พบผลลัพธ์ทั้งหมด 27 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2659/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องหนี้, การโอนกิจการธนาคาร, สิทธิบังคับหลักประกัน, การตายของลูกหนี้
การโอนกิจการระหว่างโจทก์กับธนาคารมหานคร จำกัด (มหาชน) เป็นการโอนตามพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2541 ซึ่งบทบัญญัติมาตรา 5 ได้บัญญัติให้เพิ่มข้อความเป็นมาตรา 38 เบญจ โดยในวรรค 4 กล่าวถึงการควบกิจการหรือโอนกิจการธนาคารว่าให้ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมและภาษีอากรต่าง ๆ เมื่อกฎหมายไม่ได้ระบุว่ายกเว้นอากรประเภทใด จึงต้องแปลว่าเป็นการยกเว้นอากรทุกประเภท ดังนั้นเมื่อโจทก์รับโอนกิจการของธนาคารมหานคร จำกัด (มหาชน) โดยอาศัยตามพระราชกำหนดฉบับดังกล่าวหนังสือสัญญาการโอนสินทรัพย์และหนี้สินระหว่างสองธนาคาร จึงไม่ต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร
การที่โจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยซึ่งเป็นทายาทผู้ตายชำระหนี้ บอกกล่าวบังคับจำนองและบอกเลิกสัญญากู้เงินที่ผู้ตายทำไว้มิใช่กรณีที่หนี้เงินกู้ที่ผู้ตายจะต้องรับผิดต่อโจทก์ระงับสิ้นไปการจำนองซึ่งเป็นหนี้อุปกรณ์จึงยังไม่ระงับ
โจทก์รับโอนกิจการจากธนาคารมหานคร จำกัด (มหาชน) มาเป็นของโจทก์ โจทก์จึงต้องรับโอนทั้งสิทธิและหน้าที่ของธนาคารมหานคร จำกัด (มหาชน) เมื่อธนาคารมหานคร จำกัด (มหาชน) เจ้าหนี้รู้ถึงการตายของลูกหนี้ตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม2539 จึงต้องถือว่าโจทก์ได้รู้แล้วด้วย โจทก์ยื่นฟ้องวันที่ 28 มีนาคม 2543 จึงเกินกำหนด 1 ปี ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความและเป็นเหตุให้หนี้อุปกรณ์คือผู้ค้ำประกันที่จำเลยที่ 1 ได้ทำไว้ต่อโจทก์หลุดพ้นจากความรับผิดไปด้วย แต่สัญญากู้เงินมีการจำนองเป็นประกันไว้ด้วย ดังนี้ แม้หนี้สินตามสัญญากู้เงินอันเป็นหนี้ประธานจะขาดอายุความ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ด้วยการรับโอนสิทธิมาจากเจ้าหนี้เดิมย่อมใช้สิทธิบังคับเอาจากทรัพย์สินที่จำนองได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม ประกอบมาตรา 193/27 และคงบังคับได้แต่เฉพาะทรัพย์สินที่จำนองเท่านั้นหาอาจบังคับถึงทรัพย์สินอื่นของผู้ตายได้ด้วยไม่ แม้สัญญาจำนองจะมีข้อความระบุให้เจ้าหนี้มีสิทธิยึดทรัพย์สินอื่นของลูกหนี้มาชำระหนี้ได้ในกรณีที่ทรัพย์สินที่จำนองไม่พอชำระหนี้ก็ตาม
การที่โจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยซึ่งเป็นทายาทผู้ตายชำระหนี้ บอกกล่าวบังคับจำนองและบอกเลิกสัญญากู้เงินที่ผู้ตายทำไว้มิใช่กรณีที่หนี้เงินกู้ที่ผู้ตายจะต้องรับผิดต่อโจทก์ระงับสิ้นไปการจำนองซึ่งเป็นหนี้อุปกรณ์จึงยังไม่ระงับ
