พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3343/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประกันภัยขนส่ง: ความเสียหายต้องเกิดจากการขนส่ง ไม่ใช่การไม่ชำระราคา
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 883และตามกรมธรรม์ประกันภัยมุ่งประสงค์จะคุ้มครองวินาศภัยทุกอย่างซึ่งอาจเกิดขึ้นแก่ของที่ขนส่ง ในระหว่างเวลาตั้งแต่ผู้ขนส่งได้รับของไปจนได้ส่งมอบของนั้นให้แก่ผู้รับตราส่งคือการคุ้มครองบรรดาความเสี่ยงภัยทั้งหลายที่เป็นการสูญหายหรือเสียหายทุกประเภทที่มีต่อสินค้าที่เอาประกันภัยไว้นั่นเองเมื่อปรากฏว่าสินค้าที่โจทก์เอาประกันภัยไว้แก่จำเลยที่ 2ได้ขนส่งไปถึงประเทศอุรุกวัย อันเป็นจุดหมายปลายทางโดยปลอดภัย โดยไม่มีการสูญหายหรือเสียหายและผู้ซื้อก็ได้รับสินค้าไปเรียบร้อยแล้ว แม้ผู้ขนส่งจะได้จ่ายสินค้าให้แก่ผู้ซื้อไป โดยผู้ซื้อมิได้ชำระราคาสินค้าแก่ธนาคารผู้รับตราส่งก่อนตามที่ตกลงไว้กับโจทก์ก็ตามก็ไม่อาจถือได้ว่าเป็นกรณีที่สินค้าที่เอาประกันภัยสูญหายหรือเสียหายตามเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์ประกันภัยอันจำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 1 นั้นก็เป็นเพียงนายหน้าชี้ช่องให้โจทก์กับ จำเลยที่ 2 เข้าทำสัญญากันเมื่อโจทก์ได้รับกรมธรรม์ประกันภัยซึ่งระบุชื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับประกันภัย และโจทก์ยอมชำระเบี้ยประกันภัยแก่จำเลยที่ 2 แล้ว ถือได้ว่าจำเลยที่ 1ได้บอกชื่อของอีกฝ่ายหนึ่งให้รู้ถึงอีกฝ่ายหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 848 แล้วจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 337/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดและการห้ามผู้ขายเข้าสู้ราคา กรณีเจ้าหนี้บังคับคดี ผู้ซื้อไม่ชำระราคา
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 512 ที่ห้ามมิให้ผู้ขายเข้าสู้ราคาเองหรือใช้ให้ผู้หนึ่งผู้ใดเข้าสู้ราคานั้น หมายถึงผู้เป็นเจ้าของทรัพย์ที่นำออกขายทอดตลาดจะเข้าสู้ราคาเอง หรือใช้ให้ผู้หนึ่งผู้ใดเข้าสู้ราคามิได้ โจทก์มิได้เป็นเจ้าของทรัพย์ที่ขายทอดตลาด แต่เป็นเพียงเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์ย่อมจะเข้าสู้ราคาเอง หรือให้บุตรภริยาหรือญาติของตนเข้าสู้ราคาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1041/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาด: สิทธิของผู้สู้ราคา & ผลของการไม่ชำระราคาตามกำหนด
ในการขายทอดตลาดของศาล ว.ผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยให้ราคาสูงสุด ช.ให้ราคารองลงมา ศาลสั่งอนุญาตให้ขายแก่ ว. ให้ ว.วางเงินมัดจำในวันนั้น หากไม่นำเงินมาวางก็เป็นอันยกเลิกไม่ขายให้ ว.และให้ขายแก่ ช. ให้ ช. วางมัดจำในวันที่กำหนดให้ ว. ขอผัดวางเงิน ศาลไม่อนุญาต ดังนี้ ศาลจะสั่งให้ขายให้แก่ ช. โดยมิได้ขายทอดตลาดใหม่หาได้ไม่ เพราะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 514 เมื่อ ว. ได้สู้ราคาสูงขึ้นไปกว่า ช. ช.ย่อมพ้นความผูกพันในราคาที่ตนสู้ และศาลก็ได้สั่งให้ขายให้ ว. เมื่อ ว. ไม่ชำระราคาตามกำหนด และศาลไม่อนุญาตให้ผัดการวางเงินออกไปอีก ว. จึงเป็นผู้สู้ราคาสูงสุดที่ได้ละเลยเสียไม่ใช้ราคา ศาลจะต้องเอาทรัพย์นั้นออกขายอีกซ้ำ ตามมาตรา 516 ถ้าได้เงินเป็นจำนวนสุทธิไม่คุ้มราคาและค่าขายทอดตลาดชั้นเดิม จำเลยโดย ว.ผู้รับมอบอำนาจจะต้องรับผิดในส่วนที่ขาดนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16477/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ประมูลซื้อที่ดินแล้วไม่ชำระราคาต้องรับผิดในส่วนต่างของราคาเมื่อมีการขายทอดตลาดซ้ำ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 516
