พบผลลัพธ์ทั้งหมด 18 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6428/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหลีกเลี่ยงเงื่อนไขกฎหมายเพื่อออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ถือเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ทำให้ไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ครอบครองที่ดินประมาณ 700 ไร่ เมื่อทางราชการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์โดยกำหนดให้ผู้ครอบครองขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ได้ไม่เกินคนละ 50 ไร่ โจทก์ได้ขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในชื่อโจทก์ ภริยาโจทก์และบุตรโจทก์อีก 6 คน แล้ว ยังเหลืออีกประมาณ 100 ไร่ โจทก์จึงให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินดังกล่าวในชื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 คนละแปลง โดยตกลงว่า จะโอนคืนแก่โจทก์ในภายหลัง ดังนี้ ที่ดินทั้งสองแปลงจึงเป็นที่ดินส่วนที่โจทก์ไม่อาจขอให้ทางราชการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ได้ตามกฎหมายการที่โจทก์สมคบกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ขอให้ทางราชการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ จึงเป็นการหลีกเลี่ยงเงื่อนไขของกฎหมาย อันเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 และที่ 2 โอนที่ดินทั้งสองแปลงแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3044/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องและการบังคับคดี: สิทธิของผู้รับโอนเมื่อผู้โอนดำเนินการในชั้นบังคับคดีโดยไม่มีสิทธิ
โจทก์โอนสิทธิเรียกร้องที่จะได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มขึ้นตามคำพิพากษาให้แก่ผู้ร้อง โดยโจทก์และผู้ร้องได้มีหนังสือแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทราบแล้ว การโอนสิทธิเรียกร้องรายนี้ย่อมสมบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 วรรคหนึ่ง ดังนั้น สิทธิของโจทก์ที่จะได้รับชำระหนี้จากจำเลยทั้งสามตามคำพิพากษาในคดีนี้จึงตกเป็นของผู้ร้อง โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะรับเงินตามคำพิพากษาจากจำเลยทั้งสาม การที่โจทก์ยื่นคำแถลงขอรับเงินที่จำเลยที่ 2 นำมาวางศาลเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษา ซึ่งศาลชั้นต้นได้ออกคำบังคับตามคำแถลงของโจทก์อันเป็นการดำเนินการในชั้นบังคับตามคำพิพากษาทั้ง ๆ ที่โจทก์สิ้นสิทธิดังกล่าวไปแล้ว เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต กรณีนี้ผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งและถูกโต้แย้งสิทธิ จึงชอบที่จะร้องสอดเข้ามาในชั้นบังคับตามคำพิพากษาได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2180/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิโดยไม่สุจริตและการมีอำนาจฟ้องในคดีขับไล่ กรณีผู้ขายที่ดินอ้างสิทธิภายหลังการส่งมอบการครอบครอง
โจทก์ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยและได้ส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย โดยจำเลยเสียภาษีบำรุงท้องที่ในนามของตนเองมาโดยตลอด การที่โจทก์กลับมาอ้างสิทธิว่าเป็นผู้มีสิทธิตามหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. 4 - 01) ที่ได้ในภายหลังนั้นและมาฟ้องขอให้บังคับขับไล่จำเลย จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตทั้งเป็นปัญหาเกี่ยวกับเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2180/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิโดยไม่สุจริตหลังการซื้อขายที่ดิน: โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ขายที่ดินให้แก่จำเลยและได้ส่งมอบการครอบครองที่ดินให้แก่จำเลยแล้ว จำเลยเสียภาษีบำรุงท้องที่ในนามของตนเองมาโดยตลอด การที่โจทก์กลับมาอ้างสิทธิว่าเป็นผู้มีสิทธิตามหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก.4-01)ซึ่งเป็นการได้ภายหลังจากนั้นและมาฟ้องขอให้บังคับขับไล่จำเลยจึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง และปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9076/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิโดยไม่สุจริตหลังจำหน่ายสิทธิทำกิน ศาลยกฟ้องกรณีเรียกค่าชดเชยซ้ำซ้อน
