พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8797/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ประกอบการไนท์คลับไม่มีรายได้ ไม่ต้องเสียภาษีการค้า แม้ชื่อยังอยู่ในทะเบียน
โจทก์ประกอบกิจการค้าประเภทไนท์คลับ ตามบัญชีการค้าประเภท 7 โรงแรมและภัตตาคาร ชนิด (ก) โจทก์ได้ให้ ณ.เช่ากิจการของโจทก์ไปตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2533 ถึงวันที่ 15 มิถุนายน 2535 ผู้ที่ประกอบกิจการไนท์คลับและมีรายรับจากการทำกิจการไนท์คลับดังกล่าวต่อจากโจทก์คือ ณ. ดังนั้นแม้ทะเบียนการค้าระหว่างเดือนมิถุนายน 2533 ถึงเดือนธันวาคม 2533 จะยังมีชื่อโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้า โดยโจทก์มิได้แจ้งเลิกประกอบการค้าหรือโอนกิจการค้าตามมาตรา 82 ทวิ ซึ่งเป็นความผิดอาญาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 90 แห่งประมวลรัษฎากรที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นก็ตาม แต่เมื่อโจทก์มิได้เป็นผู้ประกอบกิจการไนท์คลับและไม่มีรายรับจากการประกอบการค้าดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีหน้าที่เสียภาษีการค้าประเภทการค้า 7 โรงแรมและภัตตาคารชนิด (ก) ตามการประเมินของเจ้าพนักงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 881/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเภทการค้าไนท์คลับ/คาบาเรต์ ไม่อยู่ในข้อยกเว้นภาษีน้ำอัดลม ภัตตาคารที่มีดนตรี
การที่โจทก์ประกอบกิจการห้องอาหารโดยมีดนตรีไม่ว่าดนตรีนั้นจะมีเฉพาะเวลากลางคืนหรือไม่ก็ตาม ไม่ถือว่าโจทก์ประกอบการค้าประเภทการค้า 7.(ง)ภัตตาคารอื่นนอกจาก(ค) แต่ถือเป็นการประกอบการค้าประเภทการค้า 7.(ก) ไนท์คลับหรือคาบาเรต์ แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้าตาม ประมวลรัษฎากร
ประมวลรัษฎากร มาตรา 79 ตรี (9) บัญญัติยกเว้นให้ไม่ต้องนำรายรับจากการขายน้ำอัดลมของภัตตาคารตามประเภทการค้า 7.(ค) ภัตตาคารที่มีหญิงบำเรอสำหรับปรนนิบัติลูกค้าหรือมีที่สำหรับพักผ่อนหลับนอนหรือมีบริการนวดให้แก่ลูกค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้ามารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีการค้า เมื่อการค้าของโจทก์เป็นการค้าประเภทการค้า 7.(ก) ไนท์คลับหรือคาบาเรต์ โจทก์จึงไม่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำรายรับจากการขายน้ำอัดลมมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีการค้า.(ที่มา-ส่งเสริม)
ประมวลรัษฎากร มาตรา 79 ตรี (9) บัญญัติยกเว้นให้ไม่ต้องนำรายรับจากการขายน้ำอัดลมของภัตตาคารตามประเภทการค้า 7.(ค) ภัตตาคารที่มีหญิงบำเรอสำหรับปรนนิบัติลูกค้าหรือมีที่สำหรับพักผ่อนหลับนอนหรือมีบริการนวดให้แก่ลูกค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้ามารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีการค้า เมื่อการค้าของโจทก์เป็นการค้าประเภทการค้า 7.(ก) ไนท์คลับหรือคาบาเรต์ โจทก์จึงไม่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำรายรับจากการขายน้ำอัดลมมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีการค้า.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5453/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีสรรพสามิต: สถานบริการที่ไม่มีฟลอร์เต้นรำ แต่มีลักษณะคล้ายไนท์คลับ ต้องเสียภาษี
