คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ไปรษณีย์ภัณฑ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3485/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดเจ้าพนักงานเบียดบังไปรษณีย์ภัณฑ์: การที่พนักงานรัฐวิสาหกิจมีหน้าที่จัดการไปรษณีย์ภัณฑ์ย่อมเข้าข่ายเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทยพ.ศ.2519มาตรา15บัญญัติให้พนักงานของการสื่อสารแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญาจำเลยดำรงตำแหน่งพนักงานการสื่อสารแห่งประเทศไทยทำหน้าที่บุรุษไปรษณีย์มีหน้าที่ปิดเปิดถุงไปรษณีย์ภัณฑ์และคัดเลือกไปรษณีย์ภัณฑ์เข้าด้านจ่ายได้เบียดบังเอาจดหมายต่างประเทศต้นทางเยอรมันและบราซิลเป็นของตนโดยทุจริตและตั้งใจกักหรือหน่วงเหนี่ยวไปรษณีย์ภัณฑ์ในระหว่างทางไปรษณีย์ย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา147และพระราชบัญญัติไปรษณีย์พ.ศ.2477มาตรา58

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3295/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิเสธการรับฝากส่งไปรษณีย์ภัณฑ์ที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์การห่อหุ้มตามไปรษณียนิเทศ
ไปรษณียนิเทศ พ.ศ.2524 ข้อ 131.1 กำหนดหลักเกณฑ์การเข้าห่อซองหรือการหุ้มห่อสำหรับไปรษณีย์ภัณฑ์ประเภทของตีพิมพ์ว่า "...ต้องได้รับการหุ้มห่อในลักษณะที่สิ่งบรรจุภายในได้รับการป้องกันอย่างเพียงพอ แต่ในขณะเดียวกันจะต้องสามารถเปิดตรวจได้โดยสะดวก รวดเร็ว เช่น ใช้แถบกระดาษพันไว้ ใส่ไว้ในหลอดกระดาษแข็ง ใส่ไว้ในระหว่างกระดาษแข็ง ใส่ซองหรือเครื่องบรรจุที่ไม่ปิดผนึก ใส่ซองหรือเครื่องบรรจุที่ปิดผนึกโดยใช้วิธีการที่สามารถเปิดตรวจและปิดผนึกใหม่ได้โดยสะดวกรวดเร็ว..." ซึ่งจะเห็นได้ว่า ของตีพิมพ์นั้นอาจใส่ซองหรือเครื่องบรรจุที่ปิดผนึกก็ได้ แต่ต้องเป็นการใส่ซองหรือเครื่องบรรจุที่ปิดผนึกโดยวิธีการที่สามารถเปิดตรวจและปิดผนึกใหม่ได้โดยสะดวกรวดเร็ว แต่ของตีพิมพ์ของโจทก์เป็นนิตยสารซึ่งโจทก์เข้าห่อซองโดยบรรจุในซองกระดาษขาว ใช้เทปกาวใส ขนาดกว้าง 1เซนติเมตร ปิดทับฝาซองตลอดความยาวของซองและใช้เชือกขาวผูกรัดด้วยเงื่อนตายซึ่งเป็นที่เห็นได้ว่า หากต้องการเปิดตรวจ จะต้องแก้หรือตัดเชือกขาวที่ผูกรัดด้วยเงื่อนตายออก แล้วต้องแกะลอกเทปหรือใช้มีดตัดเทปซึ่งอาจทำให้ซองขาด และไม่อาจปิดผนึกใหม่ได้โดยไม่ใช้เทปใหม่ การเข้าห่อซองของตีพิมพ์ของโจทก์เช่นนี้ ถือไม่ได้ว่าเป็นการใส่ซองที่ปิดผนึกโดยใช้วิธีการที่สามารถเปิดตรวจและปิดผนึกใหม่ได้โดยสะดวกรวดเร็วตามข้อกำหนดแห่งไปรษณียนิเทศฯ ข้อ 131.1
สำหรับไปรษณีย์ภัณฑ์ประเภทพัสดุย่อย นั้น ตามข้อ 144.1 กำหนดว่า จะต้องเข้าห่อซองหรือหุ้มห่อในลักษณะที่อาจเปิดตรวจดูสิ่งของภายในได้โดยไม่ทำให้การหุ้มห่อนั้นเสียสภาพ แต่พัสดุย่อยของโจทก์เป็นตลับเทปคาสเซ็ท 1 ตลับ ซึ่งโจทก์เข้าห่อซองโดยบรรจุในซองกระดาษ ใช้เทปกาวใส ขนาดกว้าง 1 เซนติเมตร ปิดทับฝาซองเกือบตลอดความยาวของฝาซอง และใช้เทปกาวใสขนาดเดียวกัน ปิดทับรอบความกว้าง ซึ่งเป็นที่เห็นได้ว่าหากต้องการเปิดตรวจดู ก็จะต้องแกะลอกเทปหรือใช้มีดตัดเทป อาจทำให้ซองฉีกขาด และการปิดผนึกก็ต้องใช้เทปใหม่ จึงถือไม่ได้ว่าการเข้าห่อซองพัสดุย่อยของโจทก์เป็นการเข้าห่อซองในลักษณะที่อาจเปิดตรวจดูสิ่งของภายในได้โดยไม่ทำให้การหุ้มห่อนั้นเสียสภาพ ตามข้อกำหนดแห่งไปรษณียนิเทศฯ ข้อ144.1 นี้เช่นกัน
เมื่อการเข้าห่อซองของตีพิมพ์และพัสดุย่อยของโจทก์มิได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดเฉพาะการหุ้มห่อไปรษณีย์ภัณฑ์ทั้งสองชนิดดังกล่าวตามที่กำหนดไว้ในข้อ 131.1และ 144.1 แห่งไปรษณียนิเทศ พ.ศ. 2524 การสื่อสารแห่งประเทศไทยก็ชอบที่จะปฏิเสธไม่รับฝากส่งไปรษณีย์ภัณฑ์ของโจทก์ได้ตามข้อ 80 แห่งไปรษณียนิเทศ พ.ศ.2524 ซึ่งออกตามความในมาตรา 22 แห่ง พ.ร.บ. ไปรษณีย์ พ.ศ.2477 และพ.ร.บ. การสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ.2519 มาตรา 4 และประกาศการสื่อสารแห่งประเทศไทย เรื่องให้ใช้ไปรษณียนิเทศ พ.ศ.2524 ลงวันที่ 25 มิถุนายน 2524ดังนั้นจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นพนักงานของการสื่อสารแห่งประเทศไทย ย่อมมีสิทธิที่จะปฏิเสธไม่รับฝากส่งไปรษณีย์ภัณฑ์ทั้งสองชนิดของโจทก์ดังกล่าวได้ และไม่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3295/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิเสธรับฝากส่งไปรษณีย์ภัณฑ์ที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์การห่อหุ้มตามไปรษณียนิเทศ ไม่ถือเป็นการละเมิด
ไปรษณียนิเทศ พ.ศ. 2524 ข้อ 131.1 กำหนดหลักเกณฑ์การเข้าห่อซองหรือการหุ้มห่อสำหรับไปรษณีย์ภัณฑ์ประเภทของตีพิมพ์ว่า"ต้องได้รับการหุ้มห่อในลักษณะที่สิ่งบรรจุภายในได้รับการป้องกันอย่างเพียงพอ แต่ในขณะเดียวกันจะต้องสามารถเปิดตรวจได้โดยสะดวกรวดเร็ว เช่น ใช้แถบกระดาษพันไว้ ใส่ไว้ในหลอดกระดาษแข็ง ใส่ไว้ในระหว่างกระดาษแข็ง ใส่ซองหรือเครื่องบรรจุที่ไม่ปิดผนึก ใส่ซองหรือเครื่องบรรจุที่ปิดผนึกโดยใช้วิธีการที่สามารถเปิดตรวจและปิดผนึกใหม่ได้โดยสะดวกรวดเร็ว" ซึ่งจะเห็นได้ว่า