โจทก์ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิครอบครองทำประโยชน์ได้ขายสิทธิทำกินในที่ดินแปลงพิพาทที่โจทก์ได้รับสิทธิทำกินจากการจัดสรรของกรมชลประทานให้แก่ผู้มีชื่อโดยได้รับเงินเป็นค่าตอบแทนครบถ้วนแล้ว การที่โจทก์ได้จำหน่ายสิทธิทำกินในที่ดินแปลงพิพาทไปแล้ว โจทก์จะกลับอ้างว่ามีสิทธิครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทมาเป็นเหตุฟ้องขอให้ศาลบังคับกรมชลประทานจำเลยจ่ายเงินชดเชยค่าที่ดินอีกไม่ได้ เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6403/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อของผู้มอบอำนาจและการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตของผู้รับโอน
จำเลยที่ 1 ขอให้โจทก์ช่วยค้ำประกันหนี้กู้ยืม โดยจำเลยที่ 1นำหนังสือมอบอำนาจซึ่งยังไม่มีข้อความกรอกไว้มาให้โจทก์ลงลายมือชื่อและแจ้งว่าถ้ากรอกข้อความไปไม่ถูกต้องเจ้าพนักงานที่ดินจะไม่ดำเนินการให้ โจทก์เชื่อใจจำเลยที่ 1 จึงลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจดังกล่าว พร้อมกับมอบสำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และโฉนดที่ดินพิพาทให้ไป การกระทำของโจทก์เป็นการกระทำโดยความประมาทเลินเล่อ ยอมเสี่ยงภัยในการกระทำของตนเองอย่างร้ายแรง แม้จำเลยที่ 1 จะปลอมหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวโดยกรอกข้อความว่าโจทก์มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 มีอำนาจขายที่ดินและบ้านพิพาทได้ก็ตามดังนี้ การที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนซื้อขายเปลี่ยนชื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินและบ้านพิพาทจากโจทก์เป็นจำเลยที่ 1 แล้วจดทะเบียนจำนองเป็นประกันหนี้ต่อธนาคารจนกระทั่งจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองและโอนขายให้แก่จำเลยที่ 2 จึงเป็นผลสืบเนื่องมาจากการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของโจทก์ดังกล่าวโดยตรง
เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองคบคิดกันฉ้อฉลโจทก์อย่างไรลำพังราคาทรัพย์ที่ระบุในสัญญาจดทะเบียนโอนขายเป็นราคาประเมินหาใช่ราคาที่แท้จริงตามที่จำเลยทั้งสองซื้อขายกันจะถือว่าเป็นการกระทำที่ไม่สุจริตของจำเลยที่ 2 หาได้ไม่
การที่จำเลยที่ 2 ซื้อที่ดินและบ้านพิพาทมาจากจำเลยที่ 1มิได้ล่วงรู้ถึงข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และไม่ทราบว่าจำเลยที่ 1ปลอมแปลงหนังสือมอบอำนาจเกี่ยวกับการโอนที่ดินและบ้านพิพาทเปลี่ยนชื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์จากโจทก์เป็นจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงรับโอนที่ดินและบ้านพิพาทมาโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนเช่นกัน หากให้เพิกถอนการจดทะเบียนซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทด้วยเหตุผลว่าจำเลยที่ 2 ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้โอน ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยที่ 2 เป็นอย่างมาก และความเสียหายนี้ก็เกิดจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของโจทก์โดยตรงดังนั้น การที่โจทก์ใช้สิทธิติดตามเอาที่ดินและบ้านพิพาทคืนโดยฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนซื้อขายเป็นคดีนี้ ถือได้ว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ตาม ป.พ.พ.มาตรา 5 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ปัญหาเรื่องการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต เป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลย่อมยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5)
เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองคบคิดกันฉ้อฉลโจทก์อย่างไรลำพังราคาทรัพย์ที่ระบุในสัญญาจดทะเบียนโอนขายเป็นราคาประเมินหาใช่ราคาที่แท้จริงตามที่จำเลยทั้งสองซื้อขายกันจะถือว่าเป็นการกระทำที่ไม่สุจริตของจำเลยที่ 2 หาได้ไม่
การที่จำเลยที่ 2 ซื้อที่ดินและบ้านพิพาทมาจากจำเลยที่ 1มิได้ล่วงรู้ถึงข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และไม่ทราบว่าจำเลยที่ 1ปลอมแปลงหนังสือมอบอำนาจเกี่ยวกับการโอนที่ดินและบ้านพิพาทเปลี่ยนชื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์จากโจทก์เป็นจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงรับโอนที่ดินและบ้านพิพาทมาโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนเช่นกัน หากให้เพิกถอนการจดทะเบียนซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทด้วยเหตุผลว่าจำเลยที่ 2 ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้โอน ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยที่ 2 เป็นอย่างมาก และความเสียหายนี้ก็เกิดจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของโจทก์โดยตรงดังนั้น การที่โจทก์ใช้สิทธิติดตามเอาที่ดินและบ้านพิพาทคืนโดยฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนซื้อขายเป็นคดีนี้ ถือได้ว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ตาม ป.พ.พ.มาตรา 5 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ปัญหาเรื่องการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต เป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลย่อมยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7209/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ชื่อทางการค้าซ้ำและเจตนาทำให้ผู้อื่นเข้าใจผิด ถือเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตตาม ป.พ.พ.มาตรา 18
โจทก์ใช้คำว่า Reebok เป็นชื่อบริษัทและเป็นเครื่องหมายการค้าสำหรับสินค้าที่โจทก์ผลิตขายด้วย โจทก์ใช้ชื่อนี้ในประเทศอังกฤษมาก่อนจำเลยที่ 1 ใช้ชื่อดังกล่าวเป็นชื่อของจำเลยที่ 1 และชื่อนี้เป็นคำเฉพาะที่ตั้งขึ้นมาเอง ไม่มีความหมายดังนี้ การที่บริษัท ท. โดยจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนได้รับอนุญาตจากโจทก์ให้ทดลองเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่าReebok ของโจทก์ แล้วต่อมาจำเลยที่ 3 ยื่นคำขอใช้คำดังกล่าวเป็นชื่อของจำเลยที่ 1และมีวงเล็บว่า ประเทศไทย จึงเป็นการที่จำเลยที่ 3 เอาคำว่า Reebok ซึ่งเป็นชื่อและเครื่องหมายการค้าของโจทก์และได้ใช้ในต่างประเทศมาก่อนแล้วมาใช้เป็นชื่อของจำเลยที่ 1 โดยมีเจตนาเพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจว่าจำเลยที่ 1 มีส่วนเกี่ยวพันในการค้าของโจทก์หรือเป็นส่วนหนึ่งของโจทก์ หากจำเลยที่ 1 กระทำการโดยสุจริต จำเลยที่ 1ก็ไม่ควรใช้ชื่อซ้ำกับโจทก์ การจดทะเบียนบริษัทจำกัดของจำเลยที่ 1 โดยใช้ชื่อว่าบริษัทรีบ็อค (ประเทศไทย) จำกัด จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต เป็นการใช้นามของโจทก์โดยไม่ชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 18 เมื่อโจทก์ผู้เป็นเจ้าของชื่อ Reebokเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ระงับการใช้ชื่อดังกล่าว จำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็ไม่มีสิทธิใช้ชื่อนั้นต่อไป และโจทก์ชอบที่จะขอต่อศาลให้สั่งห้ามจำเลยที่ 1 และที่ 2ใช้ชื่อดังกล่าวได้
คำที่พิพาทกันคือคำว่า Reebok ซึ่งเป็นคำภาษาอังกฤษ ส่วนคำว่ารีบ๊อค ที่โจทก์อ้าง หรือคำว่า รีบ็อค ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 อ้างเป็นเพียงการสะกดตัวอักษรที่แสดงถึงสำเนียงการอ่านคำภาษาอังกฤษดังกล่าวไม่ใช่สาระที่พิพาทกัน การที่ศาลพิพากษาห้ามจำเลยทั้งสองใช้คำว่า Reebok โดยวงเล็บคำว่า รีบ๊อคหรือรีบ็อคไว้หลังคำว่า Reebok จึงไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
