คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ไม่ชัดเจน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 100 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8388/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องที่ไม่ชัดเจนและฟุ่มเฟือย ทำให้ศาลไม่รับฟ้องคดีทรัพย์สินทางปัญญา
คำฟ้องโจทก์มีเนื้อหาเกินควรกว่าที่จำเป็นและมีมากตอนที่อ่านแล้วไม่เข้าใจ อาทิ ฟ้องข้อ 1 ใช้ถ้อยคำว่า ข้อหาหรือฐานความผิดระหว่างพิจารณาเนื้อหาสาระผลงาน มาตรา 17, 24, 26 และ 27 พร้อมกฎกระทรวงฉบับที่ 21 และยื่นคำขอเป็นครั้งแรกละเมิดมาตรา 24, 25 และ 26 และข้อหาหรือฐานความผิดเบื้องหลังผลงานพ้นจากมาตรา 24, 25, 26 ไปแล้ว และได้เข้าสู่มาตรา 27 หรือในข้อ 2 มีถ้อยคำว่า ข้อหาหรือฐานความผิดละเมิดผิดสัตยาบรรณ รับรองผลไม่เสียหาย ซึ่งอ่านแล้วไม่เข้าใจว่าโจทก์ถูกจำเลยทั้งสองโต้แย้งสิทธิตามกฎหมายในเรื่องใด หรือการกระทำของจำเลยทั้งสองไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร หรือฟ้องข้อ 3 มีข้อความว่า ข้อหาหรือฐานความผิด คำสั่งยกคำขอมิชอบด้วยกฎหมายโดยโจทก์กล่าวหาผู้อำนวยการสำนักสิทธิบัตรว่าเซ็นคำสั่งยกคำขอไม่ถูกต้องเพราะจะปฎิบัติราชการแทนอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญามิได้เนื่องจากไปขัดข้ามตำแหน่งทางปกครองระดับกรมของรองอธิบดีซึ่งปกครองระดับสำนักงานและเป็นตำแหน่งโปรดเกล้าฯ เป็นต้น จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่แสดงให้พอเข้าใจได้ถึงสภาพและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตลอดจนคำขอบังคับอีกด้วย ทั้งคำฟ้องของโจทก์ยังมีความฟุ่มเฟือย อ่านไม่เข้าใจจึงเป็นคำฟ้องไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8189/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำให้การที่ไม่ชัดเจนและไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาท ศาลอุทธรณ์มีอำนาจวินิจฉัยได้แม้ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันในชั้นต้น
โจทก์ทั้งสองฟ้องให้จำเลยชำระเงินตามเช็คพิพาทที่จำเลยสั่งจ่ายชำระหนี้ค่านายหน้าแก่โจทก์ทั้งสอง จำเลยให้การรับว่า จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทชำระค่านายหน้าแก่โจทก์ทั้งสอง การที่จำเลยให้การต่อไปว่า โจทก์ทั้งสองผิดสัญญานายหน้า จำเลยจึงมีคำสั่งให้ธนาคารระงับการจ่ายเงิน และโจทก์ทั้งสองได้รับเงินตามเช็คพิพาทไปแล้วบางส่วนนั้น จำเลยมิได้แสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การว่า โจทก์ทั้งสองผิดสัญญาอย่างไร และโจทก์ทั้งสองได้รับเงินตามเช็คพิพาทไปแล้วจำนวนเท่าใด เป็นคำให้การที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง ไม่ก่อให้เกิดประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า โจทก์ทั้งสองผิดสัญญานายหน้าหรือไม่ และโจทก์ทั้งสองได้รับเงินตามเช็คพิพาทไปแล้วบางส่วน แม้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น
ปัญหาว่า คำให้การของจำเลยก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทหรือไม่ เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้มิใช่ปัญหาที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งคู่ความมิได้อุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าว ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7193/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัย กรณีศาลชั้นต้นกำหนดวิธีการฝึกอบรมเด็กและเยาวชนตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนฯ และการฎีกาที่ไม่ชัดเจน
ศาลชั้นต้นแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษาจำคุกจำเลย 8 ปี แต่ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปรับการฝึกและอบรมยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนมีกำหนดขั้นต่ำ 2 ปี ขั้นสูง 3 ปี โดยในระหว่างการฝึกและอบรมให้จำเลยเรียนจนกว่าจะจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และให้จำเลยเรียนหลักสูตรวิชาชีพอย่างน้อย1 หลักสูตร จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษายืน ดังนั้น การที่จำเลยฎีกาขอให้มอบตัวจำเลยให้บิดามารดาไปโดยวางเงื่อนไขคุมความประพฤติจำเลยไว้นั้น จึงเป็นการฎีกากรณีที่ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษากำหนดวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 121(2) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯ และกรณีเช่นนี้ไม่อาจมีการอนุญาตให้ฎีกาได้ ที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาของจำเลยมานั้นจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4979/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นข้อพิพาทไม่ชัดเจน ศาลฎีกายกข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาก่อน และพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทโดยซื้อจากจำเลยแล้วจำเลยทำสัญญาเช่า แต่จำเลยไม่ชำระค่าเช่าจึงบอกเลิกการเช่า ขอให้บังคับจำเลยชำระค่าเช่าและส่งมอบที่พิพาทคืน จำเลยให้การตอนแรกว่า ไม่เคยทำสัญญาขายหรือสัญญาเช่าที่ดินพิพาทกับโจทก์ แต่จำเลยกลับให้การตอนหลังว่าถึงอย่างไรจำเลยก็ครอบครองที่ดินพิพาทด้วยความสงบและเปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลานานแล้ว หรือหากฟังว่าจำเลยขายที่ดินพิพาทแก่โจทก์ จำเลยก็ครอบครองที่ดินพิพาทมาเกินกว่า 1 ปีแล้วซึ่งเท่ากับเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้ง และขัดแย้งกับคำให้การในตอนแรก ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง แต่คำให้การของจำเลยเป็นที่เข้าใจได้ว่า จำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์โดยสิ้นเชิง คดีคงมีประเด็นข้อพิพาทเพียงข้อเดียวว่า จำเลยขายที่ดินพิพาทให้โจทก์แล้ว จำเลยเช่าที่ดินพิพาทหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์ฟ้องคดีเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินพิพาทเกิน 1 ปีหรือไม่ และวินิจฉัยตามนั้น กับที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษายืนในประเด็นดังกล่าว จึงเป็นการไม่ชอบปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ และเมื่อคดีไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องโจทก์ฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินพิพาทเกิน 1 ปีหรือไม่ จึงถือเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 6 ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9570/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอ้างความไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายภาษีมูลค่าเพิ่ม ศาลไม่ส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเมื่อคำแถลงไม่ชัดเจน
ตามคำแถลงของโจทก์ โจทก์อ้างเพียงว่า พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ฉบับที่ 309 ฯ และประกาศอธิบดีกรมสรรพากรของจำเลย เป็นการจำกัดสิทธิของโจทก์ ทำให้โจทก์ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราที่สูงสุดเท่านั้น โดยโจทก์มิได้กล่าวโดยชัดแจ้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญบทมาตราใดและเพราะเหตุใด จึงเป็นการกล่าวอ้างที่ไม่มีเหตุผลสนับสนุน ประกอบกับท้ายคำแถลงดังกล่าวโจทก์มีคำขอให้ศาลเพิกถอนการประเมินภาษีตามคำขอท้ายฟ้องแสดงให้เห็นว่าโจทก์ยื่นคำแถลงดังกล่าวก่อนวันนัดฟังคำพิพากษาในลักษณะของการแถลงการณ์ปิดคดี เพื่อให้ศาลชั้นต้นพิพากษาเพิกถอนการประเมินภาษีตามคำฟ้องเท่านั้น คำแถลงของโจทก์จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯมาตรา 6 ประกอบด้วยมาตรา 264 ที่ศาลชั้นต้นจะต้องส่งไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย การที่ศาลชั้นต้นยกคำแถลงแล้วพิจารณาคดีต่อไปจึงชอบแล้ว และเมื่อโจทก์มิได้ยื่นคำร้องขอใช้สิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 ต่อไป ตามเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดไว้ในประกาศอธิบดีกรมสรรพากร โจทก์จึงต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 9 ตามมาตรา 3แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรฉบับที่ 309 ฯ ตามการประเมินของเจ้าพนักงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7039/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ที่ไม่ชัดเจน: การอ้างเหตุผลจากคำร้องเดิมในอุทธรณ์โดยไม่ระบุรายละเอียด
