คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ใช้ทางร่วม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5184/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของรวมตกลงใช้ทางร่วม การเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมทั้งหมด
โจทก์ จำเลยที่ 2 และ ธ. ซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 2103 มาโดยทำกำแพงพิพาทเป็นรั้วยาวตลอดแนวเขตเฉพาะทางด้านทิศตะวันตก เพื่อปิดกั้นมิให้บุคคลภายนอกเข้ามายุ่งเกี่ยว ต่อมาเมื่อมีการแบ่งที่ดินออกเป็น 4 แปลง โดยโจทก์ จำเลยที่ 2 และ ธ. เป็นเจ้าของคนละ 1 แปลง แล้ว โจทก์ จำเลยที่ 2 และ ธ. ยังถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินแปลงที่แบ่งแยกคือโฉนดเลขที่ 117913 ซึ่งอยู่ติดกับแนวกำแพงพิพาท โดยมิได้มีการรื้อถอนกำแพงพิพาทเพราะประสงค์จะใช้ที่ดินโฉนดเลขที่ 117913 เป็นทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะเพื่อประโยชน์สำหรับที่ดินของโจทก์ จำเลยที่ 2 และ ธ. ซึ่ง ธ. ได้จดทะเบียนให้ส่วนของ ธ. แก่จำเลยที่ 1 ในเวลาต่อมาเท่านั้น แม้ต่อมาโจทก์จะเป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 193899 ซึ่งไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ แต่การที่โจทก์ขอให้เปิดแนวกำแพงพิพาทบริเวณด้านหน้าของที่ดินดังกล่าวเพื่อใช้ประโยชน์สำหรับที่ดินโฉนดเลขที่ 193899 ด้วย จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงวัตถุที่ประสงค์ซึ่งเจ้าของรวมทุกคนต้องเห็นชอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1358 วรรคสุดท้าย มิได้เป็นการใช้สิทธิตามมาตรา 1360 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าของรวมไม่ยินยอมให้ที่ดินแปลงอื่นของโจทก์มาใช้ประโยชน์ด้วย โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้เปิดแนวกำแพงพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2442/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ทางร่วม (ทางพิพาท) โดยถือวิสาสะ ไม่ทำให้เกิดภาระจำยอม แม้ใช้เป็นเวลานาน
โจทก์และจำเลยที่ 3 เป็นบุตร ค. และ พ. โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 3924 จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 เป็นเจ้าของรวมในที่ดินโฉนดเลขที่ 3926จำเลยที่ 5 ที่ 6 เป็นเจ้าของรวมในที่ดินโฉนดเลขที่ 5458 ที่ดินทั้งสามแปลงเดิมเป็นที่ดินผืนเดียวกัน มี ค.เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม ในที่ดินทั้งสามแปลงมีบ้านปลูกอยู่4 หลัง รวมทั้งบ้านของ ค. บ้านของ ค.อยู่ติดแม่น้ำ ถ้าจะออกสู่ถนนซึ่งเป็นทางสาธารณะก็เดินผ่านทางพิพาทที่อยู่ในที่ดินของจำเลยทั้งหกซึ่งเป็นบุตรหลานและญาติของตน ลักษณะเป็นการขออาศัยกันในระหว่างหมู่ญาติอันเป็นการเดินโดยถือวิสาสะโจทก์เป็นบุตรผู้อาศัยอยู่ในบ้าน ค.ก็เดินผ่านทางพิพาทในลักษณะเดียวกัน หลังจากค.ตายก็มิได้เปลี่ยนเจตนาเป็นการใช้ทางพิพาทด้วยเจตนาเป็นทางภาระจำยอมการที่โจทก์ใช้ทางพิพาทโดยถือวิสาสะ แม้จะใช้เป็นเวลานานเท่าใดโจทก์ก็ไม่ได้ภาระจำยอมในทางพิพาทในที่ดินโฉนดเลขที่ 3926 และ 5458 ของจำเลยทั้งหก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2442/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ทางร่วมในที่ดินมรดกโดยถือวิสาสะ ไม่ถือเป็นภารจำยอม แม้ใช้ต่อเนื่องนานปี
โจทก์และจำเลยที่ 3 เป็นบุตร ค.และพ.โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 3924 จำเลยที่ 1ถึงที่ 4 เป็นเจ้าของรวมในที่ดินโฉนดเลขที่ 3926 จำเลยที่ 5 ที่ 6 เป็นเจ้าของรวมในที่ดินโฉนดเลขที่ 5458 ที่ดินทั้งสามแปลง เดิมเป็นที่ดินผืนเดียวกัน มีค. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินทั้งสามแปลงมีบ้านปลูกอยู่ 4 หลัง รวมทั้งบ้านของค.บ้านของค.อยู่ติดแม่น้ำ ถ้าจะออกสู่ถนนซึ่งเป็นทางสาธารณะก็เดินผ่านทางพิพาทที่อยู่ในที่ดินของจำเลยทั้งหกซึ่งเป็น บุตรหลายและญาติของตน ลักษณะเป็นการขออาศัยกันใน ระหว่างหมู่ญาติอันเป็นการเดินโดยถือวิสาสะโจทก์เป็นบุตร ผู้อาศัยอยู่ในบ้านค. ก็เดินผ่านทางพิพาทในลักษณะเดียวกันหลังจากค. ตายก็มิได้เปลี่ยนเจตนาเป็นการใช้ทางพิพาทด้วยเจตนาเป็นทางภารจำยอมการที่โจทก์ใช้ทางพิพาทโดยถือวิสาสะ แม้จะใช้เป็นเวลานานเท่าใดโจทก์ก็ไม่ได้ภารจำยอม ในทางพิพาทในที่ดินโฉนดเลขที่ 3926 และ 5458 ของจำเลยทั้งหก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1730/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมไม่เพิ่มขึ้นจากการทำถนน หรือใช้ทางร่วม แม้จะอ้างเป็นทางสาธารณะ การใช้ทางของเจ้าของที่ดินติดกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
การทำถนนคอนกรีตบนทางภารจำยอมไม่เป็นการเพิ่มภารจำยอม (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 33/2503)
่จดทะเบียนภารจำยอมว่าเป็นทางเดิน ของผู้ที่อยู่ในโฉนดซึ่งจำเลยเป็นเจ้าของ แต่แล้วใช้ทางนี้เป็นทางรถด้วยก็ดี หรือมีคนอื่นซึ่งอยู่ในที่ดินโฉนดของจำเลยได้ใช้เป็นทางเดินด้วยก็ดี ก็ยังไม่เป็นการเพิ่มภารจำยอม
เมื่อการจดทะเบียนภารจำยอมยังคงอยู่แม้ผู้ใช้ทางนั้น จะอ้างว่าเป็นทางสาธารณก็ไม่ถือว่าสละสิทธิภารจำยอม (ย่อ ก.ม. มาตรา 140 แห่ง ป.วิ.พ. อยู่ตอนท้าย)