คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ใบลาออก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 885/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาลาออกสมาชิกสภาเทศบาลต้องมีขณะยื่นใบลาออก การลงชื่อล่วงหน้าโดยไม่มีเจตนาถือเป็นโมฆะ
การลาออกจากสมาชิกภาพแห่งสภาเทศบาลตาม พ.ร.บ.เทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 19 (3) ต้องเป็นกรณีที่สมาชิกสภาเทศบาลนั้นมีเจตนาจะลาออกในขณะที่ยื่นใบลาออกต่อผู้ว่าราชการจังหวัด การที่โจทก์ทั้งสามได้ลงลายมือชื่อในใบลาออกไว้ล่วงหน้าโดยโจทก์ทั้งสามไม่มีเจตนาจะลาออกในขณะลงลายมือชื่อและในขณะยื่นใบลาออกต่อจำเลย จึงไม่มีผลเป็นการลาออกจากสมาชิกภาพแห่งสภาเทศบาลตามบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4371/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจอนุมัติใบลาออกของผู้จัดการโรงงาน: การตีความระเบียบข้อบังคับและหลักการตีความ
การที่ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ได้ยื่นใบลาออกและผู้จัดการโรงงานลงลายมือชื่ออนุมัติแล้วนั้น ศาลแรงงานกลางมิได้ถือเอาตัวอย่างใบลาพยานเอกสารเป็นข้อวินิจฉัยในการรับฟัง ข้อเท็จจริงดังกล่าว หากแต่ศาลแรงงานกลางชั่งน้ำหนักคำเบิกความ ของพยานจำเลยกับคำเบิกความของตัวโจทก์โดยมิได้วินิจฉัยหรือ กล่าวพาดพิงถึงพยานเอกสารดังกล่าว คำวินิจฉัยของศาลแรงงานกลาง หาได้ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา93 ไม่
ระเบียบข้อบังคับว่าด้วยการลาออกมิได้กำหนดตัวผู้มีอำนาจหน้าที่อนุมัติใบลาออกไว้ชัดแจ้ง แต่ไม่อาจแปลจำกัดเพียงว่านอกจากกรรมการผู้จัดการผู้มีอำนาจหน้าที่กระทำการแทนจำเลยผู้เดียวเท่านั้นแล้ว ผู้อื่นใดหามีอำนาจที่จะอนุมัติอีกไม่เป็นการแปลเฉพาะข้อความตอนใดตอนหนึ่งอันไม่ต้องด้วยหลักการตีความ การตีความจักต้องตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์เทียบเคียงถึงข้อสัญญาและข้อตกลงอื่นๆ ประกอบด้วย และต้องตีความโดยนัยที่จะทำให้เป็นผลบังคับได้การเลิกจ้างตามระเบียบข้อบังคับของจำเลยมีข้อความเป็นทำนองเดียวกับประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯข้อ 47(1) ถึง (6) เป็นการเลิกจ้างในทางวินัย เป็นการลงโทษในสถานที่หนักที่สุดที่นายจ้างพึงกระทำต่อลูกจ้างได้นั้น ให้อำนาจผู้จัดการโรงงานไว้ ส่วนการลาออกโดยความสมัครใจ ซึ่งโดยปกติย่อมไม่มีผลร้ายแก่ลูกจ้างไม่มีประโยชน์และความจำเป็นประการใดที่จำเลยจะสงวนอำนาจเช่นว่านี้ไว้เป็นอำนาจโดยเฉพาะสำหรับกรรมการผู้จัดการผู้เดียวเท่านั้น ผู้จัดการโรงงานจึงมีอำนาจอนุมัติได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2571/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลดเกษียณและการเลิกจ้าง: การเขียนใบลาออกเพื่อปฏิบัติตามระเบียบมิใช่การลาออกแต่เป็นการเลิกจ้าง จึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชย
โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยและทำงานมาครบ 30 ปี ซึ่งตามระเบียบของจำเลยจะต้องถูกปลดเกษียณและทางปฏิบัติต้อง เขียนใบลาออกด้วย ดังนี้ การที่โจทก์เขียนใบลาออกในวันปลดเกษียณจึงเป็นเพียงกระทำให้สอดคล้องกับทางปฏิบัติของจำเลยเท่านั้น มิใช่เป็นการลาออก แต่เป็นการออกจากงานเพราะเกษียณอายุซึ่งเป็นการเลิกจ้าง จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2897/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหลังพักงานและอนุมัติใบลาออกย้อนหลัง ศาลสั่งชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยตั้งกรรมการสอบสวนโจทก์ ระหว่างสอบสวนโจทก์ยื่นใบลาออกจำเลยยังไม่อนุญาตเพราะการสอบสวนยังไม่เสร็จ หลังจากโจทก์ยื่นใบลาออก 5 เดือน