คำที่พิพาทกันคือคำว่า Reebok ซึ่งเป็นคำภาษาอังกฤษ ส่วนคำว่ารีบ๊อค ที่โจทก์อ้าง หรือคำว่า รีบ็อค ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 อ้างเป็นเพียงการสะกดตัวอักษรที่แสดงถึงสำเนียงการอ่านคำภาษาอังกฤษดังกล่าวไม่ใช่สาระที่พิพาทกัน การที่ศาลพิพากษาห้ามจำเลยทั้งสองใช้คำว่า Reebok โดยวงเล็บคำว่า รีบ๊อคหรือรีบ็อคไว้หลังคำว่า Reebok จึงไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 331/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองและการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตของผู้ขายเดิมในการคัดค้านการเวนคืน
แม้นาง ต.ได้ซื้อบ้านพิพาทจากนาง ม.โดยไม่ได้ทำหลักฐานเป็นหนังสือ ต่อมานาง ต.ได้ขายบ้านดังกล่าวให้แก่โจทก์โดยทำหนังสือสัญญาซื้อขายไว้ต่อกัน และเมึ่อซื้อบ้านพิพาทดังกล่าวแล้วโจทก์ได้เช่าที่ดินซึ่งบ้านพิพาทตั้งอยู่จากนาง ข.เพื่ออยู่อาศัยตลอดมา ถือว่า โจทก์ได้รับมอบการครอบครองบ้านพิพาทจากผู้ขาย และได้เข้าครอบครองแล้ว ย่อมได้สิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ.มาตรา1367 การที่จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นบุตรนาง ม.เจ้าของบ้านพิพาทเดิมมิได้ครอบครองบ้านดังกล่าวไปคัดค้านการจ่ายเงินทดแทนการเวนคืนบ้านพิพาทจากกรมทางหลวงจึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ตาม ป.พ.พ.มาตรา 5 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองให้เพิกถอนคำคัดค้านและห้ามจำเลยทั้งสองเข้าเกี่ยวข้องกับบ้าน-พิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4947/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรส, การยกทรัพย์สินให้บุตร, การใช้สิทธิโดยไม่สุจริต, ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเอง
อ. ได้ที่ดินพิพาทมาโดยการรับมรดกระหว่างเป็นสามีโจทก์เมื่อปรากฏว่า อ. ได้รับมรดกที่ดินพิพาทมาก่อนวันที่ 16 ตุลาคม2519 อันเป็นวันที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มีผลใช้บังคับ ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินสมรสระหว่าง อ. กับโจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิมมาตรา 1466 แม้ว่าที่ดินพิพาทจะเป็นสินสมรสระหว่าง อ. กับโจทก์ก็ตามเมื่อปรากฏว่าการที่ อ. ยกที่ดินพิพาทส่วนของโจทก์ให้แก่จำเลยด้วยนั้น โจทก์ซึ่งรู้เห็นอยู่แล้วไม่ได้คัดค้านหรือทักท้วงประการใดกลับปล่อยให้จำเลยดำเนินการไถ่ถอนการขายฝาก และจดทะเบียนโอนที่ดินยกให้เป็นของจำเลยแล้ว โจทก์จะมาใช้สิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนการยกให้ซึ่งที่ดินพิพาทดังกล่าวหาได้ไม่ เพราะเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต การใช้สิทธิโดยไม่สุจริต เป็นเรื่องเกี่ยวกับอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3761-3765/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าและการบังคับตามสัญญา แม้เจ้าของกรรมสิทธิ์ไม่อาจจัดการให้เช่าต่อได้ การฟ้องขับไล่จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
สัญญาเช่าระบุว่า "เมื่อครบกำหนดสัญญาเช่า 12 ปี นับแต่วันทำสัญญานี้เป็นต้นไป ต้องให้ผู้เช่ามีสิทธิเช่าต่อไปอีก และทำสัญญากับกรมวิสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ โดยตรงต่อไป" ข้อสัญญานี้เป็นคำมั่นที่ผูกพันโจทก์ผู้ให้เช่าฝ่ายเดียวที่จะต้องให้จำเลยผู้เช่ามีสิทธิเช่าต่อไป เมื่อปรากฏว่าก่อนสัญญาเช่าครบกำหนด จำเลยแจ้งความประสงค์ที่จะเช่าต่อ กรณีย่อมบังคับกันได้ตามสัญญา โจทก์ต้องให้จำเลยมีสิทธิเช่าต่อไป แม้ข้อเท็จจริงได้ความว่ากรรมสิทธิในตึกพิพาทเป็นของโจทก์ และโจทก์ไม่อาจจัดการให้จำเลยเช่ากับกรมวิสามัญศึกษาโดยตรงได้ โจทก์ก็คงผูกพันตามสัญญาที่จะต้องให้จำเลยมีสิทธิเช่าตึกพิพาทต่อไปตามเงื่อนไขและข้อสัญญาเดิมโดยไม่มีกำหนดเวลาเช่า เมื่อสัญญาเช่าครบกำหนดโจทก์กลับฟ้องขับไล่จำเลย จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง