คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โอนสิทธิเรียกร้อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 206 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4247/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาแฟ็กเตอริงเป็นการโอนสิทธิเรียกร้องตาม ป.พ.พ. การบอกกล่าวไม่ทำให้สัญญานั้นเป็นโมฆะ
สัญญาแฟ็กเตอริง ข้อ 8 ระบุว่าการเก็บเงินจากลูกหนี้ จำเลยที่ 1 จะไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับการเรียกเก็บเงินและออกใบเสร็จรับเงินแก่ลูกหนี้ในหนี้ที่จำเลยที่ 1 ขายแก่โจทก์แล้ว หากลูกหนี้นำเงินมาชำระแก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ต้องนำมามอบแก่โจทก์ แสดงว่า เมื่อจำเลยที่ 1 นำหนี้รายใดมาขายแก่โจทก์แล้ว โจทก์ผู้เดียวมีอำนาจในการดำเนินการเพื่อให้ได้รับชำระหนี้และรับชำระหนี้ สัญญาดังกล่าวถือเป็นสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 303 ส่วนข้อตกลงว่า หากจำเป็นโจทก์มีสิทธิใช้ชื่อจำเลยที่ 1 ในการฟ้องคดี ก็เป็นเพียงวิธีการเพื่อให้โจทก์ได้รับชำระหนี้ในหนี้ที่รับซื้อไว้ ส่วนการบอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องมีผลเพียงว่าหากยังไม่บอกกล่าวไปยังลูกหนี้ โจทก์ไม่สามารถยกเป็นข้อต่อสู้ลูกหนี้หรือบุคคลภายนอกได้ตามมาตรา 306 วรรคหนึ่ง เท่านั้น มิได้ทำให้สัญญาดังกล่าวไม่เป็นการโอนสิทธิเรียกร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4247/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาแฟ็กเตอริงเป็นการโอนสิทธิเรียกร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 303 การเก็บเงินจากลูกหนี้เป็นสิทธิของโจทก์
สัญญาแฟ็กเตอริง บริษัทจำกัด ที่จำเลยที่ 1 นำหนี้ซึ่งจำเลยที่ 1 มีสิทธิเรียกร้องจากบุคคลภายนอกและเป็นหนี้ที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระมาขายแก่โจทก์ โดยมีข้อสัญญาสรุปได้ว่าจำเลยที่ 1 จะไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับการเรียกเก็บเงินและออกใบเสร็จรับเงินแก่ลูกหนี้ในหนี้ที่จำเลยที่ 1 ขายแก่โจทก์แล้ว หากลูกหนี้นำมาชำระแก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ต้องนำมามอบแก่โจทก์ เป็นการแสดงว่าเมื่อจำเลยที่ 1 นำหนี้รายใดมาขายแก่โจทก์แล้ว โจทก์ผู้เดียวมีอำนาจในการดำเนินการเพื่อให้ได้รับชำระหนี้ และรับชำระหนี้ จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิเรียกร้องหรือรับชำระหนี้ในหนี้รายนั้นต่อไป สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 303 ส่วนข้อตกลงที่ว่า หากจำเป็นโจทก์มีสิทธิใช้ชื่อจำเลยที่ 1 ในการฟ้องคดี ก็เป็นเพียงวิธีการและรายละเอียดเพื่อให้โจทก์ได้รับชำระหนี้ในหนี้ที่รับซื้อไว้เท่านั้น หาทำให้สัญญาดังกล่าวไม่เป็นการโอนสิทธิเรียกร้องไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3353/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องหลังล้มละลาย: ผู้ซื้อสิทธิจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิบังคับคดีได้
เมื่อโจทก์ตกเป็นบุคคลล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมมีอำนาจหน้าที่รวบรวมจำหน่ายทรัพย์สินของโจทก์ตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในหมวด 4 ส่วนที่ 4 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลายฯ ซึ่งมาตรา 123 บัญญัติให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะขายทรัพย์สินที่รวบรวมได้มาตามวิธีการที่สะดวกและเป็นผลดีที่สุดโดยมีเงื่อนไขว่าการขายโดยวิธีอื่นนอกจากการขายทอดตลาดต้องได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้ การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ประกาศขายสิทธิเรียกร้องของโจทก์โดยวิธีอื่นตามมติของที่ประชุมเจ้าหนี้ในคดีหมายเลขแดงที่ 317/2544 ของศาลล้มละลายกลาง เป็นการดำเนินการโดยอาศัยอำนาจตามบทกฎหมายดังกล่าว สิทธิของผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ซื้อทรัพย์สินที่ได้มาจากการขายสิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงควรได้รับความรับรอง คุ้มครอง และบังคับตามสิทธิดังกล่าว ย่อมถือได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งในอันที่จะร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความในชั้นบังคับคดีเพื่อยังให้ได้รับความคุ้มครอง และบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3316/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องในคดีบังคับคดีและการไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลซ้ำ
ผู้ร้องยื่นคำร้องเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ในชั้นบังคับคดี โดยอาศัยเหตุที่ผู้ร้องมีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งเนื่องจากผู้ร้องเป็นผู้ซื้อหรือรับโอนสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่มีต่อจำเลยทั้งสองตามคำพิพากษามาจากการขายทอดตลาดซึ่งดำเนินการโดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของโจทก์ในคดีล้มละลาย กรณีมิใช่เป็นเรื่องที่ผู้ร้องพิพาทกับจำเลยทั้งสองในมูลหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินและสัญญาค้ำประกันที่โจทก์กับจำเลยทั้งสองพิพาทกันและศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาไปแล้ว ทั้งการที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความในชั้นบังคับคดีโดยอาศัยเหตุดังกล่าวก็มิได้เรียกร้องสิ่งใดขึ้นใหม่หรือเกินไปกว่าสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่มีอยู่ตามคำพิพากษา ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าโจทก์เสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีมีทุนทรัพย์ไว้แล้วในชั้นที่โจทก์ยื่นฟ้องคดี จึงไม่มีเหตุให้ผู้ร้องจะต้องเสียค่าขึ้นศาลอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3008/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องหลังล้มละลาย: ผู้ซื้อทรัพย์สินมีสิทธิเข้าเป็นเจ้าหนี้แทนโจทก์
เมื่อโจทก์ตกเป็นบุคคลล้มละลาย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 123 บัญญัติให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะขายทรัพย์สินที่รวบรวมได้มาตามวิธีที่สะดวกและเป็นผลดีที่สุด โดยมีเงื่อนไขว่าการขายโดยวิธีอื่นนอกจากการขายทอดตลาดต้องได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้ การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ประกาศขายสิทธิเรียกร้องของโจทก์โดยวิธีอื่นตามมติของที่ประชุมเจ้าหนี้ในคดีล้มละลายเป็นการดำเนินการตามบทกฎหมายดังกล่าว ผู้ร้องเป็นผู้ซื้อทรัพย์สินและได้มาซึ่งสิทธิเรียกร้องของโจทก์รวมถึงสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้จากจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาในคดีนี้จากการขายดังกล่าว ย่อมถือได้ว่าเป็นผู้มีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งในอันที่จะร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความในชั้นบังคับคดีเพื่อยังให้ได้รับความคุ้มครองและบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) ได้
โจทก์ได้เสียค่าขึ้นศาลไว้แล้ว และการร้องสอดของผู้ร้องเพื่อเข้ามาแทนที่โจทก์เดิม การที่ผู้ร้องจะต้องเสียค่าขึ้นศาลอีกหรือไม่จะต้องพิจารณาว่าผู้ร้องได้เรียกร้องอะไรหรือไม่ด้วย เมื่อผู้ร้องขอเข้าสวมสิทธิแทนโจทก์โดยไม่ได้เรียกร้องอะไรเพิ่มเติมอีก จึงไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2468/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก การโอนสิทธิเรียกร้อง และความรับผิดของผู้รับโอน
หนังสือแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องพร้อมบันทึกข้อตกลงชำระหนี้และการโอนสิทธิเรียกร้องที่จำเลยที่ 1 มีไปถึงโจทก์ ระบุชัดเจนว่าจำเลยที่ 1 โอนสิทธิและหน้าที่ภาระผูกพันต่าง ๆ ที่มีกับโจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขายไปให้จำเลยที่ 2 เรียบร้อยแล้ว นอกจากนี้ตามบันทึกข้อตกลงชำระหนี้และการโอนสิทธิเรียกร้องที่ส่งมาพร้อมหนังสือแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้อง ซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในข้อ 6 ยังระบุว่า "ในการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโครงการเพื่อชำระหนี้ตามบันทึกข้อตกลงฉบับนี้ให้รวมถึงการโอนใบอนุญาต ตลอดจนสิทธิตามข้อตกลงของสัญญาจะซื้อจะขายที่ลูกหนี้ (จำเลยที่ 1) ได้ทำสัญญาไว้กับลูกค้าตามรายละเอียดรายชื่อลูกค้ารวม 176 ราย ฯลฯ" ซึ่งรวมถึงโจทก์ด้วย และจำเลยที่ 2 ยังมีหนังสือถึงลูกค้าของโครงการรวมทั้งโจทก์ยอมรับว่าจำเลยที่ 2 จะรับภาระในการดำเนินการก่อสร้างโครงการต่อจากจำเลยที่ 1 โดยตกลงที่จะพัฒนาโครงการให้แล้วเสร็จ เพื่อโอนบ้านให้แก่ลูกค้าต่อไป การที่จำเลยที่ 1 โอนโครงการทั้งโครงการเพื่อชำระหนี้ทั้งหมดของจำเลยที่ 1 พร้อมทั้งโอนสิทธิและหน้าที่ภาระผูกพันต่าง ๆ ที่มีกับลูกค้าตามสัญญาจะซื้อจะขายไปให้จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 ตกลงรับโอนมาทั้งโครงการ รวมทั้งสิทธิเรียกร้องและภาระหนี้ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่จำเลยที่ 1 มีต่อโจทก์ด้วย เช่นนี้ข้อตกลงระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ดังกล่าวจึงเข้าลักษณะเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกรวมอยู่ด้วย