คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ใบสำคัญประจำตัว

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 33 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8087/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลปกครอง: คดีเจ้าหน้าที่รัฐปฏิเสธออกใบแทนใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ถือเป็นการโต้แย้งสิทธิและกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำฟ้องของโจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่ยอมดำเนินการออกใบแทนใบสำคัญประจำตัวให้แก่โจทก์โดยไม่ถูกต้อง เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองฯ มาตรา 9 (1) แม้โจทก์จะกล่าวในคำฟ้องว่าการกระทำของจำเลยเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ แทนที่จะกล่าวในคำฟ้องว่าการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ก็มีความหมายอย่างเดียวกันเพราะการกล่าวอ้างว่าการกระทำของจำเลยเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ก็คือการกล่าวอ้างว่าจำเลยกระทำผิดหน้าที่ต่อโจทก์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายนั่นเอง คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 989/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเลยการพิจารณาคำร้องขอใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ถือเป็นการโต้แย้งสิทธิและฟ้องร้องได้
โจทก์ยื่นคำร้องขอใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวต่อจำเลยซึ่งเป็นนายทะเบียนคนต่างด้าว เวลาล่วงเลยมา 2 ปีเศษ แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้พิจารณาคำร้องของโจทก์ตามอำนาจหน้าที่แต่อย่างใด การที่จำเลยจะต้องส่งคำร้องไปให้กองทะเบียนคนต่างด้าวและภาษีอากรตรวจสอบก่อนตามระเบียบ ก็เป็นเรื่องภายในของจำเลย การปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไปถึง 2 ปีเศษ โดยไม่ได้ดำเนินการอย่างใดในเรื่องนี้นั้น เป็นการชี้ชัดให้เห็นถึงความละเลยเพิกเฉยไม่ติดตามดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ ก่อให้เกิดความทุกข์ร้อนและเสียหายแก่โจทก์ ถือได้โดยปริยายว่าจำเลยปฏิเสธที่จะออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้โจทก์ เป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์มีอำนาจฟ้อง
ตามมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.การทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ.2493เป็นเพียงบทบังคับให้ผู้เสียสัญชาติไทยต้องไปร้องขอใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวจากนายทะเบียนท้องที่ภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ได้รู้หรือควรรู้ว่าตนได้เสียไปซึ่งสัญชาติไทย มิฉะนั้นจะต้องมีความผิดและต้องรับโทษทางอาญาตามมาตรา 21 เท่านั้นการร้องขอเมื่อพ้นระยะเวลาดังกล่าวมิได้ทำให้เสียสิทธิอันมีอยู่แล้วแต่อย่างใด โจทก์จึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1559-1563/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการขอใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว แม้พ้นกำหนด 30 วันจากวันที่เสียสัญชาติไทย นายทะเบียนต้องพิจารณาออกใบสำคัญ
