พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6054/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับลูกจ้างทำงานต่างประเทศ: เงินได้จากการจ้างงานในกิจการของนายจ้างในไทยต้องเสียภาษีในไทย
จำเลยเป็นลูกจ้างของบริษัท อ. ซึ่งเป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้างทั้งภายในและนอกประเทศไทย การที่บริษัท อ. ส่งจำเลยไปทำงานที่บริษัท อ. รับจ้างถมทะเลนอกประเทศ ค่าจ้างที่บริษัท อ. จ่ายให้แก่จำเลยจึงเป็นเงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงานตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (1) ที่จำเลยได้รับเนื่องจากกิจการของนายจ้างในประเทศไทย จึงต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้แก่ประเทศไทย ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 41 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3094/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบัตรต่างประเทศ: การคุ้มครองในไทยต้องจดทะเบียนภายในประเทศ
โจทก์เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิตามสิทธิบัตรจากผู้ทรงสิทธิบัตรและมีสิทธิแต่ผู้เดียวในการใช้แบบผลิตภัณฑ์กับผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตร หรือขาย มีไว้เพื่อขาย หรือเสนอขาย หรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ใช้แบบผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรที่จดทะเบียนในประเทศสหรัฐอเมริกา แต่สิทธิแต่ผู้เดียวของโจทก์ไม่รวมถึงการได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายของประเทศไทย โจทก์จึงมิใช่ผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิตามมาตรา 38 แห่ง พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 เพราะผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิตามมาตรา 38 ต้องเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิจากผู้ทรงสิทธิบัตรที่ออกโดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์เท่านั้น โจทก์จึงมิใช่ผู้เสียหายที่พึงจะได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 33, 63 ประกอบมาตรา 65 และไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 84
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4808/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบัตรไม่ได้รับการจดทะเบียนในไทย ไม่อาจได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย แม้ได้รับอนุญาตใช้สิทธิ
บริษัทที่อนุญาตให้โจทก์ใช้สิทธิไม่เคยยื่นขอจดทะเบียนสิทธิบัตรในประเทศไทย การออกแบบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวย่อมไม่ได้รับการคุ้มครองภายใต้บทบัญญัติของ พ.ร.บ.สิทธิบัตรฯ ผู้ทรงสิทธิบัตรจึงไม่ใช่ผู้มีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 63 ดังนั้น ไม่ว่าโจทก์จะเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิในสิทธิบัตรดังกล่าวหรือไม่ก็ตาม ก็ไม่อาจได้รับความคุ้มครองและขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสี่ตามฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 483/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกอบกิจการในไทยตามมาตรา 76 ทวิ และการยกเว้นภาษีตามสนธิสัญญาภาษีซ้อน
กรณีที่จะถือว่าบริษัทต่างประเทศประกอบกิจการในประเทศไทยมาตรา 76 ทวิ แห่ง ป. รัษฎากร ต้องปรากฏว่าบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ มีลูกจ้างหรือผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อในการประกอบกิจการ ในประเทศไทย ซึ่งเป็นเหตุให้ได้รับเงินได้หรือผลกำไรในประเทศไทย
การที่บริษัท อ. ซึ่งเป็นบริษัทต่างประเทศมีลูกจ้างเข้ามาทำงานในโรงงานของโจทก์ซึ่งเป็นบริษัทไทยที่ประเทศไทยตามสัญญาจัดการทางเทคนิค โดยให้คำแนะนำฝึกฝนเจ้าหน้าที่คนไทยในการดำเนินการของโรงงานและกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ของโจทก์ และบริษัท อ. ได้รับเงินค่าตอบแทน ค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละ 0.85 บาท จากยอดรายรับจากการขายของโจทก์ทั้งหมดมีลักษณะเป็นการให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคแก่โจทก์ในการประกอบกิจการของโจทก์เอง บุคคลดังกล่าวทำงานโดยอิสระในฐานะผู้เชี่ยวชาญของบริษัท อ. โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ซื้อสินค้าผ่านบุคลากรดังกล่าว บุคลากรดังกล่าวมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการซื้อขายสินค้าที่ก่อให้เกิดเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 (4) (ก) แห่ง ป. รัษฎากร ในประเทศไทย ถือไม่ได้ว่าบริษัท อ. ประกอบกิจการขายสินค้าให้แก่โจทก์ในประเทศไทยตามมาตรา 76 ทวิ แห่ง ป. รัษฎากร
การที่โจทก์ผู้ซื้อสินค้าชำระดอกเบี้ยซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) (ก) แห่ง ป. รัษฎากร ให้แก่บริษัท อ. ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่ได้รับเงินได้พึงประเมินตาม มาตรา 40 (4) (ก) แห่ง ป. รัษฎากร ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย บริษัท อ. จึงต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลโดยให้โจทก์ผู้จ่ายหักภาษีจากเงินได้พึงประเมินที่จ่าย ตามอัตราภาษีเงินได้สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 70 แห่ง ป. รัษฎากร
ความตกลงระหว่างราชอาณาจักรไทยกับประเทศออสเตรเลีย เพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้นั้น ใช้บังคับแก่บุคคลที่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยกับประเทศออสเตรเลียเท่านั้น บริษัท อ. ที่มีถิ่นที่อยู่ในเมืองฮ่องกง แม้จะเป็นบริษัทในเครือของบริษัทต่างประเทศอีก แห่งหนึ่งซึ่งมีถิ่นที่อยู่ในประเทศออสเตรเลีย ก็เป็นคนละนิติบุคคล จะถือว่าบริษัท อ. มีถิ่นที่อยู่ในประเทศออสเตรเลียหาได้ไม่ จึงไม่อาจนำความตกลงฉบับดังกล่าวมาบังคับได้ บริษัท อ. จึงไม่ได้รับยกเว้นภาษีจากรายได้ที่เป็นดอกเบี้ยตามมาตรา 40 (4) (ก) แห่งประมวลรัษฎากร
การที่บริษัท อ. ซึ่งเป็นบริษัทต่างประเทศมีลูกจ้างเข้ามาทำงานในโรงงานของโจทก์ซึ่งเป็นบริษัทไทยที่ประเทศไทยตามสัญญาจัดการทางเทคนิค โดยให้คำแนะนำฝึกฝนเจ้าหน้าที่คนไทยในการดำเนินการของโรงงานและกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ของโจทก์ และบริษัท อ. ได้รับเงินค่าตอบแทน ค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละ 0.85 บาท จากยอดรายรับจากการขายของโจทก์ทั้งหมดมีลักษณะเป็นการให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคแก่โจทก์ในการประกอบกิจการของโจทก์เอง บุคคลดังกล่าวทำงานโดยอิสระในฐานะผู้เชี่ยวชาญของบริษัท อ. โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ซื้อสินค้าผ่านบุคลากรดังกล่าว บุคลากรดังกล่าวมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการซื้อขายสินค้าที่ก่อให้เกิดเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 (4) (ก) แห่ง ป. รัษฎากร ในประเทศไทย ถือไม่ได้ว่าบริษัท อ. ประกอบกิจการขายสินค้าให้แก่โจทก์ในประเทศไทยตามมาตรา 76 ทวิ แห่ง ป. รัษฎากร
การที่โจทก์ผู้ซื้อสินค้าชำระดอกเบี้ยซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) (ก) แห่ง ป. รัษฎากร ให้แก่บริษัท อ. ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่ได้รับเงินได้พึงประเมินตาม มาตรา 40 (4) (ก) แห่ง ป. รัษฎากร ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย บริษัท อ. จึงต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลโดยให้โจทก์ผู้จ่ายหักภาษีจากเงินได้พึงประเมินที่จ่าย ตามอัตราภาษีเงินได้สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 70 แห่ง ป. รัษฎากร
ความตกลงระหว่างราชอาณาจักรไทยกับประเทศออสเตรเลีย เพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้นั้น ใช้บังคับแก่บุคคลที่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยกับประเทศออสเตรเลียเท่านั้น บริษัท อ. ที่มีถิ่นที่อยู่ในเมืองฮ่องกง แม้จะเป็นบริษัทในเครือของบริษัทต่างประเทศอีก แห่งหนึ่งซึ่งมีถิ่นที่อยู่ในประเทศออสเตรเลีย ก็เป็นคนละนิติบุคคล จะถือว่าบริษัท อ. มีถิ่นที่อยู่ในประเทศออสเตรเลียหาได้ไม่ จึงไม่อาจนำความตกลงฉบับดังกล่าวมาบังคับได้ บริษัท อ. จึงไม่ได้รับยกเว้นภาษีจากรายได้ที่เป็นดอกเบี้ยตามมาตรา 40 (4) (ก) แห่งประมวลรัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2703/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบัตรวัสดุรองรับแรงกระแทก: การประดิษฐ์ไม่ใหม่ ใช้แล้วในไทยก่อนขอจดทะเบียน
เมื่อมีเหตุอันสมควรที่จำเลยจะเชื่อว่าได้มีการละเมิดสิทธิบัตรของจำเลย การที่จำเลยใช้วิธีการร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเพื่อให้ดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ เป็นการขอรับความคุ้มครองเพื่อให้มีการบังคับตามสิทธิบัตรที่จำเลยได้รับอยู่เป็นการใช้สิทธิโดยชอบด้วยกฎหมาย ส่วนเจ้าพนักงานตำรวจจะดำเนินการแก่โจทก์อย่างไรต่อไปเป็นดุลพินิจของเจ้าพนักงานตำรวจ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายหรือใช้สิทธิ ซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์อันจะเป็นการละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 และมาตรา 421
การประดิษฐ์ที่จะขอรับสิทธิบัตรได้ต้องประกอบด้วย (1) เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่(2) เป็นการประดิษฐ์ที่มีขั้นสูงขึ้น และ (3) เป็นการประดิษฐ์ที่สามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรม ตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตรฯ การประดิษฐ์ที่จะขอรับสิทธิบัตรได้จึงต้องประกอบด้วยลักษณะการประดิษฐ์ทั้ง 3 ข้อ จะขาดข้อใดข้อหนึ่งไม่ได้ เมื่อการประดิษฐ์วัสดุรองรับแรงกระแทกบนหัวเสาเข็มตามสิทธิบัตรของจำเลยไม่เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่แล้ว การประดิษฐ์ของจำเลยจึงไม่อาจขอรับสิทธิบัตรได้สิทธิบัตรของจำเลยได้ออกไปโดยไม่ชอบด้วยมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวจึงเป็นสิทธิบัตรไม่สมบูรณ์ และเพิกถอนได้ตามมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกัน
การประดิษฐ์ที่จะขอรับสิทธิบัตรได้ต้องประกอบด้วย (1) เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่(2) เป็นการประดิษฐ์ที่มีขั้นสูงขึ้น และ (3) เป็นการประดิษฐ์ที่สามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรม ตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตรฯ การประดิษฐ์ที่จะขอรับสิทธิบัตรได้จึงต้องประกอบด้วยลักษณะการประดิษฐ์ทั้ง 3 ข้อ จะขาดข้อใดข้อหนึ่งไม่ได้ เมื่อการประดิษฐ์วัสดุรองรับแรงกระแทกบนหัวเสาเข็มตามสิทธิบัตรของจำเลยไม่เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่แล้ว การประดิษฐ์ของจำเลยจึงไม่อาจขอรับสิทธิบัตรได้สิทธิบัตรของจำเลยได้ออกไปโดยไม่ชอบด้วยมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวจึงเป็นสิทธิบัตรไม่สมบูรณ์ และเพิกถอนได้ตามมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 336/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คนต่างด้าวได้รับการอนุญาตให้อยู่ในไทยชั่วคราว ไม่ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.ก.คนเข้าเมือง
คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวและการอนุญาตยังไม่สิ้นสุดหรือถูกเพิกถอน ไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติ คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 81
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1573/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาฐานยักยอกทรัพย์: เหตุเกิดในไทย แม้ฝากทรัพย์จากต่างประเทศ
จำเลยจะเดินทางจากประเทศซาอุดีอาระเบียกลับประเทศไทยผู้เสียหายได้ฝากทรัพย์สินมากับจำเลยเพื่อฝากให้ภริยาผู้เสียหายในประเทศไทย ต่อมาผู้เสียหายเดินทางกลับมาประเทศไทยทราบว่าจำเลยมิได้นำทรัพย์สินที่ฝากมาให้กับภริยาผู้เสียหายจึงได้ไปทวงถามที่บ้านจำเลยที่อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี จำเลยบอกว่าจะคืนให้ภายหลังแล้วจำเลยปฏิเสธว่าไม่ได้รับฝาก มูลความผิดฐานยักยอกทรัพย์ เกิดเมื่อจำเลยปฏิเสธว่าไม่ได้รับฝากทรัพย์เหตุจึงเกิดที่อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ประเทศไทยมิใช่ที่ประเทศซาอุดิอาระเบีย ผู้เสียหายไปร้องทุกข์ที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอกุมภวาปี พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอกุมภวาปีจึงมีอำนาจสอบสวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2883/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องจำเลยที่เป็นนิติบุคคลต่างประเทศที่มีสำนักงานสาขาในไทย แม้ใช้ชื่อสาขาฟ้อง ก็ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ระบุชื่อจำเลยในตอนต้นคำฟ้องว่า "สายเดินเรือเมอส์กกรุงเทพฯ" แต่ในคำบรรยายฟ้องโจทก์ได้กล่าวโดยชัดแจ้งว่าจำเลยหมายถึงบริษัทใด ดำเนินธุรกิจในทางใด จดทะเบียนพาณิชย์ ไว้ในประเทศ ไทย โดยใช้ชื่อว่าอะไร สำนักงานตั้งอยู่แห่งใด จนเป็นที่เข้าใจได้แล้วว่าโจทก์ฟ้องบริษัท ต. กับบริษัท อ. ซึ่งเป็นนิติบุคคลอยู่ในประเทศ เดนมาร์ก และมีสำนักงานสาขาสำหรับดำเนินธุรกิจซึ่งบริษัททั้งสองทำร่วมกันในประเทศ ไทย โดยใช้ชื่อว่า"สายเดินเรือเมอส์ก สาขากรุงเทพฯ" เป็นจำเลย ดังนี้แม้"สายเดินเรือเมอส์ก สาขากรุงเทพฯ" จะมิได้เป็นนิติบุคคลก็ไม่เป็นเหตุให้จำเลยไม่อาจถูกฟ้องเป็นจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1645/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร: อำนาจฟ้องเริ่มตั้งแต่ในไทย แม้ความผิดสำเร็จต่างประเทศ
แม้ผู้เสียหายจะยอมให้จำเลยร่วมประเวณีซึ่งถือไม่ได้ว่าเป็นการข่มขืนกระทำชำเราก็ตาม แต่การที่จำเลยพาผู้เสียหายซึ่งมีอายุยังไม่เกิน 18 ปี ไปเสียจากบิดามารดา ก็เป็นการล่วงละเมิดต่ออำนาจปกครองของบิดามารดา ขณะเกิดเหตุจำเลยอายุ 38 ปี และมีภริยาอยู่แล้ว ไม่ได้มีเจตนาจะเลี้ยงดูผู้เสียหายเป็นภริยา การกระทำของจำเลยจึงเป็นการพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 319 วรรคหนึ่งแล้ว
การกระทำความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 319 วรรคหนึ่ง เริ่มขึ้นตั้งแต่จำเลยพาผู้เสียหายขึ้นรถยนต์ที่ปากซอยหน้าบ้านในประเทศไทย แม้จำเลยจะไปร่วมประเวณีกับผู้เสียหายที่ประเทศญี่ปุ่น การกระทำของจำเลยส่วนหนึ่งก็ได้เกิดขึ้นในประเทศไทยแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 5
การกระทำความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 319 วรรคหนึ่ง เริ่มขึ้นตั้งแต่จำเลยพาผู้เสียหายขึ้นรถยนต์ที่ปากซอยหน้าบ้านในประเทศไทย แม้จำเลยจะไปร่วมประเวณีกับผู้เสียหายที่ประเทศญี่ปุ่น การกระทำของจำเลยส่วนหนึ่งก็ได้เกิดขึ้นในประเทศไทยแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 5
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3756/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างต่างประเทศ: สิทธิลูกจ้างตามสัญญาเดิม แม้ทำงานในไทย
สัญญาจ้างระหว่างโจทก์จำเลยทำในประเทศอังกฤษ โดยให้โจทก์ทำงานในประเทศมาเลเซีย ได้กำหนดเงื่อนไขในการจ้างและสิทธิของลูกจ้างไว้โดยชัดแจ้งแม้ต่อมาจำเลยจะส่งโจทก์เข้ามาทำงานในประเทศไทย ซึ่งมีระเบียบข้อบังคับคู่มือพนักงานใช้บังคับเฉพาะลูกจ้างของจำเลยซึ่งกระทำกันในประเทศไทยเท่านั้น โจทก์จะเรียกร้องเงินค่าชดเชยที่มีจำนวนมากกว่าสัญญาจ้างจากจำเลยโดยอาศัยสิทธิตามคู่มือพนักงานฉบับดังกล่าวไม่ได้