พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2971/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดิน: การส่งมอบการครอบครองไม่ใช่การโอนทางทะเบียน สิทธิของผู้ซื้อมีจำกัด
หนังสือสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์จำเลยมีข้อความว่า ผู้ขายได้ขายที่ดินจำนวนเนื้อที่ 3 งาน 24 ตารางวา ให้แก่ผู้ซื้อเป็นจำนวนเงิน 1,500 บาท และยอมส่งมอบทรัพย์สินที่ขายให้แก่ผู้ซื้อ วันที่ 2 เมษายน 2524 และผู้ขายได้รับราคาดังกล่าวแล้วไปจากผู้ซื้อเสร็จแล้วแต่วันที่ 2 เมษายน 2524 ย่อมมีความหมายชัดแจ้งว่าผู้ขายได้ขายที่ดินให้แก่ผู้ซื้อโดยเจตนาส่งมอบการครอบครองที่ดินให้แก่ผู้ซื้อเท่านั้น ไม่มีถ้อยคำใด ๆ พอที่จะตีความหรือมีความหมายว่าผู้ขายจะไปดำเนินการโอนทางทะเบียนสำหรับที่ดินที่ซื้อขายกันให้แก่ผู้ซื้อ โจทก์ย่อมได้สิทธิครอบครองในที่ดินที่ซื้อจากจำเลยแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 868/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้ครอบครองปรปักษ์เมื่อมีการโอนทางทะเบียนโดยสุจริต สิทธิผู้ครอบครองปรปักษ์ขาดตอน
ผู้ครอบครองปรปักษ์ที่ดินมีโฉนดจนได้กรรมสิทธิ์แล้วนั้นเมื่อยังมิได้จดทะเบียนจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้รับโอนทางทะเบียนโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วหาได้ไม่
เจ้าของโฉนดจดทะเบียนขายฝากที่ดินแก่บุคคลภายนอกจนหลุดเป็นสิทธิ ผู้ครอบครองปรปักษ์มิได้ต่อสู้ว่าผู้รับซื้อฝากไม่สุจริตย่อมต้องด้วยข้อสันนิษฐานตามกฎหมายว่าผู้รับซื้อฝากนั้นเป็นผู้สุจริต
ผู้รับโอนที่ดินมีโฉนดโดยเสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนสิทธิโดยสุจริต ซึ่งมีสิทธิดีกว่าผู้ครอบครองปรปักษ์นั้นถ้ามีผู้รับโอนทางทะเบียนต่อจากนั้นมาอีกภายใน 10 ปีนับแต่วันโอนครั้งแรก ผู้รับโอนต่อๆ มาจะรับโอนโดยสุจริตหรือไม่ ผู้ครอบครองปรปักษ์ก็ไม่อาจยกสิทธิของตนขึ้นใช้ยันผู้รับโอนคนใหม่ได้เพราะสิทธิของผู้ครอบครองปรปักษ์ขาดตอนไปแล้วตั้งแต่มีผู้รับโอนทางทะเบียนโดยสุจริตคนแรกแม้ผู้ครอบครองปรปักษ์จะยังคงครอบครองที่ดินตลอดมาเมื่อการครอบครองในช่วงหลังยังไม่ครบ 10 ปี ก็จะถือว่ามีการครอบครองปรปักษ์กับเจ้าของใหม่จนครบเวลาได้กรรมสิทธิ์แล้วหาได้ไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1015/2485)
หมายเหตุ คำพิพากษาฎีกาที่ 1087-1090/2501 ก็เดินตามแนวนี้
เจ้าของโฉนดจดทะเบียนขายฝากที่ดินแก่บุคคลภายนอกจนหลุดเป็นสิทธิ ผู้ครอบครองปรปักษ์มิได้ต่อสู้ว่าผู้รับซื้อฝากไม่สุจริตย่อมต้องด้วยข้อสันนิษฐานตามกฎหมายว่าผู้รับซื้อฝากนั้นเป็นผู้สุจริต
ผู้รับโอนที่ดินมีโฉนดโดยเสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนสิทธิโดยสุจริต ซึ่งมีสิทธิดีกว่าผู้ครอบครองปรปักษ์นั้นถ้ามีผู้รับโอนทางทะเบียนต่อจากนั้นมาอีกภายใน 10 ปีนับแต่วันโอนครั้งแรก ผู้รับโอนต่อๆ มาจะรับโอนโดยสุจริตหรือไม่ ผู้ครอบครองปรปักษ์ก็ไม่อาจยกสิทธิของตนขึ้นใช้ยันผู้รับโอนคนใหม่ได้เพราะสิทธิของผู้ครอบครองปรปักษ์ขาดตอนไปแล้วตั้งแต่มีผู้รับโอนทางทะเบียนโดยสุจริตคนแรกแม้ผู้ครอบครองปรปักษ์จะยังคงครอบครองที่ดินตลอดมาเมื่อการครอบครองในช่วงหลังยังไม่ครบ 10 ปี ก็จะถือว่ามีการครอบครองปรปักษ์กับเจ้าของใหม่จนครบเวลาได้กรรมสิทธิ์แล้วหาได้ไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1015/2485)
หมายเหตุ คำพิพากษาฎีกาที่ 1087-1090/2501 ก็เดินตามแนวนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 868/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของผู้ครอบครองปรปักษ์เมื่อมีการโอนทางทะเบียนโดยสุจริต สิทธิเดิมขาดตอน
ผู้ครอบครองปรปักษ์ที่ดินมีโฉนดจนได้กรรมสิทธิ์แล้วนั้น.เมื่อยังมิได้จดทะเบียนจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้รับโอนทางทะเบียนโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วหาได้ไม่.
