คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โอนอสังหาริมทรัพย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3460/2549 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนอสังหาริมทรัพย์ภายใน 5 ปี ไม่ถือเป็นการค้าหรือหากำไร หากมีวัตถุประสงค์เพื่อการอยู่อาศัยและลดภาระดอกเบี้ย
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏชัดว่าการที่โจทก์ซื้อที่ดินและบ้านพิพาทมาเพื่อใช้อยู่อาศัยโดยนำที่ดินและบ้านไปจำนองไว้แก่ธนาคาร ท. ต่อมาโจทก์ได้จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินและบ้านดังกล่าว และจดทะเบียนยกที่ดินและบ้านให้แก่ ส. ซึ่งเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายที่อาศัยอยู่ในบ้านเดียวกัน แล้ว ส. นำที่ดินและบ้านไปจดทะเบียนจำนองไว้แก่ธนาคาร ก. โดยอาศัยสิทธิการเป็นพนักงานของธนาคารดังกล่าวซึ่งจะเสียดอกเบี้ยในอัตราต่ำกว่าเดิม โดยการทำนิติกรรมดังกล่าวทั้งหมดทำในวันเดียวกัน หลังจากนั้นโจทก์และ ส. ก็ยังคงอาศัยอยู่ในที่ดินและบ้านดังกล่าวร่วมกันตลอดมา ย่อมแสดงให้เห็นว่าโจทก์และครอบครัวยังจำเป็นต้องใช้ที่ดินและบ้านดังกล่าวเป็นที่อยู่อาศัย การที่โจทก์จดทะเบียนยกที่ดินและบ้านดังกล่าวให้แก่ ส. ก็เพียงเพื่อให้ ส. นำไปเป็นหลักประกันในการกู้ยืมเงินที่อัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าเดิมเท่านั้น แม้จะถือว่าเป็นการขายตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 91/1 (4) ที่ได้กระทำภายในห้าปีนับแต่วันที่ได้มา ก็ไม่ใช่กรณีที่ทำเป็นทางการค้าหรือหากำไร โจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 91/2 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3460/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนอสังหาริมทรัพย์ให้บุตรเพื่อลดภาระดอกเบี้ย ไม่ถือเป็นการค้าหรือหากำไร ไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
โจทก์ซื้อที่ดินและบ้านพิพาทมาเพื่อใช้อยู่อาศัยโดยนำไปจำนองไว้แก่ธนาคารในวันที่รับโอนซึ่งต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ต่อมาโจทก์ได้จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินและบ้านและจดทะเบียนยกให้แก่ ส. ซึ่งเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ส. นำไปจดทะเบียนจำนองไว้แก่อีกธนาคารหนึ่ง ซึ่ง ส. กู้ยืมเงินมาไถ่ถอนจำนองที่ดินและบ้านพิพาท โดยอาศัยสิทธิการเป็นพนักงานของธนาคารดังกล่าวซึ่งจะเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 4 ต่อปี หลังจากนั้นโจทก์และ ส. ก็ยังคงอาศัยอยู่ในที่ดินและบ้านร่วมกันตลอดมา การที่โจทก์จดทะเบียนยกที่ดินและบ้านให้แก่ ส. ก็เพียงเพื่อให้ ส. นำไปเป็นหลักประกันในการกู้ยืมเงินที่อัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าเดิมเท่านั้น แม้จะถือว่าเป็นการขายตาม ป.รัษฎากร มาตรา 91/1 (4) ที่ได้กระทำภายในห้าปีนับแต่วันที่ได้มา ก็ไม่ใช่กรณีที่ทำเป็นทางการค้าหรือหากำไร โจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3482/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิภาระจำยอมติดไปกับที่ดินแม้มีการโอน ย่อมผูกพันผู้รับโอน
