คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ไม่ซ้ำซ้อน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1095/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจแก้ไขการประเมินภาษีที่ผิดพลาดได้ แม้จะอยู่ระหว่างการพิจารณาอุทธรณ์ การประเมินใหม่ไม่ถือเป็นการประเมินซ้ำซ้อน
ตาม ป. รัษฎากร ลักษณะ 2 หมวด 4 ส่วน 12 เรื่องอำนาจเจ้าพนักงานประเมินไม่มีบทบัญญัติใดห้ามมิให้เจ้าพนักงานประเมินแก้ไขการประเมินที่ผิดพลาดให้ถูกต้องได้ ถึงแม้ว่าการประเมินที่ผิดพลาดดังกล่าวจะอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก็ตาม โดยเฉพาะการประเมินใหม่โดยยกเลิกการประเมินครั้งก่อนเนื่องจากเจ้าพนักงานประเมินมิได้ประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มภายในกำหนดเวลาตามกฎหมาย นอกจากนี้การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินในครั้งใหม่นั้น เจ้าพนักงานประเมินยังคงประเมินให้โจทก์เสียภาษีมูลค่าเพิ่มและเบี้ยปรับเท่าเดิม คงมีส่วนเงินเพิ่มเท่านั้นที่ประเมินให้โจทก์ชำระเพิ่มขึ้น ซึ่งเงินเพิ่มที่เพิ่มขึ้นก็หาทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่ เนื่องจากบุคคลที่ไม่ชำระภาษีหรือนำส่งภาษีให้ครบถ้วนภายในกำหนดเวลาตามกฎหมาย บุคคลนั้นย่อมต้องเสียเงินเพิ่มจนถึงวันชำระหรือนำส่งภาษี ดังนั้น หากโจทก์ยังมิได้ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่จำเลยอย่างถูกต้องครบถ้วน โจทก์ย่อมมีหน้าที่เสียเงินเพิ่มให้แก่จำเลยอยู่แล้วตาม ป. รัษฎากร มาตรา 89/1 เมื่อการประเมินครั้งใหม่โดยยกเลิกการประเมินครั้งแรกนั้นมีผลทำให้โจทก์ต้องเสียภาษีเพียงครั้งเดียว การประเมินในครั้งหลังจึงหาใช่การประเมินซ้ำซ้อนหรือทำให้โจทก์ต้องเสียภาษีซ้ำซ้อนแต่ประการใดไม่
แม้โจทก์จะมิได้อุทธรณ์การประเมินตามหนังสือแจ้งการประเมินที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ก็หาทำให้โจทก์หมดสิทธินำคดีมาฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินไม่ เพราะการที่เจ้าพนักงานประเมินให้ผู้เสียภาษีอากรรับผิดเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เบี้ยปรับ และเงินเพิ่มโดยไม่มีอำนาจหรือฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ทำให้ผู้เสียภาษีต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม เบี้ยปรับ และเงินเพิ่มโดยไม่มีหน้าที่ต้องเสียตามกฎหมาย ต้องถือเสมือนหนึ่งว่าไม่ได้มีการประเมินหรือคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินในส่วนนั้นที่โจทก์ต้องอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลขอให้เพิกถอนการประเมินในส่วนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 247/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างร่วมและค่าเสียหายทางจิตใจจากการพิการไม่ซ้ำซ้อน
จำเลยที่1เป็นลูกจ้างขับรถยนต์โดยสารของจำเลยที่2ซึ่งจำเลยที่2ได้นำเข้าร่วมกิจการเดินรถร่วมกับจำเลยที่3โดยได้ให้ประโยชน์แก่จำเลยที่3เป็นรายเที่ยวและให้ค่าต่อสัญญาเป็นรายปีถือได้ว่าจำเลยที่3และที่2ร่วมกันเป็นนายจ้างของจำเลยที่1จำเลยที่1ทำละเมิดจำเลยที่3จึงต้องร่วมรับผิดด้วยหาจำต้องมีการแบ่งผลประโยชน์ในการประกอบกิจการไม่ ค่าขาดความสุขสำราญเพราะร่างกายพิการทำให้สังคมรังเกียจอับอายขายหน้าไม่ได้เล่นกีฬาไม่ได้สมรสเป็นค่าเสียหายเกี่ยวกับความรู้สึกทางด้านจิตใจเป็นความเสียหายอันมิใช่ตัวเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา446ส่วนค่าสูญเสียความสามารถในการทำงานเป็นความเสียหายเพราะเสียความสามารถประกอบการงานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา444เป็นค่าเสียหายคนละอย่างไม่ซ้ำซ้อนและแม้ค่าขาดความสุขสำราญกับค่าทนทุกขเวทนาต่างก็เป็นค่าเสียหายอันมิใช่ตัวเงินแต่ก็มิใช่ค่าเสียหายเดียวกันเพราะค่าขาดความสุขสำราญเป็นเรื่องการขาดหรือสูญเสียความสุขสำราญจากความรู้สึกที่ดีส่วนค่าทนทุกขเวทนาเป็นเรื่องการต้องทนยอมรับความเจ็บปวดหรือทรมานจึงแตกต่างกันไม่ซ้ำซ้อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 627/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกหนี้ร่วม ความรับผิดในค่าเสียหาย และการไม่ซ้ำซ้อนของค่าเสียหายจากการบาดเจ็บและขาดรายได้
ปัญหาที่ว่าเมื่อโจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 หรือปลดหนี้ให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 2 แล้ว จำเลยที่ 2 ย่อมหลุดพ้นจากความรับผิด โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2นั้น มิใช่ปัญหาที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ค่าเสียหายที่ขาดรายได้ตามปกติ เป็นค่าเสียหายเกี่ยวกับตัวเงินที่โจทก์ต้องขาดไป เพราะไม่สามารถประกอบการงานได้ในระหว่างที่ต้องรักษาตัวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443 ส่วนค่าเสียหายในการเจ็บป่วยก็คือค่าที่โจทก์ต้องเสียหายแก่ร่างกายหรืออนามัย เป็นค่าสินไหมทดแทนความเสียหายอย่างอื่นที่มิใช่เป็นตัวเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 446 ไม่ใช่ค่าเสียหายอย่างเดียวกัน ศาลพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายทั้งสองอย่างนี้ให้แก่โจทก์ได้ไม่เป็นการซ้ำซ้อนกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3945/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายจากละเมิด: การประเมินความเสียหายทางกายภาพ, การสูญเสียรายได้ และการไม่ถือเป็นการเรียกร้องซ้ำซ้อน
ผลของการทำละเมิดของจำเลยที่ 3 ทำให้โจทก์ได้รับบาดเจ็บกระดูกขาขวาท่อนล่าง ซึ่งมี 2 ท่อนคู่กันกระดูกแต่ละท่อนได้หัก 2 แห่ง และมีแผลฉีกขาดที่ปลายขาขวา ยาว 20 เซนติเมตร แพทย์ต้องตัดเนื้อเยื่อจากส่วนอื่นของร่างกายมาใส่แผลที่ฉีกขาด ต้องผ่าตัดใส่เหล็กดามกระดูกที่หัก ถึง 2 ครั้ง โจทก์ต้องรับการรักษาต่อเนื่องนานนับปี ต้องเจ็บปวดทนทุกข์ทรมานเป็นอันมาก มีรอยแผลเป็นและไม่สามารถเดินได้อย่างปกติเพราะขายาวไม่เท่ากัน เห็นได้ว่าความเสียหายดังกล่าวเป็นความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงินซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกได้จากจำเลยผู้ทำละเมิดตาม ป.พ.พ.มาตรา 446 วรรคหนึ่ง และการที่โจทก์ต้องรับการผ่าตัดกระดูกขาขวานั้นเอง ทำให้โจทก์ไม่สามารถประกอบการงานขับรถจักรยานยนต์ส่งเอกสารได้จนถูกบริษัทนายจ้างสั่งให้ออกจากงาน แม้ต่อมาโจทก์จะได้กลับไปทำงานขับรถส่งเอกสารอีก แต่ก็ไม่สามารถขับไปส่งในระยะไกล ๆ ได้ดังเดิม ทำให้รายได้โจทก์ลดลงจากเดิมเดือนละ 15,000 บาท เหลือเพียง 8,000 บาท อันถือได้ว่า เป็นการเสียความสามารถประกอบการงานแต่บางส่วนที่คิดเป็นเงินได้ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยผู้ทำละเมิดได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 444 วรรคหนึ่ง และไม่เป็นการเรียกค่าเสียหายซ้ำซ้อนกันดังที่จำเลยที่ 1 และที่ 4 ฎีกา ส่วนจำนวนค่าเสียหายโจทก์ควรจะได้เท่าใดนั้น เมื่อพิจารณาถึงพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 438 วรรคหนึ่ง