จำเลยเป็นผู้ประมูลซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี แต่ละเลยไม่ใช้ราคาส่วนที่เหลือ ต่อมาเจ้าพนักงานบังคับคดีเอาที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดซ้ำ ได้เงินจำนวนสุทธิไม่คุ้มราคาและค่าขายทอดตลาด จำเลยต้องรับผิดในส่วนที่ขาดตาม ป.พ.พ. มาตรา 516 ที่จำเลยอ้างว่าไม่ต้องรับผิดเนื่องจากโจทก์และ ช. สมคบกันให้โจทก์ประมูลซื้อที่ดินพิพาทนั้น จำเลยมีเพียงตนเองเบิกความลอย ๆ และ ช. ก็มิได้เบิกความถึงข้อที่จำเลยอ้าง จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์และ ช. สมคบกันให้โจทก์ประมูลซื้อที่ดินพิพาทในราคาต่ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8755/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประมูลขายทรัพย์สิน: สิทธิในการริบเงินมัดจำและเรียกค่าเสียหายเมื่อผู้ชนะไม่ชำระราคา
บทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 516 เป็นเพียงการกำหนดความรับผิดชอบชดใช้เงินส่วนที่ขาดไปหากนำทรัพย์สินนั้นออกขายซ้ำอีกครั้งหนึ่งแล้วได้เงินไม่คุ้มราคาและค่าขายทอดตลาดชั้นเดิมเท่านั้น มิได้บังคับว่าจะต้องทำการขายทอดตลาดทรัพย์สินใหม่อีกครั้งหนึ่งเสมอไป เพราะเมื่อพิจารณาตาม ป.พ.พ. มาตรา 510 ประกอบด้วยแล้วจะเห็นว่า ผู้ทอดตลาดสามารถกำหนดหลักเกณฑ์ในคำโฆษณาบอกขายและตามความข้ออื่น ๆ ก็ได้ โดยโจทก์ได้ประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ให้จำเลยและบุคคลอื่นที่เข้าประมูลซื้อทรัพย์สินของโจทก์ทราบก่อนแล้ว และจำเลยก็ได้ลงลายมือชื่อรับทราบข้อกำหนดดังกล่าวของโจทก์และจำเลยจะปฏิบัติตามข้อกำหนดของโจทก์ทุกประการตามใบเสนอราคาทรัพย์สินของจำเลย เมื่อจำเลยในฐานะผู้ชนะการประมูลราคาทรัพย์สินของโจทก์เพราะจำเลยเป็นผู้ให้ราคาสูงสุด แต่จำเลยไม่ชำระราคาทรัพย์สินภายในเวลาที่กำหนดจึงถือว่าจำเลยสละสิทธิในการประมูลดังกล่าวและโจทก์มีสิทธิริบเงินมัดจำซองกับมีสิทธิให้ ช. ผู้ให้ราคาประมูลสูงสุดเป็นอันดับที่สอง เป็นผู้ชนะการประมูลทรัพย์สินของโจทก์ต่อไปและโจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชดใช้เงินส่วนต่างที่โจทก์ควรจะได้รับจากจำเลยอีกด้วย เพราะการที่โจทก์ประกาศข้อกำหนดการประมูลราคาทรัพย์สินโดยไม่ได้ประกาศอีกครั้งหนึ่งนั้นเป็นข้อสัญญาเฉพาะรายที่กำหนดขึ้นไว้เพื่อประโยชน์แก่การประมูลขายทรัพย์สินเท่านั้น ข้อกำหนดดังกล่าวไม่ขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 516 และไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1555/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิคัดค้านการขายทอดตลาดต้องใช้โดยสุจริต ผู้ประมูลแล้วไม่ชำระราคาซ้ำๆ ไม่มีสิทธิคัดค้าน
แม้ผู้ร้องจะเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 280 (เดิม) และอาจใช้สิทธิคัดค้านการขายทอดตลาดได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ (เดิม) แต่การใช้สิทธิดังกล่าวต้องเป็นการใช้สิทธิโดยสุจริตด้วย เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าผู้ร้องเป็นผู้เข้าประมูลซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดได้ก่อนหน้าครั้งนี้ถึง 4 ครั้ง แต่กลับอ้างเหมือนกันทุกครั้งว่าไม่สามารถชำระราคาได้แล้วมาคัดค้านในการขายทอดตลาดครั้งต่อไป กลายเป็นว่าบุคคลภายนอกเมื่อเข้ามาประมูลซื้อทรัพย์ได้แล้วแต่ไม่ยอมชำระราคา กลับมีสิทธิที่จะยับยั้งหรือประวิงการบังคับคดีได้เรื่อยไป ทำให้เจ้าหนี้และลูกหนี้ซึ่งเป็นคู่ความเดิมเสียหายได้จากการบังคับคดีที่ล่าช้า ทั้งทำให้เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องขายทอดตลาดใหม่เรื่อยมา เช่นนี้ย่อมเป็นการยืนยันว่าการใช้สิทธิของผู้ร้องมิได้เป็นไปโดยสุจริต ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดได้