คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โอนสิทธิครอบครอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3196/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิครอบครองที่ดินมือเปล่า แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือก็มีผลได้ หากมีการส่งมอบการครอบครอง
การซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่าง ส.กับ ต. แม้ไม่ได้ทำหลักฐานเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 456วรรคแรก ก็ตาม แต่ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมือเปล่าที่มีเพียงหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3 ก.) เป็นหลักฐาน เจ้าของที่ดินจึงมีเพียงสิทธิครอบครองเท่านั้น เมื่อ ต.ได้ส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่ ส.บิดาโจทก์ ถือว่า ต.ได้สละการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่บิดาโจทก์ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1377, 1378 แล้ว เมื่อโจทก์ได้เข้าครอบครองโดยบิดายกให้ โจทก์ย่อมได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท แม้ขณะซื้อขายที่ดินพิพาทมีข้อตกลงว่าเมื่อไถ่ถอนจำนองแล้ว จึงจะมีการโอนที่ดินพิพาทให้แก่ ส.ก็เป็นเรื่องประสงค์จะให้มีหลักฐานทางทะเบียนภายหลังจากที่ได้โอนสิทธิครอบครองแล้วเท่านั้น เพราะในขณะที่มีการซื้อขายที่ดินพิพาทนั้น ต.ได้จำนองที่ดินดังกล่าวทั้งแปลงรวมทั้งที่ดินพิพาทไว้กับ พ.ไม่อาจทำการโอนทางทะเบียนได้ จึงมิใช่เงื่อนไขในสัญญาซื้อขายอันจะมีผลทำให้สัญญาซื้อขายดังกล่าวซึ่งเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดกลายเป็นสัญญาจะซื้อขาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9128/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิครอบครองห้องแถวบนที่ดินราชพัสดุโดยไม่ทำตามแบบ แม้ไม่จดทะเบียนก็มีผลผูกพันได้
จำเลยอยู่ในห้องแถวพิพาทโดยอาศัยสิทธิการเช่าจาก บ. เจ้าของเดิม ต่อมาบ. ได้ขายห้องพิพาทซึ่งปลูกสร้างบนที่ดินราชพัสดุให้แก่โจทก์โดยทำสัญญาการซื้อขายเป็น หนังสือ แม้มิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ตาม แต่บ. ได้โอนสิทธิครอบครองในที่ดินพร้อมห้องแถวพิพาทให้โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1377,1378ซึ่งไม่ต้องมีแบบ โจทก์จึงได้มาซึ่งสิทธิครอบครอง และการโอน โดยข้อเท็จจริงดังกล่าว ไม่เป็นโมฆะ เมื่อการซื้อขายระหว่างโจทก์กับเจ้าของห้องแถวพิพาทเดิมไม่จำต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ สัญญาซื้อขายดังกล่าวจึงไม่จำต้องปิดอากรแสตมป์ ก็รับฟังได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5225/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิครอบครองที่ดินโดยการสละเจตนา และผลของการซื้อขายที่ดินของผู้เยาว์
การโอนที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เมื่อผู้ขายสละเจตนาครอบครองให้ผู้ซื้อ ผู้ซื้อก็ได้สิทธิครอบครองทันทีโดยไม่ต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ บิดาทำสัญญาขายที่ดินของบุตรผู้เยาว์โดยฝ่าฝืน ป.พ.พ.มาตรา 1574(1) สัญญาซื้อขายไม่มีผลผูกพันที่ดินของบุตร.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3892/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิครอบครองที่ดินโดยการส่งมอบการครอบครองและการเข้าครอบครอง ย่อมเป็นผลให้จำเลยได้สิทธิในที่ดิน
แม้หนังสือสัญญาซื้อขาย ไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร แต่จำเลยก็มีพยานบุคคลผู้รู้เห็นการทำสัญญาและเห็นจำเลยจ่ายเงินให้โจทก์และเข้าอยู่อาศัยในบ้านและที่ดินพิพาทส่วนโจทก์ย้ายไปอยู่ที่อื่น จึงฟังได้ว่าโจทก์ได้โอนสิทธิครอบครองเนื่องจากมีการซื้อขายที่ดินพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1377,1378 ซึ่งไม่ต้องมีแบบ การโอนที่ดินพิพาทโดยข้อเท็จจริงคือโจทก์มอบการครอบครองให้จำเลยและจำเลยก็ได้เข้าครอบครอง ไม่ใช่เป็นการโอนโดยทำตามแบบคือทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่โจทก์ไม่มีหน้าที่ในทางนิติกรรมที่จะต้องไปใส่ชื่อจำเลยในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ตามฟ้องแย้ง ดังนี้ศาลพิพากษาบังคับตามคำขอฟ้องแย้งของจำเลยหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 371/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิครอบครองที่ดินโดยการส่งมอบการครอบครอง ถือเป็นการโอนที่สมบูรณ์ ไม่ต้องจดทะเบียน
ผู้ตายมีสิทธิครอบครองที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เมื่อยกให้ผู้ร้องและได้ส่งมอบการครอบครองให้ผู้ร้องแล้ว ก็ย่อมเป็นการยกให้ที่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1378ผู้ร้องย่อมได้ไปซึ่งสิทธิครอบครองโดยมิพักต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ผู้ตายยกที่ดินให้ผู้ร้องโดยวิธีส่งมอบการครอบครอง ผู้ตายจึงไม่มีหน้าที่ทางนิติกรรมที่จะต้องจดทะเบียนโอนให้แก่ผู้ร้อง เมื่อผู้ตายถึงแก่กรรม โดยไม่มีสิทธิครอบครองหรือทรัพย์สินอื่นเป็นมรดกที่จะต้องจัดการ จึงไม่จำเป็นต้องตั้งผู้จัดการมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2434/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินมีโฉนด การโอนสิทธิครอบครองทำได้โดยการทำสัญญาซื้อขายและครอบครองทรัพย์สินจริง
การโอนสิทธิครอบครองเนื่องจากมีการซื้อขายที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์แล้วนั้นย่อมทำได้โดยสมบูรณ์ ด้วยการทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 4ทวิ ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 96 ข้อ 2 ซึ่งเป็นการกระทำตามแบบของกฎหมายประการ หนึ่งกับกระทำการโอนโดยข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1377,1378 อีกประการหนึ่งซึ่งไม่ต้องมีแบบการที่โจทก์ขายที่พิพาทอันเป็นที่มีน.ส.3ให้จำเลยโดยทำหนังสือสัญญาซื้อขายกันเองและจำเลยได้เข้าครอบครองยึดถือที่พิพาทหลังจากทำการซื้อจาก โจทก์แล้วโดยปลูกบ้าน ปลูกต้นไม้ และสร้างยุ้งข้าวจำเลยจึงได้มาซึ่งสิทธิครอบครองโดยประการหลัง หาจำต้องทำตามแบบของนิติกรรมไม่ และกรณีเช่นนี้ไม่เป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 115

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3128/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิครอบครองที่ดินโดยไม่มีแบบตามกฎหมาย สิทธิครอบครองย่อมตกแก่ผู้รับโอน
โจทก์ทำหนังสือสัญญาซื้อที่ดินมือเปล่าจากจำเลยแล้วเข้าทำฮวงซุ้ยที่ดินส่วนที่เหลือโจทก์ยอมให้จำเลยทำนาได้ (ตามหนังสือสัญญาจำเลยยอมโอนสิทธิในที่ดินแก่โจทก์ และโจทก์ยอมให้จำเลยทำประโยชน์ในที่นาพิพาท) จำเลยจะอ้างว่าการซื้อขายเป็นโมฆะหรือโจทก์ไม่ได้ครอบครองที่นาพิพาทไม่ได้ เพราะการโอนสิทธิครอบครองก็ดีการสละสิทธิครอบครองก็ดี หาได้มีกฎหมายกำหนดแบบไว้ไม่. เมื่อจำเลยแสดงเจตนาสละสิทธิครอบครองแก่โจทก์และรับที่จะครอบครองแทนโจทก์ต่อไป ต่อแต่นั้นมาการครอบครองที่นาพิพาทของจำเลยย่อมถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทนโจทก์ โจทก์ย่อมได้สิทธิครอบครอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2626/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิครอบครองที่ดิน น.ส.3 ต้องจดทะเบียนตามกฎหมาย มิฉะนั้นสิทธิยังไม่สมบูรณ์