การที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 ไม่คัดค้านการโอนระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2 ดังกล่าว และมีพฤติการณ์ว่าเข้าถือเอาประโยชน์ด้วยการทวงถามให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้แล้ว กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 374 เมื่อจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับโอนโครงการมาทั้งหมดไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายโดยไม่ปรากฏว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา จนกระทั่งโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวขอให้ชำระเงินราคาที่ดินคืน จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดชำระเงินคืนแก่โจทก์
แม้คดีนี้โจทก์จะตั้งประเด็นมาในคำฟ้องเป็นเรื่องโอนสิทธิเรียกร้องก็ตาม แต่โจทก์ก็ได้บรรยายฟ้องมาเป็นที่เข้าใจได้ว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ตกลงกันให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ให้แก่โจทก์แล้ว จึงถือไม่ได้ว่าคำฟ้องมีประเด็นในเรื่องสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกด้วย กรณีมิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ซึ่งต้องทำเป็นสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2067/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องของสถาบันการเงินให้บริษัทบริหารสินทรัพย์และการสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
โจทก์โอนสิทธิเรียกร้องที่มีต่อจำเลยซึ่งศาลได้มีคำพิพากษาบังคับตามสิทธิเรียกร้องแล้วให้แก่ผู้ร้องซึ่งเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 มาตรา 7 ผู้ร้องย่อมเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาโดยบทบัญญัติดังกล่าว และการเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาโดยผลของกฎหมายในกรณีนี้ ไม่ขัดต่อ ป.วิ.พ. ภาค 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5391/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องในคดีล้มละลาย: การมอบหมายผู้รับชำระหนี้เดิมและการเข้าสวมสิทธิเรียกร้องโดยชอบ
บริษัทบริหารสินทรัพย์โจทก์มอบหมายให้ธนาคาร ก. ผู้รับชำระหนึ้เดิมเป็นผู้เรียกเก็บเงินและรับชำระหนี้ จึงเป็นการที่โจทก์ได้มอบหมายให้ผู้รับชำระหนี้เดิมเป็นตัวแทนในการเรียกเก็บและรับชำระหนี้ที่เกิดขึ้น การโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงไม่ต้องบอกกล่าวการโอนไปยังจำเลยทั้งสองตาม พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ฯ มาตรา 9 วรรคหนึ่ง ดังนั้น แม้ว่าธนาคาร ก. หรือโจทก์จะไม่ได้มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยทั้งสองทราบตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 การโอนสิทธิเรียกร้องนี้ก็ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงมีสิทธิเข้าสวมสิทธิในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งในอันที่จะบังคับชำระหนี้แก่จำเลยต่อไปตาม พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ฯ มาตรา 7
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้แก่โจทก์เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2536 โดยให้ชำระเงินจำนวน 1,951,461.86 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 16 ต่อปี และชำระให้เสร็จสิ้นภายใน 6 เดือน นับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความ สิทธิของโจทก์จะบังคับคดีกับจำเลยได้จะต้องล่วงเลยระยะเวลา 6 เดือน นับแต่วันที่ทำสัญญาประนีประนอมยอมความก่อน ดังนั้น สิทธิของโจทก์จึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน 2537 เมื่อโจทก์คดีนี้นำมูลหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวมาฟ้องจำเลยทั้งสองให้ล้มละลายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2547 สิทธิในการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอมจึงไม่สิ้นระยะเวลาบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 โจทก์จึงมีสิทธินำหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวมาฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีล้มละลายได้
การที่โจทก์ได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ตามหมายบังคับคดีและได้ขายทอดตลาดทรัพย์แล้ว แต่ยังมีหนี้ที่ค้างชำระโจทก์อยู่อีก กรณีจึงเข้าข้อสันนิษฐานว่าจำเลยที่ 1 มีหนี้สินล้นพ้นตัวตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 8 (5) โดยโจทก์มิต้องอ้างข้อสันนิษฐานตามมาตรา 8 (9) ดังที่จำเลยอุทธรณ์แต่อย่างใดอีก ทั้งในการขอให้ล้มละลายโจทก์จะอ้างข้อสันนิษฐานใดอนุมาตราใดมาตราหนึ่งของมาตรา 8 ก็ได้ และในการฟ้องให้ล้มละลายก็ไม่จำเป็นต้องมีการทวงถามให้ลูกหนี้ชำระหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 8 (9)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1595/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอายัดเงินบังคับคดี การโอนสิทธิเรียกร้อง และกรอบเวลาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296
