พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1456/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้ที่ดินโดยการส่งมอบการครอบครองมีผลเหนือกว่าเนื้อที่ระบุในสัญญา หากผู้รับโอนครอบครองพื้นที่เกินกว่าที่ระบุ
ตามคำฟ้องของโจทก์ คำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยทั้งห้า กับคำให้การแก้ฟ้องแย้งของโจทก์เป็นการโต้แย้งกันว่าที่ดินพิพาทเป็นของฝ่ายโจทก์หรือจำเลยทั้งห้า เมื่อโจทก์และจำเลยทั้งห้ายอมรับข้อเท็จจริงว่ามูลเหตุคดีนี้สืบเนื่องมาจากโจทก์ให้ที่ดินแก่จำเลยที่ 1 ย่อมต้องวินิจฉัยปัญหาในข้อเท็จจริงว่าโจทก์ให้ที่ดินแก่จำเลยที่ 1 เพียงใด เพื่อไปสู่ปัญหาในข้อเท็จจริงว่าที่ดินพิพาทเป็นของฝ่ายโจทก์หรือจำเลยทั้งห้า เพราะหากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ไม่ได้ให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 1 ที่ดินพิพาทก็เป็นของโจทก์ ดังนี้ ที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่ว่า โจทก์หรือจำเลยทั้งห้าเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทจึงถูกต้องแล้ว
แม้ตามหนังสือแบ่งให้ที่ดินและ น.ส.3 จะระบุชัดว่าโจทก์และ ป. ให้ที่ดินตาม น.ส. 3 ดังกล่าวแก่จำเลยที่ 1 มีเนื้อที่ 3 งาน 60 ตารางวา แต่เมื่อจำเลยที่ 1 เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทและที่ได้รับการให้ตลอดมาโดยโจทก์มิได้โต้แย้งคัดค้าน ทั้งตอนที่จำเลยที่ 1 นำเจ้าพนักงานที่ดินไปรังวัดเพื่อออกโฉนด โจทก์ก็ไประวังและรับรองแนวเขตในฐานะเจ้าของที่ดินข้างเคียงให้แม้ขณะนั้นโจทก์จะยังไม่ทราบว่าที่ดินที่จำเลยที่ 1 ขอออกโฉนดมีเนื้อที่เท่าใดก็ตาม แต่บันทึกถ้อยคำระบุไว้ชัดว่าในการรังวัดออกโฉนดที่ดินของจำเลยที่ 1 โจทก์เห็นว่าถูกต้องแล้ว ไม่มีการรุกล้ำแนวเขตกันแต่อย่างใด เท่ากับโจทก์ยอมรับว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินส่วนที่ได้รับการให้ และรังวัดออกโฉนดในส่วนที่ครอบครองทำประโยชน์ จึงเป็นการให้ที่ดินด้วยการส่งมอบการครอบครองที่ดินแก่จำเลยที่ 1 โดยมีเจตนาให้ตามส่วนที่ได้รับมอบการครอบครองยิ่งกว่าที่ระบุไว้ในหนังสือสัญญาแบ่งให้ที่ดินและ น.ส. 3 ดังนั้นเมื่อมีรังวัดออกโฉนดที่ดินได้เนื้อที่ 1 ไร่ 99 ตารางวา กรณีต้องถือว่าโจทก์และ ป. ให้ที่ดินแก่จำเลยที่ 1 มีเนื้อที่ดังกล่าว หาใช้เนื้อที่ 3 งาน 60 ตารางวา ตามที่ระบุไว้ในหนังสือสัญญาแบ่งให้ที่ดินและ น.ส. 3 ไม่
แม้ตามหนังสือแบ่งให้ที่ดินและ น.ส.3 จะระบุชัดว่าโจทก์และ ป. ให้ที่ดินตาม น.ส. 3 ดังกล่าวแก่จำเลยที่ 1 มีเนื้อที่ 3 งาน 60 ตารางวา แต่เมื่อจำเลยที่ 1 เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทและที่ได้รับการให้ตลอดมาโดยโจทก์มิได้โต้แย้งคัดค้าน ทั้งตอนที่จำเลยที่ 1 นำเจ้าพนักงานที่ดินไปรังวัดเพื่อออกโฉนด โจทก์ก็ไประวังและรับรองแนวเขตในฐานะเจ้าของที่ดินข้างเคียงให้แม้ขณะนั้นโจทก์จะยังไม่ทราบว่าที่ดินที่จำเลยที่ 1 ขอออกโฉนดมีเนื้อที่เท่าใดก็ตาม แต่บันทึกถ้อยคำระบุไว้ชัดว่าในการรังวัดออกโฉนดที่ดินของจำเลยที่ 1 โจทก์เห็นว่าถูกต้องแล้ว ไม่มีการรุกล้ำแนวเขตกันแต่อย่างใด เท่ากับโจทก์ยอมรับว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินส่วนที่ได้รับการให้ และรังวัดออกโฉนดในส่วนที่ครอบครองทำประโยชน์ จึงเป็นการให้ที่ดินด้วยการส่งมอบการครอบครองที่ดินแก่จำเลยที่ 1 โดยมีเจตนาให้ตามส่วนที่ได้รับมอบการครอบครองยิ่งกว่าที่ระบุไว้ในหนังสือสัญญาแบ่งให้ที่ดินและ น.