คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ไปรษณีย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 30 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8129/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งคำวินิจฉัยทางไปรษณีย์ และการนับระยะเวลาอุทธรณ์ตามกฎหมายภาษีอากร โดยการส่งให้ผู้แทนผู้รับถือว่าเป็นการนำจ่ายแล้ว
ตามไปรษณีย์นิเทศฯ การสื่อสารแห่งประเทศไทยอาจจัดส่งไปรษณีย์ให้แก่ผู้แทนของผู้รับก็ได้ และเมื่อจ่ายให้แก่ผู้แทนของผู้รับแล้ว ให้ถือว่าได้นำจ่ายให้แก่ผู้รับแล้วนับแต่เวลาที่นำจ่าย ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานของการสื่อสารแห่งประเทศไทยได้นำเอกสารคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไปส่งยังภูมิลำเนาของโจทก์ โดยมีพนักงานรักษาความปลอดภัยเป็นผู้ลงลายมือชื่อรับไว้เมื่อวันที่ 7สิงหาคม 2541 ถือได้ว่ามีการนำจ่ายทางไปรษณีย์ให้แก่ผู้แทนของผู้รับและถือว่าโจทก์ได้รับคำวินิจฉัยตั้งแต่วันดังกล่าวแล้ว โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2541 อันล่วงเลยกำหนดระยะเวลา 30 วันแล้วโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 946/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ทางไปรษณีย์ และกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ต่อศาลภาษีอากร
การส่งหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ กระทำได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 8 วรรคแรก และจะถือว่าโจทก์ได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อใดต้องนำไปรษณียนิเทศ พ.ศ. 2534ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 22 แห่ง พ.ร.บ.ไปรษณีย์พ.ศ. 2477 และมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.การสื่อสารแห่งประเทศไทยพ.ศ. 2519 ที่ใช้บังคับในขณะเกิดข้อพิพาทมาใช้บังคับ ไปรษณียนิเทศดังกล่าวข้อ 572 กำหนดว่า "สิ่งของส่งทางไปรษณีย์อาจนำจ่ายให้แก่ผู้รับหรือผู้แทนของผู้รับก็ได้" ข้อ 573 กำหนดว่า "ในกรณีนำจ่าย ณ ที่อยู่ของผู้รับ การสื่อสารแห่งประเทศไทยถือว่าบุคคลต่อไปนี้เป็นผู้แทนของผู้รับคือ ... 573.4 ผู้ทำหน้าที่เวรรับส่งหรือเวรรักษาการณ์ของหน่วยงานต่าง ๆ เช่น บริษัท กรมกอง สำนักงาน โรงเรียน หน่วยทหารเป็นต้น" และข้อ 575 กำหนดว่า"สิ่งของส่งทางไปรษณีย์ที่นำจ่ายให้แก่ผู้แทนของผู้รับ ให้ถือว่าได้นำจ่ายให้แก่ผู้รับแล้วนับแต่วันเวลาที่นำจ่าย" ดังนั้น แม้ ส.จะไม่ได้เป็นพนักงานของโจทก์และไม่มีหน้าที่รับจดหมายหรือเอกสารแทนโจทก์ แต่ ส.ได้ทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยที่สำนักงานของโจทก์ในวันหยุดทำงาน จึงเป็นการทำหน้าที่เป็นเวรรักษาการณ์ของสำนักงานโจทก์นั่นเอง เมื่อ ส.ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จากพนักงานการสื่อสารแห่งประเทศไทยแล้วตั้งแต่วันที่ 27 ธันวาคม 2540 ย่อมถือได้ว่า ส.เป็นผู้แทนโจทก์และหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ได้นำจ่ายให้แก่ผู้รับคือโจทก์ตั้งแต่วันดังกล่าว ตามไปรษณียนิเทศ ข้อ 573.4 และ ข้อ 575 ดังกล่าวข้างต้น
มาตรา 30 (2) แห่ง ป.รัษฎากร บัญญัติให้อุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ต่อศาลภายในกำหนด 30 วันนับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ มิใช่นับแต่วันที่ทราบคำวินิจฉัยอุทธรณ์ ดังนั้นเมื่อโจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ในวันที่ 27 ธันวาคม 2540 แม้โจทก์จะทราบคำวินิจฉัยอุทธรณ์ในวันที่ 29 ธันวาคม 2540 โจทก์ก็ต้องอุทธรณ์ต่อศาลหรือฟ้องคดีขอให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวภายในวันที่ 26มกราคม 2541 หากมีพฤติการณ์พิเศษเป็นเหตุให้โจทก์ไม่สามารถอุทธรณ์ต่อศาลภายในกำหนดเวลาดังกล่าวได้ โจทก์ต้องยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาต่อศาลก่อนระยะเวลาดังกล่าวสิ้นสุดลง เว้นแต่กรณีที่มีเหตุสุดวิสัยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 23ประกอบมาตรา 17 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 การที่ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ขยายระยะเวลายื่นฟ้องตามคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฟ้องคดีของโจทก์ลงวันที่ 28 มกราคม2541 ซึ่งเกินกำหนด 30 วันนับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวโดยสำคัญผิดว่าโจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2540 จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะเป็นการอนุญาตให้ขยายระยะเวลาฟ้องคดีต่อศาลหลังจากสิ้นระยะเวลาตามกฎหมายแล้ว โดยมิได้มีเหตุสุดวิสัยแต่อย่างใดโจทก์จึงไม่อาจอาศัยคำสั่งอนุญาตดังกล่าวมาฟ้องคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 974/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งหนี้ทางไปรษณีย์ และผลของการปฏิเสธหนี้เกินกำหนดตามกฎหมายล้มละลาย
ลูกจ้างของผู้ร้องซึ่งอยู่ที่สำนักทำการงานของผู้ร้องมีอายุเกิน 20 ปี ได้รับหนังสือทวงหนี้จากผู้คัดค้านไว้เมื่อวันที่ 23ธันวาคม 2531 จึงถือได้ว่ามีการส่งหนังสือทวงหนี้ให้แก่ผู้ร้องโดยชอบแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 73 ทวิ,76 ประกอบด้วย พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 119,153ดังนี้ ผู้ร้องชอบที่จะปฏิเสธหนี้ต่อผู้คัดค้านภายใน 14 วัน นับถัดจากวันที่ได้รับหนังสือทวงหนี้ ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 6 มกราคม2532 โดยวันดังกล่าวมิใช่วันหยุดราชการ เมื่อผู้ร้องทำหนังสือปฏิเสธหนี้ถึงผู้คัดค้านในวันที่ 9 มกราคม 2532 ซึ่งเกินกำหนด14 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือทวงหนี้ของผู้คัดค้าน ต้องถือว่าผู้ร้องเป็นหนี้กองทรัพย์สินของลูกหนี้ตามจำนวนที่ผู้คัดค้านแจ้งไปเป็นการเด็ดขาดตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 119 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5120/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำร้องภาษีล่าช้าเกินกำหนด ไม่ถือเป็นเหตุสุดวิสัย แม้ส่งทางไปรษณีย์
โจทก์มีเวลาเพียงพอที่จะดำเนินการยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินใหม่ต่อเจ้าหน้าที่ของเทศบาลจำเลยได้จนถึงวันที่ 17 ตุลาคม 2533 อันเป็นวันสุดท้าย แต่โจทก์หาได้ดำเนินการดังกล่าวไม่กลับส่งคำร้องจะให้พิจารณาการประเมินใหม่ไปยังจำเลยโดยทางไปรษณีย์ และคำร้องดังกล่าวไปถึงจำเลยเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2533 เกินกำหนดเวลาตามกฎหมายแล้ว พฤติการณ์เช่นนี้ยังถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยที่จะรับไว้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4250/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกกล่าวบังคับจำนองโดยชอบตามกฎหมาย: ภูมิลำเนา, การส่งทางไปรษณีย์, และการให้สัตยาบัน
โจทก์มิได้บอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยทางหนังสือพิมพ์แต่เพียงอย่างเดียว แต่โจทก์ได้บอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยโดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับก่อนแล้ว การบอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับนั้น โดยส่งไปยังจำเลยที่บ้านเลขที่ 10/82 แขวงบางแคเหนือ ซึ่งเป็นภูมิลำเนาของจำเลยตามที่ปรากฏในหนังสือสัญญาจำนองที่ดินและสัญญากู้เงินที่จำเลยให้ไว้แก่โจทก์การที่จำเลยย้ายทะเบียนบ้านไปอยู่ที่บ้านเลขที่ 126/59 แขวงบางขุนเทียน เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2530 นั้น จำเลยมิได้แจ้งให้โจทก์ทราบแต่อย่างใด ทั้งเป็นการย้ายไปภายหลังที่โจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับแล้ว บ้านเลขที่ 10/82จึงเป็นภูมิลำเนาของจำเลยในขณะโจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองเมื่อโจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยโดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ แต่พนักงานไปรษณีย์ส่งให้ไม่ได้จึงทำใบแจ้งสั่งให้จำเลยไปรับไว้ และครบกำหนดแล้วจำเลยไม่ไปรับ อันเป็นการส่งตามทางการถือว่าจำเลยได้รับคำบอกกล่าวบังคับจำนองแล้ว การที่โจทก์มอบอำนาจให้ ธ.ทนายความบอกกล่าวบังคับจำนองมิได้ทำเป็นหนังสือ เมื่อ ธ. ได้บอกกล่าวบังคับจำนองไปในนามของโจทก์ และโจทก์ยอมรับเอาการบังคับจำนองดังกล่าวแล้วย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 823 วรรคหนึ่ง และถือได้ว่าโจทก์ได้บอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1925/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของไปรษณีย์ต่อการสูญหายของสิ่งของฝากส่ง และการชดใช้ค่าเสียหายตามอัตราที่กำหนด
เมื่อปรากฏว่าเหตุที่ไปรษณียภัณฑ์ สูญหายไปในระหว่างการขนส่ง ของจำเลย มิได้เกิดจากการทุจริตของพนักงานจำเลย จำเลยจึงต้อง รับผิดชดใช้ค่าเสียหายเฉพาะที่ไปรษณีย์นิเทศกำหนดไว้เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5928/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของไปรษณีย์ในการขนส่งสินค้าสูญหาย: การชดใช้ค่าเสียหายตามประเภทพัสดุ
การสื่อสารแห่งประเทศไทย จำเลยที่ 1 รับฝากสินค้าอัญมณีจำพวกทับทิมและไพลินเจียระไนจาก ส. ซึ่งส่งเป็นพัสดุไปรษณีย์อากาศประเภทพัสดุไปรษณีย์ธรรมดา ไปยังผู้รับปลายทางที่สหรัฐอเมริกา เป็นกรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 609 วรรคแรก ที่บัญญัติให้ต้องบังคับตามพระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ.2519 พระราชบัญญัติไปรษณีย์ พุทธศักราช 2477 และไปรษณีย์นิเทศ พ.ศ.2524 ซึ่งเป็นกฎหมายและข้อบังคับที่ใช้อยู่ในขณะที่มีการฝากส่งไปรษณีย์ดังกล่าว ดังนั้น เมื่อ ส.มิได้จัดส่งพัสดุภัณฑ์ในประเภทพัสดุไปรษณีย์รับประกันและต่อมาพัสดุไปรษณีย์ดังกล่าวสูญหายไป ส.จึงมีสิทธิเพียงได้รับชดใช้ค่าเสียหายตามอัตราการชดใช้ค่าเสียหายในประเภทพัสดุไปรษณีย์ธรรมดาตามที่ กำหนดไว้ในภาคผนวกของไปรษณีย์นิเทศ พ.ศ.2514 จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน 522 บาท จำเลยที่ 1 จะอ้างไม่ต้องรับผิดเนื่องจากมีข้อตกลงพัสดุไปรษณีย์ระหว่างการไปรษณีย์สหรัฐอเมริกาและการไปรษณีย์แห่ง ประเทศไทยตามไปรษณีย์นิเทศข้อ 393.6 และคำสั่งการสื่อสารแห่งประเทศไทยที่ 175/2525 เช่นนั้นไม่ได้ เพราะข้อตกลงดังกล่าวแม้จะทำขึ้นโดยอาศัยอำนาจจากบทบัญญัติของกฎหมายแต่ก็หามีผลเช่นเดียวกันกับ กฎหมายไม่ เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 1 ได้แจ้งให้ ส.ทราบว่าพัสดุไปรษณีย์ถึงสหรัฐอเมริกาชิ้นนี้หากสูญหายจะไม่ได้รับชดใช้ค่าเสียหาย จำเลยที่ 1 จะยกเอาเหตุดังกล่าวมาเป็นข้อยกเว้นความรับผิดหาได้ไม่
การขนไปรษณีย์ภัณฑ์ในหน้าที่ของจำเลยที่ 1 มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษแล้ว จะนำบทบัญญัติเรื่องรับขนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 8 หมวด 1 มาใช้บังคับแก่จำเลยที่ 1 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5928/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของไปรษณีย์ต่อการสูญหายของพัสดุ: การชดใช้ค่าเสียหายตามประเภทพัสดุและข้อตกลงระหว่างประเทศ
การสื่อสารแห่งประเทศไทย จำเลยที่ 1 รับฝากสินค้าอัญมณีจำพวกทับทิมและไพลินเจียระไนจากส. ซึ่งส่งเป็นพัสดุไปรษณีย์อากาศประเภทพัสดุไปรษณีย์ธรรมดา ไปยังผู้รับปลายทางที่สหรัฐอเมริกาเป็นกรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 609 วรรคแรกที่บัญญัติให้ต้องบังคับตามพระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทยพ.ศ. 2519 พระราชบัญญัติไปรษณีย์ พุทธศักราช 2477 และไปรษณีย์นิเทศ พ.ศ. 2524 ซึ่งเป็นกฎหมายและข้อบังคับที่ใช้อยู่ในขณะที่มีการฝากส่งไปรษณีย์ดังกล่าว ดังนั้น เมื่อ ส. มิได้จัดส่งพัสดุภัณฑ์ในประเภทพัสดุไปรษณีย์รับประกันและต่อมาพัสดุไปรษณีย์ดังกล่าวสูญหายไป ส. จึงมีสิทธิเพียงได้รับชดใช้ค่าเสียหายตามอัตราการชดใช้ค่าเสียหายในประเภทพัสดุไปรษณีย์ธรรมดาตามที่กำหนดไว้ในภาคผนวกของไปรษณีย์นิเทศ พ.ศ. 2524 จำเลยที่ 1จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน 522 บาท จำเลยที่ 1จะอ้างไม่ต้องรับผิดเนื่องจากมีข้อตกลงพัสดุไปรษณีย์ระหว่างการไปรษณีย์สหรัฐอเมริกาและการไปรษณีย์แห่งประเทศไทยตามไปรษณีย์นิเทศข้อ 393.6 และคำสั่งการสื่อสารแห่งประเทศไทยที่ 175/2525 เช่นนั้นไม่ได้ เพราะข้อตกลงดังกล่าวแม้จะทำขึ้นโดยอำนาจจากบทบัญญัติของกฎหมายแต่ก็หามีผลเช่นเดียวกันกับกฎหมายไม่เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 1 ได้แจ้งให้ ส.ทราบว่าพัสดุไปรษณีย์ถึงสหรัฐอเมริกาชิ้นนี้หากสูญหายจะไม่ได้รับชดใช้ค่าเสียหาย จำเลยที่ 1 จะยกเอาเหตุดังกล่าวมาเป็นข้อยกเว้นความรับผิดหาได้ไม่ การขนไปรษณีย์ภัณฑ์ในหน้าที่ของจำเลยที่ 1 มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษแล้ว จำนำบทบัญญัติเรื่องรับขนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 4 หมวด 1 มาใช้บังคับแก่จำเลยที่ 1 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2043/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของรัฐวิสาหกิจในการขนส่งไปรษณีย์ และการไม่มีนิติสัมพันธ์กับผู้รับประกันภัย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 609 บัญญัติให้การขนไปรษณียภัณฑ์ในหน้าที่กรมไปรษณีย์โทรเลขต้องบังคับตามกฎหมายและกฎข้อบังคับสำหรับทบวงการนั้น ๆ ดังนี้ การที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ฝากส่งไปรษณียภัณฑ์กับการสื่อสารแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 จึงต้องบังคับตามพระราชบัญญัติ ไปรษณีย์ พ.