คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โอนขายที่ดิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 27 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1821/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนขายที่ดินเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้ภาษีและการฟ้องคดีไม่ขาดอายุความ
จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1 ในขณะนั้นได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลของรอบปีบัญชี 2539 จำนวน 18,779 บาท ซึ่งต่ำกว่าการประเมินของพนักงานโจทก์ถึง 8,000,000 บาทเศษ จำเลยที่ 1 ต้องชำระภาษีเพิ่มเติมไม่รวมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มเป็นเงินจำนวน 2,817,028.21 บาท จำนวนเงินได้และเงินค่าภาษีที่แตกต่างกันมากเช่นนี้ย่อมชี้ให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ต่ำกว่าเป็นจริงโดยมีเจตนาหลีกเลี่ยงการชำระภาษีให้ถูกต้อง เมื่อโจทก์มีหมายเรียกวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2532 ให้จำเลยที่ 1 ไปให้ถ้อยคำพร้อมส่งมอบบัญชีและเอกสารหลักฐานต่างๆ เพื่อการไต่สวนตรวจสอบ จำเลยที่ 1 จึงต้องทราบแล้วว่าเจ้าพนักงานจะต้องประเมินภาษีของจำเลยที่ 1 ที่ยื่นไว้ไม่ถูกต้องใหม่ และจำเลยที่ 1 ต้องมีหนี้ค่าภาษีอากรที่ต้องชำระเพิ่มเติมต่อโจทก์ การที่จำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมโอนขายที่ดินแก่จำเลยที่ 2 ภายหลังจากทราบว่ามีหนี้ค่าภาษีอากรที่จะต้องถูกประเมินใหม่ชำระเพิ่มเติมต่อโจทก์ แม้หนี้ดังกล่าวจะยังไม่ทราบจำนวนที่แน่นอนจากการประเมินของเจ้าพนักงาน ก็ชี้ให้เห็นว่าเป็นการกระทำเพื่อหลีกเลี่ยงให้ที่ดินดังกล่าวพ้นจากการถูกยึดบังคับชำระหนี้ค่าภาษีอากรแก่โจทก์ อันเป็นการกระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ และเมื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีให้จำเลยที่ 1 จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ทราบอยู่ว่าจำเลยที่ 1 มีหนี้ค่าภาษีอากรที่ต้องชำระเพิ่มเติมต่อโจทก์ แม้ต่อมาจำเลยที่ 2 จะออกจากการเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 แล้ว แต่การที่จำเลยที่ 2 ได้ทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินกับจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 1 ได้รับหมายเรียกตรวจสอบภาษีจากโจทก์ โดยได้ซื้อขายที่ดินในราคาเพียง 2,990,000 บาท ทั้งๆ ที่ที่ดินมีราคาประเมินรวม 7,960,000 บาท ย่อมชี้ให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 ได้ทราบถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้โจทก์ต้องเสียเปรียบนั้นด้วย
โจทก์เป็นนิติบุคคลโดยเป็นกรมในรัฐบาล ผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์หรือฟ้องคดีแทนโจทก์คืออธิบดี พนักงานเจ้าหน้าที่อื่นของโจทก์ทุกระดับแม้จะมีหน้าที่ปฏิบัติงานให้แก่โจทก์ แต่ก็ไม่มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์หรือฟ้องคดีแทนโจทก์ได้ เมื่อ น. นิติกรของโจทก์ได้ทำบันทึกข้อความเสนอให้อธิบดีโจทก์ทราบรายละเอียดข้อเท็จจริงเรื่องการโอนที่ดินเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2540 จึงถือได้ว่าโจทก์ได้รู้ถึงการฉ้อฉลการโอนขายที่ดินระหว่างจำเลยทั้งสองในวันที่ 17 มีนาคม 2540 โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 25 มิถุนายน 2540 ยังไม่พ้น 1 ปี นับแต่เวลาที่โจทก์รู้มูลเหตุให้เพิกถอน คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6340-6345/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนขายที่ดินหลังบริษัทร้าง: นิติกรรมเป็นโมฆะ, จำเลยไม่ต้องรับผิดค่าใช้จ่าย
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งหกขอให้โอนที่ดินพิพาทคืนแก่โจทก์ในฐานะผู้ชำระบัญชีบริษัท อ. อันเป็นการใช้อำนาจของผู้ชำระบัญชีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1259(1) และเมื่อเพิกถอนการโอนได้แล้วที่ดินพิพาทก็ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท อ. มิได้ตกเป็นของโจทก์ ส่วนที่โต้แย้งว่าโจทก์เลือกปฏิบัติโดยไม่ฟ้องดำเนินคดีแก่บุตรของโจทก์และบุคคลอื่นที่ได้รับโอนที่ดินจากบริษัท อ. นั้น เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาว่าโจทก์ในฐานะผู้ชำระบัญชีละเว้นไม่ปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้องครบถ้วนหรือไม่หากจำเลยทั้งหกในฐานะผู้ถือหุ้นบริษัท อ. เห็นว่าโจทก์ปฏิบัติหน้าที่ไม่ถูกต้องก็เป็นเรื่องที่จะดำเนินการถอดถอนโจทก์ตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ต่อไป การที่โจทก์ไม่ฟ้องบุคคลอื่นดังกล่าว จึงมิใช่โจทก์ใช้สิทธิไม่สุจริต
เมื่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครขีดชื่อบริษัท อ. ออกจากทะเบียนเป็นบริษัทร้างและประกาศแจ้งความโฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้วต้องถือว่าบริษัท อ. เลิกกันตั้งแต่วันดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1246(5)ทั้งมีผลให้โจทก์ จำเลยที่ 3 และที่ 5 ในฐานะกรรมการของบริษัทเข้าเป็นผู้ชำระบัญชีของบริษัท อ. การโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยทั้งหก เป็นการโอนตามข้อตกลงแบ่งมรดกระหว่างทายาทที่มีภายหลังจากบริษัท อ. เป็นบริษัทร้างแล้วและไม่มีการจ่ายเงินค่าที่ดิน จึงไม่มีลักษณะเป็นการชำระบัญชีเพื่อเลิกบริษัทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1250 และไม่มีผลผูกพันบริษัท อ. เป็นการโอนโดยมิชอบจำเลยทั้งหกต้องโอนที่ดินพิพาทคืนบริษัท อ.
โจทก์ฟ้องคดีนี้โดยมีความมุ่งหมายให้จำเลยทั้งหกโอนที่ดินพิพาทคืนแก่บริษัท อ. เป็นประการแรก ส่วนที่จะให้จำเลยทั้งหกชดใช้ราคาที่ดินพิพาทก็ต่อเมื่อไม่อาจโอนที่ดินพิพาทได้เพราะเหตุพ้นวิสัยเท่านั้น ประกอบกับการกำหนดราคาที่ดินพิพาทในขณะจำเลยทั้งหกรับโอนที่ดินเกิดจากการตกลงระหว่างทายาทเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน จึงมิใช่ราคาที่ดินพิพาทที่แท้จริง ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดราคาที่ดินพิพาทตามราคาประเมินต่ำสุดในขณะยื่นฟ้องจึงถูกต้องเหมาะสมแล้ว ส่วนค่าใช้จ่ายในการโอนที่ดินพิพาทคืนนั้น ขณะจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทจำเลยทั้งหกไม่ทราบเรื่องที่บริษัท อ. ถูกขีดชื่อออกจากทะเบียนเป็นบริษัทร้าง แสดงว่าจำเลยทั้งหกรับโอนที่ดินพิพาทมาโดยสุจริต ดังนั้น จำเลยทั้งหกจึงไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องชำระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการโอนที่ดินพิพาทคืนแก่โจทก์ในฐานะผู้ชำระบัญชี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5975/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องไม่เคลือบคลุม การแก้ไขคำฟ้อง และการโอนขายที่ดินเพื่อหลีกเลี่ยงการคืนทรัพย์สิน
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นมารดาจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 เป็นมารดาจำเลยที่ 2 และบรรยายฟ้องเกี่ยวกับถ้อยคำต่าง ๆ ที่จำเลยที่ 1 กล่าวหมิ่นประมาทโจทก์ให้เห็นเหตุประพฤติเนรคุณต่อโจทก์อย่างไรด้วย และว่า จำเลยที่ 1 ขายที่ดินที่โจทก์ยกให้จำเลยที่ 1 โดยขายให้จำเลยที่ 2 เป็นการทำนิติกรรมที่มีเจตนาไม่สุจริตและฉ้อฉลที่จะไม่ให้ที่ดินกลับคืนเป็นของโจทก์ ขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการขายที่ดิน จำเลยทั้งสองย่อมเข้าใจได้ว่าการไม่สุจริตและฉ้อฉลคือการที่จำเลยที่ 1 สมรู้กับจำเลยที่ 2 โอนขายที่ดิน เพื่อมิให้โจทก์เรียกถอนคืนการให้เพราะเหตุจำเลยที่ 1 ประพฤติเนรคุณ จึงเป็นคำฟ้องที่ชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องเรียกถอนคืนการให้เพราะจำเลยที่ 1 ประพฤติเนรคุณด้วยการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงรวม 3 ครั้ง ต่างวันเวลากันจำเลยที่ 1 ให้การว่า จำเลยที่ 1 ไม่เคยดูหมิ่นโจทก์อย่างร้ายแรง ย่อมหมายความว่า ไม่เคยกล่าวคำหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงไม่ว่าจะเป็นวันเวลาใด ทั้งเมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องแล้วจำเลยที่ 1 เบิกความเพียงว่าจำเลยที่ 1 ไม่เคยด่าว่าโจทก์ โดยมิได้เบิกความถึงวันเวลาที่มีการกล่าวหาว่าจำเลยที่ 1 หมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรง อันเป็นการแสดงให้เห็นด้วยว่า วันเวลาดังกล่าวมิได้เป็นสาระสำคัญในการต่อสู้คดี แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งอนุญาตให้แก้ไขคำฟ้องโดยมิได้ส่งสำเนาคำร้องให้แก่จำเลยทั้งสองทราบล่วงหน้าอย่างน้อยสามวันก่อนกำหนดนัดพิจารณาคำร้อง ก็ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2899/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนขายที่ดินหลังเกิดหนี้สัญญา - เจ้าหนี้ไม่ทวงหนี้ก่อนโอนสิทธิไม่มีความผิด
ก่อนที่จำเลยจะโอนขายที่ดินให้ผู้อื่น โจทก์มิได้ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้เงินกู้ตามสัญญากู้เงิน อันเป็นการแสดงว่าโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ยังไม่คิดจะฟ้องคดีให้จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ให้ชำระหนี้ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350 จึงยังไม่เกิดขึ้นและในกรณีเช่นนี้แม้จำเลยเป็นหนี้เงินกู้โจทก์ ก็หาทำให้ผลการกระทำของจำเลยอันไม่เป็นความผิดเปลี่ยนแปลงไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5113/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบุคคลสิทธิ vs. ทรัพย์สิทธิ: การเพิกถอนการจดทะเบียนโอนขายที่ดินเมื่อมีสัญญาจะซื้อจะขายก่อน
ตามคำฟ้องโจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะขายที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์ให้แก่โจทก์ ตามสัญญาจะซื้อจะขายบ้านพร้อมที่ดินเอกสารท้ายฟ้องต่อมาจำเลยที่ 1 กลับจดทะเบียนโอนขายที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์ดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 4 โดยความยินยอมของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้ใช้อำนาจปกครอง เป็นทางให้เสียเปรียบแก่โจทก์ผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อน ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 4 นั้น เมื่อสิทธิของโจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวเป็นเพียงบุคคลสิทธิซึ่งมีสิทธิเพียงที่จะบังคับให้จำเลยที่ 1 ไปทำการโอนขายที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์ให้แก่โจทก์ตามสัญญาเท่านั้น โจทก์หามีทรัพย์สิทธิที่จะไปบังคับแก่จำเลยที่ 4 ผู้ซื้อที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์จากจำเลยที่ 1 แต่อย่างใดไม่ ดังนี้โจทก์จึงมิใช่บุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตาม ป.พ.พ.มาตรา 1300 จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5309/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนขายที่ดินแล้วเช่าทำไร่ การผิดสัญญาเช่าและสิทธิบอกเลิกสัญญา
หนังสือสัญญาขายที่ดินพิพาทไม่มีข้อความตอนใดเขียนไว้เลยว่าให้สิทธิแก่จำเลยที่ 1 ในอันที่จะเรียกร้องเอาที่ดินคืนจากโจทก์คนใดได้ ทั้งพฤติการณ์ตามที่จำเลยที่ 1 เบิกความมา อาจปรับได้กับลักษณะขายฝากหรือคำมั่นว่าจะขายคืนให้ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจริงจำเลยที่ 1 ก็ชอบที่จะบังคับเอาแก่โจทก์ที่ 3 ได้ แต่ทางนำสืบที่จำเลยที่ 1 เบิกความมาไม่มีสัญญาขายฝากหรือหลักฐานใด ๆที่จำเลยที่ 1 จะเรียกร้องเอาที่ดินพิพาทคืนจากฝ่ายโจทก์ได้เลยที่จำเลยที่ 1 อ้างว่าโจทก์ที่ 3 หลอกนั้น ก็มีแต่คำเบิกความของจำเลยที่ 1 