ส. 3 ดังนั้นเมื่อมีรังวัดออกโฉนดที่ดินได้เนื้อที่ 1 ไร่ 99 ตารางวา กรณีต้องถือว่าโจทก์และ ป. ให้ที่ดินแก่จำเลยที่ 1 มีเนื้อที่ดังกล่าว หาใช้เนื้อที่ 3 งาน 60 ตารางวา ตามที่ระบุไว้ในหนังสือสัญญาแบ่งให้ที่ดินและ น.ส. 3 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5126/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้ที่ดินในโอกาสสมรสและการถอนคืนสิทธิเนื่องจากเนรคุณ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการให้มีมูลเหตุจูงใจจากการสมรส จึงไม่สามารถถอนคืนได้
แม้ในวันที่จำเลยที่ 1 อ้างตนเองเข้าเบิกความต่อศาล ก. ได้นั่งฟังอยู่ในห้องพิจารณาด้วยอันเป็นการผิดระเบียบ แต่เมื่อคำเบิกความของ ก. มีเหตุผลน่าเชื่อฟัง ศาลย่อมฟังคำเบิกความของ ก. เพื่อประกอบการพิจารณาได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 114 วรรคสอง
การที่จำเลยทั้งสองนำสืบว่าโจทก์จดทะเบียนให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยทั้งสองเนื่องในโอกาสที่จำเลยทั้งสองสมรสกันเพื่อให้ใช้ทำมาหากินเลี้ยงครอบครัวสืบไปนั้นหาใช่เป็นการนำสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารหลักฐานการจดทะเบียนที่ระบุว่าเป็นการให้โดยเสน่หาไม่ เพราะเป็นการนำสืบให้เห็นถึงมูลเหตุจูงใจที่โจทก์ให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยทั้งสองว่าเป็นการให้เนื่องในโอกาสใด จำเลยทั้งสองจึงมีสิทธินำสืบได้
โจทก์ให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยทั้งสองในการสมรส ดังนั้น ไม่ว่าจำเลยทั้งสองจะได้ประพฤติเนรคุณโจทก์หรือไม่ก็ตาม โจทก์ก็จะฟ้องขอถอนคืนการให้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 535 (4) ไม่ได้
การที่จำเลยทั้งสองนำสืบว่าโจทก์จดทะเบียนให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยทั้งสองเนื่องในโอกาสที่จำเลยทั้งสองสมรสกันเพื่อให้ใช้ทำมาหากินเลี้ยงครอบครัวสืบไปนั้นหาใช่เป็นการนำสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารหลักฐานการจดทะเบียนที่ระบุว่าเป็นการให้โดยเสน่หาไม่ เพราะเป็นการนำสืบให้เห็นถึงมูลเหตุจูงใจที่โจทก์ให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยทั้งสองว่าเป็นการให้เนื่องในโอกาสใด จำเลยทั้งสองจึงมีสิทธินำสืบได้
โจทก์ให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยทั้งสองในการสมรส ดังนั้น ไม่ว่าจำเลยทั้งสองจะได้ประพฤติเนรคุณโจทก์หรือไม่ก็ตาม โจทก์ก็จะฟ้องขอถอนคืนการให้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 535 (4) ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5126/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้ที่ดินในโอกาสสมรส และสิทธิในการถอนคืนการให้เมื่อจำเลยประพฤติเนรคุณ
แม้ในวันที่จำเลยที่ 1 อ้างตนเองเข้าเบิกความต่อศาล ก. ได้นั่งฟังอยู่ในห้องพิจารณาด้วยอันเป็นการผิดระเบียบ แต่เมื่อคำเบิกความของ ก. มีเหตุผลน่าเชื่อฟัง ศาลย่อมฟังคำเบิกความของ ก. เพื่อประกอบการพิจารณาได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 114 วรรคสอง
