พบผลลัพธ์ทั้งหมด 58 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1591/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนมรดกโดยไม่เป็นธรรมแก่ผู้ไม่เป็นทายาท และสิทธิเรียกร้องทรัพย์มรดกของทายาท
โจทก์ จำเลยที่ 1 และทายาทอื่นครอบครองทรัพย์มรดกร่วมกันมา จำเลยที่ 1 โอนที่ดินมรดกให้แก่จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ซึ่งไม่ใช่ทายาทโดยไม่มีค่าตอบแทน โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9295/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนมรดกโดยไม่ชอบ ผู้จัดการมรดกไม่มีอำนาจโอนทรัพย์ให้ตนเอง แม้เป็นการชำระหนี้
การที่ ป. ทำนิติกรรมโอนทรัพย์มรดกให้แก่ตนเองซึ่งไม่ใช่ทายาท แม้จะเป็นการตอบแทนการเอาเงินส่วนตัวชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองแทนกองมรดก อันเป็นการจัดการมรดกทั่วไป ก็ไม่มีอำนาจกระทำเพราะเป็นปฏิปักษ์ ต่อกองมรดก เมื่อผู้ตายมิได้ทำพินัยกรรมอนุญาตและ ป. ไม่ได้รับอนุญาตจากศาลจึงเป็นการฝ่าฝืน ป.พ.พ. มาตรา 1722 ย่อมตกเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 687/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนมรดกที่ดินพิพาท: สิทธิในที่ดินเป็นของผู้ครอบครองทำประโยชน์ ไม่ใช่ผู้รับพินัยกรรม
คดีก่อนมีประเด็นว่าผู้ร้องมีส่วนได้เสียที่จะมีสิทธิยื่นคำร้องขอต่อศาลหรือไม่ และมีเหตุสมควรที่จะตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่ ส่วนคดีนี้มีประเด็นว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ ฟ. หรือไม่ จึงมีประเด็นต่างกัน แม้ในคดีก่อนศาลจะฟังว่าที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เลขที่ 312 เป็นของ ฟ. ผู้ตายเพียงผู้เดียว ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นประเด็นที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งแล้วในคดีก่อน จึงไม่อาจนำผลของคำวินิจฉัยดังกล่าวในคดีก่อนมาผูกพันจำเลยในคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11978/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนมรดกโดยทุจริตและผลกระทบต่อสัญญาจำนอง: กรรมสิทธิ์ยังคงเป็นของกองมรดก
จำเลยที่ 1 รู้อยู่แล้วว่าตนเองไม่มีสิทธิรับมรดกของ ค. เนื่องจาก ค. ทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์กับพวก แต่ไปร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของ ค. ต่อศาล จนกระทั่งศาลมีคำสั่งตั้งให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดก และเมื่อได้เป็นผู้จัดการมรดกแล้ว จำเลยที่ 1 ไปแจ้งความอันเป็นเท็จต่อพนักงานสอบสวนว่าโฉนดที่ดินพิพาทสูญหาย แล้วนำหลักฐานการแจ้งความไปขอใบแทนโฉนดที่ดินแปลงพิพาท ทั้งที่ขณะนั้นโฉนดที่ดินตัวจริงอยู่กับโจทก์ จากนั้นจำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธ์ที่ดินเป็นชื่อของตนโดยใช้ใบแทนโฉนดที่ดินเป็นหลักฐาน การได้มาซึ่งที่ดินของจำเลยที่ 1 เป็นการได้มาโดยทุจริตอาศัยคำสั่งศาลที่สั่งโดยหลงผิด และการแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานในระหว่างที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของ ค. ย่อมเป็นตัวแทนบรรดาทายาทในการจัดการมรดก จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องดำเนินการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทของ ค. ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1719 และจะทำนิติกรรมใดๆ ซึ่งตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกหาได้ไม่ การที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกไปรับโอนที่ดินพิพาทอันเป็นมรดกของ ค. มาเป็นของตนเองในฐานะส่วนตัวโดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้ที่มิได้รับประโยชน์จากพินัยกรรมและเป็นผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก จึงไม่เป็นการแบ่งปันทรัพย์มรดกตามหน้าที่ผู้จัดการมรดกโดยสุจริตตามข้อกำหนดในพินัยกรรม แต่เป็นการทำนิติกรรมให้จำเลยที่ 1 มีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกของ ค. อันเป็นการต้องห้ามโดยชัดแจ้งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1712 นิติกรรมการโอนตกเป็นโมฆะตามมาตรา 150 ถือเสมือนว่ามิได้มีนิติกรรมการโอนเกิดขึ้นเลย กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทจึงยังคงเป็นของกองมรดกของ ค. อยู่ตามเดิม หาตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 ในฐานะส่วนตัวไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 ในฐานะส่วนตัวไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทเสียแล้ว ก็ไม่มีสิทธิจะเอาที่ดินพิพาทไปจำนองแก่ผู้ใดได้ ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับจำนองที่ดินพิพาทไว้จากจำเลยที่ 1 ในฐานะส่วนตัว ซึ่งเป็นผู้ไม่มีสิทธิจะจำนองได้ ย่อมไม่เกิดผลให้จำเลยที่ 2 มีสิทธิตามนิติกรรมจำนอง แม้จำเลยที่ 2 จะอ้างว่ารับจำนองไว้โดยสุจริตก็ตามการจำนองจึงไม่ผูกพันโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1955/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความเท็จเพื่อออกโฉนดและโอนมรดก ถือเป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จและทำให้ผู้อื่นเสียทรัพย์
จำเลยที่ 1 และที่ 2 รู้อยู่แล้วว่า ล. บิดาได้ขายที่ดินให้แก่ ก. และโจทก์ที่ 1การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจว่าหนังสือรับรองการทำประโยชน์หายไป แล้วจำเลยที่ 2 นำหลักฐานใบแจ้งไปแสดงต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อขอออกใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ จึงมีเจตนาที่จะกระทำผิด หาใช่เป็นเรื่องที่ขาดเจตนาไม่
การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 รู้อยู่ว่า ล. บิดาได้ขายที่ดินไปแต่กลับไปแจ้งต่อเจ้าพนักงานตำรวจว่าหนังสือรับรองการทำประโยชน์หาย และจำเลยที่ 1 นำสำเนารายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีไปขอออกใบแทน กับดำเนินการรับโอนมรดกที่ดินมาเป็นของจำเลยที่ 1 ย่อมทำให้โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าของที่แท้จริงได้รับความเสียหายแล้วมิใช่ไม่เป็นความผิดเพราะโจทก์ทั้งสองไม่เสียหายและไม่มีอำนาจฟ้อง
การที่จำเลยที่ 1 แจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานตำรวจและเจ้าพนักงานที่ดินเป็นการกระทำต่อเนื่องกัน โดยมีเจตนาเดียวกันเพื่อขอใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ แล้วรับโอนมรดกที่ดินมาเป็นของตนเป็นการกระทำกรรมเดียว
การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 รู้อยู่ว่า ล. บิดาได้ขายที่ดินไปแต่กลับไปแจ้งต่อเจ้าพนักงานตำรวจว่าหนังสือรับรองการทำประโยชน์หาย และจำเลยที่ 1 นำสำเนารายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีไปขอออกใบแทน กับดำเนินการรับโอนมรดกที่ดินมาเป็นของจำเลยที่ 1 ย่อมทำให้โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าของที่แท้จริงได้รับความเสียหายแล้วมิใช่ไม่เป็นความผิดเพราะโจทก์ทั้งสองไม่เสียหายและไม่มีอำนาจฟ้อง
การที่จำเลยที่ 1 แจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานตำรวจและเจ้าพนักงานที่ดินเป็นการกระทำต่อเนื่องกัน โดยมีเจตนาเดียวกันเพื่อขอใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ แล้วรับโอนมรดกที่ดินมาเป็นของตนเป็นการกระทำกรรมเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1955/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความเท็จเกี่ยวกับ น.ส.3 เพื่อหวังผลประโยชน์ในการโอนมรดกที่ดิน ถือเป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จและทำให้ผู้อื่นเสียหาย
จำเลยที่ 1 และที่ 2 รู้มาแต่แรกแล้วว่า ล. ผู้เป็นบิดาได้ขายที่ดินพิพาทให้แก่ก. และโจทก์ที่ 1 การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจว่าหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) หายไป แล้วจำเลยที่ 1 นำหลักฐานใบแจ้งความไปแสดงต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อขอออกใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3)แทนฉบับที่อ้างว่าหายไป จึงมีเจตนาที่จะกระทำผิดหาใช่เป็นเรื่องที่ขาดเจตนาไม่