เมื่อโจทก์ได้สิทธิภาระจำยอมโดยอายุความตามคำพิพากษาของศาล และจำเลยเป็นเจ้าของภารยทรัพย์ โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยไปดำเนินการจดทะเบียนสิทธิภาระจำยอมที่โจทก์ได้มา จำเลยเพิกเฉย แม้จำเลยจะมิได้กระทำการป้องกันหรือขัดขวางมิให้โจทก์และบริวารใช้ทางพิพาทก็ตาม แต่การที่จำเลยไม่ดำเนินการไปจดทะเบียนสิทธิภาระจำยอมให้แก่โจทก์ตามกฎหมายก็ถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ที่ควรจะได้จดทะเบียนสิทธิภาระจำยอมดังกล่าว การที่โจทก์ทั้งสี่ฟ้องบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนสิทธิภาระจำยอม จึงเป็นการอันจำเป็นเพื่อรักษาและใช้ภาระจำยอมของโจทก์อย่างหนึ่งตาม ป.พ.พ.มาตรา 1391 โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของสามยทรัพย์จึงชอบที่จะเรียกให้จำเลยในฐานะเจ้าของภารยทรัพย์จดทะเบียนทางภาระจำยอมให้แก่โจทก์ ส่วนที่โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องให้บังคับจำเลยมิให้ป้องกัน ขัดขวางการใช้ทางพิพาทของโจทก์และบริวารเป็นเพียงคำขอบังคับล่วงหน้าเพื่อป้องกันมิให้จำเลยขัดขวางการใช้ทางพิพาทเท่านั้น จึงไม่จำเป็นที่จำเลยจะต้องมีการกระทำตามที่โจทก์ขอบังคับก่อน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย
โจทก์ฟ้อง ส.เจ้าของภารยทรัพย์ที่จำเลยรับโอนต่อมาโดยจำเลยมิได้เป็นคู่ความในคดีนั้นก็ตาม แต่เมื่อศาลมีคำพิพากษาว่า โจทก์ได้สิทธิภาระจำยอมในทางพิพาทตาม ป.พ.พ.มาตรา 1401 ประกอบมาตรา 1382จึงเป็นการที่โจทก์ได้สิทธิภาระจำยอมอันเป็นทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากทางนิติกรรม ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1299 วรรค 2 เป็นทรัพยสิทธิคนละประเภทกับกรรมสิทธิ์ที่เจ้าของกรรมสิทธิ์มีอำนาจในอสังหาริมทรัพย์ของตนเอง และเนื่องจากภาระจำยอมเป็นทรัพย์ที่กฎหมายบัญญัติเพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์ มิได้มุ่งเพื่อประโยชน์ของบุคคลหนึ่งบุคคลใดโดยเฉพาะภาระจำยอมจึงย่อมตกติดไปกับอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นสามยทรัพย์และภารยทรัพย์แม้จะมีการโอนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวไปให้แก่บุคคลอื่น ภาระจำยอมก็หาได้หมดสิ้นไป เว้นแต่กรณีจะต้องตามบทบัญญัติของกฎหมายเท่านั้น ภาระจำยอมจึงจะระงับดังนั้น ไม่ว่าจำเลยจะรับโอนที่พิพาทมาโดยสุจริตหรือไม่ก็ตาม ก็ไม่อาจจะยกขึ้นต่อสู้กับสิทธิภาระจำยอมของโจทก์ได้ คำพิพากษาศาลดังกล่าวจึงผูกพันจำเลยด้วยในฐานะที่เป็นเจ้าของภารยทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5521/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อห้ามโอนอสังหาริมทรัพย์ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน จึงมีผลบังคับใช้
โจทก์ได้ยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 โดยเสน่หา โดยมีข้อตกลงด้วยวาจาว่าห้ามมิให้จำเลยที่ 1 นำที่ดินพิพาทไปขาย ต่อมาจำเลยที่ 1ได้ขายที่ดินพิพาทจำนวน 1,000 ส่วนใน 1,064 ส่วน ให้แก่จำเลยที่ 2 ในราคา500,000 บาท โดยจดทะเบียนให้จำเลยที่ 2 มีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินจำนวนดังกล่าวดังนี้ เมื่อข้อห้ามโอนดังกล่าวเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ แต่โจทก์ไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ รวมทั้งมิได้กำหนดบุคคลที่จะเป็นผู้รับทรัพย์สินนั้นในเมื่อมีการละเมิดข้อกำหนดห้ามโอนไว้ ข้อห้ามโอนดังกล่าวย่อมไม่มีผลบังคับตามป.พ.พ. มาตรา 1700 และ 1702 จำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1045-1048/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนอสังหาริมทรัพย์ที่มีสัญญาเช่าอยู่ การรับโอนสิทธิและหน้าที่ของผู้โอนเมื่อผู้โอนหมดสิทธิในทรัพย์สิน
การโอนอสังหาริมทรัพย์ที่มีผู้เช่าอยู่ ซึ่งจะต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 569 นั้น ผู้โอนต้องมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน และโอนกรรมสิทธิ์ในขณะที่มีสัญญาเช่าผูกพันอยู่ด้วย ผู้รับโอนจึงจะรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของผู้โอนที่มีต่อผู้เช่านั้น
สัญญาที่เจ้าของที่ดินให้จำเลยเช่าที่ดินปลูกตึกและให้ตึกตกเป็นของเจ้าของที่ดิน ตั้งแต่สร้างตึกเสร็จโดยจำเลยมีสิทธิครอบครองและให้เช่าช่วงต่อไปได้นั้นเมื่อจำเลยทำผิดสัญญา จนเจ้าของที่ดินใช้สิทธิเข้าครอบครองตึกเสียแล้ว เจ้าของที่ดินจึงหาใช่ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ในตึกซึ่งต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 569 ไม่
เมื่อจำเลยไม่มีสิทธิที่จะให้โจทก์ได้ใช้ประโยชน์จากตึกที่เช่าอันเป็นการผิดสัญญาเช่าต่อโจทก์แล้ว โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกค่าเช่าที่ชำระล่วงหน้าไปแล้วคืนจากจำเลยได้ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 22/2507)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1947/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนอสังหาริมทรัพย์ให้บุตรโดยเสน่หาไม่มีค่าตอบแทน ไม่ถือเป็นการขายเพื่อหากำไร จึงไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
มาตรา 91/2 (6) แห่ง ป.รัษฎากร มิได้บัญญัติไว้แจ้งชัดว่าการขายอสังหาริมทรัพย์กรณีใดเป็นการขายที่เข้าลักษณะเป็นทางค้าหรือหากำไร แต่ได้บัญญัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามที่กำหนดโดย พ.ร.ฎ. ซึ่งในขณะที่โจทก์จดทะเบียนให้ ก. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินและตึกแถวดังกล่าว พ.ร.ฎ. ออกตามความใน ป.รัษฎากรว่าด้ายการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 244)ฯ ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น บัญญัติไว้ในมาตรา 3 ว่าให้การขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไรตามมาตรา 91/2 (6) แห่ง ป.รัษฎากร มีดังต่อไปนี้ (1)...(6) การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่เข้าลักษณะตาม (1) (2) (3) (4) หรือ (5) ที่ได้กระทำภายในห้าปีนับแต่วันที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้น แต่อย่างไรก็ตาม การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่เข้าลักษณะตาม (1) (2) (3) (4) หรือ (5) ที่ได้กระทำภายในห้าปีนับแต่วันที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้นมิใช่ว่าจะเป็นทางค้าหรือหากำไรเสมอไป หากแต่เป็นข้อเท็จจริงที่ต้องพิจารณาเป็นรายกรณีไป การที่โจทก์จดทะเบียนให้ ก. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินและตึกแถวดังกล่าวโดยเสน่หา จะถือว่าเป็นการขายตาม ป.รัษฎากร มาตรา 91/1 (4) ที่ได้กระทำภายในห้าปีนับแต่วันที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้น แต่เมื่อเป็นที่เห็นได้ชัดเจนว่าผู้ที่โจทก์โอนที่ดินดังกล่าวให้เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์และเป็นการโอนโดยไม่มีค่าตอบแทน การโอนที่ดินดังกล่าวจึงไม่ใช่การขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร โจทก์จึงไม่จำต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