ส่วนคำเบิกความของพยานจำเลยนั้นแม้จะได้ความว่าพยานดังกล่าวจะตกอยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้โจทก์ที่ 3 เช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 มาก่อนก็ตาม ก็ไม่อาจรับฟังได้ว่าพยานจำเลยอยู่ในฐานะถูกหลอกเช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 พฤติการณ์คงรับฟังได้เพียงว่าจำเลยที่ 1 และพยานจำเลยทุกปากอยู่ในฐานะถูกเอาเปรียบจากโจทก์ที่ 3 ที่มีกฎหมายเป็นฐานรองรับเท่านั้น โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองเช่าที่ดินพิพาทแล้วผิดนัดชำระค่าเช่าจำเลยทั้งสองให้การว่าที่ดินพิพาทใช้ทำไร่ ไม่เคยเช่าจากโจทก์ในชั้นสืบพยานคู่ความนำสืบรับกันว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่ใช้ทำไร่ แม้ในคำฟ้องและคำให้การจะกล่าวอ้าง พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 แต่ พระราชบัญญัติดังกล่าวคงใช้บังคับสำหรับการเช่าที่ดินเพื่อการทำนาเท่านั้น ส่วนการเช่าที่ดินเพื่อการทำไร่ ยังไม่มีพระราชกฤษฎีกาให้ใช้บังคับแต่อย่างใดที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทในปัญหาดังกล่าว กับศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 หยิบยก พระราชบัญญัติดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5309/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนขายที่ดินแล้วเช่าทำไร่ การผิดสัญญาเช่า และสิทธิบอกเลิกสัญญา
หนังสือสัญญาขายที่ดินพิพาทไม่มีข้อความตอนใดเขียนไว้เลยว่าให้สิทธิแก่จำเลยที่1ในอันที่จะเรียกร้องเอาที่ดินคืนจากโจทก์คนใดได้ทั้งพฤติการณ์ตามที่จำเลยที่1เบิกความมาอาจปรับได้กับลักษณะขายฝากหรือคำมั่นว่าจะขายคืนให้ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจริงจำเลยที่1ก็ชอบที่จะบังคับเอาแก่โจทก์ที่3ได้แต่ทางนำสืบที่จำเลยที่1เบิกความมาไม่มีสัญญาขายฝากหรือหลักฐานใดๆที่จำเลยที่1จะเรียกร้องเอาที่ดินพิพาทคืนจากฝ่ายโจทก์ได้เลยที่จำเลยที่1อ้างว่าโจทก์ที่3หลอกนั้นก็มีแต่คำเบิกความของจำเลยที่1ส่วนคำเบิกความของพยานจำเลยนั้นแม้จะได้ความว่าพยานดังกล่าวจะตกอยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้โจทก์ที่3เช่นเดียวกับจำเลยที่1มาก่อนก็ตามก็ไม่อาจรับฟังได้ว่าพยานจำเลยอยู่ในฐานะถูกหลอกเช่นเดียวกับจำเลยที่1พฤติการณ์คงรับฟังได้เพียงว่าจำเลยที่1และพยานจำเลยทุกปากอยู่ในฐานะถูกเอาเปรียบจากโจทก์ที่3ที่มีกฎหมายเป็นฐานรองรับเท่านั้น โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองเช่าที่ดินพิพาทแล้วผิดนัดชำระค่าเช่าจำเลยทั้งสองให้การว่าที่ดินพิพาทใช้ทำไร่ไม่เคยเช่าจากโจทก์ในชั้นสืบพยานคู่ความนำสืบรับกันว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่ใช้ทำไร่แม้ในคำฟ้องและคำให้การจะกล่าวอ้างพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524แต่พระราชบัญญัติดังกล่าวคงใช้บังคับสำหรับการเช่าที่ดินเพื่อการทำนาเท่านั้นส่วนการเช่าที่ดินเพื่อการทำไร่ยังไม่มีพระราชกฤษฎีกาให้ใช้บังคับแต่อย่างใดที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทในปัญหาดังกล่าวกับศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค2หยิบยกพระราชบัญญัติดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1101/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนขายที่ดินโดยไม่สุจริตของผู้จัดการมรดก และสิทธิในที่ดินร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
การจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ที่1จำเลยที่1และจ.เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันมิได้บรรยายส่วนสัดไว้แต่ต้นว่าแต่ละคนมีส่วนถือกรรมสิทธิ์แตกต่างกันมาเช่นนี้มาตลอดนับแต่ซื้อมาจนกระทั่งมีการจดทะเบียนโอนขายให้จำเลยที่2นับรวมได้เป็นเวลา20ปีเศษแสดงว่าเจ้าของรวมแต่ละคนไม่ติดใจในส่วนสัดของที่ดินพิพาทที่ปรากฎทางทะเบียนโฉนดที่ดินแต่อย่างใดจึงต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา1357แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่บัญญัติให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้เป็นเจ้าของรวมมีส่วนเท่ากัน จำเลยที่1รู้ว่าโจทก์ที่1ซึ่งเป็นมารดายังมีชีวิตและมีที่อยู่แน่นอนมาแต่ต้นดังนั้นการที่จำเลยที่1ไปร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งว่าโจทก์ที่1เป็นคนสาบสูญและตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกตลอดจนไปจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของโจทก์ที่1ให้แก่จำเลยที่2จึงเป็นการที่ทำไปโดยไม่สุจริตแม้จำเลยที่2จะรับซื้อไว้โดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตก็ตามก็หาทำให้จำเลยที่2ได้ที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของโจทก์ที่1ไม่เพราะผู้รับโอนย่อมไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอนจำเลยที่2ย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7950/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนขายที่ดิน, สิทธิการเช่าซื้อ, การรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง, ค่าเสียหาย, และดอกเบี้ย
โจทก์ฟ้องขอค่าเสียหายเดือนละ2,500บาทนับแต่วันฟ้องโดยคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในค่าเสียหายในอนาคตนับแต่วันฟ้องอีกด้วยส่วนค่าเสียหายก่อนฟ้องนั้นโจทก์ไม่ได้ขอให้จำเลยทั้งสองชำระแต่ทางพิจารณาโจทก์นำสืบขอค่าเสียหายเดือนละ2,500บาทจนกว่าจำเลยทั้งสองจะออกไปจากที่พิพาทโดยโจทก์ไม่ได้เบิกความขอดอกเบี้ยในค่าเสียหายจึงเป็นกรณีที่โจทก์ไม่ประสงค์ที่จะเอาดอกเบี้ยในค่าเสียหายเป็นเดือนๆอีกที่ศาลอุทธรณ์กำหนดดอกเบี้ยให้โจทก์ได้รับอีกนั้นจึงไม่ชอบ โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นเกิน200บาทแต่ในชั้นอุทธรณ์โจทก์ไม่ได้เสียค่าขึ้นศาลอนาคต100บาทจึงให้คืนค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นจำนวน100บาทให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3370/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเพิกถอนการจดทะเบียนโอนขายที่ดิน และสิทธิในการติดตามเอาคืนทรัพย์สินจากผู้ถือกรรมสิทธิ์โดยมิชอบ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ลงลายมือชื่อในใบมอบอำนาจที่ยังไม่ได้กรอกข้อความมอบให้มารดาโจทก์ไปดำเนินการจดทะเบียนใส่ชื่อ ส.และ ล.น้องของโจทก์ถือกรรมสิทธิ์รวมกับโจทก์ แต่มารดาโจทก์กลับไปกรอกข้อความดำเนินการจดทะเบียนโอนขายกรรมสิทธิ์ที่ดินส่วนของโจทก์ให้แก่ตนเอง แล้วมารดาโจทก์จดทะเบียนยกให้แก่จำเลยต่อไป และคำขอท้ายฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าหนังสือมอบอำนาจกับหนังสือสัญญาขายที่ดินตามฟ้องเป็นโมฆะ ให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนขายและยกให้ดังกล่าว ทั้งขอให้พิพากษาว่าที่ดินตามฟ้องด้านทิศใต้เนื้อที่ 6 ไร่เป็นของโจทก์ จึงเป็นการฟ้องเรียกทรัพย์คืนจากจำเลยผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของโจทก์ไว้โดยมิชอบ โจทก์ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ย่อมมีสิทธิติดตามเอาคืนได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดเวลาในการให้เจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิดังกล่าว เว้นแต่จะถูกจำกัดด้วยอายุความได้สิทธิ เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ถูกจำกัดด้วยอายุความได้สิทธิฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมาย อันทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 24 การที่โจทก์อุทธรณ์และจำเลยฎีกาต่อมา จึงเป็นการอุทธรณ์และฎีกาคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 227 ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียงชั้นศาลละ 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 ข. ท้าย ป.วิ.พ. มิใช่เสียตามทุนทรัพย์ที่พิพาท
of 3