พบผลลัพธ์ทั้งหมด 21 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8745/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากทนายความมิได้ยื่นใบแต่งทนาย ศาลฎีกาย้อนสำนวนเพื่อพิจารณาใหม่ตามลำดับชั้น
คำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ในคดีแพ่ง มี ก. ทนายความลงชื่อเป็นผู้อุทธรณ์แต่ ก. มิได้ยื่นใบแต่งทนายความให้ ก. มีอำนาจดำเนินคดีในชั้นอุทธรณ์ย่อมเป็นคำฟ้องอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ในชั้นตรวจรับคำคู่ความศาลชั้นต้นผู้ตรวจชอบที่จะสั่งแก้ไขเสียให้ถูกต้องหรือไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 แต่ศาลชั้นต้นกลับรับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้ดำเนินการต่อมา จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนในเรื่องการเขียนและยื่นคำคู่ความ ศาลฎีกามีอำนาจสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการแก้ไขตามที่กล่าวได้ แต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้ฎีกาและแต่งตั้ง ก. เป็นทนายความของโจทก์และให้มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาแล้ว ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องดำเนินการในเรื่องนี้อีก แต่เห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาคดีนี้ใหม่เพื่อเป็นไปตามลำดับชั้นศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4608/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาอุทธรณ์: ผลของใบแต่งทนายไม่สมบูรณ์และการใช้ดุลพินิจศาลตาม ป.วิ.พ.มาตรา 23
หลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว ทนายความจำเลยที่ 2และที่ 3 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้น พร้อมทั้งยื่นใบแต่งทนายความลงวันที่เดียวกันกับคำร้องระบุจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้แต่งทนายความและมีจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 3 ลงลายมือชื่อในช่องผู้แต่งทนายความ แต่มิได้ประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 3 ให้ถูกต้องตามที่จดทะเบียนไว้ ศาลชั้นต้นรับใบแต่งทนายความและอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ตามคำร้อง หลังจากนั้นมีการยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์อีก 1 ครั้ง ต่อมาจำเลยทั้งสามยื่นอุทธรณ์เป็นฉบับเดียวกันภายในกำหนดเวลาที่ได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้น โดย ส.ทนายความเป็นผู้เรียงอุทธรณ์ พร้อมทั้งยื่นใบแต่งทนายความ2 ฉบับ ลงวันที่เดียวกันกับอุทธรณ์ ฉบับหนึ่งมีจำเลยที่ 3 เป็นผู้แต่งทนายความโดยมีจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อในช่องผู้แต่งทนายความและประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 3 ส่วนอีกฉบับหนึ่ง จำเลยที่ 1 เป็นผู้แต่งทนายความและลงลายมือชื่อในช่องผู้แต่งทนายความ ดังนี้ ในส่วนของจำเลยที่ 3 ต้องถือว่าจำเลยที่ 3ได้ยื่นคำร้องพร้อมกับจำเลยที่ 2 ขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ก่อนครบกำหนดอุทธรณ์และได้ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาที่ได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นเพียงแต่ใบแต่งทนายความของจำเลยที่ 3 ฉบับแรกไม่ถูกต้องตามข้อบังคับของจำเลยที่ 3ที่ได้จดทะเบียนไว้ แต่จำเลยที่ 3 ได้แก้ไขข้อบกพร่องโดยยื่นใบแต่งทนายความฉบับใหม่ต่อศาลชั้นต้นพร้อมกับยื่นอุทธรณ์และศาลชั้นต้นรับใบแต่งทนายความฉบับใหม่ไว้แล้ว คำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 จึงมีผลสมบูรณ์และผูกพันจำเลยที่ 3 มาแต่เริ่มแรก ศาลอุทธรณ์จึงไม่จำเป็นต้องสั่งขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้แก่จำเลยที่ 3 อีก
แม้จำเลยที่ 1 จะไม่เคยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์มาก่อน แต่การขยายระยะเวลาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 23 ศาลมีอำนาจสั่งเองได้ โดยคู่ความไม่จำเป็นต้องร้องขอ และจะกระทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษกับมีคำสั่งก่อนสิ้นระยะเวลานั้น เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย ซึ่งเหตุสุดวิสัยดังกล่าวหมายถึงเหตุที่ทำให้ศาลไม่สามารถมีคำสั่งหรือคู่ความไม่สามารถมีคำขอขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายหรือศาลกำหนดไว้ ฉะนั้น หากมีพฤติการณ์นอกเหนือที่ศาลไม่อาจมีคำสั่งขยายเวลาให้ก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ในการดำเนินการกระบวนพิจารณาย่อมนับได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย
คดีนี้ศาลอุทธรณ์ไม่อาจมีคำสั่งให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ก่อนครบกำหนดอุทธรณ์ได้ นับได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นสมควรศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้แก่จำเลยที่ 1 ภายในกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ยื่นอุทธรณ์ได้ตามป.วิ.พ.มาตรา 23 และ 246
แม้จำเลยที่ 1 จะไม่เคยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์มาก่อน แต่การขยายระยะเวลาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 23 ศาลมีอำนาจสั่งเองได้ โดยคู่ความไม่จำเป็นต้องร้องขอ และจะกระทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษกับมีคำสั่งก่อนสิ้นระยะเวลานั้น เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย ซึ่งเหตุสุดวิสัยดังกล่าวหมายถึงเหตุที่ทำให้ศาลไม่สามารถมีคำสั่งหรือคู่ความไม่สามารถมีคำขอขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายหรือศาลกำหนดไว้ ฉะนั้น หากมีพฤติการณ์นอกเหนือที่ศาลไม่อาจมีคำสั่งขยายเวลาให้ก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ในการดำเนินการกระบวนพิจารณาย่อมนับได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย
คดีนี้ศาลอุทธรณ์ไม่อาจมีคำสั่งให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ก่อนครบกำหนดอุทธรณ์ได้ นับได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นสมควรศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้แก่จำเลยที่ 1 ภายในกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ยื่นอุทธรณ์ได้ตามป.วิ.พ.มาตรา 23 และ 246
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 824/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายความในการยื่นอุทธรณ์: กรณีใบแต่งทนายความไม่ได้ระบุอำนาจ
โจทก์ยื่นอุทธรณ์โดยมีทนายความลงชื่อเป็นผู้อุทธรณ์แทนเมื่อใบแต่งทนายความไม่ได้ระบุให้ทนายความมีอำนาจอุทธรณ์ จึงเป็นกรณีที่ทนายความลงชื่อในอุทธรณ์โดยไม่มีอำนาจ อุทธรณ์ของโจทก์เป็นฟ้องอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย การยื่นอุทธรณ์ของทนายความมิใช่กระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบที่ศาลแรงงานจะมีอำนาจสั่งให้เพิกถอนทั้งหมดหรือบางส่วน หรือสั่งแก้ไขหรือมีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่เห็นสมควรดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 27 แห่งป.วิ.พ.ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 มาตรา 31 แต่เป็นกรณีที่ศาลแรงงานผู้ตรวจรับอุทธรณ์มีอำนาจที่จะสั่งให้โจทก์ทั้งสองแก้ไขอำนาจของทนายความผู้ยื่นอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา18 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 มาตรา 31 หรือมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3750/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายในการขอพิจารณาคดีใหม่ต้องระบุชัดเจนในใบแต่งทนายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 62
คำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยที่ลงชื่อโดยทนายจำเลยซึ่งมิได้ระบุให้มีอำนาจขอให้พิจารณาคดีใหม่ไว้ในใบแต่งทนายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 62 ไม่ชอบด้วยกฎหมายที่ศาลจะพึงรับไว้พิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2227/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจถอนฟ้องในชั้นอุทธรณ์และขอบเขตอำนาจทนายความตามใบแต่งทนาย
การถอนคำร้องขอถอนฟ้องในชั้นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์จะอนุญาตหรือไม่ก็ได้ แล้วแต่ศาลอุทธรณ์จะพิจารณาเห็นสมควร
ในคดีความผิดต่อส่วนตัว ใบแต่งทนายของโจทก์ระบุว่าให้ทนายความมีอำนาจว่าต่าง แก้ต่าง ถอนฟ้อง ประนีประนอมยอมความอุทธรณ์ ฎีกา ดังนี้ ทนายโจทก์มีอำนาจถอนฟ้องได้ก่อนคดีถึงที่สุด.