ของตีพิมพ์นั้นอาจใส่ซองหรือเครื่องบรรจุที่ปิดผนึกก็ได้ แต่ต้องเป็นการใส่ซองหรือเครื่องบรรจุที่ปิดผนึกโดยวิธีการที่สามารถเปิดตรวจและปิดผนึกใหม่ได้โดยสะดวกรวดเร็ว แต่ของตีพิมพ์ของโจทก์เป็นนิตยสารซึ่งโจทก์เข้าห่อซองโดยบรรจุในซองกระดาษขาว ใช้เทปกาวใส ขนาดกว้าง1 เซนติเมตร ปิดทับฝาซองตลอดความยาวของซองและใช้เชือกขาวผูกรัดด้วยเงื่อนตายซึ่งเป็นที่เห็นได้ว่า หากต้องการเปิดตรวจ จะต้องแก้หรือตัดเชือกขาวที่ผูกรัดด้วยเงื่อนตายออกแล้วต้องแกะลอกเทปหรือใช้มีดตัดเทปซึ่งอาจทำให้ซองขาด และไม่อาจปิดผนึกใหม่ได้โดยไม่ใช้เทปใหม่ การเข้าห่อซองของตีพิมพ์ของโจทก์เช่นนี้ถือไม่ได้ว่าเป็นการใส่ซองที่ปิดผนึกโดยใช้วิธีการที่สามารถเปิดตรวจและปิดผนึกใหม่ได้โดยสะดวกรวดเร็วตามข้อกำหนดแห่งไปรษณียนิเทศฯ ข้อ 131.1 สำหรับไปรษณีย์ภัณฑ์ประเภทพัสดุย่อย นั้น ตามข้อ 144.1กำหนดว่า จะต้องเข้าห่อซองหรือหุ้มห่อในลักษณะที่อาจเปิดตรวจดูสิ่งของภายในได้โดยไม่ทำให้การหุ้มห่อนั้นเสียสภาพ แต่พัสดุย่อยของโจทก์เป็นตลับเทปคาสเซ็ท 1 ตลับ ซึ่งโจทก์เข้าห่อซองโดยบรรจุในซองกระดาษ ใช้เทปกาวใส ขนาดกว้าง 1 เซนติเมตร ปิดทับฝาซองเกือบตลอดความยาวของฝาซอง และใช้เทปกาวใสขนาดเดียวกัน ปิดทับรอบความกว้าง ซึ่งเป็นที่เห็นได้ว่าหากต้องการเปิดตรวจดู ก็จะต้องแกะลอกเทปหรือใช้มีดตัดเทป อาจทำให้ซองฉีกขาด และการปิดผนึกก็ต้องใช้เทปใหม่ จึงถือไม่ได้ว่าการเข้าห่อซองพัสดุย่อยของโจทก์เป็นการเข้าห่อซองในลักษณะที่อาจเปิดตรวจดูสิ่งของภายในได้โดยไม่ทำให้การหุ้มห่อนั้นเสียสภาพ ตามข้อกำหนดแห่งไปรษณียนิเทศฯข้อ 144.1 นี้เช่นกัน เมื่อการเข้าห่อซองของตีพิมพ์และพัสดุย่อยของโจทก์มิได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดเฉพาะการหุ้มห่อไปรษณีย์ภัณฑ์ทั้งสองชนิดดังกล่าวตามที่กำหนดไว้ในข้อ 131.1 และ 144.1 แห่งไปรษณียนิเทศ พ.ศ. 2524การสื่อสารแห่งประเทศไทยก็ชอบที่จะปฏิเสธไม่รับฝากส่งไปรษณีย์ภัณฑ์ของโจทก์ได้ตามข้อ 80 แห่งไปรษณียนิเทศ พ.ศ. 2524 ซึ่งออกตามความในมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พ.ศ. 2477 และพระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2519 มาตรา 4 และประกาศการสื่อสารแห่งประเทศไทย เรื่องให้ใช้ไปรษณียนิเทศ พ.ศ. 2524 ลงวันที่25 มิถุนายน 2524 ดังนั้นจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นพนักงานของการสื่อสารแห่งประเทศไทย ย่อมมีสิทธิที่จะปฏิเสธไม่รับฝากส่งไปรษณีย์ภัณฑ์ทั้งสองชนิดของโจทก์ดังกล่าวได้ และไม่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์