พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 235/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนย้ายพนักงานรัฐวิสาหกิจหลังการจัดตั้งใหม่ จำเลยมีอำนาจใช้ดุลพินิจในการรับเข้าทำงาน
ตาม พ.ร.ฎ. จัดตั้งองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทยมิได้มีบทมาตราใดกำหนดให้จำเลยรับช่วงโอนกิจการและหนี้สินของบริษัทไทยโทรทัศน์จำกัดมาเป็นของจำเลย คงมีบทบัญญัติกำหนดให้จำเลยพิจารณาบรรจุและแต่งตั้งพนักงานและลูกจ้างของบริษัทไทยโทรทัศน์จำกัดซึ่งมีอยู่ในวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับเป็นพนักงานของจำเลยตามที่เห็นสมควร ฉะนั้นตามบทบัญญัติดังกล่าวจึงเป็นการกำหนดให้จำเลยใช้ดุลพินิจ ในการรับพนักงานและลูกจ้างของบริษัทไทยโทรทัศน์จำกัดมาเป็นพนักงานของจำเลยตามที่จำเลยเห็นสมควร ดังนี้โจทก์จึงไม่อยู่ในฐานะเป็นลูกจ้างของจำเลยในวันที่พระราชกฤษฎีกามีผลบังคับใช้โจทก์จะมีฐานะเป็นลูกจ้างจำเลยก็ต่อเมื่อจำเลยใช้ดุลพินิจ รับโจทก์เข้าทำงานแล้วการที่โจทก์มิได้แสดงความจำนงขอเข้าทำงานกับจำเลย และจำเลยมิได้พิจารณารับโจทก์เข้าเป็นพนักงานโจทก์จึงมิใช่ลูกจ้างจำเลยแต่ต้น จึงไม่มีสิทธิฟ้องให้จำเลยต้องรับโจทก์กลับเข้าทำงานและเรียกค่าจ้างระหว่างพักงานจากจำเลยในฐานะนายจ้างได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2331/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิประโยชน์โอนย้ายพนักงาน กปภ. และข้อยกเว้นการจ่ายค่าเช่าบ้านตามข้อบังคับ
บทบัญญัติมาตรา 52 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการประปาส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2522 ที่ว่า "ให้ข้าราชการหรือลูกจ้างที่โอนไปเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของ กปภ.ตามวรรคหนึ่ง ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างรวมทั้งสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เท่าที่เคยได้รับอยู่เดิมไปพลางก่อนจนกว่าผู้ว่าการจะได้บรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง แต่จะแต่งตั้ง ให้ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างต่ำกว่าเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ได้รับอยู่เดิมไม่ได้ มีความหมายว่าข้าราชการหรือลูกจ้างที่จะโอนไปเป็นพนักงานของจำเลย จะได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างรวมทั้งสิทธิและประโยชน์ต่าง ๆ เท่ากับที่เคยได้รับอยู่เดิมเมื่อยังไม่ได้รับการบรรจุแต่งตั้ง จากผู้ว่าการของจำเลย แต่เมื่อได้รับการบรรจุแต่งตั้งจากผู้ว่าการของจำเลยแล้วคงมีเงื่อนไขว่าจะแต่งตั้ง ให้ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างต่ำกว่าเดิมไม่ได้ โดยไม่รวมถึงสิทธิและประโยชน์ต่าง ๆ ด้วย เดิมโจทก์รับราชการอยู่กองประปา ชนบท กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้าน แต่ตามคำฟ้องไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าค่าเช่าบ้านดังกล่าวเป็นค่าจ้างจึงถือว่าเป็นเงินสวัสดิการ จัดเป็นเงินประเภท "สิทธิและประโยชน์ต่าง ๆ "ตาม พระราชบัญญัติการประปาส่วนภูมิภาค มาตรา 52 วรรคสาม ดังนั้นเมื่อโจทก์โอนมาเป็นพนักงานของจำเลยและได้รับบรรจุแต่งตั้งจากผู้ว่าการของจำเลยแล้ว โจทก์จึงไม่อาจเรียกร้องค่าเช่าบ้านที่ได้รับอยู่เดิมจากจำเลยได้ ข้อบังคับการประปาส่วนภูมิภาคว่าด้วยการจ่ายเงินค่าเช่าบ้านของผู้ปฏิบัติงาน พ.ศ. 2523 ข้อ 5(2) กำหนดว่า "ผู้ซึ่ง กปภ.บรรจุและแต่งตั้งให้เริ่มปฏิบัติงานครั้งแรกในท้องที่ใดและยังคงปฏิบัติงานประจำในท้องที่นั้น ไม่มีสิทธิได้ รับค่าเช่าบ้าน" ดังนั้นเมื่อโจทก์ได้รับบรรจุและแต่งตั้งให้เริ่มปฏิบัติงานครั้งแรกใน กรุงเทพมหานคร และยังคงปฏิบัติงานประจำอยู่ใน กรุงเทพมหานคร โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าเช่าบ้าน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 547-548/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนย้ายพนักงานจากธนาคารอาคารสงเคราะห์มายังการเคหะแห่งชาติ และการคำนวณอายุงานเพื่อประโยชน์ในการจ่ายเงินสงเคราะห์
การที่โจทก์ทั้งสองมาทำงานที่การเคหะแห่งชาติ เพราะประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 316 ข้อ 5 ให้โอนกิจการของธนาคารอาคารสงเคราะห์เฉพาะที่เกี่ยวกับธุรกิจตามมาตรา 27(1)และ (2) ตามพ.ร.บ. ธนาคารอาคารสงเคราะห์ พ.ศ. 2496 ให้แก่การเคหะแห่งชาติเมื่อมิได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น การนับอายุการทำงานจึงต้องนับต่อเนื่องกันไป แต่เนื่องจากข้อบังคับของจำเลยกำหนดให้จ่ายเงินสงเคราะห์แก่พนักงานหรือลูกจ้างประจำเท่านั้น
เมื่อโจทก์ที่ 1 มีฐานะเป็นลูกจ้างประจำของธนาคารอาคารสงเคราะห์อยู่แล้วก่อนโอนมาเป็นลูกจ้างประจำของจำเลย จึงต้องนับอายุการทำงานติดต่อกัน ส่วนโจทก์ที่ 2เมื่อโอนมาเป็นลูกจ้างของจำเลยนั้นยังเป็นลูกจ้างชั่วคราวอยู่ เพิ่งจะได้รับแต่งตั้งเป็นลูกจ้างประจำภายหลังจึงต้องนับอายุการทำงานตั้งแต่วันได้รับแต่งตั้งเป็นลูกจ้างประจำ.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
เมื่อโจทก์ที่ 1 มีฐานะเป็นลูกจ้างประจำของธนาคารอาคารสงเคราะห์อยู่แล้วก่อนโอนมาเป็นลูกจ้างประจำของจำเลย จึงต้องนับอายุการทำงานติดต่อกัน ส่วนโจทก์ที่ 2เมื่อโอนมาเป็นลูกจ้างของจำเลยนั้นยังเป็นลูกจ้างชั่วคราวอยู่ เพิ่งจะได้รับแต่งตั้งเป็นลูกจ้างประจำภายหลังจึงต้องนับอายุการทำงานตั้งแต่วันได้รับแต่งตั้งเป็นลูกจ้างประจำ.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)