จำเลยสั่งพักงานโจทก์และระงับการจ่ายเงินเดือนกับเงินอื่นใดของโจทก์ ต่อมาอีก 6 เดือน ก็ย้ายโจทก์ไปสำนักงานใหญ่ พฤติการณ์ดังนี้แสดงว่าจำเลยไม่ประสงค์จะให้โจทก์ลาออก หากแต่จะเอาตัวโจทก์ไว้สอบสวนหาความผิด ถ้าผิดก็จะลงโทษทางวินัย ใบลาออกของโจทก์จึงสิ้นผลโดยโจทก์ไม่จำต้องถอนใบลานั้น และเมื่อจำเลยมีคำสั่งลงโทษโจทก์ทางวินัยโดยตัดเงินเดือน 10% ของอัตราที่รอการพิจารณาไว้มีกำหนด 6 เดือน และในคำสั่งฉบับเดียวกันยังอนุญาตให้โจทก์ลาออกนับแต่วันที่จำเลยเริ่มตัดเงินเดือนโจทก์ คำสั่งนี้จึงขัดแย้งกันอยู่ในตัวเพราะหากโจทก์พ้นจากการเป็นลูกจ้างไปแล้วจำเลยจะลงโทษโจทก์ได้อย่างไร ดังนี้ การที่จำเลยมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ลาออกย้อนไปถึงวันพักงานจึงเป็นการเลิกจ้างโจทก์ในวันที่จำเลยมีคำสั่งนั่นเอง เมื่อความผิดของโจทก์มีเพียงถูกตัดเงินเดือน 10% จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ศาลมีอำนาจสั่งให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ได้ และจำเลยต้องจ่ายเงินประเภทต่าง ๆ ระหว่างที่โจทก์ถูกพักงานจนถึงเลิกจ้างด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2897/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหลังพักงานและอนุมัติใบลาออกย้อนหลัง ศาลมีอำนาจสั่งชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยตั้งกรรมการสอบสวนโจทก์ ระหว่างสอบสวนโจทก์ยื่นใบลาออกจำเลยยังไม่อนุญาตเพราะการสอบสวนยังไม่เสร็จ หลังจากโจทก์ยื่นใบลาออก 5 เดือนจำเลยสั่งพักงานโจทก์และระงับการจ่ายเงินเดือนกับเงินอื่นใดของโจทก์ ต่อมาอีก 6 เดือนก็ย้ายโจทก์ไปสำนักงานใหญ่ พฤติการณ์ดังนี้แสดงว่าจำเลยไม่ประสงค์จะให้โจทก์ลาออก หากแต่จะเอาตัวโจทก์ไว้สอบสวนหาความผิด ถ้าผิดก็จะลงโทษทางวินัย ใบลาออกของโจทก์จึงสิ้นผลโดยโจทก์ไม่จำต้องถอนใบลานั้น และเมื่อจำเลยมีคำสั่งลงโทษโจทก์ทางวินัยโดยตัดเงินเดือน 10% ของอัตราที่รอการพิจารณาไว้มีกำหนด 6 เดือน และในคำสั่งฉบับเดียวกันยังอนุญาตให้โจทก์ลาออกนับแต่วันที่จำเลยเริ่มตัดเงินเดือนโจทก์ คำสั่งนี้จึงขัดแย้งกันอยู่ในตัวเพราะหากโจทก์พ้นจากการเป็นลูกจ้างไปแล้วจำเลยจะลงโทษโจทก์ได้อย่างไร ดังนี้ การที่จำเลยมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ลาออกย้อนไปถึงวันพักงานจึงเป็นการเลิกจ้างโจทก์ในวันที่จำเลยมีคำสั่งนั่นเอง เมื่อความผิดของโจทก์มีเพียงถูกตัดเงินเดือน 10% จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ศาลมีอำนาจสั่งให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ได้ และจำเลยต้องจ่ายเงินประเภทต่างๆ ระหว่างที่โจทก์ถูกพักงานจนถึงเลิกจ้างด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1649/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ใบลาออกไม่จำเป็นต้องลงวันที่ให้สมบูรณ์ การลาออกด้วยความสมัครใจ มิใช่การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
ใบลาออกจากงานไม่มีกฎหมายบังคับว่าถ้าไม่ลงวันที่แล้วจะเป็นใบลาที่ไม่สมบูรณ์ เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างรับว่าได้ยื่นใบลาออกจริง ก็ย่อมเป็นการลาออกที่สมบูรณ์มิใช่นายจ้างให้โจทก์ออกจากงานโดยไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1649/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ใบลาออกสมบูรณ์ แม้ไม่มีวันที่ ยื่นจริง ถือลาออกโดยสมัครใจ ไม่เป็นการเลิกจ้าง
ใบลาออกจากงานไม่มีกฎหมายบังคับว่าถ้าไม่ลงวันที่แล้วจะเป็นใบลาที่ไม่สมบูรณ์ เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างรับว่าได้ยื่นใบลาออกจริง ก็ย่อมเป็นการลาออกที่สมบูรณ์มิใช่นายจ้างให้โจทก์ออกจากงานโดยไม่เป็นธรรม