การที่จำเลยทั้งสองนำสืบว่าโจทก์จดทะเบียนให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยทั้งสองเนื่องในโอกาสที่จำเลยทั้งสองสมรสกันเพื่อให้ใช้ทำมาหากินเลี้ยงครอบครัวสืบไปนั้นหาใช่เป็นการนำสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารหลักฐานการจดทะเบียนที่ระบุว่าเป็นการให้โดยเสน่หาไม่ เพราะเป็นการนำสืบให้เห็นถึงมูลเหตุจูงใจที่โจทก์ให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยทั้งสองว่าเป็นการให้เนื่องในโอกาสใด จำเลยทั้งสองจึงมีสิทธินำสืบได้
โจทก์ให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยทั้งสองในการสมรส ดังนั้น ไม่ว่าจำเลยทั้งสองจะได้ประพฤติเนรคุณโจทก์หรือไม่ก็ตาม โจทก์ก็จะฟ้องขอถอนคืนการให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 535(4) ไม่ได้
การที่จำเลยทั้งสองนำสืบว่าโจทก์จดทะเบียนให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยทั้งสองเนื่องในโอกาสที่จำเลยทั้งสองสมรสกันเพื่อให้ใช้ทำมาหากินเลี้ยงครอบครัวสืบไปนั้นหาใช่เป็นการนำสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารหลักฐานการจดทะเบียนที่ระบุว่าเป็นการให้โดยเสน่หาไม่ เพราะเป็นการนำสืบให้เห็นถึงมูลเหตุจูงใจที่โจทก์ให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยทั้งสองว่าเป็นการให้เนื่องในโอกาสใด จำเลยทั้งสองจึงมีสิทธินำสืบได้
โจทก์ให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยทั้งสองในการสมรส ดังนั้น ไม่ว่าจำเลยทั้งสองจะได้ประพฤติเนรคุณโจทก์หรือไม่ก็ตาม โจทก์ก็จะฟ้องขอถอนคืนการให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 535(4) ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5126/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้ที่ดินเนื่องในโอกาสสมรส: สิทธิในการถอนคืน และการนำสืบพยานหลักฐาน
ในวันที่จำเลยที่ 1 อ้างตนเองเข้าเบิกความต่อศาลชั้นต้น ก. ได้นั่งฟังอยู่ในห้องพิจารณาด้วยอันเป็นการผิดระเบียบ แต่เมื่อคำเบิกความของ ก. มีเหตุผลน่าเชื่อฟัง ศาลย่อมฟังคำเบิกความของ ก. เพื่อประกอบการพิจารณาได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 114 วรรคสอง
การที่จำเลยทั้งสองนำสืบว่า โจทก์จดทะเบียนให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยเนื่องในโอกาสที่จำเลยทั้งสองสมรสกันเพื่อให้ใช้ทำมาหากินเลี้ยงครอบครัวสืบไป มิใช่เป็นการนำสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารหลักฐานการจดทะเบียนที่ระบุว่าเป็นการให้โดยเสน่หาเพราะเป็นการนำสืบให้เห็นถึงมูลเหตุจูงใจที่โจทก์ให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยทั้งสองว่าเป็นการให้เนื่องในโอกาสใด
โจทก์ให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยทั้งสองในการสมรส ไม่ว่าจำเลยทั้งสองจะได้ประพฤติเนรคุณโจทก์หรือไม่ โจทก์ก็จะฟ้องขอถอนคืนการให้ไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 535(4)
การที่จำเลยทั้งสองนำสืบว่า โจทก์จดทะเบียนให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยเนื่องในโอกาสที่จำเลยทั้งสองสมรสกันเพื่อให้ใช้ทำมาหากินเลี้ยงครอบครัวสืบไป มิใช่เป็นการนำสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารหลักฐานการจดทะเบียนที่ระบุว่าเป็นการให้โดยเสน่หาเพราะเป็นการนำสืบให้เห็นถึงมูลเหตุจูงใจที่โจทก์ให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยทั้งสองว่าเป็นการให้เนื่องในโอกาสใด
โจทก์ให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยทั้งสองในการสมรส ไม่ว่าจำเลยทั้งสองจะได้ประพฤติเนรคุณโจทก์หรือไม่ โจทก์ก็จะฟ้องขอถอนคืนการให้ไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 535(4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2319/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้ที่ดินโดยมีเงื่อนไขอุปการะเลี้ยงดูบุตร ถือเป็นการให้มีค่าตอบแทน
แม้ในหนังสือสัญญาให้ที่ดินเฉพาะส่วน ข้อ 4 จะมีข้อความระบุว่าเป็นการให้โดยเสน่หาไม่มีค่าตอบแทน แต่ในข้อ 6 ยังมีข้อความระบุไว้อีกต่างหากว่า จำเลยที่ 2 ต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ของจำเลยที่ 2 ซึ่งเกิดแต่จำเลยที่ 1 อีก 3 คนด้วย ซึ่งจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่บุตรตามสมควรในระหว่างบุตรยังเป็นผู้เยาว์ข้อความดังกล่าวมีความหมายชัดแจ้งว่าเป็นเงื่อนไขที่จำเลยที่ 2 จำต้องปฏิบัติตามเป็นการแลกเปลี่ยนกับการที่จำเลยที่ 1 ยกที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 2 เป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 จำต้องจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดู และให้การศึกษาแก่บุตรผู้เยาว์ทั้ง 3 คน แทนจำเลยที่ 1 ในส่วนที่จำเลยที่ 1จะต้องรับผิดชอบด้วย อีกนัยหนึ่งก็คือจำเลยที่ 1 ใช้มูลค่าของที่ดินพิพาทส่วนของตนมอบแก่จำเลยที่ 2 ไว้เป็นค่าใช้จ่ายในการอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาของบุตรผู้เยาว์ ซึ่งจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องกระทำ จึงถือได้ว่าการให้ดังกล่าวเป็นการให้โดยมีค่าตอบแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1561/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้ที่ดินบุตรเพื่อเลี้ยงชีพ ไม่ใช่การให้โดยหน้าที่ธรรมจรรยา มารดาสามารถถอนคืนได้
มารดายกที่ดินให้บุตร เพื่อเอาไปทำมาหาเลี้ยงชีพ ไม่เป็นการให้โดยหน้าที่ธรรมจรรยา ซึ่งมารดาไม่มีหน้าที่ธรรมจรรยาที่จะต้องทำเช่นนั้น จึงถอนคืนเพราะเหตุเนรคุณได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2195/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้ที่ดินแก่สุขาภิบาลเพื่อประโยชน์เฉพาะ ไม่ใช่สาธารณประโยชน์ สิทธิในการเรียกคืนยังคงมีอยู่
ยกที่ดิน ตลาดสดและผลไม้ มีโฉนดให้สุขาภิบาลเพื่อหาประโยชน์มาปรับปรุงท้องที่ เป็นการให้แก่สุขาภิบาลโดยเฉพาะ มิใช่ให้ใช้เป็นสาธารณประโยชน์ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 เมื่อไม่ได้จดทะเบียนการให้ตาม มาตรา 525 ผู้ให้เรียกคืนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 428/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้ที่ดินมีภารติดพันและการถอนคืนการให้เนื่องจากเนรคุณ แม้ราคาไม่สมเหตุสมผล
บิดาจำนองที่ดินไว้ ได้ตกลงให้บุตรออกเงินใช้หนี้และไถ่จำนองบุตรคนใดไม่ออกเงิน บิดาก็ไม่ยกที่ดินให้บุตรได้ออกเงินชำระหนี้ บิดาได้จดทะเบียนไถ่และจดทะเบียนยกที่พิพาทให้บุตรคนนั้นไปแล้วแม้จำนวนเงินที่บุตรออกให้ใช้หนี้ไป จะไม่สมกับราคาที่ดินก็ยังเป็นการให้สิ่งที่มีค่าภารติดพันในกรณีเช่นนี้ บิดาจะถอนคืนการให้เพราะเหตุเนรคุณไม่ได้