พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2346/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมเอกสารราชการเพื่อเอื้อประโยชน์ในการขอมีบัตรประจำตัวประชาชน ศาลพิจารณาความผิดฐานใช้ให้ผู้อื่นปลอมเอกสารราชการ
เอกสารใบแจ้งการย้ายที่อยู่ ท.ร.17 ของ ย. เป็นเอกสารซึ่ง ปลอมว่านายทะเบียนตำบลบ้านโฮ่งได้รับแจ้งย้ายออกของ ย. ว่าย้ายออกจากบ้านเลขที่ 190/7 หมู่ที่ 8 ในเขตอำเภอบ้านโฮ่ง ไปอยู่ที่บ้านเลขที่ 4/8 ถนนประชาราษฎร์แขวงบางซื่อเท่านั้น มิได้มีข้อความที่เป็นการก่อให้เกิดสิทธิอย่างใดแก่ ย. ในตัวเอกสารนั้น ใบรับคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนของ ย. ก็เป็นเพียงหลักฐานที่แสดงว่าเจ้าพนักงาน ได้รับคำขอของ ย. ไว้แล้วมิได้มีข้อความที่เป็นการก่อให้เกิดสิทธิอย่างใดแก่ ย.ในตัวเอกสารนั้นจึงถือไม่ได้ว่าเป็นเอกสารสิทธิคงถือได้ว่าเป็นเอกสารราชการเท่านั้น
ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 266, 84. เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่า กรณีเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 266, 84 ตามที่จำเลยที่ 2ฎีกา ย่อมมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่1 ผู้มิได้ฎีกาด้วยได้เพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เป็นเหตุในลักษณะคดี
ศาลพิพากษาว่าจำเลยกระทำผิดฐานใช้ให้ผู้อื่นปลอมเอกสารราชการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265, 84 รวม 31 กระทง ลงโทษจำคุกกระทงละ 2 ปี แต่เนื่องจากประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91ที่แก้ไขใหม่ได้บัญญัติในเรื่องรวมโทษทุกกระทงสำหรับกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกิน 3ปีแต่ไม่เกิน10 ปีไว้ให้จำคุกทั้งสิ้นได้ไม่เกิน20ปี ซึ่งเป็นกฎหมายใหม่ที่เป็นคุณแก่จำเลย และความผิดของจำเลยต้องด้วยมาตรา 91(2) จึงให้รวมโทษทั้ง 31 กระทงเป็นจำคุกจำเลย 20 ปี
ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 266, 84. เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่า กรณีเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 266, 84 ตามที่จำเลยที่ 2ฎีกา ย่อมมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่1 ผู้มิได้ฎีกาด้วยได้เพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เป็นเหตุในลักษณะคดี
ศาลพิพากษาว่าจำเลยกระทำผิดฐานใช้ให้ผู้อื่นปลอมเอกสารราชการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265, 84 รวม 31 กระทง ลงโทษจำคุกกระทงละ 2 ปี แต่เนื่องจากประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91ที่แก้ไขใหม่ได้บัญญัติในเรื่องรวมโทษทุกกระทงสำหรับกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกิน 3ปีแต่ไม่เกิน10 ปีไว้ให้จำคุกทั้งสิ้นได้ไม่เกิน20ปี ซึ่งเป็นกฎหมายใหม่ที่เป็นคุณแก่จำเลย และความผิดของจำเลยต้องด้วยมาตรา 91(2) จึงให้รวมโทษทั้ง 31 กระทงเป็นจำคุกจำเลย 20 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2483/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความผิดฐานใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดอาญา: การบรรยายฟ้องต้องชัดเจนเฉพาะผู้ถูกใช้
ล.ยิงผู้ตาย 1 ยีดแล้ว จำเลยร้องบอกให้ ล.ยิงผู้ตายซ้ำ แต่ล.ไม่ได้ยิงซ้ำ หากแต่มีคนอื่นยิงผู้ตายอีก ตามคำฟ้องโจทก์บรรยายชัดว่า จำเลยใช้ให้ ล.ใช้ปืนยิงผู้ตายไม่ได้กล่าวเลยว่าจำเลยใช้บุคคลอื่นนอกจาก ล. ฉะนั้น การที่คนอื่นซึ่งมิใช่ ล.เป็นคนยิงซ้ำจะถือว่าจำเลยใช้ให้คนอื่นกระทำความผิดด้วยและผู้ถูกใช้ได้กระทำความผิดแล้วหาได้ไม่ จำเลยคงมีความผิดฐานใช้ให้ ล.กระทำความผิด แต่ ล.ไม่ได้กระทำลงตามที่จำเลยใช้ซึ่งมีโทษเพียงหนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 84 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1904/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ให้ผู้อื่นทำผิด พ.ร.บ.ป่าไม้ และความรับผิดฐานสนับสนุนกระทำความผิด