โจทก์ได้รับแจ้งการประเมินภาษีสรรพสามิตสำหรับปี 2546 ถึงปี 2551 คดีนี้จึงมีประเด็นข้อพิพาทกันตามกฎหมายภาษีสรรพสามิตเท่านั้น การวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทในคดีนี้จึงต้องพิจารณาว่า โจทก์เป็นสถานบริการตาม พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2546 ซึ่งได้กำหนดนิยามศัพท์คำว่า "สถานบริการ" ไว้เป็นที่ชัดเจนแล้ว โจทก์จะนำนิยามศัพท์คำว่า "สถานบริการ" ตาม พ.ร.บ.สถานบริการ พ.ศ.2509 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.สถานบริการ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2546 มาพิจารณาหาได้ไม่ เนื่องจากกฎหมายทั้งสองฉบับนี้เป็นกฎหมายที่ต่างประเภทกันและมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน
แม้สถานประกอบการของโจทก์ไม่ได้จัดให้มีเวทีหรือพื้นที่สำหรับเต้นรำ แต่ลักษณะการประกอบกิจการของโจทก์แสดงให้เห็นได้ว่า โจทก์มีเจตนาใช้เป็นสถานที่ให้บริการจำหน่ายสุรา เครื่องดื่มและจัดให้มีการแสดงดนตรีหรือใช้เครื่องเสียงหรือการแสดงอื่นใดเพื่อการบันเทิง โดยมีเจตนาให้มีการดื่มกินและเต้นรำกันเพื่อความสนุกสนานในเวลากลางคืนมากกว่าการไปรับประทานอาหารตามปกติของบุคคลทั่วไป อันมีลักษณะเป็นการประกอบกิจการในด้านบันเทิงหรือหย่อนใจต่าง ๆ ในสถานบริการเพื่อหารายได้เป็นธุรกิจ โดยการให้บริการของโจทก์ในลักษณะดังกล่าว ถือเป็นสถานที่ทำให้รื่นเริงหรือบันเทิงใจ ซึ่งเปิดในเวลากลางคืน มีดนตรี มีการแสดง และขายอาหารกับเครื่องดื่มด้วย อันมีลักษณะแตกต่างจากร้านอาหารหรือภัตตาคารโดยทั่วไป อีกทั้งเป็นการให้บริการที่ไม่มีความจำเป็นต่อการครองชีพของประชาชน นอกจากนี้โจทก์ยังมีวัตถุที่ประสงค์ว่า ประกอบกิจการภัตตาคาร ห้องอาหาร บาร์ ไนท์คลับ ดังนั้น สถานประกอบการของโจทก์จึงจัดอยู่ในพิกัดลักษณะบริการประเภท 09.01 ไนต์คลับและดิสโกเธค ตาม พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2546 โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีสรรพสามิตตาม พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 มาตรา 7
แม้สถานประกอบการของโจทก์ไม่ได้จัดให้มีเวทีหรือพื้นที่สำหรับเต้นรำ แต่ลักษณะการประกอบกิจการของโจทก์แสดงให้เห็นได้ว่า โจทก์มีเจตนาใช้เป็นสถานที่ให้บริการจำหน่ายสุรา เครื่องดื่มและจัดให้มีการแสดงดนตรีหรือใช้เครื่องเสียงหรือการแสดงอื่นใดเพื่อการบันเทิง โดยมีเจตนาให้มีการดื่มกินและเต้นรำกันเพื่อความสนุกสนานในเวลากลางคืนมากกว่าการไปรับประทานอาหารตามปกติของบุคคลทั่วไป อันมีลักษณะเป็นการประกอบกิจการในด้านบันเทิงหรือหย่อนใจต่าง ๆ ในสถานบริการเพื่อหารายได้เป็นธุรกิจ โดยการให้บริการของโจทก์ในลักษณะดังกล่าว ถือเป็นสถานที่ทำให้รื่นเริงหรือบันเทิงใจ ซึ่งเปิดในเวลากลางคืน มีดนตรี มีการแสดง และขายอาหารกับเครื่องดื่มด้วย อันมีลักษณะแตกต่างจากร้านอาหารหรือภัตตาคารโดยทั่วไป