โจทก์รับโอนกิจการจากธนาคารมหานคร จำกัด (มหาชน) มาเป็นของโจทก์ โจทก์จึงต้องรับโอนทั้งสิทธิและหน้าที่ของธนาคารมหานคร จำกัด (มหาชน) เมื่อธนาคารมหานคร จำกัด (มหาชน) เจ้าหนี้รู้ถึงการตายของลูกหนี้ตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม2539 จึงต้องถือว่าโจทก์ได้รู้แล้วด้วย โจทก์ยื่นฟ้องวันที่ 28 มีนาคม 2543 จึงเกินกำหนด 1 ปี ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความและเป็นเหตุให้หนี้อุปกรณ์คือผู้ค้ำประกันที่จำเลยที่ 1 ได้ทำไว้ต่อโจทก์หลุดพ้นจากความรับผิดไปด้วย แต่สัญญากู้เงินมีการจำนองเป็นประกันไว้ด้วย ดังนี้ แม้หนี้สินตามสัญญากู้เงินอันเป็นหนี้ประธานจะขาดอายุความ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ด้วยการรับโอนสิทธิมาจากเจ้าหนี้เดิมย่อมใช้สิทธิบังคับเอาจากทรัพย์สินที่จำนองได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม ประกอบมาตรา 193/27 และคงบังคับได้แต่เฉพาะทรัพย์สินที่จำนองเท่านั้นหาอาจบังคับถึงทรัพย์สินอื่นของผู้ตายได้ด้วยไม่ แม้สัญญาจำนองจะมีข้อความระบุให้เจ้าหนี้มีสิทธิยึดทรัพย์สินอื่นของลูกหนี้มาชำระหนี้ได้ในกรณีที่ทรัพย์สินที่จำนองไม่พอชำระหนี้ก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2631/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกิจการและสิทธิหนี้สินหลังประกาศกระทรวงการคลัง การดำเนินการต่อเนื่องภายในกรอบเวลาที่กำหนด
ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องให้ความเห็นชอบโครงการโอนกิจการของธนาคารกรุงเทพ ฯ พาณิชย์การ จำกัด (มหาชน) ให้แก่ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และบริษัทบริหารสินทรัพย์ ข้อ 1 , 2 , 5 ได้ระบุชัดแจ้งให้โจทก์โอนลูกหนี้ที่มีคุณภาพดีแก่ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กับให้โจทก์จัดตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์เพื่อรับโอนลูกหนี้ด้อยคุณภาพของโจทก์ หากโจทก์ไม่เริ่มดำเนินการโอนกิจการตามโครงการนี้ภายใน 90 วัน นับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้ถือว่าการให้ความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังตามประกาศนี้เป็นอันสิ้นผล เมื่อบริษัทบริหารสินทรัพย์ยังไม่ได้จัดตั้งขึ้นโดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงยังไม่อาจโอนลูกหนี้ด้อยคุณภาพตามประกาศดังกล่าว แต่การที่โจทก์ได้เริ่มโอนลูกหนี้ที่มีคุณภาพดีให้แก่ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ภายใน 90 วัน นับถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ย่อมถือว่าโจทก์ได้เริ่มดำเนินการโอนกิจการตามโครงการดังกล่าวตามความมุ่งหมายของประกาศฉบับนี้แล้ว การที่โจทก์โอนลูกหนี้ด้อยคุณภาพซึ่งรวมทั้งสิทธิเรียกร้องในคดีนี้ให้แก่ผู้ร้องที่ได้จดทะเบียนเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์แล้วจึงเป็นการดำเนินการต่อเนื่องกันซึ่งแม้จะเกินกำหนดเวลา 90 วัน นับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาก็หาเป็นผลให้การให้ความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังตามประกาศนี้สิ้นผลไปไม่ ผู้ร้องจึงเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2631/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกิจการธนาคารและการสวมสิทธิเรียกร้องหลังพ้นกำหนดเวลา โอนลูกหนี้คุณภาพดีถือเป็นการเริ่มดำเนินการตามโครงการ