เจ้าของโฉนดจดทะเบียนขายฝากที่ดินแก่บุคคลภายนอกจนหลุดเป็นสิทธิ. ผู้ครอบครองปรปักษ์มิได้ต่อสู้ว่าผู้รับซื้อฝากไม่สุจริต. ย่อมต้องด้วยข้อสันนิษฐานตามกฎหมายว่าผู้รับซื้อฝากนั้นเป็นผู้สุจริต.
ผู้รับโอนที่ดินมีโฉนดโดยเสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนสิทธิโดยสุจริต ซึ่งมีสิทธิดีกว่าผู้ครอบครองปรปักษ์นั้น. ถ้ามีผู้รับโอนทางทะเบียนต่อจากนั้นมาอีกภายใน 10 ปีนับแต่วันโอนครั้งแรก. ผู้รับโอนต่อๆ มาจะรับโอนโดยสุจริตหรือไม่. ผู้ครอบครองปรปักษ์ก็ไม่อาจยกสิทธิของตนขึ้นใช้ยันผู้รับโอนคนใหม่ได้. เพราะสิทธิของผู้ครอบครองปรปักษ์ขาดตอนไปแล้วตั้งแต่มีผู้รับโอนทางทะเบียนโดยสุจริตคนแรก. แม้ผู้ครอบครองปรปักษ์จะยังคงครอบครองที่ดินตลอดมาเมื่อการครอบครองในช่วงหลังยังไม่ครบ 10 ปี ก็จะถือว่ามีการครอบครองปรปักษ์กับเจ้าของใหม่จนครบเวลาได้กรรมสิทธิ์แล้วหาได้ไม่.(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1015/2485).
หมายเหตุ คำพิพากษาฎีกาที่ 1087-1090/2501 ก็เดินตามแนวนี้.
เจ้าของโฉนดจดทะเบียนขายฝากที่ดินแก่บุคคลภายนอกจนหลุดเป็นสิทธิ. ผู้ครอบครองปรปักษ์มิได้ต่อสู้ว่าผู้รับซื้อฝากไม่สุจริต. ย่อมต้องด้วยข้อสันนิษฐานตามกฎหมายว่าผู้รับซื้อฝากนั้นเป็นผู้สุจริต.
ผู้รับโอนที่ดินมีโฉนดโดยเสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนสิทธิโดยสุจริต ซึ่งมีสิทธิดีกว่าผู้ครอบครองปรปักษ์นั้น. ถ้ามีผู้รับโอนทางทะเบียนต่อจากนั้นมาอีกภายใน 10 ปีนับแต่วันโอนครั้งแรก. ผู้รับโอนต่อๆ มาจะรับโอนโดยสุจริตหรือไม่. ผู้ครอบครองปรปักษ์ก็ไม่อาจยกสิทธิของตนขึ้นใช้ยันผู้รับโอนคนใหม่ได้. เพราะสิทธิของผู้ครอบครองปรปักษ์ขาดตอนไปแล้วตั้งแต่มีผู้รับโอนทางทะเบียนโดยสุจริตคนแรก. แม้ผู้ครอบครองปรปักษ์จะยังคงครอบครองที่ดินตลอดมาเมื่อการครอบครองในช่วงหลังยังไม่ครบ 10 ปี ก็จะถือว่ามีการครอบครองปรปักษ์กับเจ้าของใหม่จนครบเวลาได้กรรมสิทธิ์แล้วหาได้ไม่.(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1015/2485).
หมายเหตุ คำพิพากษาฎีกาที่ 1087-1090/2501 ก็เดินตามแนวนี้.