ศ. 2477 พระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2519 และไปรษณียนิเทศ พ.ศ. 2520 ซึ่งเป็นกฎหมายและข้อบังคับที่ใช้อยู่ในขณะที่ฝากส่งไปรษณียภัณฑ์ จะนำบทบัญญัติเรื่องรับขนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 8 หมวด 1 มาใช้บังคับแก่จำเลยที่ 1 ไม่ได้ บริษัทสายการบินอลิตาเลียจำกัดจำเลยที่ 2 มีนิติสัมพันธ์เฉพาะกับจำเลยที่ 1 ตามสนธิสัญญาระหว่างประเทศและอนุสัญญาสากลไปรษณีย์ และมิใช่ผู้ขนส่งหลายทอดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 618 ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ไม่มีนิติสัมพันธ์กับจำเลยที่ 2 โจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยไปรษณียภัณฑ์ที่ห้างหุ้นส่วนจำกัดส.เป็นผู้ฝากส่ง จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในการที่ไปรษณียภัณฑ์ดังกล่าวสูญหายไป.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 960/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโดยเจ้าพนักงานฯ การส่งหมายเรียกทางไปรษณีย์ และการนับระยะเวลาอุทธรณ์ต่อศาล
โจทก์เช่าตู้ไปรษณีย์ของที่ทำการไปรษณีย์ไว้ ซึ่งโจทก์จะต้องมารับหนังสือที่ส่งถึงโจทก์จากตู้ที่เช่านั้น เมื่อผู้จัดการของโจทก์ได้รับหมายเรียกซึ่งจำเลยส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปจากที่ทำการไปรษณีย์นั้นแล้วถือได้ว่าเป็นการส่งหมายเรียกโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนถูกต้องชอบด้วยประมวลรัษฎากร มาตรา 8 ไม่จำต้องนำไปส่งที่สำนักงานของโจทก์
เจ้าพนักงานประเมินได้ออกหมายเรียกให้โจทก์ไปพบกับให้นำบัญชีและเอกสารหลักฐานประกอบการลงบัญชีไปส่งมอบเพื่อไต่สวนและตรวจสอบแต่โจทก์ไม่ยอมไปพบและไม่ส่งเอกสาร เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินภาษีได้โดยไม่จำต้องไต่สวนก่อน
โจทก์ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินเจ้าพนักงานประเมินจึงประเมินภาษีการค้าโดยใช้อำนาจตามประมวลรัษฎากรมาตรา 87 (3) ประกอบด้วยมาตรา 87 ทวิ (8) กรณีจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์การประเมินตามมาตรา 88
โจทก์เช่าตู้ไปรษณีย์ไว้ ในการส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้แก่โจทก์พนักงานไปรษณีย์ได้เก็บคำวินิจฉัยอุทธรณ์นั้นไว้ โดยออกหนังสือแจ้งความให้โจทก์ทราบเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2529 ต่อมาโจทก์มอบให้คนของโจทก์มารับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ไปเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2529 ซึ่งโจทก์จะต้องอุทธรณ์ต่อศาลภายใน 30 วันคือภายในวันที่ 10 พฤษภาคม 2529 แต่ปรากฏว่าวันที่ 10 และ11 เป็นวันหยุดราชการ โจทก์จึงมีสิทธินำคดีมาฟ้องในวันที่12 พฤษภาคม 2529 ซึ่งเป็นวันเริ่มทำงานใหม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 161.
of 3