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ให้ความเห็นชอบโครงการโอนกิจการของธนาคารกรุงเทพฯพาณิชย์การ จำกัด (มหาชน)ฯ ได้ระบุชัดแจ้งให้โจทก์โอนลูกหนี้ที่มีคุณภาพดีแก่ธนาคาร ก. กับให้โอนลูกหนี้ด้อยคุณภาพให้แก่บริษัทบริหารสินทรัพย์แยกจากกัน เมื่อบริษัทบริหารสินทรัพย์ยังไม่ได้จัดตั้งขึ้นโดยชอบด้วยกฎหมาย บริษัทบริหารสินทรัพย์นั้นก็ไม่สามารถรับโอนลูกหนี้ด้อยคุณภาพจากโจทก์ได้ แต่การที่โจทก์ได้เริ่มโอนหนี้ที่มีคุณภาพดีให้แก่ธนาคาร ก. ภายใน 90 วัน นับถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ย่อมถือว่าโจทก์ได้เริ่มดำเนินการโอนกิจการตามโครงการดังกล่าวตามความมุ่งหมายของประกาศฉบับนี้แล้ว หลังจากนั้นเมื่อผู้ร้องได้จดทะเบียนตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์และโจทก์ได้โอนลูกหนี้ด้อยคุณภาพทั้งหมดให้แก่ผู้ร้อง จึงเป็นการดำเนินการต่อเนื่องกันซึ่งแม้จะพ้นกำหนดเวลา 90 วัน นับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาก็หาเป็นผลให้การให้ความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังตามประกาศนี้สิ้นผลไปไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2631/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกิจการธนาคารและการสวมสิทธิเรียกร้องหลังการจัดตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์
ประกาศกระทรวงการคลังเรื่องให้ความเห็นชอบโครงการโอนกิจการของธนาคารกรุงเทพฯพาณิชย์การ จำกัด (มหาชน) ให้แก่ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)และบริษัทบริหารสินทรัพย์ระบุให้ธนาคารกรุงเทพฯพาณิชย์การ จำกัด (มหาชน)โจทก์โอนลูกหนี้ที่มีคุณภาพดีแก่ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กับให้โอนลูกหนี้ด้อยคุณภาพให้แก่บริษัทบริหารสินทรัพย์ เมื่อบริษัทบริหารสินทรัพย์ยังไม่ได้จัดตั้งขึ้นก็ไม่สามารถรับโอนลูกหนี้ด้อยคุณภาพจากโจทก์ได้ แต่การที่โจทก์ได้เริ่มโอนลูกหนี้ที่มีคุณภาพดีให้แก่ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ภายใน 90 วัน นับถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ย่อมถือว่าโจทก์ได้เริ่มดำเนินการโอนกิจการตามโครงการดังกล่าวตามความมุ่งหมายของประกาศฉบับดังกล่าวแล้ว หลังจากนั้นเมื่อผู้ร้องได้จดทะเบียนตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์และโจทก์ได้โอนลูกหนี้ด้อยคุณภาพทั้งหมดให้แก่ผู้ร้องจึงเป็นการดำเนินการต่อเนื่องกันซึ่งแม้จะพ้นกำหนดเวลา 90 วัน นับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาก็ไม่เป็นผลให้การให้ความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังตามประกาศดังกล่าวสิ้นผลไป ผู้ร้องจึงเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์เพื่อบังคับคดีแก่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7242-7254/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกิจการควบรวมบริษัท ลูกจ้างย่อมโอนตามไปด้วย เหตุผลและข้อยกเว้นตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 13 มีความมุ่งหมายที่จะคุ้มครองลูกจ้างไม่ให้ต้องถูกออกจากงานหรือถูกลิดรอนสิทธิและผลประโยชน์ที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากการโอนกิจการหรือการควบรวมกิจการของนายจ้างตามกฎหมาย