จำเลยอุทธรณ์ว่า ถ้าศาลชั้นต้นให้จำเลยสืบพยานก็จะทราบข้อเท็จจริงในคดีที่จะทำให้จำเลยชนะคดีได้ โดยไม่ได้กล่าวถึงข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายให้ชัดแจ้ง เพียงแต่กล่าวอ้างถึงคำร้องจำเลยที่คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งงดสืบพยานจำเลยให้เป็นส่วนหนึ่งของอุทธรณ์จำเลย ทั้งมิได้กล่าวรายละเอียดตามคำร้องคัดค้านดังกล่าวมาในอุทธรณ์ด้วย จึงไม่อาจจะนำเอารายละเอียดในคำร้องนั้นมาประกอบอุทธรณ์จำเลยให้ชัดแจ้งได้ อุทธรณ์จำเลยจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา225 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2847/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาที่ไม่ชัดเจน ไม่โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จึงไม่รับวินิจฉัย
ฎีกาของจำเลยหน้า 1 ตั้งแต่ข้อ 1 และหน้า 2 มีข้อความเหมือนกับอุทธรณ์ในหน้า 1 ตั้งแต่ข้อ 1 และหน้า 2 ทุกประการ ฎีกาตั้งแต่หน้า 3ถึงหน้า 78 เป็นการถ่ายสำเนามาจากอุทธรณ์หน้า 3 ถึงหน้า 78 คงมีข้อความเพิ่มเติมในหน้า 78 เพียงว่า ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ตามฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนจำเลยไม่เห็นด้วย จึงขอฎีกาดังต่อไปนี้ ฎีกาตั้งแต่หน้า 79 ถึงหน้า 102 ก็ถ่ายสำเนามาจากอุทธรณ์ตั้งแต่หน้า 100 ถึงหน้า 123 ส่วนฎีกาหน้า 103 และหน้า 104 แม้จะไม่ได้ถ่ายสำเนามาจากอุทธรณ์หน้า 124 และหน้า 125 โดยตรง แต่ก็มีถ้อยคำสำนวนไม่แตกต่างกัน ฎีกาของจำเลยดังกล่าวไม่ได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องด้วยกฎหมายกับข้อเท็จจริงอย่างไร และที่ถูกต้องควรจะเป็นอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2847/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาที่ไม่ชัดเจนและไม่ได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จึงไม่รับวินิจฉัย
ฎีกาของจำเลยหน้า 1 ตั้งแต่ข้อ 1 และหน้า 2 มีข้อความเหมือนกับอุทธรณ์ในหน้า 1 ตั้งแต่ข้อ 1 และหน้า 2 ทุกประการ ฎีกาตั้งแต่หน้า 3ถึงหน้า 78 เป็นการถ่ายสำเนามาจากอุทธรณ์หน้า 3 ถึงหน้า 78 คงมีข้อความเพิ่มเติมในหน้า 78 เพียงว่า ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ตามฟ้องศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยไม่เห็นด้วย จึงขอฎีกาดังต่อไปนี้ ฎีกาตั้งแต่หน้า 79 ถึงหน้า 102 ก็ถ่ายสำเนามาจากอุทธรณ์ตั้งแต่หน้า 100ถึงหน้า 123 ส่วนฎีกาหน้า 103 และหน้า 104 แม้จะไม่ได้ถ่ายสำเนามาจากอุทธรณ์หน้า 124 และหน้า 125 โดยตรง แต่ก็มีถ้อยคำสำนวนไม่แตกต่างกัน ฎีกาของจำเลยดังกล่าวไม่ได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องด้วยกฎหมายกับข้อเท็จจริงอย่างไร และที่ถูกต้องควรจะเป็นอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 393/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องไม่ชัดเจน ศาลไม่รับฟ้อง แม้มีการแก้ไขหลายครั้ง โจทก์อุทธรณ์ไม่ชัดเจน ศาลฎีกายกอุทธรณ์
ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องเพราะคำฟ้องเขียนฟุ่มเฟือย อ่านไม่เข้าใจโจทก์อุทธรณ์อ้างเพียงว่าศาลแรงงานกลางมีคำสั่งดังกล่าวและให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ กับอ้างว่าโจทก์ใช้สิทธิทางศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55ศาลตัดสิทธิโจทก์ทั้งที่ทราบว่าคดียังไม่ถึงที่สุดเท่านั้นมิได้โต้แย้งคำสั่งศาลแรงงานกลางว่าคำฟ้องมิได้เขียนฟุ่มเฟือยและสามารถอ่านเข้าใจได้ พร้อมทั้งเหตุผลสนับสนุนข้อโต้แย้งดังกล่าว จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3353/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากไม่ระบุประเด็นที่โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์อย่างชัดเจน
ฎีกาของจำเลยบรรยายเพียงว่า คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยเรื่องใดบ้างและพยานหลักฐานของจำเลยมีน้ำหนักดีกว่าพยานหลักฐานของโจทก์ด้วยเหตุผลใดเนื้อหาสาระในฎีกาก็เหมือนกับที่กล่าวในอุทธรณ์เกือบทั้งหมด เมื่ออ่านฎีกาของจำเลย แล้วไม่อาจทราบได้ว่า ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาว่าอย่างไร จำเลยฎีกาโต้แย้ง คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในข้อใดตอนใด และข้อที่จำเลยฎีกาเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์หรือไม่ ฎีกาของจำเลยจึงเคลือบคลุมไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
of 10