จำเลยใช้ให้บุตรนำช้างไปชักลากไม้ท่อนของ ข. ซึ่งเป็นไม้หวงห้าม โดยจำเลยไม่ได้ไปร่วมทำการชักลากไม้ด้วยถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้มีไม้ดังกล่าวไว้ในความครอบครองอันจะต้องได้รับอนุญาต จำเลยไม่มีความผิดฐานมีไม้หวงห้ามไว้ในความครอบครองตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ แต่จำเลยรู้ว่าไม้ดังกล่าวเป็นไม้หวงห้าม จำเลยจึงมีความผิดฐานเป็นผู้ใช้ให้ชักลากไม้(ทำไม้)หวงห้ามโดยไม่ได้รับอนุญาตเมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยร่วมทำการชักลากไม้ (ทำไม้) จึงลงโทษจำเลยฐานเป็นผู้ใช้ให้กระทำผิดไม่ได้คงลงโทษได้เพียงฐานเป็นผู้สนับสนุนกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 91/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดทางอาญา แม้ผู้อื่นไม่ลงมือทำ ผู้ใช้ก็มีความผิดตามกฎหมาย
ขณะที่ตำรวจเข้าจับกุมและแย่งปืนกับจำเลยที่ 1 อยู่นั้น จำเลยที่ 2 เข้าช่วยแย่งปืนจากตำรวจ เมื่อตำรวจจับจำเลยที่ 2 ได้จำเลยที่ 2 ได้ร้องบอกให้จำเลยที่ 1 ขว้างระเบิดมือใส่ตำรวจ ดังนี้ จำเลยที่ 2 มีความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานกระทงหนึ่ง และใช้ให้ฆ่าเจ้าพนักงานอีกกระทงหนึ่ง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 บอกให้จำเลยที่ 1 เอาลูกระเบิดมือขว้างเจ้าพนักงาน ก็เท่ากับโจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ใช้ให้จำเลยที่ 1 เอาลูกระเบิดขว้างเจ้าพนักงานเพื่อจะฆ่าให้ตาย (แม้โจทก์จะไม่ได้อ้างมาตรา 84 มาในคำขอท้ายฟ้องก็ตาม) ถือได้ว่าโจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานเป็นผู้ใช้แล้ว
จำเลยที่ 2 ให้จำเลยที่ 1 ฆ่าเจ้าพนักงาน แต่จำเลยที่ 1 ไม่กระทำตามจำเลยที่ 2 จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 289 ประกอบด้วยมาตรา 84 วรรค 2 ซึ่งต้องระวางโทษ 1 ใน 3 ของโทษประหารชีวิต กฎหมายไม่ได้บัญญัติโทษ 1 ใน 3 ของโทษประหารชีวิตไว้ จึงต้องนำประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 52 (1) มาใช้เป็นหลักฐานในการกำหนดโทษ กล่าวคือ ให้ลดโทษประหารชีวิตเสีย 1 ใน 3 ก่อน คงเหลือโทษเพียง 2 ใน 3 โดยให้จำคุกขั้นต่ำ 16 ปี แล้วคำนวณเอาเพียงครึ่งหนึ่งของอัตราโทษ 2 ใน 3 ผลลัพธ์ก็คือ ลงโทษจำคุกจำเลยมีกำหนด 8 ปี
โจทก์ไม่ได้ฎีกาในทำนองขอให้เพิ่มโทษ ศาลฎีกาจะพิพากษาเพิ่มโทษจำเลยให้หนักขึ้นหาได้ไม่
ศาลล่างปรับบทกฎหมายไม่ถูกต้อง แม้โจทก์จะไม่ได้ฎีกาขึ้นมาก็ตาม ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 30/2509)
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 บอกให้จำเลยที่ 1 เอาลูกระเบิดมือขว้างเจ้าพนักงาน ก็เท่ากับโจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ใช้ให้จำเลยที่ 1 เอาลูกระเบิดขว้างเจ้าพนักงานเพื่อจะฆ่าให้ตาย (แม้โจทก์จะไม่ได้อ้างมาตรา 84 มาในคำขอท้ายฟ้องก็ตาม) ถือได้ว่าโจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานเป็นผู้ใช้แล้ว
จำเลยที่ 2 ให้จำเลยที่ 1 ฆ่าเจ้าพนักงาน แต่จำเลยที่ 1 ไม่กระทำตามจำเลยที่ 2 จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 289 ประกอบด้วยมาตรา 84 วรรค 2 ซึ่งต้องระวางโทษ 1 ใน 3 ของโทษประหารชีวิต กฎหมายไม่ได้บัญญัติโทษ 1 ใน 3 ของโทษประหารชีวิตไว้ จึงต้องนำประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 52 (1) มาใช้เป็นหลักฐานในการกำหนดโทษ กล่าวคือ ให้ลดโทษประหารชีวิตเสีย 1 ใน 3 ก่อน คงเหลือโทษเพียง 2 ใน 3 โดยให้จำคุกขั้นต่ำ 16 ปี แล้วคำนวณเอาเพียงครึ่งหนึ่งของอัตราโทษ 2 ใน 3 ผลลัพธ์ก็คือ ลงโทษจำคุกจำเลยมีกำหนด 8 ปี
โจทก์ไม่ได้ฎีกาในทำนองขอให้เพิ่มโทษ ศาลฎีกาจะพิพากษาเพิ่มโทษจำเลยให้หนักขึ้นหาได้ไม่
ศาลล่างปรับบทกฎหมายไม่ถูกต้อง แม้โจทก์จะไม่ได้ฎีกาขึ้นมาก็ตาม ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 30/2509)