ธนาคารจำเลยที่ 2 ตั้งขึ้นจากการควบรวมกิจการของธนาคารจำเลยที่ 1 กับนิติบุคคลอื่น ผลการควบรวมกิจการไม่ใช่เป็นการเลิกกิจการของจำเลยที่ 1 แต่ทำให้จำเลยที่ 1 สิ้นสภาพไป และเป็นผลให้จำเลยที่ 2 ต้องรับโอนไปทั้งสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดของจำเลยที่ 1 ทั้งสิ้น ตามนัย ป.พ.พ. มาตรา 1243 กับต้องรับโอนไปทั้งสิทธิและหน้าที่ทุกประการอันเกี่ยวกับลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 13 และ ป.พ.พ. มาตรา 577 วรรคแรก ลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ย่อมต้องโอนไปเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ในทันทีโดยอัตโนมัติ เว้นแต่ลูกจ้างผู้นั้นจะแสดงความประสงค์ชัดแจ้งว่าไม่ยินยอมโอน กรณีเช่นนี้ต้องถือว่าจำเลยที่ 1 เลิกจ้างลูกจ้างดังกล่าวเนื่องจากสภาพนิติบุคคลของจำเลยที่ 1 หมดสิ้นไป เป็นเหตุให้ลูกจ้างไม่สามารถทำงานต่อไปได้ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118 วรรคสอง การที่จำเลยที่ 1 กำหนดเงื่อนไขให้ลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ที่ประสงค์จะทำงานกับจำเลยที่ 2 ต้องแสดงเจตนาตอบรับการเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ภายในกำหนดเวลา มิฉะนั้นจะถูกเลิกจ้าง เป็นการกำหนดเงื่อนไขที่ขัดแย้งต่อบทบัญญัติของกฎหมายซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงไม่มีผลบังคับ
ธนาคารจำเลยที่ 2 ตั้งขึ้นจากการควบรวมกิจการของธนาคารจำเลยที่ 1 กับนิติบุคคลอื่น ผลการควบรวมกิจการไม่ใช่เป็นการเลิกกิจการของจำเลยที่ 1 แต่ทำให้จำเลยที่ 1 สิ้นสภาพไป และเป็นผลให้จำเลยที่ 2 ต้องรับโอนไปทั้งสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดของจำเลยที่ 1 ทั้งสิ้น ตามนัย ป.พ.พ. มาตรา 1243 กับต้องรับโอนไปทั้งสิทธิและหน้าที่ทุกประการอันเกี่ยวกับลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 13 และ ป.พ.พ. มาตรา 577 วรรคแรก ลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ย่อมต้องโอนไปเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ในทันทีโดยอัตโนมัติ เว้นแต่ลูกจ้างผู้นั้นจะแสดงความประสงค์ชัดแจ้งว่าไม่ยินยอมโอน กรณีเช่นนี้ต้องถือว่าจำเลยที่ 1 เลิกจ้างลูกจ้างดังกล่าวเนื่องจากสภาพนิติบุคคลของจำเลยที่ 1 หมดสิ้นไป เป็นเหตุให้ลูกจ้างไม่สามารถทำงานต่อไปได้ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118 วรรคสอง การที่จำเลยที่ 1 กำหนดเงื่อนไขให้ลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ที่ประสงค์จะทำงานกับจำเลยที่ 2 ต้องแสดงเจตนาตอบรับการเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ภายในกำหนดเวลา มิฉะนั้นจะถูกเลิกจ้าง เป็นการกำหนดเงื่อนไขที่ขัดแย้งต่อบทบัญญัติของกฎหมายซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงไม่มีผลบังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6107/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองเจ้าหนี้ที่รับโอนกิจการธนาคารในคดีล้มละลาย: ข้อจำกัดการขอรับชำระหนี้จากหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนโอน
แม้การโอนกิจการของธนาคาร ม. ให้แก่เจ้าหนี้ที่จะมีผลบังคับตามพระราชกฤษฎีกาแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ฯ (ฉบับที่ 4)ฯมาตรา 38 จัตวา วรรคสอง(3) โดยเฉพาะในส่วนที่จำเป็นต้องดำเนินการที่เกี่ยวข้องในมาตรา 94(2) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายฯ ให้ได้รับยกเว้นมิให้นำบทบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับก็ตาม แต่บทบัญญัติดังกล่าวก็มีเจตนารมณ์เพียงมิให้นำมาตรา 94(2) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาใช้บังคับแก่เจ้าหนี้ที่รับโอนกิจการสินทรัพย์และหนี้สินทั้งหมดจากธนาคาร ม. โดยมิให้อ้างว่าเป็นการยอมให้ธนาคาร ม. กระทำโอนขึ้นเมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ถึงการที่ธนาคารผู้โอนดังกล่าวมีหนี้สินล้นพ้นตัวซึ่งไม่อาจนำมาขอรับชำระหนี้ได้เท่านั้น มิได้มุ่งหมายไปถึงหนี้ที่เกิดจากธนาคาร ม. ยอมให้ลูกหนี้กระทำขึ้นเมื่อได้รู้อยู่แล้วว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ซึ่งเจ้าหนี้รับโอนมาแล้วจะมีสิทธินำมาขอรับชำระหนี้ในคดีที่ลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแต่อย่างใด หนี้ของเจ้าหนี้ดังกล่าวจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชกฤษฎีกาแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ฯ(ฉบับที่ 4)ฯ มาตรา 38 จัตวา วรรคสอง(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3653/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกิจการและสิทธิเรียกร้อง: ธนาคารรับโอนสิทธิฟ้องแทนโจทก์ได้ตามกฎหมาย
โจทก์โอนกิจการคือสินทรัพย์และหนี้สินทั้งหมดให้แก่ธนาคาร ก. ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ให้ความเห็นชอบโครงการโอนกิจการของธนาคารฯ และโจทก์กับธนาคาร ก. ได้ลงนามในหนังสือสัญญาการโอนสินทรัพย์และหนี้สินแล้ว เมื่อปรากฏว่าโจทก์ฟ้องจำเลย โดยขณะฟ้องโจทก์ยังไม่ได้โอนกิจการคือ สินทรัพย์และหนี้สินทั้งหมดให้แก่ธนาคาร ก. โจทก์จึงเป็นบุคคลที่ถูกจำเลยโต้แย้งสิทธิ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55
หลังจากที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้แล้วและขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์ได้โอนกิจการคือสินทรัพย์และหนี้สินทั้งหมดให้แก่ธนาคาร ก. ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ให้ความเห็นชอบโครงการโอนกิจการของธนาคารฯทั้งโจทก์กับธนาคาร ก. ได้ลงนามในหนังสือสัญญาโอนสินทรัพย์และหนี้สินแล้วตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม 2541 ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลฎีกา ธนาคาร ก. ซึ่งเป็นผู้รับโอนกิจการของโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์ในคดีและศาลฎีกาได้มีคำสั่งอนุญาตแล้วตามพระราชกฤษฎีกาแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติธนาคารพาณิชย์ฯ มาตรา 38 สัตตเช่นนี้ ธนาคาร ก. ย่อมมีอำนาจดำเนินคดีแก่จำเลยได้ต่อไปตามกฎหมาย
หลังจากที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้แล้วและขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์ได้โอนกิจการคือสินทรัพย์และหนี้สินทั้งหมดให้แก่ธนาคาร ก. ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ให้ความเห็นชอบโครงการโอนกิจการของธนาคารฯทั้งโจทก์กับธนาคาร ก. ได้ลงนามในหนังสือสัญญาโอนสินทรัพย์และหนี้สินแล้วตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม 2541 ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลฎีกา ธนาคาร ก. ซึ่งเป็นผู้รับโอนกิจการของโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์ในคดีและศาลฎีกาได้มีคำสั่งอนุญาตแล้วตามพระราชกฤษฎีกาแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติธนาคารพาณิชย์ฯ มาตรา 38 สัตตเช่นนี้ ธนาคาร ก. ย่อมมีอำนาจดำเนินคดีแก่จำเลยได้ต่อไปตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3653/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องและการโอนกิจการธนาคาร: สิทธิเรียกร้องโอนได้เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงนิติบุคคล
ธนาคารมหานคร จำกัด โจทก์ได้โอนกิจการทั้งหมดให้แก่ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน) ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องให้ความเห็นชอบโครงการโอนกิจการของธนาคารมหานคร จำกัด (มหาชน) ให้แก่ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ลงวันที่ 14กันยายน 2541 และโจทก์กับธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ได้ลงนามในหนังสือสัญญาการโอนสินทรัพย์และหนี้สินแล้วตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม 2541 แต่โจทก์ฟ้องจำเลยเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2541 ซึ่งขณะฟ้องโจทก์ยังไม่ได้โอนกิจการให้แก่ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) โจทก์จึงเป็นบุคคลที่ถูกจำเลยโต้แย้งสิทธิ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55
หลังจากที่โจทก์ฟ้องจำเลยแล้วและคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นโจทก์ได้โอนกิจการให้แก่ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ตามประกาศกระทรวงการคลังทั้งโจทก์กับธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ได้ลงนามในหนังสือสัญญาการโอนสินทรัพย์และหนี้สินแล้ว ซึ่งตามพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติธนาคารพาณิชย์พ.ศ. 2505(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2541 มาตรา 38 สัตต บัญญัติไว้ว่า ในการโอนกิจการธนาคารพาณิชย์ ให้แก่ธนาคารพาณิชย์อื่น ถ้ามีการฟ้องบังคับสิทธิเรียกร้องเป็นคดีอยู่ในศาล ให้ธนาคารพาณิชย์ที่รับโอนกิจการ แล้วแต่กรณีเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนในคดีดังกล่าว ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลฎีกา ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้รับโอนกิจการของโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์ในคดีและศาลฎีกาได้มีคำสั่งอนุญาตแล้วตามมาตรา 38 สัตต ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ย่อมมีอำนาจดำเนินคดีแก่จำเลยได้ต่อไป
หลังจากที่โจทก์ฟ้องจำเลยแล้วและคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นโจทก์ได้โอนกิจการให้แก่ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ตามประกาศกระทรวงการคลังทั้งโจทก์กับธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ได้ลงนามในหนังสือสัญญาการโอนสินทรัพย์และหนี้สินแล้ว ซึ่งตามพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติธนาคารพาณิชย์พ.ศ. 2505(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2541 มาตรา 38 สัตต บัญญัติไว้ว่า ในการโอนกิจการธนาคารพาณิชย์ ให้แก่ธนาคารพาณิชย์อื่น ถ้ามีการฟ้องบังคับสิทธิเรียกร้องเป็นคดีอยู่ในศาล ให้ธนาคารพาณิชย์ที่รับโอนกิจการ แล้วแต่กรณีเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนในคดีดังกล่าว ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลฎีกา ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้รับโอนกิจการของโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์ในคดีและศาลฎีกาได้มีคำสั่งอนุญาตแล้วตามมาตรา 38 สัตต ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ย่อมมีอำนาจดำเนินคดีแก่จำเลยได้ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6000-6040/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างและการจ่ายผลประโยชน์กรณีโอนกิจการ: การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและการจ่ายเงินบำเหน็จ/ผลประโยชน์เมื่อออกจากงาน
ลูกจ้างมีสิทธิที่จะได้รับผลประโยชน์จากจำเลยเพิ่มตามอัตราที่ระบุไว้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนปีของการทำงานจนกระทั่งถึงวันที่สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง แม้จะใช้ถ้อยคำว่า "ข้อบังคับเกี่ยวกับแผนการเงินบำเหน็จเมื่อเกษียณอายุ" ส่วนตามบันทึกข้อตกลงระหว่างจำเลยกับตัวแทนลูกจ้างของจำเลยซึ่งกรมแรงงานได้รับจดทะเบียนไว้จะใช้ถ้อยคำว่า"ข้อบังคับเกี่ยวกับผลประโยชน์เมื่อออกจากงาน" ซึ่งแตกต่างกันก็ตาม แต่สาระสำคัญของข้อบังคับเป็นอย่างเดียวกันคือ จำเลยจะจ่ายเงินพิเศษให้แก่ลูกจ้างที่สิ้นสุดสัญญาจ้างโดยไม่มีความผิดคำนวณตามระยะเวลาการทำงาน ทั้งได้กำหนดไว้ในภาคผนวก 3เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ตามบันทึกการเจรจาข้อเรียกร้องระหว่างสหภาพแรงงานลูกจ้างเค.แอล.เอ็ม. ในประเทศไทยกับจำเลย ซึ่งบันทึกไว้เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2538 ก็มีความว่า จำเลยจะโอนเงินบำเหน็จเมื่อเกษียณอายุของลูกจ้างไปเข้าเป็นเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โดยมีคำชี้แจงว่าสืบเนื่องมาจากเดิมที่จำเลยได้ใช้ภาคผนวก 3 ตามสภาพการจ้างเป็นแผนการที่นายจ้างจัดให้แก่ลูกจ้างทุกคนในประเทศไทย ซึ่งเป็นผลประโยชน์เพิ่มเมื่อลูกจ้างออกจากงาน เมื่อสัญญาจ้างสิ้นสุดลงโดยลูกจ้างไม่มีความผิด ต่อมาได้ประกาศใช้ พ.ร.บ.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ.2530 นายจ้างจึงตกลงยกเลิกภาคผนวก 3 และให้ยกเลิกผลประโยชน์เพิ่มและให้โอนเงินตามสิทธิของลูกจ้างไปเข้าระบบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแทน จึงเห็นชัดเจนว่า ข้อบังคับเกี่ยวกับแผนการเงินบำเหน็จเมื่อเกษียณอายุกับข้อบังคับเกี่ยวกับผลประโยชน์เมื่อออกจากงานของจำเลยเป็นเรื่องเดียวกัน จำนวนเงินหรือผลประโยชน์ที่ลูกจ้างจะได้รับเมื่อสัญญาจ้างสิ้นสุดลง เมื่อคำนวณตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดแล้วเป็นจำนวนเดียวกัน เมื่อจำเลยและสหภาพแรงงานลูกจ้างได้ตกลงกันโอนเงินบำเหน็จเมื่อเกษียณอายุของลูกจ้างไปเข้าเป็นเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและจำเลยได้จ่ายเงินตามสิทธิของโจทก์ที่มีสิทธิได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายเงินตามข้อบังคับเกี่ยวกับผลประโยชน์เมื่อออกจากงานให้แก่โจทก์ดังกล่าวอีก
