พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3822/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิ้นสุดสัญญาเช่า สิทธิเจ้าของกรรมสิทธิ์ การแจ้งไม่ต่อสัญญาไม่ใช่คำสั่งทางปกครอง
สัญญาเช่าเดิมระหว่างโจทก์และจำเลยระงับไปเพราะสิ้นกำหนดเวลาเช่าและไม่มีเงื่อนไขหรือข้อผูกพันว่าจำเลยจะต้องต่อสัญญาเช่าให้โจทก์ การที่จำเลยซึ่งเป็นส่วนราชการไม่ยอมต่อสัญญาเช่าให้แก่โจทก์อีกต่อไปย่อมเป็นสิทธิของจำเลยที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ตามกฎหมาย การที่จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบว่าไม่ประสงค์จะต่อสัญญาเช่าที่ดินให้แก่โจทก์ จึงไม่ใช่คำสั่งทางปกครองที่จะขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3822/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าสิ้นสุด-เจ้าของกรรมสิทธิ์มีสิทธิไม่ต่อสัญญา-ไม่ใช่คำสั่งทางปกครอง
สัญญาเช่าเดิมระงับเพราะสิ้นกำหนดเวลาเช่า และไม่มีเงื่อนไขหรือข้อผูกพันว่าจำเลยที่ 1 จะต้องต่อสัญญาเช่าให้แก่โจทก์ การที่จำเลยที่ 1 ไม่ยอมต่อสัญญาเช่าให้แก่โจทก์ต่อไปย่อมเป็นสิทธิของจำเลยที่ 1 ที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ตามกฎหมาย การที่จำเลยที่ 1 มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบว่าไม่ประสงค์จะต่อสัญญาเช่าที่ดินให้แก่โจทก์ จึงไม่ใช่คำสั่งทางปกครองที่โจทก์จะขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 585/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างที่มีกำหนดวันสิ้นสุด หากนายจ้างไม่ต่อสัญญา ถือเป็นการเลิกจ้าง ต้องจ่ายค่าชดเชย
แม้สัญญาจ้างระหว่างโจทก์และจำเลยจะเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดวันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดของการจ้าง ผลของสัญญาทำให้ลูกจ้างต้องออกจากงานเมื่อสัญญาจ้างสิ้นสุดลงก็ตาม ก็อยู่ในความหมายของการเลิกจ้างตามนัยข้อ 46 วรรคสอง แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษ มีวัตถุประสงค์ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นที่เลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามข้อ 46 วรรคสาม จึงต้องตีความเพื่อให้เป็นผลใช้บังคับได้ มิฉะนั้นความในข้อ 46 วรรคสามจะไร้ผล การที่จำเลยแสดงเจตนาต่อโจทก์ว่าไม่ต่อสัญญาจ้างให้อันมีผลทำให้จำเลยต้องออกจากงาน จึงต้องถือว่าเป็นการที่จำเลยให้โจทก์ออกจากงานอันเป็นการเลิกจ้างตามความหมายในข้อ46 วรรคสอง ดังกล่าว จำเลยให้การเพียงว่า โจทก์ปฏิบัติผิดระเบียบของจำเลยตลอดมากล่าวคือ มาปฏิบัติงานไม่ตรงเวลา ละทิ้งหน้าที่โดยไม่บอกกล่าวเป็นเหตุให้การผลิตยาต้องหยุดชะงัก ซึ่งทำให้ได้ปริมาณและคุณภาพด้อยลง จำเลยได้ว่ากล่าวตักเตือนหลายครั้ง แต่โจทก์เพิกเฉยไม่ปรับปรุงตัว ทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย โดยจำเลยหาได้ให้การโดยชัดแจ้งว่า โจทก์ได้กระทำการใดเข้าลักษณะความผิดดังระบุไว้ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47กรณีหนึ่งกรณีใดอันจะเข้าหลักเกณฑ์ในกรณีเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแต่อย่างใดไม่ จึงไม่มีประเด็นในคดีที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยที่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้กระทำความผิดตามข้อ 47 และไม่เข้าข้อยกเว้นที่ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามข้อ 46 วรรคสาม จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 50/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าเกิน 3 ปี ไม่จดทะเบียน สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายเมื่อไม่ต่อสัญญา
โจทก์เช่าตึกแถวพิพาทมีกำหนด 10 ปี แต่ไม่ได้จดทะเบียนการเช่าและจำเลยได้รับเงินกินเปล่าจำนวนหนึ่งเมื่อครบ 3 ปี จำเลยไม่ต่อสัญญาเช่าให้โจทก์ จำเลยก็ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ตามส่วนที่โจทก์ได้อยู่ในห้องเช่า หาใช่กรณีเป็นเรื่องบอกเลิกสัญญาเช่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 ไม่ เพราะกำหนดเวลาเช่าที่เกินกว่า 3 ปี ได้สิ้นการบังคับลงโดยผลของกฎหมาย โดยไม่ต้องบอกเลิกสัญญาเช่าแต่อย่างใด จำเลยจึงไม่จำต้องให้โจทก์กลับคืนสู่ฐานะเดิมโดยชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์