คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ให้บริการ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8123/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฐานภาษีมูลค่าเพิ่มจากการให้บริการนำเข้าตราไปรษณียากร โดยผู้รับจ้างชำระค่าสินค้าแทน
โจทก์ทำสัญญารับจ้างทำของหรือสัญญาให้บริการตาม ป.พ.พ.มาตรา 587 และ ป.รัษฏากร มาตรา 77/1 (10) ข้อตกลงระบุให้การสื่อสารแห่งประเทศไทยชำระราคาค่าจ้างให้แก่โจทก์ 3 งวด จากจำนวนเงินค่าจ้างทั้งหมด 5,950,000 บาท เป็นเงินงวดละ 1,983,333.33 บาท ต่อมาแม้โจทก์จะได้ตกลงกับการสื่อสารแห่งประเทศไทยใหม่โดยให้การสื่อสารแห่งประเทศไทยเป็นผู้นำเข้าตราไปรษณียากร ข้อตกลงดังกล่าวต่างกับสัญญาที่ทำไว้เดิม โดยระบุให้การสื่อสารแห่งประเทศไทยเป็นผู้นำเข้าและเป็นผู้ชำระราคา ซี.ไอ.เอฟ.จำนวน 1,655,641 บาท และภาษีมูลค่าเพิ่ม 115,894 บาท ตามหลักฐานของกรมศุลกากรก็ตาม แต่โจทก์ก็รับว่าเงินจำนวนดังกล่าวโจทก์เป็นผู้ชำระแทนการสื่อสารแห่งประเทศไทยโดยโจทก์ยังคงรับเงินค่าจ้างจากการสื่อสารแห่งประเทศไทยในงวดแรกเป็นจำนวนเงิน 1,983,333.33 บาท ตรงตามสัญญาเดิม จึงต้องถือว่าโดยพฤตินัย การสื่อสารแห่งประเทศไทยเป็นผู้นำเข้าตราไปรษณียากรแทนโจทก์ซึ่งโจทก์มีหน้าที่ต้องชำระราคาค่าสินค้าตราไปรษณียากรพร้อมค่าภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นจำนวนเงินตามหลักฐานที่กรมศุลกากรออกให้อยู่นั้นเอง จึงเห็นได้ว่าจำนวนเงินที่ว่านี้มิใช่ราคาค่าจ้างหรือค่าบริการที่โจทก์ได้ทำการตกลงกับการสื่อสารแห่งประเทศไทยใหม่ แต่ฟังได้ว่าโจทก์ได้รับเงินค่าจ้างหรือค่าบริการในการนำเข้าตราไปรษณียากรจากการสื่อสารแห่งประเทศไทยในครั้งนี้เป็นเงิน1,983,333.33 บาท ตรงตามสัญญา เงินจำนวนนี้จึงเป็นมูลค่าที่โจทก์ได้รับจากการให้บริการ ซึ่งเป็นฐานภาษีสำหรับการให้บริการที่โจทก์จะต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภาษีขาย) จากการสื่อสารแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นผู้รับบริการคิดเป็นภาษีขายจำนวน 138,833.33 บาท ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 79และมาตรา 82/4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8123/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีมูลค่าเพิ่มจากการให้บริการ: การตีความฐานภาษีที่ถูกต้องเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงข้อตกลง
โจทก์ทำสัญญารับจ้างทำของหรือสัญญาให้บริการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 587 และประมวลรัษฎากรมาตรา 77/1(10) ข้อตกลงระบุให้การสื่อสารแห่งประเทศไทยชำระราคาค่าจ้างให้แก่โจทก์ 3 งวด จากจำนวนเงินค่าจ้างทั้งหมด 5,950,000 บาท เป็นเงินงวดละ 1,983,333.33 บาทต่อมาแม้โจทก์จะได้ตกลงกับการสื่อสารแห่งประเทศไทยใหม่โดยให้การสื่อสารแห่งประเทศไทยเป็นผู้นำเข้าตราไปรษณียากรข้อตกลงดังกล่าวต่างกับสัญญาที่ทำไว้เดิม โดยระบุให้การสื่อสารแห่งประเทศไทยเป็นผู้นำเข้าและเป็นผู้ชำระราคาซี.ไอ.เอฟ. จำนวน 1,655,641 บาท และภาษีมูลค่าเพิ่ม115,894 บาท ตามหลักฐานของกรมศุลกากรก็ตาม แต่โจทก์ก็รับว่าเงินจำนวนดังกล่าวโจทก์เป็นผู้ชำระแทนการสื่อสารแห่งประเทศไทยโดยโจทก์ยังคงรับเงินค่าจ้างจากการสื่อสารแห่งประเทศไทยในงวดแรกเป็นจำนวนเงิน 1,983,333.33 บาท ตรงตามสัญญาเดิม จึงต้องถือว่าโดยพฤตินัยการสื่อสารแห่งประเทศไทยเป็นผู้นำเข้าตราไปรษณียากรแทนโจทก์ซึ่งโจทก์มีหน้าที่ต้องชำระราคาค่าสินค้าตราไปรษณียากรพร้อมค่าภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นจำนวนเงินตามหลักฐานที่กรมศุลกากรออกให้อยู่นั้นเอง จึงเห็นได้ว่าจำนวนเงินที่ว่านี้มิใช่ราคาค่าจ้างหรือค่าบริการที่โจทก์ได้ทำการตกลงกับการสื่อสารแห่งประเทศไทยใหม่ แต่ฟังได้ว่าโจทก์ได้รับเงินค่าจ้างหรือค่าบริการในการนำเข้าตราไปรษณียากรจากการสื่อสารแห่งประเทศไทยในครั้งนี้เป็นเงิน 1,983,333.33 บาทตรงตามสัญญา เงินจำนวนนี้จึงเป็นมูลค่าที่โจทก์ได้รับจากการให้บริการ ซึ่งเป็นฐานภาษีสำหรับการให้บริการที่โจทก์จะต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภาษีขาย) จากการสื่อสารแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นผู้รับบริการคิดเป็นภาษีขายจำนวน 138,833.33 บาท ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 79และมาตรา 82/4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6961/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าธรรมเนียมสมาชิกสโมสรเป็นการให้บริการทางภาษี การรับจ้างทำของ
โจทก์ประกอบกิจการในลักษณะสโมสรซึ่งมีสถานที่ให้สมาชิกรับประทานอาหารและการประชุมต่าง ๆ และพักผ่อนออกกำลังกายให้แก่สมาชิกรวมทั้งแขกของสมาชิก โดยผู้สนใจสมัครเข้าเป็นสมาชิกต้องจ่ายค่าธรรมเนียมแรกเข้าเป็นเงินประมาณ 40,000บาท ถึง 100,000 บาท และค่าธรรมเนียมรายเดือนอีกเดือนละ 1,000 บาท ยกเว้นสมาชิกตลอดชีพไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมรายเดือน จะเห็นได้ว่าเงินค่าสมาชิกรายเดือนเพียงเดือนละ 1,000 บาท ไม่พอเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการต่าง ๆ ของสโมสรดังนั้น เงินค่าธรรมเนียมแรกเข้าจึงเป็นเสมือนหนึ่งเป็นส่วนหนึ่งของค่าสมาชิกรายเดือนโดยสมาชิกมีสิทธิใช้บริการต่าง ๆ ของสโมสร แม้เงินค่าธรรมเนียมสมาชิกแรกเข้าโจทก์จะต้องคืนให้แก่สมาชิกเมื่อครบกำหนด 30 ปีก็ตาม แต่ในระหว่างที่ยังไม่คืนโจทก์ย่อมได้รับประโยชน์จากการใช้สอยเงินดังกล่าว ถือได้ว่าเงินค่าธรรมเนียมสมาชิกแรกเข้าเป็นเงินค่าตอบแทนการให้บริการต่าง ๆ การดำเนินการของโจทก์จึงเป็นการให้บริการเป็นการรับจ้างทำของอย่างหนึ่ง โจทก์จึงต้องเสียภาษีการค้าจากรายรับดังกล่าวตามประมวลรัษฎากร มาตรา 78 บัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 4 การรับจ้างทำของชนิด 1(ฉ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6961/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าธรรมเนียมสมาชิกสโมสรเป็นการให้บริการทางภาษี การรับจ้างทำของ
โจทก์ประกอบกิจการในลักษณะสโมสรซึ่งมีสถานที่ให้สมาชิกรับประทานอาหารและการประชุมต่าง ๆ และพักผ่อนออกกำลังกายให้แก่สมาชิกรวมทั้งแขกของสมาชิก โดยผู้สนใจสมัครเข้าเป็นสมาชิกต้องจ่ายค่าธรรมเนียมแรกเข้าเป็นเงินประมาณ 40,000บาท ถึง 100,000 บาท และค่าธรรมเนียมรายเดือนอีกเดือนละ 1,000 บาท ยกเว้นสมาชิกตลอดชีพไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมรายเดือน จะเห็นได้ว่าเงินค่าสมาชิกรายเดือนเพียงเดือนละ 1,000 บาท ไม่พอเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการต่าง ๆ ของสโมสรดังนั้น เงินค่าธรรมเนียมแรกเข้าจึงเป็นเสมือนหนึ่งเป็นส่วนหนึ่งของค่าสมาชิกรายเดือนโดยสมาชิกมีสิทธิใช้บริการต่าง ๆ ของสโมสร แม้เงินค่าธรรมเนียมสมาชิกแรกเข้าโจทก์จะต้องคืนให้แก่สมาชิกเมื่อครบกำหนด 30 ปีก็ตาม แต่ในระหว่างที่ยังไม่คืนโจทก์ย่อมได้รับประโยชน์จากการใช้สอยเงินดังกล่าว ถือได้ว่าเงินค่าธรรมเนียมสมาชิกแรกเข้าเป็นเงินค่าตอบแทนการให้บริการต่าง ๆ การดำเนินการของโจทก์จึงเป็นการให้บริการเป็นการรับจ้างทำของอย่างหนึ่ง โจทก์จึงต้องเสียภาษีการค้าจากรายรับดังกล่าวตามประมวลรัษฎากร มาตรา 78 บัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 4 การรับจ้างทำของชนิด 1(ฉ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5589/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสิทธิเรียกร้องจากการให้บริการบัตรเครดิต: ลักษณะการให้บริการไม่ใช่การให้สินเชื่อ แต่เป็นการรับทำงานให้สมาชิก
แม้โจทก์เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์ และประกอบกิจการให้บริการสินเชื่อแก่ลูกค้าของโจทก์ พระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 ก็ตามแต่สำหรับวัตถุประสงค์ในการให้บริการออกบัตรเครดิตแก่ลูกค้าซึ่งเป็นสมาชิกของโจทก์นั้น สมาชิกของโจทก์สามารถนำบัตรเครดิตที่โจทก์ออกให้ไปใช้จ่ายค่าสินค้าหรือบริการที่ซื้อจากร้านค้าหรือสถานบริการแทนการชำระด้วยเงินสดโดยโจทก์จะออกเงินทดรองชำระแก่เจ้าหนี้ค่าสินค้าหรือบริการดังกล่าวไปก่อนแล้วเรียกเก็บเงินจากสมาชิกภายหลังอันเป็นลักษณะการทำกิจการงานให้บริการอำนวยความสะดวกแก่สมาชิกในการซื้อสินค้าและบริการ ส่วนการให้สมาชิกถอนเงินสดล่วงหน้าด้วยบัตรเครดิตดังกล่าวก็มีลักษณะให้เป็นบริการส่วนหนึ่งประกอบการให้บริการอำนวยความสะดวกแก่สมาชิกของโจทก์และโจทก์ได้เรียกเก็บค่าบริการหรือค่าธรรมเนียมด้วย โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบธุรกิจรับทำการงานต่าง ๆ ให้แก่สมาชิกและการที่โจทก์ได้ชำระเงินแก่เจ้าหนี้ของสมาชิกแทนสมาชิกไปก่อนหรือให้สมาชิกถอนเงินสดล่วงหน้า แล้วเรียกเก็บเงินจากสมาชิกภายหลังเป็นการเรียกเอาค่าที่โจทก์ได้ออกเงินทดรองไปสิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงมีอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(7) จำเลยชำระหนี้บางส่วนแก่โจทก์ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2536อันเป็นการรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงและเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันดังกล่าวเป็นต้นมาโจทก์เพิ่งฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2539 พ้นกำหนด 2 ปีแล้ว สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1609/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสิทธิเรียกร้องจากการให้บริการบัตรเครดิต: การชำระเงินทดรองก่อนแล้วเรียกเก็บภายหลังเข้าข่ายอายุความ 2 ปี
การให้บริการประเภทบัตรเครดิตเป็นวัตถุประสงค์ของธนาคารโจทก์การที่โจทก์ให้บริการการใช้บัตรเครดิตแก่สมาชิกโดยเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บัตรดังกล่าวจากสมาชิกโจทก์จึงเป็นผู้ประกอบธุรกิจในการรับทำการงานต่างๆให้แก่สมาชิกและการที่โจทก์ได้ชำระเงินให้แก่เจ้าหนี้ของสมาชิกแทนสมาชิกไปก่อนแล้วจึงเรียกเก็บจากสมาชิกภายหลังเป็นการเรียกเอาค่าที่ได้ออกเงินทดรองไปก่อนกรณีจึงถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบธุรกิจในการรับทำการงานต่างๆเรียกเอาค่าที่ได้ออกเงินทดรองไปก่อนสิทธิเรียกร้องของโจทก์ดังกล่าวจึงมีอายุความ2ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/34(7) ตามใบแจ้งยอดหนี้เอกสารท้ายฟ้องกำหนดให้จำเลยชำระหนี้ที่โจทก์ได้ออกเงินทดรองไปภายในวันที่10กุมภาพันธ์2534แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่18กันยายน2538จึงพ้นกำหนด2ปีสิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6826/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้บริการทางภาษีมูลค่าเพิ่ม: สัญญาดูแลระบบและการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในไทยและต่างประเทศ