งานในแผนกครัวการบินของจำเลยเป็นกิจการซึ่งมีลักษณะเฉพาะแตกต่างจากลักษณะงานในแผนกอื่น ๆ ของจำเลย ถึงแม้ว่าจำเลยยังคงประกอบกิจการแผนกอื่น ๆ ที่เหลืออยู่เช่น ธุรกิจการบินและการให้บริการพิธีการทางสนามบินก็ตาม จำเลยก็ไม่สามารถจะโอนย้ายลูกจ้างในแผนกครัวการบินของจำเลยไปทำงานในแผนกอื่น ๆ ที่เหลืออยู่ได้ ประกอบกับจำเลยได้เลิกจ้างลูกจ้างในแผนกครัวการบินทั้งหมดประมาณ 200 คน โดยมิได้เจาะจงเลิกจ้างเฉพาะโจทก์ทั้งสี่สิบเอ็ดเท่านั้น ส่วนสาเหตุที่จำเลยขายกิจการแผนกครัวการบินให้แก่ผู้อื่น ทั้ง ๆ ที่กิจการดังกล่าวยังไม่ได้ประสบปัญหาการขาดทุน ก็เป็นเรื่องที่อยู่ในดุลพินิจการดำเนินกิจการของจำเลยในการประกอบการค้าโดยเสรี ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการกลั่นแกล้งลูกจ้าง การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสี่สิบเอ็ดดังกล่าว เป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุอันสมควรแล้ว มิใช่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
งานในแผนกครัวการบินของจำเลยเป็นกิจการซึ่งมีลักษณะเฉพาะแตกต่างจากลักษณะงานในแผนกอื่น ๆ ของจำเลย ถึงแม้ว่าจำเลยยังคงประกอบกิจการแผนกอื่น ๆ ที่เหลืออยู่เช่น ธุรกิจการบินและการให้บริการพิธีการทางสนามบินก็ตาม จำเลยก็ไม่สามารถจะโอนย้ายลูกจ้างในแผนกครัวการบินของจำเลยไปทำงานในแผนกอื่น ๆ ที่เหลืออยู่ได้ ประกอบกับจำเลยได้เลิกจ้างลูกจ้างในแผนกครัวการบินทั้งหมดประมาณ 200 คน โดยมิได้เจาะจงเลิกจ้างเฉพาะโจทก์ทั้งสี่สิบเอ็ดเท่านั้น ส่วนสาเหตุที่จำเลยขายกิจการแผนกครัวการบินให้แก่ผู้อื่น ทั้ง ๆ ที่กิจการดังกล่าวยังไม่ได้ประสบปัญหาการขาดทุน ก็เป็นเรื่องที่อยู่ในดุลพินิจการดำเนินกิจการของจำเลยในการประกอบการค้าโดยเสรี ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการกลั่นแกล้งลูกจ้าง การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสี่สิบเอ็ดดังกล่าว เป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุอันสมควรแล้ว มิใช่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 852-919/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกิจการและผลกระทบต่อสถานะลูกจ้าง: ยินยอมโอนย้าย = ไม่เป็นลูกจ้างเดิม
เดิมโจทก์ทั้งหมดเป็นลูกจ้างของจำเลย ต่อมาบริษัท พ. ผู้เช่าเข้ามาเช่าและดำเนินกิจการต่อจากจำเลย การที่จำเลยได้โอนกิจการของตนไปให้บริษัท พ. เช่าดำเนินการต่อ และบริษัท พ. ได้รับโจทก์ทั้งหมดไปทำงานให้แก่บริษัท พ. โดยโจทก์ทั้งหมดมิได้ใช้สิทธิปฏิเสธไม่ยินยอมโอนไปทำงานกับบริษัท พ. ตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 577 ให้สิทธิไว้ อีกทั้งเมื่อบริษัท พ. ค้างชำระค่าจ้าง โจทก์ทั้งหมดก็ฟ้องคดีเรียกค่าจ้างค้างชำระเอาแก่บริษัท พ. กรณีจึงถือได้ว่าโจทก์ทั้งหมดได้ยอมรับการเปลี่ยนตัวนายจ้างจากจำเลยไปเป็นบริษัท พ. และยินยอมโอนไปทำงานให้แก่บริษัท พ. แล้ว บริษัท พ. จึงเป็นนายจ้างของโจทก์ทั้งหมด ตามคำนิยามของคำว่า "นายจ้าง" และ "ลูกจ้าง" ในข้อ 2 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2515 โจทก์ทั้งหมดจึงมิใช่ลูกจ้างของจำเลย