พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3414/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ส่งออกที่แท้จริง: การพิจารณาจากใบแจ้งหนี้และผู้รับชำระเงิน แม้ใบขนสินค้ามิได้ออกในนาม
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 77/1 (5), (13) และ (14)ผู้ประกอบการซึ่งถือว่าเป็นผู้ส่งออกและเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 นั้นหมายความถึงบุคคลที่ขายสินค้าซึ่งส่งออกนอกราชอาณาจักร เพื่อส่งไปต่างประเทศเมื่อปรากฏว่า ก่อนที่จะส่งสินค้าออกนอกราชอาณาจักร ผู้ซื้อในต่างประเทศเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตในนามของโจทก์ โจทก์เป็นผู้ออกใบแจ้งหนี้ให้แก่ผู้ซื้อในต่าง-ประเทศ ผู้ซื้อในต่างประเทศชำระราคาสินค้าให้แก่โจทก์โดยโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของโจทก์ที่เปิดไว้กับธนาคาร ใบกำกับสินค้าและใบตราส่งก็ระบุชื่อโจทก์เป็นผู้ส่งออกโดยโรงงานที่ขายสินค้าให้แก่โจทก์ไม่มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับผู้ซื้อในต่างประเทศ กรณีเห็นได้ชัดแจ้งว่าโจทก์เป็นบุคคลที่ขายสินค้าซึ่งส่งออกนอกราชอาณาจักรเพื่อส่งไปต่างประเทศ ถือว่าโจทก์เป็นผู้ส่งออกซึ่งเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 การที่ใบขนสินค้าขาออกมิได้จัดทำในนามของโจทก์ แต่จัดทำในนามของโรงงานที่ขายสินค้าให้แก่โจทก์ หรือแม้โจทก์จะมิได้มีหนังสือแต่งตั้งให้โรงงานดังกล่าวจัดทำใบขนสินค้าขาออกแทนโจทก์ ก็ไม่ทำให้โจทก์ไม่ใช่ผู้ส่งออก เพราะการจะเป็นผู้ส่งออกหรือไม่ต้องพิจารณาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวมาแล้ว เมื่อโจทก์เป็นผู้ส่งออกตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังวินิจฉัยมา โรงงานดังกล่าวก็หาใช่ผู้ส่งออกไม่ การที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 สำหรับการขายสินค้าคดีนี้จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5503/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษี: หลักฐานใบขนสินค้าขาออกของศุลกากรฮ่องกงมีน้ำหนักเพียงพอ แม้เป็นสำเนา
ประมวลรัษฎากร มาตรา 19 หาใช่บทบัญญัติเรื่องอายุความในการเรียกร้องให้ชำระค่าภาษีอากรไม่ แต่เป็นระยะเวลาให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกผู้ยื่นรายการมาไต่สวนในเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อว่ารายการที่ยื่นนั้นไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงหรือไม่บริบูรณ์ภายในกำหนด 5 ปี พ้นกำหนดนี้แล้วจะมีผลเพียงเจ้าพนักงานประเมินไม่มีอำนาจออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการมาไต่สวนหรือนำบัญชีหรือพยานหลักฐานอันควรแก่เรื่องมาแสดงได้เท่านั้นแต่สิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระค่าภาษีและเงินเพิ่มมีอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167 เดิม การที่เจ้าพนักงานประเมินมิได้ออกหมายเรียกจำเลยมาไต่สวนหรือหมายเรียกพยานหรือให้จำเลยหรือพยานนำบัญชีพยานหลักฐานมาแสดง ภายในกำหนด 5 ปี ก็หาทำให้การประเมินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรไม่ชอบไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง เอกสารสำเนาใบขนสินค้าขาออกที่ผู้ส่งออกยื่นต่อศุลกากรเมืองฮ่องกงเป็นสำเนาเอกสารที่ถ่ายจากต้นฉบับ เป็นเอกสารของทางราชการเมืองฮ่องกงซึ่งผู้ส่งสินค้าออกยื่นเอกสารดังกล่าวแจ้งการส่งออกต่อทางราชการเมืองฮ่องกง ว. รองกงสุลใหญ่ฝ่ายศุลกากรประจำเมืองฮ่องกงเป็นผู้ติดต่อขอรับเอกสารมาจากเจ้าหน้าที่ศุลกากรเมืองฮ่องกง