จำเลยซึ่งเป็น นายทะเบียนคนต่างด้าว มีหน้าที่พิจารณาและออก ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวในกรณีที่คำขอของโจทก์เข้าหลักเกณฑ์ตามกฎหมายเมื่อมิได้ออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวดังกล่าวทั้งที่โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอต่อจำเลยนับถึงวันฟ้องเป็นเวลา2ปีเศษถือว่าจำเลยปฏิเสธไม่ออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้เป็นการ โต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา55แล้วจำเลยจะอ้างว่ากองทะเบียนคนต่างด้าวและภาษีอากรยังไม่แจ้งให้จำเลยออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวแก่โจทก์จึงออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวไม่ได้เพื่อที่จะไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหาได้ไม่เพราะกองทะเบียนคนต่างด้าวและภาษีอากรมิใช่นายทะเบียนผู้มีอำนาจหน้าที่ออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว พระราชบัญญัติ การทะเบียนคนต่างด้าวฯ มาตรา8,21บังคับให้คน สัญชาติไทย ผู้เสียไปซึ่งสัญชาติไทยกลายเป็น คนต่างด้าวต้องไปขอใบสำคัญประจำตัวจากนายทะเบียนในท้องที่ที่ตนอยู่ภายใน30วันนับแต่วันที่ตนได้รู้หรือควรรู้ว่าตนได้เสียไปซึ่งสัญชาติไทยมิฉะนั้นย่อมเป็นความผิดมิใช่เป็นบทบัญญัติจำกัดสิทธิของบุคคลดังกล่าวว่าหากไม่ไปยื่นคำขอภายในกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วจะไม่มีสิทธิขอให้ออก ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 365/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ในการขอใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว แม้พ้นกำหนดตามกฎหมาย
แม้การที่โจทก์ซึ่งเป็นคนต่างด้าวต้องมีใบสำคัญประจำตัวตามบทบัญญัติของ พ.ร.บ.การทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ.2493 ไม่ได้ยื่นคำร้องขอใบสำคัญประจำตัวต่อจำเลยภายในกำหนดเวลา 30 วัน นับแต่วันที่ได้รู้หรือควรรู้ว่าโจทก์ได้เสียไปซึ่งสัญชาติไทยตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 8 ของพระราชบัญญัติการทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ.2493 อันทำให้โจทก์ต้องได้รับโทษตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 21 ของพระราชบัญญัตินั้นแล้วก็ตาม แต่โจทก์ก็ยังมีหน้าที่ต้องดำเนินการเพื่อให้โจทก์มีใบสำคัญประจำตัวต่อไป แม้จะพ้นกำหนด 30 วัน ดังกล่าว มิฉะนั้นแล้วโจทก์ย่อมมีความผิดตามมาตรา 20 ของ พ.ร.บ.ดังกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิให้จำเลยออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้โจทก์ได้
(เทียบ ฎ.3455-3458/2536)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 365/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการขอใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว แม้พ้นกำหนด 30 วันหลังเสียสัญชาติไทย ยังคงมีสิทธิ
แม้การที่โจทก์ซึ่งเป็นคนต่างด้าวต้องมีใบสำคัญประจำตัวตามบทบัญญัติของ พระราชบัญญัติการทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ. 2493 ไม่ได้ยื่นคำร้องขอใบสำคัญประจำตัวต่อจำเลยภายในกำหนดเวลา 30 วัน นับแต่วันที่ได้รู้หรือควรรู้ว่าโจทก์ได้เสียไปซึ่งสัญชาติไทยตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 8ของพระราชบัญญัติการทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ.2493 อันทำให้โจทก์ต้องได้รับโทษตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 21ของพระราชบัญญัตินั้นแล้วก็ตาม แต่โจทก์ก็ยังมีหน้าที่ต้องดำเนินการเพื่อให้โจทก์มีใบสำคัญประจำตัวต่อไปแม้จะพ้นกำหนด 30 วัน ดังกล่าว มิฉะนั้นแล้วโจทก์ย่อมมีความผิดตามมาตรา 20 ของ พระราชบัญญัติดังกล่าวโจทก์จึงมีสิทธิให้จำเลยออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้โจทก์ได้(เทียบ ฎ.3454-3458/2536)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 365/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการขอใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว แม้พ้นกำหนด 30 วันจากวันที่ทราบการเสียสัญชาติไทย
