบได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพมิใช่กฎหมายซึ่งให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้างตามวัตถุประสงค์ของกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน แม้จะมีการกำหนดให้การคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโดยมีการออกระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2542 และมีคณะกรรมการประนีประนอมหรือคณะกรรมการคุ้มครองเพื่อพิจารณาหรือพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดแล้วแต่กรณี เป็นผู้ควบคุมดูแลให้เป็นไปตามระเบียบดังกล่าวก็ตาม ก็มิใช่ขั้นตอนการระงับข้อพิพาทตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 8 วรรคสอง ดังนั้น เมื่อโจทก์ทั้งห้าถูกจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งห้าย่อมมีสิทธินำคดีมาสู่ศาลแรงงานได้ทันทีโดยไม่จำเป็นต้องดำเนินการตามขั้นตอนในพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 ก่อน
โจทก์เป็นครูตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยซึ่งประกอบกิจการโรงเรียนเอกชนเพื่อเรียกร้องสิทธิตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 แต่ตามคำฟ้องของโจทก์ที่ขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมพอถือได้ว่าเป็นการฟ้อง เรียกค่าชดเชยตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครอง การทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชนฯ ข้อ 32 และข้อ 33 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 6 มาตรา 17 มาตรา 44 และ มาตรา 66 แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 และฟ้องเรียก สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 582 ซึ่งมิใช่ฟ้องเรียกร้องสิทธิหรือประโยชน์ตามพระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงานฯ ส่วนที่ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งห้าโดยไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ก็มิใช่ฟ้องที่อ้างสิทธิตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯโจทก์ทั้งห้าจึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจากจำเลยได้
พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 มีวัตถุประสงค์ที่จะควบคุมการดำเนินงานของโรงเรียนเอกชนให้เป็นระเบียบได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพมิใช่กฎหมายซึ่งให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้างตามวัตถุประสงค์ของกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน แม้จะมีการกำหนดให้การคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโดยมีการออกระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2542 และมีคณะกรรมการประนีประนอมหรือคณะกรรมการคุ้มครองเพื่อพิจารณาหรือพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดแล้วแต่กรณี เป็นผู้ควบคุมดูแลให้เป็นไปตามระเบียบดังกล่าวก็ตาม ก็มิใช่ขั้นตอนการระงับข้อพิพาทตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 8 วรรคสอง ดังนั้น เมื่อโจทก์ทั้งห้าถูกจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งห้าย่อมมีสิทธินำคดีมาสู่ศาลแรงงานได้ทันทีโดยไม่จำเป็นต้องดำเนินการตามขั้นตอนในพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4619/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เพิกถอนใบอนุญาตโรงเรียนเอกชน เหตุไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์สถานที่และการเช่าที่ดิน
ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2529) ออกตามความในพ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2525 ข้อ 6 กำหนดว่า ที่ดินที่ใช้จัดตั้งโรงเรียนต้องเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ขอรับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียน หรือเป็นที่เช่าที่มีลักษณะดังนี้ คือ ถ้าเป็นที่ดินของเอกชนต้องมีสัญญาเช่าซึ่งมีระยะเวลาเช่าเหลืออยู่นับแต่วันยื่นคำขอไม่น้อยกว่าสิบปีและได้จดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ส่วนระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานของโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษาระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา พ.ศ.2528 ข้อ 5 (1)ระบุว่าที่ดินของโรงเรียนต้องเป็นผืนเดียวติดต่อกัน มีเนื้อที่ไม่น้อยกว่า 3,200ตารางเมตร หรือ 2 ไร่ และมีบทเฉพาะกาล ข้อ 16 ระบุว่าโรงเรียนที่ได้รับอนุญาตให้เปิดสอนระดับประถมศึกษาอยู่แล้วก่อนวันใช้ระเบียบนี้ เกี่ยวกับสถานที่และอาคาร ซึ่งกำหนดไว้ในข้อ 5 (1) ถ้าโรงเรียนใดได้รับอนุญาตให้ใช้อยู่แล้วให้ใช้ต่อไปได้ แต่ถ้าจะขอจัดตั้งใหม่หรือขอเปลี่ยนแปลงจะต้องให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ เห็นได้ว่าแม้ขณะที่โจทก์ได้รับใบอนุญาตให้เปิดสอนระดับประถมศึกษา โรงเรียนของโจทก์จะมีคุณสมบัติครบถ้วนถูกต้องตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2529) ออกตามความใน พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2525 และระเบียบกระทรวงศึกษาธิการดังกล่าวก็ตามแต่ต่อมาปรากฏว่าที่ดินที่ใช้จัดตั้งโรงเรียนถูกแบ่งแยกออกเป็นหลายเจ้าของมิใช่เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ และเจ้าของที่ดินที่อาคารของโรงเรียนตั้งอยู่ไม่ยินยอมให้โจทก์ใช้ที่ดินต่อไป ทั้งไม่ยินยอมให้โจทก์เช่าที่ดินดังกล่าวด้วยดังนี้จึงเป็นกรณีที่โจทก์ผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนมิใช่เจ้าของที่ดินที่ใช้จัดตั้งโรงเรียน ทั้งโจทก์ก็มิได้มีสัญญาเช่าที่ดินดังกล่าวจากเจ้าของที่ดิน ย่อมขัดต่อกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2529) ออกตามความใน พ.ร.บ.ดังกล่าวข้อ 6 ซึ่งตาม พ.ร.บ.ดังกล่าว มาตรา 55 บัญญัติว่า ในกรณีที่สถานที่หรือบริเวณที่ตั้งของโรงเรียนมีสภาพขัดต่อหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 18 ให้ผู้อนุญาตมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้ผู้รับใบอนุญาตดำเนินการแก้ไขสภาพเช่นว่านั้น เมื่อเลขาธิการคณะกรรมการศึกษาเอกชนได้มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ดำเนินการให้ถูกต้องแล้วแต่โจทก์ไม่ปฏิบัติตามจึงได้มีการออกคำสั่งให้หยุดทำการสอนชั่วคราวและเพิกถอนใบอนุญาตในเวลาต่อมา ฉะนั้นไม่ว่าโจทก์จะได้รับประโยชน์จากบทเฉพาะกาลของระเบียบกระทรวงศึกษาธิการดังที่อ้างหรือไม่ ก็ไม่ทำให้กรณีของโจทก์ถูกต้องตามเงื่อนไขในกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2529) ออกตามความใน พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2525 แต่อย่างใด กรณีต้องด้วยมาตรา 85 (3) แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว ที่บัญญัติให้ผู้อนุญาตมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนตามมาตรา 18 ได้ เมื่อปรากฏว่า ผู้รับใบอนุญาตฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งพ.ร.บ.นี้ หรือกฎกระทรวงที่ออกตาม พ.ร.บ.นี้ และทำให้เกิดผลเสียหายกล่าวคือ เมื่อเจ้าของที่ดินที่อาคารเรียนตั้งอยู่ไม่ยินยอมให้ใช้ที่ดินต่อไป การเปิดการเรียนการสอนในอาคารดังกล่าวย่อมไม่อาจกระทำได้ต่อไป ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่เด็กนักเรียนและครูผู้สอน คำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตในส่วนที่เกี่ยวกับระดับประถมศึกษาจึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 570/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน ไม่ใช่กฎหมายแรงงาน การฟ้องคดีก่อนคณะกรรมการคุ้มครองการทำงาน ไม่เป็นเหตุฟ้องไม่รับ
พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 มีวัตถุประสงค์ควบคุมโรงเรียนเอกชนให้เป็นระเบียบและมีประสิทธิภาพ มิใช่กฎหมายที่ให้ความคุ้มครองแก่นายจ้างหรือลูกจ้าง ดังนั้น จึงมิใช่กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานหรือกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ แม้โจทก์ทั้งห้าฟ้องคดีโดยไม่รอให้คณะกรรมการคุ้มครองการทำงานตาม พ.ร.บ.ดังกล่าว วินิจฉัยข้อขัดแย้งระหว่างโจทก์ทั้งห้ากับจำเลยก่อนก็ไม่ต้องห้ามมิให้ฟ้องคดีตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 8 วรรคสอง.