ในคดีความผิดต่อส่วนตัว ใบแต่งทนายของโจทก์ระบุว่าให้ทนายความมีอำนาจว่าต่าง แก้ต่าง ถอนฟ้อง ประนีประนอมยอมความอุทธรณ์ ฎีกา ดังนี้ ทนายโจทก์มีอำนาจถอนฟ้องได้ก่อนคดีถึงที่สุด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1099/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายจำกัด: การยินยอมผ่อนผันนอกศาลไม่ผูกพันคู่ความ จำหน่ายสิทธิต้องระบุในใบแต่ง
ทนายความที่คู่ความแต่งตั้งมีอำนาจว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ แทนคู่ความตามที่เห็นสมควรเพื่อรักษาผลประโยชน์ของคู่ความ แต่ถ้าดำเนินกระบวนพิจารณาใดไปในทางจำหน่ายสิทธิของคู่ความ จะต้องได้ระบุไว้ชัดเจนในใบแต่งทนายความของคู่ความนั้นเมื่อปรากฏว่าทนายโจทก์อนุญาตให้จำเลยออกจากห้องพิพาทหลังจากล่วงพ้นกำหนดตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความก็เป็น การกระทำกันนอกศาล มิใช่การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลทั้งโจทก์ มิได้รู้เห็นยินยอมด้วย จึงนอกเหนืออำนาจที่ทนายโจทก์จะกระทำ ได้และไม่มีผลผูกพันโจทก์ จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาประนีประนอม ยอมความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3744/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายความผูกพันกับคำฟ้อง ชื่อจำเลยในใบแต่งทนายไม่ตรงไม่กระทบ
คำฟ้องเป็นหลักในการพิจารณาพิพากษาคดี ส่วนใบแต่งทนายเป็นเครื่องแสดงว่าทนายความมีอำนาจดำเนินคดีแทนตัวความ เมื่อคำฟ้องระบุชื่อจำเลยไว้ถูกต้อง แม้ในใบแต่งทนายพิมพ์ชื่อจำเลยผิดไป ก็ไม่ทำให้อำนาจการดำเนินคดีของทนายโจทก์ที่มีต่อจำเลยเสียไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 402/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทนายว่าความไม่มีใบแต่งทนาย ผู้ร้องไม่คัดค้านในชั้นต้น จึงยกคัดค้านในชั้นอุทธรณ์ไม่ได้
ทนายโจทก์ว่าความในศาลชั้นต้นโดยไม่มีใบแต่งทนายแต่ผู้ร้องมิได้หยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นคัดค้านก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา จึงยกขึ้นคัดค้านในชั้นอุทธรณ์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 499/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากผู้ฟ้องถึงแก่กรรมก่อนยื่น และใบแต่งทนายลงวันที่หลังการเสียชีวิต
เมื่อปรากฏว่าตัวความได้ถึงแก่กรรมไปแล้วก่อนยื่นฎีกา 1 วัน และใบแต่งทนายที่ให้อำนาจทนายลงชื่อในฎีกาที่ยื่นนั้นก็ลงวันที่ไว้หลังจากที่ตัวความถึงแก่กรรมแล้ว ทนายความจึงไม่สามารถอาศัยใบแต่งทนายนั้นลงชื่อในฎีกาได้ ฎีกาที่ยื่นจึงไม่เป็นฎีกาที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 499/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากตัวความถึงแก่กรรมก่อนยื่นฎีกา และใบแต่งทนายลงวันที่หลังเสียชีวิต
เมื่อปรากฏว่าตัวความได้ถึงแก่กรรมไปแล้วก่อนยื่นฎีกา 1 วัน และใบแต่งทนายที่ให้อำนาจทนายลงชื่อในฎีกาที่ยื่นนั้นก็ลงวันที่ไว้หลังจากที่ตัวความถึงแก่กรรมแล้วทนายความจึงไม่สามารถอาศัยใบแต่งทนายนั้นลงชื่อในฎีกาได้ ฎีกาที่ยื่นจึงไม่เป็นฎีกาที่ชอบด้วยกฎหมาย