พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3679/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ ขู่เข็ญเรียกเงินจากผู้ประกอบการ และข่มขู่เรียกเงินซ้ำ
การที่ผู้บังคับบัญชามีคำสั่งให้นายตรวจสรรพสามิตแยกกันออกตรวจร้านค้าสุราในท้องที่ตามเขตที่กำหนดนั้นเป็นเรื่องของการแบ่งงานเพื่อความเหมาะสมในการปฏิบัติราชการเท่านั้น หาเป็นการจำกัดอำนาจหน้าที่ในการตรวจร้านค้าสุราในท้องที่เขตอื่นไม่และการตรวจร้านค้าสุราก็มิใช่การปฏิบัติหน้าที่ในสถานที่ราชการ ซึ่งโดยปกติจะกระทำในระหว่างเวลาราชการทั้งไม่ปรากฏว่านายตรวจสรรพสามิตจะต้องปฏิบัติหน้าที่เฉพาะเวลาราชการดังนั้นการที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3ซึ่งเป็นนายตรวจสรรพสามิตได้ไปที่ร้านค้าสุราของผู้เสียหายซึ่งอยู่นอกเขตท้องที่ที่ตนได้รับมอบหมายให้ไปตรวจและไปหลังเวลาราชการ โดยเรียกผู้เสียหายออกจากร้านมาพบที่รถยนต์ แล้วพูดว่าจะจับสุราของผู้เสียหายไปนั้น ก็ต้องถือว่าเป็นการกระทำของเจ้าพนักงานในการปฏิบัติหน้าที่นั่นเองหาใช่เป็นการกระทำส่วนตัวไม่และเมื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ร่วมกันเรียกร้องให้ผู้เสียหายจ่ายเงินเป็นค่าตอบแทนเพื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จะไม่จับ ทั้งที่ไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายทำผิดกฎหมายอย่างไรนั้น ย่อมเป็นการใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 148 แล้ว
ส่วนที่พวกจำเลยพูดกับผู้เสียหายว่า ถ้าไม่จ่ายเงินจะจับสุราที่ร้านค้าของผู้เสียหายและจะจับเดือนละ 2 ครั้งโดยได้ความว่าก่อนเกิดเหตุพวกของจำเลยได้มาขู่เอาเงินไปแล้ว 2 ครั้งและผู้เสียหายพูดต่อรองไม่ให้จับ เพราะกลัวลูกค้าจะเข้าใจผิดว่าขายสุราผิดกฎหมายแล้วผู้เสียหายจ่ายเงินให้พวกจำเลยไปนั้นเป็นการจ่ายเงินให้ไปด้วยความกลัวที่เกิดจากถูกพวกจำเลยขู่เข็ญว่าจะแกล้งจับสุราในร้านนั่นเองมิใช่ผู้เสียหายจะไม่มีมูลเหตุต้องกลัวเพราะไม่ได้มีสุราผิดกฎหมาย การกระทำของพวกจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 337
ส่วนที่พวกจำเลยพูดกับผู้เสียหายว่า ถ้าไม่จ่ายเงินจะจับสุราที่ร้านค้าของผู้เสียหายและจะจับเดือนละ 2 ครั้งโดยได้ความว่าก่อนเกิดเหตุพวกของจำเลยได้มาขู่เอาเงินไปแล้ว 2 ครั้งและผู้เสียหายพูดต่อรองไม่ให้จับ เพราะกลัวลูกค้าจะเข้าใจผิดว่าขายสุราผิดกฎหมายแล้วผู้เสียหายจ่ายเงินให้พวกจำเลยไปนั้นเป็นการจ่ายเงินให้ไปด้วยความกลัวที่เกิดจากถูกพวกจำเลยขู่เข็ญว่าจะแกล้งจับสุราในร้านนั่นเองมิใช่ผู้เสียหายจะไม่มีมูลเหตุต้องกลัวเพราะไม่ได้มีสุราผิดกฎหมาย การกระทำของพวกจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 337
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 222-223/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานใช้อำนาจโดยมิชอบ ข่มขืนใจเอาทรัพย์สินจากผู้ถูกจับกุม การฟ้องซ้ำ และการพิจารณารวมสำนวน
จำเลยเป็นเจ้าพนักงาน(ตำรวจ) ไปจับผู้เสียหายทั้งสอง (ในข้อหาว่า ขายสลากกินรวบ) และยึดเอาเงินในตัวผู้เสียหายทั้งสอง โดยปราศจากหลักฐานหรือเหตุผลที่ควรจะจับได้ตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ และได้จูงใจให้ผู้เสียหายยอมให้เงินที่จำเลยยึดไว้แก่จำเลย แล้วจำเลยปล่อยผู้เสียหายไป การกระทำของจำเลยเป็นผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 148 และการที่จำเลยจับผู้เสียหายแต่ละสำนวนมาคนละที(โจทก์ฟ้องจำเลยเป็น 2 สำนวน)ในเวลาห่างกัน สถานที่ที่จับก็เป็นคนละแห่ง ข้อหาที่จับแม้จะเป็นอย่างเดียวกัน แต่ก็มิได้เกี่ยวเนื่องเป็นกรณีเดียวกัน จะฟังว่าคดีที่โจทก์กล่าวหาจำเลยทั้ง 2 สำนวนเป็นเรื่องเดียวกันไม่ได้ ฉะนั้น เมื่อปรากฏว่าคดีทั้ง 2 สำนวน ศาลพิจารณารวมกัน ข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยไปจับผู้เสียหายทั้งสองแล้วนำไปส่งสถานีตำรวจ แล้วเรียกให้ผู้เสียหายยอมให้เงินในเวลาที่พาไป ศาลล่างทั้งสองจึงวินิจฉัยฟังข้อเท็จจริงต้องกันว่า จำเลยเรียกและรับเงินจากผู้เสียหายทั้งสองจริงตามฟ้อง จึงไม่มีข้อเท็จจริงอะไรที่จะย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัย ฉะนั้น เมื่อ(ศาลชั้นต้นยกฟ้องสำนวนหลังสำนวนเดียวเห็นว่าเป็นฟ้องซ้อน) ศาลอุทธรณ์เห็นว่าฟ้องโจทก์ไม่เป็นฟ้องซ้ำ และจำเลยกระทำผิดจริง ก็ชอบเพียงแต่ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่ตามรูปคดีเท่านั้น เพื่อให้เป็นไปตามลำดับศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 222-223/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานใช้อำนาจโดยมิชอบ ข่มขืนใจเรียกรับเงินจากผู้ถูกจับ แม้จับต่างวาระและสถานที่ ก็ถือเป็นความผิดเดียวกันได้
จำเลยเป็นเจ้าพนักงาน(ตำรวจ) ไปจับผู้เสียหายทั้งสอง (ในข้อหาว่า ขายสลากกินรวบ) และยึดเอาเงินในตัวผู้เสียหายทั้งสอง โดยปราศจากหลักฐานหรือเหตุผลที่ควรจะจับได้ตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ และได้จูงใจให้ผู้เสียหายยอมให้เงินที่จำเลยยึดไว้แก่จำเลย แล้วจำเลยปล่อยผู้เสียหายไป การกระทำของจำเลยเป็นผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148 และการที่จำเลยจับผู้เสียหายแต่ละสำนวนมาคนละที(โจทก์ฟ้องจำเลยเป็น 2 สำนวน) ในเวลาห่างกันสถานที่ที่จับก็เป็นคนละแห่ง ข้อหาที่จับแม้จะเป็นอย่างเดียวกัน แต่ก็มิได้เกี่ยวเนื่องเป็นกรณีเดียวกันจะฟังว่าคดีที่โจทก์กล่าวหาจำเลยทั้ง 2 สำนวนเป็นเรื่องเดียวกันไม่ได้ ฉะนั้น เมื่อปรากฏว่าคดีทั้ง 2 สำนวนศาลพิจารณารวมกัน ข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยไปจับผู้เสียหายทั้งสองแล้วนำไปส่งสถานีตำรวจ แล้วเรียกให้ผู้เสียหายยอมให้เงินในเวลาที่พาไป ศาลล่างทั้งสองจึงวินิจฉัยฟังข้อเท็จจริงต้องกันว่า จำเลยเรียกและรับเงินจากผู้เสียหายทั้งสองจริงตามฟ้อง จึงไม่มีข้อเท็จจริงอะไรที่จะย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัย ฉะนั้นเมื่อ(ศาลชั้นต้นยกฟ้องสำนวนหลังสำนวนเดียวเห็นว่าเป็นฟ้องซ้อน)
ศาลอุทธรณ์เห็นว่าฟ้องโจทก์ไม่เป็นฟ้องซ้ำ และจำเลยกระทำผิดจริงก็ชอบเพียงแต่ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่ตามรูปคดีเท่านั้นเพื่อให้เป็นไปตามลำดับศาล
ศาลอุทธรณ์เห็นว่าฟ้องโจทก์ไม่เป็นฟ้องซ้ำ และจำเลยกระทำผิดจริงก็ชอบเพียงแต่ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่ตามรูปคดีเท่านั้นเพื่อให้เป็นไปตามลำดับศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1389/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดของเจ้าพนักงานที่ใช้อำนาจโดยมิชอบ ข่มขืนใจเอาทรัพย์สินจากประชาชน
จำเลยเป็นตำรวจประจำอยู่ในกรุงเทพ ฯ พากันไปแกล้งจับผู้เสียหายที่จังหวัดนครนายก หาว่าเล่นสลากกินรวบ ขอค้นบ้าน แล้วงัดลิ้นชักโต๊ะหยิบเอาเงินและปืนไปเพื่อประโยชน์แก่ตนดังนี้ เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 14+ แล้ว แม้จำเลยจะหยิบเอาเงินและปืนนั้นไปเองก็ดี แต่เมื่อเป็นเพราะเหตุที่จำเลยเป็นเจ้าพนักงาน ผู้เสียหายจึงไม่กล้าแย่งคืน หรือเพราะผู้เสียหายอาจจะเข้าใจว่าจำเลยเอาไปเป็นวัตถุพยาน ดังนั้น จึงถือได้ว่า ผู้เสียหายได้มอบให้แก่จำเลยตามความหมายของมาตรานี้แล้ว และเมื่อจำเลยมีความผิดตามมาตรา 148 แล้ว ก็ไม่จำต้องวินิจฉัยถึงมาตรา 157 อันเป็นบทลงโทษทั่วไปซึ่งมีอัตราโทษน้อยกว่าอีก
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 16/2506 เฉพาะที่เกี่ยวกับมาตรา 148)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 16/2506 เฉพาะที่เกี่ยวกับมาตรา 148)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1426-1427/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานใช้อำนาจโดยมิชอบและทำร้ายผู้อื่น ไม่สามารถอ้างป้องกันตัวได้
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ ร่วมไปจับปลากับผู้ตายและพวกเพื่อขอปลาเป็นส่วนแบ่ง ผู้ตายแบ่งให้น้อย จำเลยกลับอ้างว่าเป็นเจ้าพนักงานจะทำการจับกุม ได้เกิดต่อสู้ทำร้ายกันขึ้น จำเลยใช้ปืนยิงผู้ตายถึงแก่ความตายและทำร้ายผู้อื่นถึงบาดเจ็บ ดังนี้ การกระทำของจำเลยไม่นับว่าเป็นการกระทำตามหน้าที่อันชอบ และจำเลยจะอ้างว่าได้กระทำโดยป้องกันตัวก็ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1086/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ ขู่เข็ญและบังคับเอาทรัพย์สินจากประชาชน
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจที่กำลังรักษาการณ์ในหน้าที่สรวมเครื่องแบบและมีอาวุธปืน จำเลยได้จับเจ้าทรัพย์ในลักษณะที่เป็นเจ้าพนักงานกระทำการตามหน้าที่ แล้วจำเลยบังคับให้เจ้าทรัพย์ให้ของกลางแก่จำเลย ก็เรียกได้ว่ามันบังคับให้เขาให้ทรัพย์อันมิควรจะได้ตามกฎหมายแก่ตัวมัน ต้องด้วยข้อบัญญัติตามมาตรา 136 ก.ม.ลักษณะอาญา แต่เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ จึงกลายเป็นความผิดหลายบท แต่ความผิดตามมาตรา 136 มีอัตราโทษหนักกว่า จึงให้วางโทษตามมาตรา 136.