โจทก์ทำสัญญากับผู้ว่าจ้าง ซึ่งมีสำนักงานตั้งอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา 2 ฉบับ ฉบับแรก สัญญาว่าจ้างและอนุญาตให้ใช้สิทธิในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ระบบลูกค้าสัมพันธ์ ให้ผู้ว่าจ้างนำไปใช้ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ฉบับที่สอง สัญญาบริการดูแลระบบโทรศัพท์ทางไกลของผู้ว่าจ้างในประเทศไทย ปัญหาว่ารายรับจากการให้บริการของโจทก์ทั้งสองสัญญาจะเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 หรือร้อยละ 0 นั้น ป.รัษฎากร มาตรา 80/1 "ให้ใช้อัตราภาษีร้อยละ 0 ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับการประกอบกิจการประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ (2) การให้บริการที่กระทำในราชอาณาจักร และได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศ ตามประเภทหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด" และตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 105) ซึ่งใช้บังคับขณะนั้น ข้อ 2 "กำหนดให้การประกอบกิจการดังต่อไปนี้ เป็นการให้บริการที่กระทำในราชอาณาจักรและได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศ ตามมาตรา 80/1 (2) แห่งประมวลรัษฎากร (1) การให้บริการที่กระทำในราชอาณาจักรแก่ผู้รับบริการในต่างประเทศ และได้ส่งผลของการให้บริการนั้นไปใช้ในต่างประกาศทั้งหมด" สัญญาบริการมีลักษณะเป็นสัญญาดูแลระบบโทรศัพท์ทางไกลที่จะต้องมีการเชื่อมมายังผู้รับปลายทางที่ประเทศไทย ส่วนสัญญาว่าจ้างและอนุญาตให้ใช้สิทธิในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีการออกแบบและพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้ลูกค้าสามารถติดต่อโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศได้เองโดยอัตโนมัติ หรือที่โจทก์เรียกว่าระบบลูกค้าสัมพันธ์ โดยลูกค้าสามารถใช้โทรศัพท์สาธารณะ หรือโทรศัพท์ส่วนตัวโทรเข้ามาที่ระบบลูกค้าสัมพันธ์ของบริษัทดังกล่าว โปรแกรมที่โจทก์อนุญาตให้บริษัทดังกล่าวใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกาจึงมีความเกี่ยวข้องกับสัญญาบริการที่โจทก์ทำไว้กับบริษัทดังกล่าว ประกอบกับบริษัทดังกล่าวจ่ายค่าบริการตามสัญญาว่าจ้างและอนุญาตให้ใช้สิทธิในโปรแกรมคอมพิวเตอร์รวมกับค่าบริการตามสัญญาบริการในการดูแลระบบโทรศัพท์ทางไกลที่ประเทศไทย ผู้ว่าจ้างมีเจตนาว่าจ้างโจทก์จัดทำโปรแกรมคอมพิวเตอร์พร้อมกับติดตั้งระบบอินเทอร์เน็ต เพื่อเชื่อมต่อกับระบบของผู้ว่าจ้างที่อยู่ต่างประเทศ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อติดต่อสื่อสารทางอินเทอร์เน็ตระหว่างบริษัทผู้ว่าจ้างไปยังเครือข่ายต่าง ๆ ทั้งในประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ เป็นผลให้มีการใช้บริการในประเทศไทย กรณีจึงต้องถือว่าสัญญาว่าจ้างและอนุญาตให้ใช้สิทธิในโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นการให้บริการในราชอาณาจักรเช่นเดียวกัน โจทก์จึงไม่มีสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 การที่จำเลยนำรายรับของโจทก์ทั้งสองสัญญามารวมกันแล้วคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีส่วนท้องถิ่นจึงชอบแล้ว