คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ใช้ในการกระทำผิด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5220/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบเงินที่ใช้ในการซื้อยาเสพติด แม้จะไม่ได้ใช้ซื้อทั้งหมด ก็ถือเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำผิดได้
จำเลยที่ 3 เตรียมเงินจำนวน 850,000 บาท เพื่อนำมาซื้อยาเสพติดตามที่จำเลยที่ 1 ติดต่อกับผู้ขาย แต่จำเลยที่ 1 สามารถนำยาเสพติดของกลางมามอบให้จำเลยที่ 2 ได้ในปริมาณราคาเพียง600,000 บาทเท่านั้น เงินที่จำเลยที่ 3 เตรียมมาดังกล่าวจึงยังคงเหลืออีก 250,000 บาท ซึ่งเป็นจำนวนเดียวกันกับเงินที่ได้เตรียมมาซื้อยาเสพติดในตอนแรกนั่นเอง จึงถือได้ว่าเป็นทรัพย์ที่มีไว้เพื่อใช้ในการกระทำผิด ศาลมีอำนาจสั่งริบได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2529/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบยานพาหนะในความผิดวิ่งราวทรัพย์: ต้องใช้ในการกระทำความผิดโดยตรงเท่านั้น
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 336ทวิ หาได้บัญญัติให้ถือว่ายานพาหนะดังกล่าวในมาตรานี้เป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดด้วยไม่ แต่เป็นเพียงบทบัญญัติถึงเหตุที่จะทำให้ผู้กระทำความผิดต้องระวางโทษหนักขึ้นเท่านั้น ส่วนปัญหาที่ว่ายานพาหนะใดเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดซึ่งศาลมีอำนาจสั่งริบตามมาตรา 33(1) นั้น ต้องพิจารณาดูตามพฤติการณ์ของการกระทำแต่ละเรื่องไป ว่าผู้กระทำผิดได้ใช้ยานพาหนะนั้นในการกระทำความผิดหรือไม่
จำเลยวิ่งราวสร้อยคอโดยฉกฉวยเอาซึ่งหน้าแล้วพาหนีไปโดยใช้รถจักรยานสองล้อเป็นพาหนะ รถดังกล่าวเป็นเพียงยานพาหนะที่จำเลยใช้ภายหลังการวิ่งราวทรัพย์หาใช่ใช้ในการวิ่งราวทรัพย์ไม่ จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่ศาลมีอำนาจสั่งริบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 52/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำผิด แม้ผู้กระทำผิดได้รับการยกฟ้อง
บทบัญญัติในเรื่องริบทรัพย์ ไม่ว่าจะเป็นกรณีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32 หรือ มาตรา 33 นั้น มุ่งถึงตัวทรัพย์เป็นสำคัญ จะต่างกันก็แต่ว่า ตามมาตรา 32 ศาลจะต้องริบเสียทั้งสิ้น ส่วนมาตรา 33 ให้อยู่ในดุลพินิจของศาล เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 33วรรคท้ายเท่านั้น ที่จะสั่งริบไม่ได้
ดังนั้น ในคดีที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกับพวกมีปืนและสายไฟฟ้าติดตัวร่วมกันปล้นทรัพย์ โดยใช้สายไฟฟ้ารัดคอเจ้าทรัพย์ แม้ศาลจะวินิจฉัยว่า จำเลยมิได้กระทำผิดก็ดี แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าสายไฟฟ้าของกลางเป็นทรัพย์สินซึ่งใช้ในการกระทำผิดแล้วก็ย่อมริบได้ เพราะอยู่ในดุลพินิจของศาล ตามมาตรา 33(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2516)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 377/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบของกลางที่ใช้ในการกระทำผิด แม้จะไม่อยู่ในความครอบครองของเจ้าพนักงาน
ประมวลกฎหมายอาญาซึ่งบัญญัติเรื่องการริบทรัพย์สินนั้น มิได้บัญญัติให้ริบเฉพาะทรัพย์ที่นำมาอยู่ในอำนาจของศาลหรือ เจ้าพนักงานเท่านั้นแต่มุ่งหมายถึงทรัพย์ที่บุคคลได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำผิดเป็นสาระสำคัญฉะนั้น ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำผิดแม้จะไม่มีอยู่ที่เจ้าพนักงานก็ตาม ศาลก็สั่งให้ริบได้