พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1932/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่ชอบธรรม: การกู้ยืมเงินส่วนตัวโดยไม่ส่งผลต่อหน้าที่และความเสียหายของบริษัท
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของบริษัทโจทก์ที่กำหนดว่า การเรียกเงิน ยอมรับเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดจากผู้อื่นเพื่อตนเองหรือผู้อื่น ซึ่งทำให้เสียความเที่ยงธรรมในการปฏิบัติหน้าที่หรือทำให้บริษัทได้รับความเสียหาย เป็นความผิดกรณีร้ายแรงนั้น หมายถึงการที่ลูกจ้างของโจทก์ได้เรียกเงิน ยอมรับเงิน ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากผู้อื่น โดยมีความมุ่งหมายที่จะไม่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเที่ยงธรรม หรือลักษณะของการกระทำดังกล่าวทำให้เสียความเที่ยงธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ อันเป็นผลที่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ การที่ ก. ลูกจ้างโจทก์ตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการกู้ยืมเงิน ท. ลูกจ้างโจทก์ ตำแหน่งพนักงานรักษาความปลอดภัยซึ่งเป็นผู้ที่สนิทสนมกับ ก. โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าผลจากการกู้ยืมเงินดังกล่าวเป็นเหตุให้เสียความเที่ยงธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ของ ก. หรือทำให้โจทก์เสียหายแต่อย่างใด การกระทำของ ก. ดังกล่าวไม่เป็นความผิดที่ร้ายแรง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2257/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่ชอบธรรมเนื่องจากลูกจ้างขับรถจักรยานยนต์รับจ้างนอกเวลางาน โดยไม่กระทบต่อภาพลักษณ์หรือกิจการของนายจ้าง
ประกาศของจำเลยที่ห้ามพนักงานของโรงแรมซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยไปขับรถจักรยานยนต์รับจ้างนอกเวลาทำงานตามปกติ ได้ระบุถึงเขตพื้นที่ที่ห้ามไว้โดยเฉพาะคือบริเวณโรงแรมของจำเลยเท่านั้น จึงเป็นอำนาจของจำเลยที่จะออกประกาศคำสั่งเช่นนั้นได้ เพราะมิได้มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายหรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
การที่โจทก์ไปขับรถจักรยานยนต์รับจ้าง แม้สถานที่จอดรถจักรยานยนต์จะอยู่ในซอยอันเป็นทางเข้าออกของโรงแรมจำเลยก็ตาม ก็ไม่มีผลทำให้กิจการของจำเลยได้รับความกระทบกระเทือนหรือภาพพจน์เสียหาย เพราะโจทก์มิได้ขับในเวลาทำงานและมิได้กระทำโดยอ้างว่าเป็นกิจการของจำเลย ทั้งเหตุเลิกจ้างครั้งนี้ก็ไม่ปรากฏจากทางนำสืบว่าโจทก์ได้ขับรถจักรยานยนต์รับจ้างเข้าไปในบริเวณโรงแรมอันเป็นการขัดคำสั่งห้ามของจำเลย โจทก์จึงมิได้ปฏิบัติฝ่าฝืนคำสั่งของจำเลยจำเลยไม่มีสิทธิที่จะเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
การที่โจทก์ไปขับรถจักรยานยนต์รับจ้าง แม้สถานที่จอดรถจักรยานยนต์จะอยู่ในซอยอันเป็นทางเข้าออกของโรงแรมจำเลยก็ตาม ก็ไม่มีผลทำให้กิจการของจำเลยได้รับความกระทบกระเทือนหรือภาพพจน์เสียหาย เพราะโจทก์มิได้ขับในเวลาทำงานและมิได้กระทำโดยอ้างว่าเป็นกิจการของจำเลย ทั้งเหตุเลิกจ้างครั้งนี้ก็ไม่ปรากฏจากทางนำสืบว่าโจทก์ได้ขับรถจักรยานยนต์รับจ้างเข้าไปในบริเวณโรงแรมอันเป็นการขัดคำสั่งห้ามของจำเลย โจทก์จึงมิได้ปฏิบัติฝ่าฝืนคำสั่งของจำเลยจำเลยไม่มีสิทธิที่จะเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2608/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจับกุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและการต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน: การที่เจ้าพนักงานไม่ได้แสดงตนและแจ้งข้อหา ทำให้การจับกุมไม่ชอบธรรม
