คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ได้รับเงิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11993/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยจากการเลิกสัญญาซื้อขายที่ดิน: เริ่มนับแต่วันได้รับเงินแต่ละครั้ง
เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาและผู้บริโภคทั้งสิบสามรายได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาต่อจำเลยแล้ว จำเลยจึงต้องคืนเงินที่ได้รับไว้แก่ผู้บริโภคทั้งสิบสามรายพร้อมดอกเบี้ยนับแต่เวลาที่ได้รับไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 จำเลยได้รับเงินจากผู้บริโภคแต่ละรายหลายครั้งหลายจำนวนจึงต้องเสียดอกเบี้ยของต้นเงินแต่ละจำนวนนับแต่เวลาที่ได้รับเงินแต่ละจำนวนไว้แต่โจทก์มีคำขอให้จำเลยชำระดอกเบี้ยนับแต่เวลาที่จำเลยได้รับเงินครั้งสุดท้ายจากผู้บริโภคแต่ละราย จึงกำหนดให้ตามคำขอของโจทก์ การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้บริโภคทั้งสิบสามรายนับแต่เวลาที่จำเลยผิดนัดไม่ชำระเงินคืนแก่ผู้บริโภคแต่ละรายนั้นจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 100/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้เงิน: การสันนิษฐานการได้รับเงิน และหน้าที่การนำสืบของจำเลย
โจทก์ฟ้องจำเลยให้ชำระเงินกู้ตามสัญญากู้ จำเลยให้การรับว่าได้ลงชื่อเป็นผู้กู้ในสัญญาจริง แต่ไม่ได้รับเงินไปสัญญากู้ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย ดังนี้ เมื่อในสัญญากู้ข้อ 1 มีความชัดว่าจำเลยได้รับเงินไปครบถ้วนแล้วก็ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าจำเลยได้รับเงินไปตามสัญญาแล้วฉะนั้นเมื่อจำเลยมีข้อต่อสู้อย่างใดที่จะหักล้างได้ก็ต้องเป็นหน้าที่จำเลยนำสืบ เพราะถ้าไม่มีการสืบกันแล้วข้อเท็จจริงก็อันเป็นอันยุติว่าจำเลยได้กู้เงินโจทก์และรับเงินไปตามที่ปรากฏในสัญญานั้นแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 799/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้สมบูรณ์ แม้ผู้กู้ต่อสู้ว่าไม่ได้รับเงิน การนำสืบแก้ไขข้อความในสัญญาต้องห้าม
สัญญากู้มีข้อความว่า "ข้าพเจ้าได้กู้เงินของท่านไปจำนวน 2,500 บาท และได้รับเงินไปเสร็จแล้ว แต่ในวันทำสัญญานี้" ดังนี้ผู้กู้จะขอนำสืบว่าไม่ได้รับเงิน ก็เท่ากับเป็นการนำสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงต้องห้าม ตาม ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 94 วรรคต้น(ข)
จำเลยต่อสู้ว่า เหตุที่ทำสัญญากู้นี้ขึ้น ก็เนื่องจากโจทก์ออกเงินซื้อเป็ดให้จำเลยเลี้ยง จกลงแบ่งผลประโยชน์กัน ตีราคาเป็ดเท่าจำนวนเงินที่ลงไว้ในสัญญากู้ เพื่อป้องกันมิให้จำเลยฉ้อโกง จึงให้ทำสัญญากู้ไว้ ดังนี้เป็นเรื่องจำเลยยอมตนเข้าผูกพันตามสัญญากู้โดยสมัครใจ เนื่องจากมีมูลหนี้ต่อกันมาก่อนแล้ว สัญญากู้นั้นจึงสมบูรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6281/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้เงินและการชำระหนี้ แม้มีข้ออ้างเรื่องการถูกข่มขู่ แต่หากยอมผ่อนชำระหนี้ ย่อมถือว่าได้รับเงินจริง