แม้โจทก์ไม่ได้ยื่นคำร้องขอใบสำคัญประจำตัวต่อจำเลยภายในกำหนด30 วัน นับแต่วันที่ได้รู้หรือควรรู้ว่าโจทก์ได้เสียไปซึ่งสัญชาติไทยตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 8 ของพระราชบัญญัติการทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ. 2493 อันทำให้โจทก์ต้องได้รับโทษตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 21 ก็ตาม แต่โจทก์ก็ยังมีหน้าที่ต้องดำเนินการเพื่อให้โจทก์มีใบสำคัญประจำตัวต่อไป เพราะหากโจทก์ไม่มีใบสำคัญประจำตัวแล้วโจทก์ย่อมมีความผิดตามมาตรา 20 ของพระราชบัญญัติ ดังกล่าว ดังนั้น แม้พ้นกำหนด 30 วันนับแต่วันที่โจทก์ได้รู้หรือควรรู้ว่าโจทก์ได้เสียไปซึ่งสัญชาติไทย โจทก์ก็ยังมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้จำเลยออกใบสำคัญประจำตัวคือหนังสือประจำตัวคนต่างด้าวให้แก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3455/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการได้รับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวขึ้นอยู่กับหลักฐานของผู้ขอ หากหลักฐานไม่เพียงพอ เจ้าหน้าที่ไม่อาจออกได้
เมื่อโจทก์ทั้งสี่ยื่นคำร้องขอรับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวต่อจำเลยเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2529 นายทะเบียนคนต่างด้าวอำเภอวานรนิวาสในขณะนั้นก็ได้ทำบันทึกถึงผู้กำกับการกองทะเบียนคนต่างด้าวและภาษีอากรในวันรุ่งขึ้นพร้อมกับส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องไปเพื่อประกอบการพิจารณาดำเนินการต่อไปไม่ปรากฎว่านายทะเบียนได้โต้แย้งหรือละเว้นที่จะปฏิบัติหน้าที่แต่อย่างใดนายทะเบียนปฏิบัติหน้าที่ตามหนังสือของกองทะเบียนคนต่างด้าวและภาษีอากรที่มท.0613.01/2792 ลงวันที่ 10 กันยายน 2528 และบันทึกข้อความของกระทรวง-มหาดไทยที่ มท.0202/154 ลงวันที่ 12 มีนาคม 2530 กล่าวคือ เมื่อรับเรื่องแล้วได้ส่งไปให้กองกำกับการกองทะเบียนคนต่างด้าวและภาษีอากรพิจารณา และต่อมากรมตำรวจได้พิจารณาเสร็จสิ้นแล้วมีความเห็นว่า หลักฐานไม่เพียงพอให้เชื่อได้ว่าโจทก์ทั้งสี่เกิดในราชอาณาจักรไทย และเคยมีสัญชาติไทยมาก่อนแล้วถูกถอนสัญชาติไทย จึงให้ระงับเรื่องไว้ก่อน ได้แจ้งให้จำเลยทราบเพื่อแจ้งให้โจทก์ทั้งสี่หาหลักฐานเพิ่มเติมเพื่อพิจารณาใหม่อีกครั้งหนึ่ง จำเลยได้มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทั้งสี่ทราบ โจทก์ทั้งสี่ทราบแล้วก็ไม่ส่งเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมเพื่อให้กรมตำรวจพิจารณาต่อไป ดังนี้ยังถือไม่ได้ว่า จำเลยได้ปฏิเสธไม่ออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้โจทก์ทั้งสี่อันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสี่ ที่จำเลยไม่อาจออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้แก่โจทก์ทั้งสี่ได้นั้น เกิดจากความบกพร่องของโจทก์ทั้งสี่ที่ไม่ส่งเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมเพื่อให้กรมตำรวจสอบพิจารณาใหม่โจทก์ทั้งสี่จึงยังไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย
(เทียบ ฎ.365/2537)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2162/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิเสธออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวโดยนายทะเบียน ถือเป็นการโต้แย้งสิทธิที่ฟ้องร้องได้
กำหนดเวลาในมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติการทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ.2493 มีวัตถุประสงค์ให้ผู้เสียไปซึ่งสัญชาติไทยมีหน้าที่ต้องไปทำการร้องขอต่อนายทะเบียนคนต่างด้าวท้องที่ ให้ออกใบสำคัญประจำตัวให้เพื่อแสดงว่าตนเป็นบุคคลต่างด้าว มิใช่เป็นคนสัญชาติไทยภายในเวลา 30 วัน ทั้งนี้เพื่อมิให้ผู้ซึ่งเสียสัญชาติไทยเพิกเฉยหรือละเลย มิฉะนั้นจะมีความผิดและถูกลงโทษตามมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน หาใช่เป็นการกำหนดเรื่องอายุความเสียสิทธิอันจะทำให้โจทก์หมดสิทธิหรือเสียสิทธิที่จะขอใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
จำเลยรับคำร้องขอพร้อมทั้งบันทึกถ้อยคำของโจทก์ไว้ เมื่อถึงเวลาที่จำเลยนัดให้โจทก์มาฟังผล จำเลยก็ไม่ได้ออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้โจทก์ จนล่วงเลยกำหนดเวลาที่จำเลยนัดให้โจทก์มาฟังผลนานถึง 3 ปี จำเลยก็ยังมิได้จัดการออกใบสำคัญดังกล่าวให้โจทก์ แม้จำเลยอ้างว่าได้ส่งเรื่องให้ผู้อื่นดำเนินการตามระเบียบของกรมตำรวจ ก็เป็นเรื่องการดำเนินการภายในของจำเลยซึ่งไม่ใช่กฎหมาย จะยกขึ้นมาอ้างเป็นเหตุขัดข้องหรือต่อสู้ยันกับโจทก์หาได้ไม่ และตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องแต่งตั้งนายทะเบียนตามพระราชบัญญัติการทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ.2493ประกาศ ณ วันที่ 12 ธันวาคม 2493 ข้อ 3 ระบุว่า ในเขตจังหวัดอื่นนอกจากจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี ให้ผู้บังคับกองตำรวจภูธรอำเภอหรือหัวหน้าสถานีตำรวจภูธรอำเภอเป็นนายทะเบียนตามประกาศดังกล่าว จำเลยจึงมีอำนาจโดยตรงอยู่แล้วที่ต้องออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้แก่โจทก์ เมื่อจำเลยปฏิเสธไม่ยอมออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้โจทก์จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2808-2812/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งผลการพิจารณาคำร้องขอใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ไม่ถือเป็นการโต้แย้งสิทธิ ทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์กล่าวในคำฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ปฏิบัติราชการแทนจำเลยที่ 1ได้รับคำร้อง ของ โจทก์ทั้งห้าไว้ ต่อมาจำเลยที่ 2 แจ้งแก่ น.ทนายความผู้ได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ทั้งห้าว่า ยังไม่สามารถออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้แก่โจทก์ทั้งห้าได้ เนื่องจากจะต้องส่งเรื่องไปให้กองทะเบียนคนต่างด้าวและภาษีอากรพิจารณาก่อนได้ผลประการใดจะแจ้งให้ทราบต่อไป ดังนี้ แสดงว่า จำเลยที่ 2ได้ปฏิบัติตามหน้าที่โดยถูกต้องแล้ว แต่ยังไม่อาจดำเนินการให้เป็นไปตามความประสงค์ของโจทก์ทั้งห้าในทันทีได้ ก็เพราะกำลังรอการพิจารณาสั่งการจากทางราชการตามสายงานการบังคับบัญชาก่อนดังนี้ ตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งห้าก็ปรากฏแล้วว่า จำเลยทั้งสองมิได้ปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือได้กระทำการอย่างใดอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งห้า โจทก์ทั้งห้าจึงไม่มีอำนาจฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4145/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญชาติไทยและการขอใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวหลังถูกถอนสัญชาติ
โจทก์เกิดในราชอาณาจักรไทยจึงมีสัญชาติไทยตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7(3) แม้โจทก์จะใช้สัญชาติของบิดาโดยขอบัตรประจำตัวคนญวนอพยพ แต่โจทก์ก็ยังคงมีสัญชาติไทย เพราะยังมิได้มีการถอนสัญชาติตามมาตรา 17 วรรคท้าย ต่อมาโจทก์ถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13ธันวาคม 2514 เมื่อโจทก์เสียสัญชาติไทยจึงต้องไปขอใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวจากนายทะเบียนท้องที่ตามพระราชบัญญัติการทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ. 2493 มาตรา 8 จำเลยซึ่งเป็นนายทะเบียนท้องที่จึงมีหน้าที่ต้องออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้โจทก์
of 4