ความผิดฐานแจ้งความเท็จคือการนำความเป็นเท็จไปแจ้งต่อเจ้าพนักงานการที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 รู้อยู่ว่า ล. บิดาได้ขายที่ดินพิพาทไปแต่กลับไปแจ้งต่อเจ้าพนักงานตำรวจว่าหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) หาย และจำเลยที่ 1 นำสำเนารายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีไปขอออกใบแทน จนกระทั่งไปดำเนินการรับโอนมรดกที่ดินพิพาทมาเป็นชื่อของจำเลยที่ 1 ย่อมทำให้โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าของผู้ครอบครองที่ดินที่แท้จริงต้องได้รับความเสียหายแล้ว หาใช่ไม่เป็นความผิดเพราะโจทก์ทั้งสองไม่เสียหายและไม่มีอำนาจฟ้องไม่
การที่จำเลยที่ 1 แจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานตำรวจและเจ้าพนักงานที่ดินเป็นการกระทำต่อเนื่องกัน โดยมีเจตนาเดียวกันเพื่อขอใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) แล้วรับโอนมรดกที่ดินมาเป็นชื่อของตนการกระทำของจำเลยที่ 1จึงเป็นกรรมเดียว
ความผิดฐานแจ้งความเท็จคือการนำความเป็นเท็จไปแจ้งต่อเจ้าพนักงานการที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 รู้อยู่ว่า ล. บิดาได้ขายที่ดินพิพาทไปแต่กลับไปแจ้งต่อเจ้าพนักงานตำรวจว่าหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) หาย และจำเลยที่ 1 นำสำเนารายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีไปขอออกใบแทน จนกระทั่งไปดำเนินการรับโอนมรดกที่ดินพิพาทมาเป็นชื่อของจำเลยที่ 1 ย่อมทำให้โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าของผู้ครอบครองที่ดินที่แท้จริงต้องได้รับความเสียหายแล้ว หาใช่ไม่เป็นความผิดเพราะโจทก์ทั้งสองไม่เสียหายและไม่มีอำนาจฟ้องไม่
การที่จำเลยที่ 1 แจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานตำรวจและเจ้าพนักงานที่ดินเป็นการกระทำต่อเนื่องกัน โดยมีเจตนาเดียวกันเพื่อขอใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) แล้วรับโอนมรดกที่ดินมาเป็นชื่อของตนการกระทำของจำเลยที่ 1จึงเป็นกรรมเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6593/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเพิกถอนการโอนมรดก: จำเป็นต้องมีทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกเป็นคู่ความร่วมด้วย
การที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดนครสวรรค์ สาขาตาคลี จำเลยที่ 2 ในฐานะ เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดนครสวรรค์ และเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ ให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนมรดกที่ดินของ ว. บิดาให้แก่ ม. มารดาซึ่งก็ถึงแก่ความตายไปแล้วเช่นกัน โดยอ้างว่า ว. ได้ทำพินัยกรรมยกที่ดินทั้งสองแปลงให้แก่โจทก์เพียงผู้เดียวก่อนถึงแก่ความตาย ม. ผู้เป็นมารดาจึงไม่มีสิทธิที่จะรับมรดกที่ดินดังกล่าวมาแต่ต้น อันเป็นการโต้แย้งสิทธิระหว่างโจทก์กับกองมรดกของ ม. โดยตรง และการขอให้ เพิกถอนนิติกรรมการโอนมรดกดังกล่าวย่อมกระทบกระเทือนถึงสิทธิของทายาทอื่นที่มีสิทธิรับมรดกของ ม. ซึ่งเป็นบุคคลนอกคดี เมื่อโจทก์ไม่ได้ฟ้องหรือขอให้เรียกทายาทของ ม. เข้ามาเป็นคู่ความในคดีด้วย ผลของคำพิพากษาย่อมไม่มีผลผูกพันทายาทอื่นของ ม. ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145 ศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้ตามคำขอของโจทก์ได้ ปัญหาดังกล่าวเกี่ยวกับอำนาจฟ้อง เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ ศาลก็มีอำนาจที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6593/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเพิกถอนการโอนมรดก: จำเป็นต้องรวมทายาทผู้รับมรดกเป็นคู่ความหรือไม่
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดนครสวรรค์จำเลยเพิกถอนการจดทะเบียนโอนมรดกของ ม. ออกจากโฉนดที่ดินและหนังสือรับรองการทำประโยชน์โดยอ้างว่า ว. บิดาโจทก์ได้ทำพินัยกรรมยกที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ ม. ผู้เป็นภริยา ว. และเป็นมารดาโจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะรับมรดกที่ดินมาแต่ต้น อันเป็นการโต้แย้งสิทธิระหว่างโจทก์กับกองมรดกของ ม. โดยตรงและการขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนมรดกดังกล่าวย่อมกระทบกระเทือนถึงสิทธิของทายาทอื่นที่มีสิทธิรับมรดกของ ม. ซึ่งเป็นบุคคลนอกคดีเมื่อโจทก์ไม่ได้ฟ้องหรือขอให้เรียกทายาทของ ม. เข้ามาเป็นคู่ความในคดีด้วย ผลของคำพิพากษาย่อมไม่มีผลผูกพันทายาทอื่นของ ม. ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 ศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้ตามคำขอของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1952/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายสิทธิในทรัพย์มรดกของทายาทแต่ละคนให้แก่ทายาทอื่น ย่อมมีผลบังคับใช้ได้ตามกฎหมาย
โจทก์ บ. และทายาทอื่นของ ส. ได้ขายส่วนของตนในที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย เป็นการแสดงเจตนาขายสิทธิในทรัพย์มรดกส่วนของทายาทแต่คนให้แก่จำเลยซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่งของ ส. และมีการโอนทางทะเบียนเป็นชื่อของจำเลยแล้ว ย่อมมีผลบังคับได้ตามกฎหมาย เนื่องจากทายาทแต่ละคนมีอำนาจขายทรัพย์มรดกส่วนของตนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1361 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 1745 ทั้งถือได้ว่า โจทก์ที่ 1 จำเลย บ. และทายาทอื่นตกลงแบ่งทรัพย์สินโดยการขายทรัพย์มรดกแล้วเอาเงินที่ขายได้มาแบ่งปันกันระหว่างทายาทตามมาตรา 1750 วรรคหนึ่ง จึงไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 456 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6870/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสนับสนุนการโอนมรดกโดยมิชอบของผู้จัดการมรดก ผู้จัดการมรดกให้ถ้อยคำเท็จต่อเจ้าพนักงานที่ดิน
ความผิดฐานยักยอกทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 352 ผู้กระทำผิดต้องเป็นผู้ครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของผู้อื่น หรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย และได้เบียดบัง เอาทรัพย์เป็นของตนเองหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต ส่วนความผิดตามมาตรา 353 ผู้กระทำความผิดต้องเป็นผู้ที่ได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์ของผู้อื่นหรือทรัพย์สินซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย กระทำผิดหน้าที่ของตนโดยทุจริตจนทำให้เกิดความเสียหาย สำหรับความผิดตามมาตรา 354 ต้องเป็นกรณี ที่ผู้กระทำความผิดมาตรา 352 หรือ 353 ได้กระทำในฐานะ ที่เป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้อื่นตามคำสั่งศาลหรือ ตามพินัยกรรม เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยหรือ ว.เป็นผู้ครอบครองทรัพย์ของผู้อื่น และจำเลยไม่ได้เป็นผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์ของผู้อื่น และไม่ได้ มีฐานะเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้อื่นตามคำสั่งศาลหรือตามพินัยกรรม จำเลยจึงไม่อยู่ในฐานะที่จะเป็นผู้กระทำความผิด ตามมาตรา 352 มาตรา 353 และมาตรา 354 ได้ เมื่อจำเลย ไม่สามารถกระทำผิดตามมาตราดังกล่าวได้ จำเลยจึงเป็นตัวการ ร่วมกับ ว. ในการกระทำความผิดตามมาตรา 83 ไม่ได้ การจดทะเบียนโอนมรดกให้แก่ผู้จัดการมรดกในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกนั้น สามารถทำได้โดยไม่ต้องสอบถามทายาทอื่น แตกต่างกับการจดทะเบียนโอนมรดกให้แก่ผู้จัดการมรดก ในฐานะเป็นผู้รับมรดกเอง ซึ่งจะต้องมีการบันทึกการยินยอม ของทายาทเจ้ามรดกไว้ด้วย และเป็นการจดทะเบียนที่ดิน ประเภทมีทุนทรัพย์ เมื่อปรากฏว่า ว.ได้ให้ถ้อยคำต่อเจ้าพนักงานที่ดินว่า เหตุที่ไม่ได้โอนมรดกรายนี้ให้ทายาทอื่นด้วยนั้น เนื่องจาก ว. ได้แบ่งมรดกส่วนอื่นให้ไปแล้ว และจำเลยในฐานะทายาทได้ทำบันทึกให้ความยินยอม โดยที่ผู้จัดการมรดกยังไม่ได้แบ่งมรดกรายอื่นให้แก่โจทก์ ทั้งสองซึ่งเป็นทายาทอื่นเลย จึงเป็นการที่จำเลยช่วงเหลือ ให้ ว. ผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลได้จดทะเบียนโอนมรดกเป็นของ ว. ในฐานะผู้รับมรดกเองอันเป็นการกระทำที่มีมูลความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353,354 ประกอบ 86 แล้ว