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1164 กรรมการจะมอบอำนาจอย่างหนึ่งอย่างใดของตนให้แก่ผู้จัดการ หรือให้แก่อนุกรรมการซึ่งตั้งขึ้นจากผู้ที่เป็นกรรมการด้วยกันก็ได้ โดยผู้รับมอบอำนาจต้องทำตามคำสั่งหรือข้อบังคับซึ่งกรรมการทั้งหลายได้กำหนดให้เป็นการแบ่งหน้าที่ในการปฏิบัติงานที่อยู่ในอำนาจของกรรมการให้แก่ผู้จัดการหรืออนุกรรมการไปจัดการแทนในฐานะผู้แทนนิติบุคคลเป็นการภายในอย่างหนึ่งเท่านั้น ส่วนการที่นิติบุคคลจะฟ้องคดีย่อมเป็นอำนาจของนิติบุคคลนั้นเองที่จะกระทำโดยกรรมการซึ่งเป็นผู้แทนนิติบุคคล หากไม่ทำการฟ้องคดีเอง ก็ย่อมมีอำนาจตั้งตัวแทนให้จัดการฟ้องคดีแทนนิติบุคคลได้ ในกรณีเช่นนี้ความเกี่ยวพันระหว่างนิติบุคคล กรรมการและผู้ได้รับการแต่งตั้งดังกล่าว ต้องบังคับตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. ว่าด้วยลักษณะตัวแทน ซึ่งไม่มีบทบัญญัติใดบังคับให้นิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด จะต้องแต่งตั้งตัวแทนจากบุคคลที่เป็นผู้จัดการหรืออนุกรรมการของบริษัทเท่านั้น ตัวการจึงมีอำนาจที่จะแต่งตั้งบุคคลใดก็ได้ให้เป็นตัวแทนดำเนินการฟ้องคดีแทนตน
จำเลยทำสัญญากู้และสัญญาจำนำกับธนาคารโจทก์เนื่องมาจากจำเลยบริหารงานในบริษัท ส. ผิดพลาดและขาดทุนจนต้องขอร้องให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทดังกล่าวเข้ามาดำเนินการแก้ไข โดยมีข้อตกลงให้จำเลยนำเงินส่วนตัวมาชำระหนี้ให้แก่บริษัทที่จำเลยบริหารงานผิดพลาด ดังนี้ แม้จะมีการบีบบังคับหรือข่มขู่จากโจทก์ว่าจะดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยหรือจะปิดบริษัท หากจำเลยไม่ยอมทำสัญญากู้เงินและสัญญาจำนำกับโจทก์ก็เป็นเพียงการขู่ว่าจะใช้สิทธิตามปกตินิยมตาม ป.พ.พ. มาตรา 165 วรรคหนึ่ง ไม่ถือว่าเป็นการข่มขู่ตามกฎหมายที่จะทำให้สัญญากู้เงินและสัญญาจำนำระหว่างโจทก์กับจำเลยตกเป็นโมฆียะ
การที่จำเลยยินยอมให้ธนาคารโจทก์นำเงินที่จำเลยกู้ยืมจากโจทก์ไปชำระหนี้ของจำเลยให้แก่บริษัท ส. เป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของจำเลยเอง ซึ่งจำเลยก็ยอมรับโดยได้ผ่อนชำระหนี้ตามสัญญากู้เงินให้แก่โจทก์หลังจากทำสัญญากู้เงินจึงต้องถือว่าจำเลยได้รับเงินที่กู้ยืมจากโจทก์ โดยโจทก์ไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานการรับเงินของจำเลยมาแสดงอีกเพราะจำเลยให้การรับแล้วว่าโจทก์นำเงินกู้ดังกล่าวไปชำระหนี้ของจำเลยให้แก่บริษัท ส. จำเลยไม่อาจกล่าวอ้างหรือนำสืบหรือฎีกาได้อีกว่า โจทก์ไม่ได้นำเงินที่จำเลยกู้ยืมไปชำระให้แก่บริษัทดังกล่าว เพราะเป็นการแตกต่างไปจากข้อเท็จจริงที่จำเลยให้การต่อสู้คดีไว้ ข้อกล่าวอ้างและฎีกาดังกล่าวจึงเป็นเรื่องนอกคำให้การ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
การที่ศาลฎีกาวินิจฉัยคดีโดยถือว่าจำเลยได้รับเงินที่กู้ยืมไปจากโจทก์ตามที่จำเลยยอมรับ โดยโจทก์ไม่จำต้องมีหลักฐานการรับเงินของจำเลยมาแสดงอีก เป็นการวินิจฉัยคดีโดยมิได้นำเอกสารที่โจทก์ยื่นบัญชีพยานเพิ่มเติมมารับฟังด้วย แม้การยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมของโจทก์จะเป็นการขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 87 และ 88 หรือไม่ก็ไม่ทำให้การวินิจฉัยคดีของศาลฎีกาดังกล่าวข้างต้นเปลี่ยนแปลงไป ฎีกาข้อกฎหมายในเรื่องนี้ของจำเลยจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตามมาตรา 249 วรรคหนึ่ง