ขณะที่ ส.ต.ต. บ. กับ ส.ต.ท. บ. จะเข้าจับกุมกลุ่มเด็กวัยรุ่นพวกของจำเลยนั้น บุคคลทั้งสองไม่ได้แต่งเครื่องแบบตำรวจและไม่ได้แสดงตนว่าเป็นเจ้าพนักงานตำรวจซึ่งจะปฏิบัติตามหน้าที่ทั้งไม่ได้แจ้งข้อหาแก่เด็กวัยรุ่นคนใดว่าเป็นผู้ดูหมิ่นตนและจะต้องถูกจับ จึงถือไม่ได้ว่ามีการจับกุมในข้อหาดูหมิ่นเจ้าพนักงานโดยชอบ ฉะนั้น แม้หากจำเลยจะต่อสู้ขัดขวางมิให้ ส.ต.ต. บ.กับ ส.ต.ท. บ. เข้าจับกุมพวกของจำเลย ก็ไม่มีความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1250/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันสิทธิในทรัพย์สิน: การดักซุ่มรอและยิงขโมยยาง ไม่ถือเป็นการป้องกันโดยชอบธรรม
ตอนกลางคืนก่อนเกิดเหตุ ยางแผ่น 4-5 แผ่น ของจำเลยหายไป แต่ไม่รู้ว่าใครเป็นคนร้าย จำเลยจึงไปแจ้งความต่อผู้ใหญ่บ้านไว้ รุ่งเช้าจำเลยพบยางซ่อนอยู่ในป่าและดักซุ่มรอคอยอยู่ห่างกองยาง 10 วา นาน 3-4 ชั่วโมงผู้ตายก็มาเอายางออกจากที่ซ่อนเดินไปได้ 3-4 วา จำเลยใช้ปืนยิงผู้ตายถึงแก่ความตาย ดังนี้ถือว่า การกระทำของจำเลยไม่เป็นการป้องกันสิทธิของตนให้พ้นจากอันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อประมวลกฎหมายอาญามาตรา 68 จำเลยจึงมีผิดฐานฆ่าคนโดยเจตนา (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 16/2502)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 609/2471
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไล่ลูกจ้างออกโดยไม่ชอบธรรม นายจ้างต้องพิสูจน์เหตุผลสมควร
ผ่ายใดต่อสู้ฝ่ายนั้นต้องนำสืบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4765/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานหลักฐานที่ไม่หนักแน่นเพียงพอ และการรับฟังคำรับสารภาพที่ได้มาโดยไม่ชอบธรรม ศาลยกฟ้อง
บันทึกคำให้การของผู้ต้องหา เป็นพยานบอกเล่าอย่างหนึ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226/3 ซึ่งจำเลยให้การปฏิเสธต่อศาลและไม่มีข้อเท็จจริงแวดล้อมน่าเชื่อว่าจะพิสูจน์ความจริงได้ลำพังรับฟังลงโทษจำเลยไม่ได้ ยิ่งบันทึกคำให้การของผู้ให้ถ้อยคำ ซึ่งจำเลยให้การปรักปรำตนเองโดยเจ้าพนักงานตำรวจยังไม่ได้แจ้งข้อหา ทำให้จำเลยไม่มีโอกาสต่อสู้เพื่อความบริสุทธิ์ของตน จึงเป็นพยานหลักฐานที่เกิดขึ้นโดยเจ้าพนักงานตำรวจยังไม่ได้ปฏิบัติตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134 นอกจากจะเป็นพยานบอกเล่าแล้วยังไม่ชอบธรรมที่จะรับฟังเป็นผลร้ายแก่จำเลย ย่อมไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9033/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่ชอบธรรมเนื่องจากตักเตือนไม่ถูกต้อง และสิทธิการได้รับค่าชดเชยและวันหยุดพักผ่อนประจำปี
โจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยตั้งแต่วันที่ 17 ธันวาคม 2539 ทำหน้าที่เป็นพนักงานเติมวัตถุดิบ โดยต้องยกวัตถุดิบไปเติมที่เครื่อง เครื่องละ 300 กิโลกรัม แบ่งยกเป็น 12 เที่ยว เที่ยวหนึ่งมีน้ำหนัก 25 กิโลกรัม โจทก์ทำงานในหน้าที่นี้มาตั้งแต่เข้าทำงานกับจำเลย กระทั่งปี 2548 โจทก์ได้ลาป่วยในวันที่ 21 และวันที่ 22 มกราคม 2548 และวันที่ 25 มกราคม 2548 ถึงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2548 เพราะกล้ามเนื้อหลังอักเสบ ต่อมาได้ขอลาอุปสมบทตั้งแต่วันที่ 7 ถึงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2548 โดยได้รับอนุญาตจากจำเลย ดังนี้เมื่อโจทก์หยุดงานหลายวันเนื่องมาจากอาการป่วยจากการยกของหนัก การที่จำเลยให้โจทก์ปฏิบัติหน้าที่ทำความสะอาดเก็บขยะซึ่งแม้จะมีลักษณะงานแตกต่างกว่าเดิม เป็นการเปลี่ยนแปลงหน้าที่การงานแต่ก็เนื่องมาจากอาการป่วยของโจทก์เป็นอุปสรรคแก่การทำงานในตำแหน่งเดิมโดยงานทั้งสองประเภทมิได้แตกต่างกันมากแม้ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงลักษณะงานต่ำลง แต่ก็เพราะเหตุผลจากสุขภาพของโจทก์เอง การย้ายโจทก์ไปทำงานในตำแหน่งหน้าที่การงานที่ใกล้เคียงตำแหน่งเดิม โดยจ่ายค่าจ้างให้ในอัตราเท่าเดิมโดยมิได้กลั่นแกล้งย้ายตำแหน่งหน้าที่โจทก์ คำสั่งของจำเลยที่เปลี่ยนลักษณะการทำงานของโจทก์จากการเป็นพนักงานยกของเติมวัตถุดิบเป็นการทำความสะอาดเก็บขยะจึงเป็นคำสั่งที่ชอบ เมื่อโจทก์ไม่ไปปฏิบัติงานตามคำสั่งดังกล่าวจึงถือได้ว่าโจทก์ละทิ้งหน้าที่ แต่ปรากฏตามหนังสือการลงโทษทางวินัย เอกสารหมาย จล.3 ถึง จล.5 ว่าในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2548 เวลา 9.15 นาฬิกา หัวหน้าฝ่ายบริหารสั่งให้โจทก์ไปทำงานที่บริเวณโรงเก็บขยะโจทก์ปฏิเสธที่จะทำจึงได้มีหนังสือเตือนฉบับที่ 1 ต่อมาในวันเดียวกันเวลา 11.30 นาฬิกา หัวหน้าฝ่ายบริหารสั่งให้โจทก์ไปทำงานแต่โจทก์ก็ยังไม่ปฏิบัติงานตามคำสั่งจึงได้มีหนังสือเตือน ฉบับที่ 2 จนกระทั่งเวลา 14.30 นาฬิกา ของวันดังกล่าวโจทก์ยังคงไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ ดังนี้ การที่โจทก์ไม่ไปทำงานที่บริเวณโรงเก็บขยะในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2548 เป็นเพียงการละทิ้งหน้าที่อันเป็นความผิดคราวเดียวต่อเนื่องมาในระหว่างเวลาการทำงานในวันดังกล่าวซึ่งในขณะนั้นยังไม่เลิกงานและตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน เอกสารท้ายฟ้องข้อ 11.3 กำหนดให้การตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษรตาม (7) ให้กระทำได้เมื่อลูกจ้างละทิ้งหน้าที่ขาดงานไป 1 ถึง 2 วัน สำหรับครั้งแรก ดังนั้น การที่จำเลยมีหนังสือเตือนฉบับที่ 1 และฉบับที่ 2 ตามหนังสือการลงโทษทางวินัยตามเอกสารหมาย จล.3 และ จล.4 โดยที่โจทก์ยังมิได้ละทิ้งหน้าที่ขาดงานไป 1 ถึง 2 วัน ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานดังกล่าว จึงเป็นการตักเตือนโดยไม่ชอบด้วยข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ข้อ 11.3 (7) และเมื่อจำเลยมีหนังสือเลิกจ้างตามหนังสือการลงโทษทางวินัยเอกสารหมาย จล.5 จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่ชอบด้วยข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเอกสารท้ายฟ้องข้อ 11.3 กรณีไม่ใช่การเลิกจ้างที่ไม่ต้องจ่ายเงินชดเชยตาม ข้อ 1 ที่ระบุว่า "เมื่อถูกตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษรในเรื่องเดียวกันเป็นครั้งที่ 2" และไม่เข้ากรณีเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน เอกสารท้ายฟ้องข้อ 13.3 (4) ซึ่งระบุในทำนองเดียวกันกับกรณีที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (4) แต่การที่โจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยเป็นการจงใจขัดคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงไล่โจทก์ออกได้โดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหรือให้สินไหมทดแทนก็ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ การที่โจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยแม้จะมิใช่กรณีที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้าง แต่เป็นการเลิกจ้างโดยมีสาเหตุจากการที่โจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยซึ่งมิได้กลั่นแกล้งเลิกจ้างโจทก์แต่อย่างใด จึงมิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 จำเลยจึงมิต้องจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ และเมื่อตามข้อบังคับการทำงานของจำเลยเอกสารท้ายฟ้องข้อ 5.1.4 ระบุให้พนักงานซึ่งทำงานติดต่อกันมาครบหนึ่งปี มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ปีหนึ่งไม่น้อยกว่าหกวันทำงาน และในปี 2548 จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์มิได้มีความผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (4) จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยและจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนให้แก่โจทก์ประจำปีในปีที่เลิกจ้างตามส่วนของวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 67
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5712/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่ชอบธรรมในช่วงข้อตกลงสภาพการจ้างมีผลบังคับ แม้ไม่มีความจำเป็นเพียงพอ
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 123 บัญญัติห้ามไม่ให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างหรือคำชี้ขาดมีผลใช้บังคับ เว้นแต่ลูกจ้างกระทำความผิดตามที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (5) ทั้งนี้ เพื่อประสงค์จะคุ้มครองลูกจ้างมิให้ถูกเลิกจ้างระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลบังคับ
จำเลยร่วมเป็นพนักงานป้อนข้อมูลของโจทก์และเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง โจทก์เลิกจ้างจำเลยร่วมเพราะโจทก์ยุบแผนกคลังสินค้าสำเร็จรูปเพื่อใช้เป็นพื้นที่ขยายกำลังผลิตและว่าจ้างบุคคลภายนอกมาบริหารจัดการแผนกคลังสินค้าสำเร็จรูปที่จำเลยร่วมทำงานอยู่แทน เพื่อประโยชน์ในการประกอบกิจการของโจทก์เอง จำเลยร่วมเป็นเพียงพนักงานบันทึกข้อมูล เป็นลูกจ้างที่ไม่ต้องใช้ฝีมือหรือความรู้เชี่ยวชาญมาก ซึ่งโจทก์ก็เคยใช้วิธีการสับเปลี่ยนลูกจ้างป้อนข้อมูลลักษณะแบบเดียวกับจำเลยร่วมไปทำงานแผนกอื่นโดยไม่ต้องเลิกจ้างมาแล้ว การเลิกจ้างจำเลยร่วมจึงเป็นกรณีไม่มีความจำเป็นเพียงพอ เป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 123
จำเลยร่วมเป็นพนักงานป้อนข้อมูลของโจทก์และเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง โจทก์เลิกจ้างจำเลยร่วมเพราะโจทก์ยุบแผนกคลังสินค้าสำเร็จรูปเพื่อใช้เป็นพื้นที่ขยายกำลังผลิตและว่าจ้างบุคคลภายนอกมาบริหารจัดการแผนกคลังสินค้าสำเร็จรูปที่จำเลยร่วมทำงานอยู่แทน เพื่อประโยชน์ในการประกอบกิจการของโจทก์เอง จำเลยร่วมเป็นเพียงพนักงานบันทึกข้อมูล เป็นลูกจ้างที่ไม่ต้องใช้ฝีมือหรือความรู้เชี่ยวชาญมาก ซึ่งโจทก์ก็เคยใช้วิธีการสับเปลี่ยนลูกจ้างป้อนข้อมูลลักษณะแบบเดียวกับจำเลยร่วมไปทำงานแผนกอื่นโดยไม่ต้องเลิกจ้างมาแล้ว การเลิกจ้างจำเลยร่วมจึงเป็นกรณีไม่มีความจำเป็นเพียงพอ เป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 123