อีกทั้งเป็นการให้บริการที่ไม่มีความจำเป็นต่อการครองชีพของประชาชน นอกจากนี้โจทก์ยังมีวัตถุที่ประสงค์ว่า ประกอบกิจการภัตตาคาร ห้องอาหาร บาร์ ไนท์คลับ ดังนั้น สถานประกอบการของโจทก์จึงจัดอยู่ในพิกัดลักษณะบริการประเภท 09.01 ไนต์คลับและดิสโกเธค ตาม พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2546 โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีสรรพสามิตตาม พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 มาตรา 7
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2109/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานบันเทิงเสียภาษีสรรพสามิต: แม้ไม่มีพื้นที่เต้นรำ แต่มีลักษณะบริการที่เข้าข่ายไนท์คลับ
แม้สถานบริการของโจทก์ไม่ได้จัดให้มีเวทีหรือพื้นที่สำหรับเต้นรำ แต่ลักษณะสถานประกอบกิจการของโจทก์แสดงให้เห็นได้ว่า โจทก์ใช้สถานที่ในการให้บริการจำหน่ายสุรา เครื่องดื่มและจัดให้มีการแสดงดนตรีหรือใช้เครื่องเสียงหรือการแสดงอื่นใดเพื่อการบันเทิง โดยมีเจตนาให้มีการดื่มกินและเต้นรำกันเพื่อความสนุกสนานในเวลากลางคืนมากกว่าการไปรับประทานอาหารตามปกติของบุคคลทั่วไป อันมีลักษณะเป็นการประกอบกิจการในด้านบันเทิงหรือหย่อนใจต่าง ๆ ในสถานบริการเพื่อหารายได้เป็นธุรกิจ และเป็นการให้บริการที่ไม่มีความจำเป็นต่อการครองชีพของประชาชน ทั้ง พ.ร.บ.พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 ตอนที่ 9 กำหนดเพียงลักษณะของบริการที่อยู่ในความหมายของกิจการบันเทิงหรือหย่อนใจ โดยกำหนดให้จัดเก็บภาษีจากรายรับของสถานที่สำหรับดื่มกินและเต้นรำจัดให้มีการแสดงดนตรี หรือใช้เครื่องเสียงหรือแสดงอื่นใดเพื่อการบันเทิงเท่านั้น มิได้กำหนดว่ากิจการบันเทิงหรือหย่อนใจนั้นต้องมีพื้นที่สำหรับเต้นรำ และมิได้กำหนดประเภทของสถานบริการและนิยามคำว่า "เต้น" กับ "เต้นรำ" ดังเช่น พ.ร.บ.สถานบริการ พ.ศ.2509 ประกอบกับ พ.ร.บ.สถานบริการ พ.ศ.2509 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.สถานบริการ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2525 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 3 (4) มีเจตนารมณ์เพื่อลดความยุ่งยากให้แก่ผู้ประกอบอาชีพสุจริตและรัฐบาลต้องการส่งเสริมให้เยาวชนตื่นตัวสนใจศิลปะที่ละเอียดอ่อน และเพื่อให้การแสดงดนตรีกระทำได้โดยสะดวก แต่ทางราชการยังสามารถควบคุมได้ ไม่ได้มีผลเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตตามกฎหมายแต่อย่างใด โจทก์จะนำนิยามศัพท์คำว่า "สถานบริการ" ตาม พ.ร.บ.สถานบริการ พ.ศ.2509 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.สถานบริการ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2546 มาพิจารณาหาได้ไม่ เนื่องจากกฎหมายทั้งสองฉบับเป็นกฎหมายที่ต่างประเภทกัน และมีวัตถุประสงค์แตกต่างกัน สถานประกอบกิจการของโจทก์จึงเข้าลักษณะเป็นการประกอบกิจการบันเทิงหรือหย่อนใจต่าง ๆ ในสถานบริการเพื่อหารายได้เป็นธุรกิจ ประเภทที่ 09.01 ลักษณะเช่นเดียวกับไนท์คลับและดิสโกเธค ตาม พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2546