ส่งมาให้กองวิเคราะห์ราคา กรมศุลกากร ซึ่งต้นฉบับอยู่ที่ศุลกากรเมืองฮ่องกงแม้จะเป็นเอกสารลับของทางราชการเมืองฮ่องกงก็ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามมิให้รับฟัง ทั้งเป็นกรณีที่ไม่สามารถนำต้นฉบับมาได้โดยประการอื่นและเท่ากับศาลภาษีอากรกลางได้อนุญาตให้นำสำเนาเอกสารมาสืบได้แล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(2) แม้จะเป็นภาพถ่ายสำเนาเอกสารที่ไม่มีผู้ลงชื่อรับรองสำเนาถูกต้องก็ตามก็รับฟังเอกสารดังกล่าวประกอบพยานบุคคลได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1862/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาภาษีอากร: ราคาที่สำแดงตามใบขนสินค้าเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดหรือไม่
โจทก์นำสินค้าประเภทอะไหล่รถจักรยานยนต์เข้ามาในราชอาณาจักรระหว่างเดือน มกราคมถึง เดือน กรกฎาคม 2529 และได้ สำแดงราคาสินค้าขณะนำเข้าตรง ตาม บัญชีที่ซื้อ สินค้ามาดังนี้น่าเชื่อว่าราคาสินค้าที่โจทก์สำแดงไว้ เพื่อเสียภาษีอากรตามใบขนส่งสินค้านั้นเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด ส่วนราคาที่บริษัทผู้ผลิตเสนอขายสินค้าประเภทเดียว กันทั่วโลก จะนำมาเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดมิได้ เพราะภาวะการตลาดของประเทศต่าง ๆ ไม่เหมือนกัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 476/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียภาษีศุลกากรตามพิกัดอัตรา ณ เวลาออกใบขนสินค้า และผลของการเปลี่ยนแปลงพิกัดอัตราในภายหลัง
เมื่อผู้ส่งของออกนอกราชอาณาจักรได้ยื่นใบส่งสินค้าโดยถูกต้อง และได้เสียค่าภาษีศุลกากรตามพิกัดอัตราในเวลาออกใบขนสินค้านั้นเสร็จแล้ว หากเรือบันทุกของยังไม่ได้ออกเดินทางได้มีการประกาศใช้พิกัดอัตราศุลกากรใหม่ พนักงานเจ้าหน้าที่หามีอำนาจที่จะเพิกถอนใบขนสินค้าที่ออกไปโดยครบถ้วนถูกต้องแล้วนั้นไม่ เมื่อใบขนสินค้ายังคงใช้ได้อยู่ พนักงานเจ้าหน้าที่ก็ไม่มีทางเรียกเก็บค่าภาษีใหม่ได้แต่ประการใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 476/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียภาษีศุลกากร: พิกัดอัตราใหม่ไม่มีผลย้อนหลัง ใบขนสินค้าถูกต้องแล้วเรียกเก็บเพิ่มไม่ได้
เมื่อผู้ส่งของออกนอกราชอาณาจักรได้ยื่นใบส่งสินค้าโดยถูกต้องและได้เสียค่าภาษีศุลกากรตามพิกัดอัตราในเวลาออกใบขนสินค้านั้นเสร็จแล้วหากเรือบรรทุกของยังไม่ได้ออกเดินทางได้มีการประกาศใช้พิกัดอัตราศุลกากรใหม่ พนักงานเจ้าหน้าที่หามีอำนาจที่จะเพิกถอนใบขนสินค้าที่ออกไปโดยครบถ้วนถูกต้องแล้วนั้นไม่ เมื่อใบขนสินค้ายังคงใช้ได้อยู่ พนักงานเจ้าหน้าที่ก็ไม่มีทางเรียกเก็บค่าภาษีใหม่ได้แต่ประการใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1393-1394/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระภาษีขาออกสำเร็จเด็ดขาดเมื่อออกใบขนสินค้า แม้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีภายหลัง
ตามพระราชบัญญัติศุลกากร 2486 มาตรา 10 กำหนดเวลาชำระหนี้ค่าภาษีของผู้ส่งของออกต้องถือว่าตกอยู่ในขณะที่พนักงานเจ้าหน้าที่ออกใบขนสินค้าให้
(อ้างฎีกา 476/2492)
ใบขนสินค้านั้น กรมศุลกากรออกให้แก่ผู้ขนส่งสินค้าเมื่อชำระค่าภาษี วิธีการต่อมาก็เป็นแต่เพียงการที่โจทก์ต้องนำใบขนไปให้เจ้าพนักงานของกรมศุลกากรตรวจสอบกับสินค้าว่าตรงตามใบขนนั้นหรือไม่ แล้วควบคุมสินค้านั้นไปจนถึงท่าออกเรือ เพื่อป้องกันการสับเปลี่ยนเพิ่มเติมสินค้านั้นเท่านั้น กรมศุลกากรหามีอำนาจที่จะเพิกถอนใบขนที่ได้ออกให้แล้วนั้นไม่.
โจทก์ผู้ขนส่งสินค้าลงนามในบันทึกหลังใบขนสินค้าขาออกว่า "ถ้าคำนวณตามพิกัดอัตราที่ใช้อยู่ในวันที่ 7/5/89 ข้าพเจ้าได้ชำระเงินเพิ่มเติมอีก" นั้นหาใช่เป็นการรับสภาพหนี้ไม่.
(อ้างฎีกา 476/2492)
ใบขนสินค้านั้น กรมศุลกากรออกให้แก่ผู้ขนส่งสินค้าเมื่อชำระค่าภาษี วิธีการต่อมาก็เป็นแต่เพียงการที่โจทก์ต้องนำใบขนไปให้เจ้าพนักงานของกรมศุลกากรตรวจสอบกับสินค้าว่าตรงตามใบขนนั้นหรือไม่ แล้วควบคุมสินค้านั้นไปจนถึงท่าออกเรือ เพื่อป้องกันการสับเปลี่ยนเพิ่มเติมสินค้านั้นเท่านั้น กรมศุลกากรหามีอำนาจที่จะเพิกถอนใบขนที่ได้ออกให้แล้วนั้นไม่.
โจทก์ผู้ขนส่งสินค้าลงนามในบันทึกหลังใบขนสินค้าขาออกว่า "ถ้าคำนวณตามพิกัดอัตราที่ใช้อยู่ในวันที่ 7/5/89 ข้าพเจ้าได้ชำระเงินเพิ่มเติมอีก" นั้นหาใช่เป็นการรับสภาพหนี้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1393-1394/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระภาษีศุลกากรเสร็จเด็ดขาดเมื่อออกใบขนสินค้า แม้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีภายหลัง
ตามพระราชบัญญัติศุลกากร 2486 มาตรา 10 กำหนดเวลาชำระหนี้ค่าภาษีของผู้ส่งของออกต้องถือว่าตกอยู่ในขณะที่พนักงานเจ้าหน้าที่ออกใบขนสินค้าให้ (อ้างฎีกา 476/2492)
ใบขนสินค้านั้น กรมศุลกากรออกให้แก่ผู้ขนส่งสินค้าเมื่อชำระค่าภาษี วิธีการต่อมาก็เป็นแต่เพียงการที่โจทก์ต้องนำใบขนไปให้เจ้าพนักงานของกรมศุลกากรตรวจสอบกับสินค้าว่าตรงตามใบขนนั้นหรือไม่ แล้วควบคุมสินค้านั้นไปจนถึงท่าออกเรือ เพื่อป้องกันการสับเปลี่ยนเพิ่มเติมสินค้านั้นเท่านั้น กรมศุลกากรหามีอำนาจที่จะเพิกถอนใบขนที่ได้ออกให้แล้วนั้นไม่
โจทก์ผู้ขนส่งสินค้าลงนามในบันทึกหลังใบขนสินค้าขาออกว่า"ถ้าคำนวณตามพิกัดอัตราที่ใช้อยู่ในวันที่ 7/5/89ข้าพเจ้าได้ชำระเงินเพิ่มเติมอีก" นั้นหาใช่เป็นการรับสภาพหนี้ไม่
ใบขนสินค้านั้น กรมศุลกากรออกให้แก่ผู้ขนส่งสินค้าเมื่อชำระค่าภาษี วิธีการต่อมาก็เป็นแต่เพียงการที่โจทก์ต้องนำใบขนไปให้เจ้าพนักงานของกรมศุลกากรตรวจสอบกับสินค้าว่าตรงตามใบขนนั้นหรือไม่ แล้วควบคุมสินค้านั้นไปจนถึงท่าออกเรือ เพื่อป้องกันการสับเปลี่ยนเพิ่มเติมสินค้านั้นเท่านั้น กรมศุลกากรหามีอำนาจที่จะเพิกถอนใบขนที่ได้ออกให้แล้วนั้นไม่