คำร้องของจำเลยอ้างว่า จำเลยได้โอนสิทธิเรียกร้องการรับเงินค่าจ้างตามสัญญาจ้างก่อสร้างอาคารให้แก่ธนาคารแล้ว จึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของธนาคาร มิใช่ของจำเลย โจทก์จึงไม่มีสิทธิยื่นคำขอให้อายัดเงินจำนวนดังกล่าว เนื่องจากเป็นการบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของบุคคลภายนอกผู้สุจริต และจำเลยไม่ทราบเรื่องการขออายัดเงินดังกล่าวเพราะการส่งหมายให้จำเลยทำโดยวิธีปิดหมายการบังคับคดีจึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายขอให้เพิกถอนคำสั่งอายัดเงินนั้น เป็นคำร้องที่มีความหมายว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติว่าด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 นั่นเอง จึงต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขของระยะเวลาตามมาตรา 296 วรรคสาม
มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ส่งเงินค่าจ้างจำเลยก่อสร้างอาคารตามที่โจทก์ขออายัดมายังเจ้าพนักงานบังคับคดี สำนักงานบังคับคดีจังหวัดขอนแก่น ซึ่งได้ทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงินและส่งเงินสุทธิที่ได้จากการอายัดจำนวน 4,198,251 บาท ให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดี สำนักงานบังคับคดีจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งได้แจ้งการอายัดให้จำเลยทราบโดยชอบด้วยวิธีปิดหมายเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2543 และได้จัดทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงินให้โจทก์ตรวจรับรองกับจ่ายเงินให้แก่โจทก์ไปเรียบร้อยแล้วตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2543 การบังคับคดีจึงเสร็จสิ้นลงในวันดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสี่ (2), 318 จำเลยเพิ่งมายื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งอายัดเงินเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2544 จึงพ้นกำหนดระยะเวลาตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5065/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องจากการควบกิจการเงินทุนและข้อยกเว้นการบอกกล่าวหนี้สิน
การควบกิจการระหว่างบริษัทเงินทุน ว. กับโจกท์เป็นการรวมกิจการโดยผลของกฎหมาย มิใช่การรวมกิจการและโอนสิทธิเรียกร้องโดยทั่วไป ซึ่งมาตรา 67 ตรี วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินุทน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ฯ บัญญัติว่าเมื่อได้รับความเห็นชอบการโอนกิจการจากรัฐมนตรี (ว่าการกระทรวงการคลัง) แล้วให้ดำเนินการโอนกิจการได้โดยการโอนสิทธิเรียกร้อง ในการโอนกิจการนี้ไม่ต้องบอกกล่าวการโอนไปยังลูกหนี้ตามมาตรา 306 แห่ง ป.พ.พ. แต่ไม่กระทบกระเทือนสิทธิของลูกหนี้ที่จะยกข้อต่อสู้ตามมาตรา 308 วรรคสอง การโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างบริษัทเงินทุน ว. กับโจทก์ จึงมีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ไม่จำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือและบอกกล่าวการโอนไปยังจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 306
ธนาคาร ส. เป็นธนาคารพาณิชย์ จึงต้องประกอบธุรกิจตาม พ.ร.บ.การพาณิชย์ฯ มาตรา 4 การเช่าซื้อมิใช่ธุรกิจที่กฎหมายให้อำนาจธนาคารพาณิชย์ดำเนินการได้ ทั้งหนังสือสัญญาโอนสินทรัพย์และหนี้สินระหว่างโจทก์กับธนาคาร ส. มีข้อตกลงว่า สินทรัพย์ตามประกาศกระทรวงการคลังของโจทก์และรวมตลอดถึงสินทรัพย์ที่โจทก์ได้รับโอนมาจากบริษัทเงินทุน 12 บริษัท ไม่รวมถึงสิทธิเรียกร้องตามสัญญาเช่าซื้อและสิทธิเรียกร้องในเงินกู้เพื่อซื้อหลักทรัพย์ แสดงว่าโจทก์ไม่ได้โอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาเช่าซื้อให้แก่ธนาคาร ส. โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ และแม้โจทก์จะไม่ได้ระบุอ้างหนังสือสัญญาโอนสินทรัพย์และหนี้สินระหว่างโจทก์กับธนาคาร ส. ไว้ในบัญชีระบุพยานโจทก์ อันเป็นการฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 88 แต่เอกสารดังกล่าวเป็นหลักฐานอันสำคัญเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลย่อมมีอำนาจรับฟังเอกสารดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 (2)
of 21