พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4815/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้กฎหมายจัดหางานย้อนหลังเป็นผลร้ายแก่จำเลยไม่ได้ ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนพฤศจิกายน 2536 ซึ่งขณะนั้น พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2537 มาตรา 34 ที่ให้เพิ่มความตามมาตรา 91 ตรี แห่งพ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 ยังไม่มีผลใช้บังคับ กรณีจึงนำมาตรา 91 ตรี มาใช้ย้อนหลังเป็นผลร้ายแก่จำเลยมิได้ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 2 วรรคแรก ปัญหาข้อนี้แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 225 ประกอบมาตรา 195
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4815/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้กฎหมายจัดหางานย้อนหลังไม่ได้ แม้โจทก์มิได้ยกขึ้นสู่การพิจารณา ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนพฤศจิกายน 2536 ซึ่งขณะนั้นพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2537 มาตรา 34 ที่ให้เพิ่มความตามมาตรา 91 ตรี แห่งพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 ยังไม่มีผลใช้บังคับกรณีจึงนำมาตรา 91 ตรี มาใช้ย้อนหลังเป็นผลร้ายแก่จำเลยมิได้ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานฯ มาตรา 91 ตรี ปัญหาข้อนี้แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 225 ประกอบมาตรา 195
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6564/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานเพิ่มเติมและการใช้กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่บังคับใช้ย้อนหลัง ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เพื่อพิพากษาใหม่
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า สัญญาเช่าเอกสารหมาย จ.1 ของโจทก์ต้องห้ามรับฟังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87,90เดิมเนื่องจากโจทก์ไม่ได้ส่งสำเนาให้จำเลยก่อนวันที่ศาลเริ่มต้นทำการสืบพยานจำเลยซึ่งเป็นฝ่ายนำสืบก่อน โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์ไม่จำต้องส่งสำเนาให้จำเลยก่อนวันที่ศาลเริ่มต้นทำการสืบพยานนัดแรกไม่ต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว ศาลอุทธรณ์ภาค 2 กลับวินิจฉัยว่าโจทก์ยื่นคำร้องขอระบุพยานเพิ่มเติม อ้างว่าหลงลืมพลั้งเผลอโดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ไม่สามารถทราบได้ว่าต้องนำหนังสือเช่ามาสืบและโจทก์ไม่ทราบว่าหนังสือเช่านั้นมีอยู่ กรณีไม่มีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้โจทก์ระบุพยานเพิ่มเติม คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 2ในส่วนนี้ เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นแห่งคำอุทธรณ์ และเป็นการนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคสี่ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2535 มาตรา 3 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่มิได้ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม เป็นการไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2535 มาตรา 2 จึงเป็นการนำกฎหมายที่บังคับใช้ภายหลังมาใช้บังคับย้อนหลังต่อกระบวนพิจารณาที่ล่วงเลยมาแล้วย่อมเป็นการไม่ชอบ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยต่อไปว่า แม้ศาลชั้นต้นอนุญาตและโจทก์อ้างเอกสารที่ระบุพยานเพิ่มเติมเป็นพยานแล้ว ก็ย่อมต้องห้ามมิให้รับฟังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87,90 นั้นก็หาได้แสดงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยว่าไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90 เดิม อย่างไร ไม่ได้อ้างบทบัญญัติของกฎหมาย และแปลความหมายของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90 เดิม ไว้ จึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 141(4) ประกอบด้วยมาตรา 246 ศาลฎีกาเห็นสมควรให้ส่งสำนวนคืนไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 2เพื่อให้พิพากษาใหม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 243(1) ประกอบด้วยมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1046/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้กฎหมายอาคารย้อนหลังกับผู้รับโอนที่ดิน: อำนาจฟ้องรื้อถอนอาคารผิดกฎหมาย
จำเลยที่ 2 ปลูกสร้างอาคารผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตแล้วไม่รื้อถอนตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นต่อมาจำเลยที่ 2 โอนขายที่ดินพร้อมอาคารดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 1 ในขณะที่อยู่ระหว่างการใช้พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารพุทธศักราช 2479ซึ่งตามมาตรา 11ทวิ โจทก์ไม่มีอำนาจสั่งให้จำเลยที่ 1 ซึ่งไม่ใช่ผู้ปลูกสร้างอาคารตามมาตรา11 รื้อถอนอาคารพิพาทได้แม้ต่อมากฎหมายนี้จะถูกยกเลิกและใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 แทนซึ่งมาตรา 40 ประกอบด้วยมาตรา 42 ให้อำนาจโจทก์สั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองรื้อถอนอาคารนั้นได้ก็จะนำมาใช้กับจำเลยที่ 1 อันเป็นการใช้กฎหมายย้อนหลังที่มีผลเสียหายแก่จำเลยที่ 1ซึ่งมิได้เป็นผู้ปลูกสร้างอาคารพิพาทไม่ได้โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 1รื้อถอนอาคารพิพาท