พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14590/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนใบแจ้งคำชี้ขาดภาษีที่ไม่มีเหตุผล และค่าขึ้นศาลที่คำนวณจากจำนวนทุนทรัพย์ที่ไม่ถูกต้อง
ตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 30 ระบุว่า การแจ้งคำชี้ขาดไปยังผู้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินให้ทำเป็นลายลักษณ์อักษรเท่านั้น แต่มิได้ระบุว่าจะต้องทำตามแบบพิมพ์ลักษณะใด เมื่อพิจารณาหนังสือของจำเลยที่ 1 เป็นเรื่องผลการพิจารณาคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินใหม่ถึงผู้จัดการโจทก์ โดยอ้างถึงคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินใหม่ มีรายละเอียดว่า ตามที่โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินนั้น คณะกรรมการพิจารณาคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ในการประชุมครั้งที่ 1/2551 มีมติให้ใช้อัตราค่าภาษีต่อตารางเมตรตามที่จำเลยที่ 1 ใช้ในการประเมินและจัดเก็บภาษีของโจทก์ในปี 2548 เป็นเกณฑ์ประเมินและจัดเก็บภาษีในปี 2549 และระบุจำนวนภาษีโรงเรือนและที่ดินที่โจทก์จะต้องชำระแก่จำเลยที่ 1 หนังสือลงนามโดยจำเลยที่ 2 ในฐานะนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางแก้ว ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจชี้ขาดคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ ข้อความในหนังสือดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า จำเลยที่ 2 ได้พิจารณาคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ของโจทก์แล้ว และถือได้ว่าเป็นใบแจ้งคำชี้ขาดที่จำเลยที่ 2 แจ้งไปยังโจทก์เป็นลายลักษณ์อักษรตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6294/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ใบแจ้งคำชี้ขาดต้องมีเหตุผลประกอบ หากไม่มีถือว่าไม่ชอบตามกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
โจทก์มีหน้าที่ต้องกรอกรายการในแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 20 แต่ข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงเบื้องต้นสำหรับให้เทศบาลเมืองจำเลยที่ 1 กำหนดประเภทแห่งทรัพย์สินเพื่อประเมินค่ารายปีและค่าภาษีที่จะต้องเสียเท่านั้น เมื่อใบแจ้งคำชี้ขาดไม่มีเหตุผลประกอบด้วยข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ ข้อกฎหมายที่อ้างอิง ข้อพิจารณา และข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจที่ชัดแจ้ง โจทก์ย่อมไม่ทราบเหตุผลในการทำคำชี้ขาดได้ ใบแจ้งคำชี้ขาดจึงไม่ชอบด้วยมาตรา 37 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 แต่เนื่องจากกรณีดังกล่าวเป็นการกระทำที่ไม่ชอบในรูปแบบของใบแจ้งคำชี้ขาดที่ต้องจัดให้มีเหตุผลไว้ด้วย จำเลยที่ 1 จึงต้องจัดให้มีเหตุผลและแจ้งให้โจทก์ทราบต่อไป