โจทก์ผู้ขนส่งสินค้าลงนามในบันทึกหลังใบขนสินค้าขาออกว่า"ถ้าคำนวณตามพิกัดอัตราที่ใช้อยู่ในวันที่ 7/5/89ข้าพเจ้าได้ชำระเงินเพิ่มเติมอีก" นั้นหาใช่เป็นการรับสภาพหนี้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1323/2479
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนยื่นใบขนสินค้าเท็จ มีความผิดเช่นเจ้าของสินค้า และศาลจำกัดขอบเขตการบังคับคดีตามคำขอ
ตัวแทนเจ้าของดินค้ายื่นใบขนสินค้าเท็จต้องมีผิดเช่นเดียวกับเป็นเจ้าของสินค้าอันแท้จริง ประมวลวิธีพิจารณาอาญา ม.192 ฟ้อง ตัดสิน โจทก์ฟ้องขอให้ริบสินค้าอย่างเดียวศาลจะบังคับให้จำเลยทำใบขนสินค้าไปขอเสียค่าภาษีใหม่ไม่ได้ เพราะเป็นการเกินคำขอ สินค้าซึ่งเสียภาษีผิดประเภทซึ่งเจ้าพนักงานเก็บมาเป็นของกลางนั้น จะควรคืนให้เจ้าของหรือไม่ ศาลไม่วินิจฉัยถึง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5654/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของตัวแทนดำเนินการพิธีการศุลกากรในฐานะผู้นำเข้าเมื่อใบขนสินค้าลงวันที่หลังผู้มอบอำนาจเสียชีวิต
ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 2 คำว่า "ผู้นำของเข้า" หมายความรวมทั้งและใช้ตลอดถึงเจ้าของหรือบุคคลอื่นซึ่งเป็นผู้ครอบครองนี้มีส่วนได้เสียชั่วขณะหนึ่งในของใด ๆ นับแต่เวลาที่นำของนั้นเข้ามาจนถึงเวลาที่ได้ส่งมอบให้ไปโดยถูกต้องพ้นจากความรักษาของพนักงานศุลกากร และคำว่า "ผู้ส่งของออก" ให้มีความหมายเป็นทำนองเดียวกันโดยอนุโลม และ ป.รัษฎากร มาตรา 77/1 (11) บัญญัติว่า "ผู้นำเข้า" หมายความว่า ผู้ประกอบการหรือบุคคลอื่นซึ่งนำเข้า ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ฮ. ถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2547 แต่ใบขนสินค้าพิพาททั้ง 3 ฉบับ ระบุว่าวันนำเข้าสินค้าซึ่งเป็นวันหลังจาก ฮ. ถึงแก่ความตายไปแล้ว เมื่อจำเลยเป็นผู้ลงชื่อในใบขนสินค้าพิพาททั้ง 3 ฉบับ ในฐานะผู้ผ่านบัตรพิธีศุลกากร ประกอบกับตามเหตุผลประกอบคำอุทธรณ์ของจำเลยซึ่งจำเลยรับว่าเป็นผู้ดำเนินการพิธีการทางศุลกากรและตรวจปล่อย กรณีจึงถือว่าจำเลยเป็นผู้มีส่วนได้เสียชั่วขณะหนึ่งในของที่นำเข้านับแต่เวลาที่นำของนั้นเข้ามาจนถึงเวลาที่ได้ส่งมอบให้ไปโดยถูกต้องพ้นจากความรักษาของพนักงานศุลกากร ตามพฤติการณ์แห่งคดีจึงถือว่าจำเลยเป็นผู้นำของเข้า