การโอนสิทธิครอบครองในที่ดินซึ่งมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) นั้น อาจทำได้โดยสมบูรณ์ด้วยการทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 4 ทวิ ซึ่งเป็นการทำตามแบบของกฎหมายประการหนึ่ง กับกระทำการโอนโดยข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1377, 1378 ซึ่งไม่ต้องมีแบบอีกประการหนึ่ง แม้โจทก์จะมีหนังสือสัญญาซื้อขายที่พิพาท และผู้ขายทำหนังสือมอบอำนาจให้ไปจดทะเบียนโอนกับมอบหลักฐานเกี่ยวกับภาษีบำรุงท้องที่ทุกฉบับให้โจทก์ไว้ก็ตามเมื่อโจทก์ยังมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และยังมิได้เข้าครอบครองยึดถือที่พิพาท โจทก์จึงยังไม่ได้มาซึ่งสิทธิครอบครอง ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยซึ่งอยู่ในที่พิพาทนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2626/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิครอบครองที่ดิน น.ส.3 ต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเข้าครอบครองยึดถือ จึงจะสมบูรณ์
การโอนสิทธิครอบครองในที่ดินซึ่งมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3)นั้น อาจทำได้โดยสมบูรณ์ด้วยการทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 4 ทวิ ซึ่งเป็นการทำตามแบบของกฎหมายประการหนึ่ง กับกระทำการโอนโดยข้อเท็จจริงตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1377,1378 ซึ่งไม่ต้องมีแบบอีกประการหนึ่ง แม้โจทก์จะมีหนังสือสัญญาซื้อขายที่พิพาท และผู้ขายทำหนังสือมอบอำนาจให้ไปจดทะเบียนโอนกับมอบหลักฐานเกี่ยวกับภาษีบำรุงท้องที่ทุกฉบับให้โจทก์ไว้ก็ตามเมื่อโจทก์ยังมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และยังมิได้เข้าครอบครองยึดถือที่พิพาท โจทก์จึงยังไม่ได้มาซึ่งสิทธิครอบครอง ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยซึ่งอยู่ในที่พิพาทนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 100/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิครอบครองที่ดินมือเปล่าต้องส่งมอบการครอบครอง หรือผู้รับครอบครองอยู่ก่อน การยกให้มีเงื่อนไขไม่สมบูรณ์
ที่พิพาทเป็นที่ดินมือเปล่าไม่มีหนังสือสำคัญใด ๆ การให้จึงไม่ต้องทำเป็นหนังสือ และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่การให้ซึ่งจะต้องมีทั้งผู้ให้และผู้รับและผู้รับยอมรับเอาทรัพย์สินนั้น
ผู้ให้มีแต่สิทธิครอบครองในที่พิพาท ดังนั้น ผู้ให้จะโอนการครอบครองให้แก่ผู้รับก็แต่ด้วยการส่งมอบทรัพย์สินที่ครอบครอง เว้นแต่ผู้รับจะครอบครองทรัพย์สินนั้นอยู่ก่อนแล้วก็ทำได้โดยเพียงแสดงเจตนา
ขณะที่เจ้ามรดกทำหนังสือยกที่พิพาทให้แก่ผู้รับผู้รับไม่อยู่ได้มาลงชื่อภายหลังและไม่ปรากฏว่าเจ้ามรดกส่งมอบที่พิพาทให้ผู้รับครอบครองหรือผู้รับได้ครอบครองที่พิพาทอยู่ก่อนทั้งหนังสือยกให้นั้นเป็นการยกให้โดยมีเงื่อนไขบังคับก่อน โดยให้มีผลสมบูรณ์ก่อนเจ้ามรดกตาย 3 วัน จึงยังฟังไม่ได้ว่าเจ้ามรดกได้แสดงเจตนาสละและโอนการครอบครองที่พิพาทให้ผู้รับที่พิพาทครึ่งหนึ่งที่เป็นสินสมรสของเจ้ามรดกจึงยังเป็นมรดกของเจ้ามรดกอยู่ เมื่อโจทก์จำเลยและเจ้ามรดกเป็นอิสลามมิกชน มีภูมิลำเนาอยู่ในเขต 4 จังหวัด ดังนั้น ในการวินิจฉัยว่าโจทก์มีส่วนในมรดกเพียงใด จำต้องให้ดะโต๊ะยุติธรรมเป็นผู้ชี้ขาดข้อกฎฆมายอิสลามและลงลายมือชื่อในคำพิพากษาตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล พ.ศ. 2489
of 2