พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 888/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนย้ายลูกจ้างสถาบันการบินพลเรือน สิทธิในการได้รับบำเหน็จเป็นสัญญาจ้างใหม่ ไม่ต่อเนื่องจากเดิม
พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันการบินพลเรือน พ.ศ. 2535มาตรา 38 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้สถาบันการบินพลเรือนจำเลยพิจารณารับโอนพนักงานหรือลูกจ้างของ ศูนย์ฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทย กรมการบินพาณิชย์ซึ่งมีอยู่ในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ไปเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของ สบพ. โดยให้ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้าง รวมทั้งสิทธิและประโยชน์ต่าง ๆ เท่าที่เคยได้รับอยู่เดิมไปพลางก่อนจนกว่าผู้ว่าการจะได้บรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง แต่จะแต่งตั้งให้ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างต่ำกว่าเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ได้รับอยู่เดิมไม่ได้ และวรรคสอง บัญญัติว่าการโอนลูกจ้างตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าเป็นการให้ออกจากงานเพราะทางราชการยุบตำแหน่งหรือทางราชการเลิกจ้างโดยไม่มีความผิด และให้ได้รับบำเหน็จตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง บทบัญญัติ แห่งกฎหมายดังกล่าวได้ระบุไว้อย่างชัดแจ้งแล้วว่า การที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างของศูนย์ฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทยได้โอนมาทำงานเป็นลูกจ้างของจำเลยตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันการบินพลเรือน พ.ศ. 2535สัญญาจ้างระหว่างศูนย์ฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทยกับโจทก์ได้สิ้นสุดลงตามมาตรา 38 วรรคสอง ซึ่งโจทก์ก็ได้รับเงินบำเหน็จจากศูนย์ฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทยครบถ้วนแล้ว การที่โจทก์โอนมาทำงานกับจำเลยจึงเป็นสัญญาว่าจ้างใหม่ต่างหากจากสัญญาเดิม และโดยกฎหมายฉบับดังกล่าวมิได้มีบทบัญญัติให้นับอายุงานโจทก์ต่อเนื่องกัน ฉะนั้น สิทธิและหน้าที่ระหว่างจำเลยกับ โจทก์จึงต้องเป็นไปตามสัญญาว่าจ้างใหม่และเริ่มต้นนับอายุงานใหม่ เมื่อจำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจจึงต้องนำระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เรื่องมาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจพ.ศ. 2534 มาใช้บังคับ โจทก์จึงต้องอยู่ภายใต้บังคับของระเบียบดังกล่าวด้วย ซึ่งระเบียบดังกล่าวไม่ได้ กำหนดให้จำเลยจ่ายเงินบำเหน็จในกรณีเลิกจ้างโจทก์เอาไว้ โจทก์มิใช่ลูกจ้างของส่วนราชการ จึงไม่อาจนำระเบียบดังกล่าวมาใช้บังคับแก่โจทก์ได้ โจทก์จึงอ้างว่ามีสิทธิได้รับบำเหน็จตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง พ.ศ. 2519 มิได้ พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันการบินพลเรือน พ.ศ. 2535มาตรา 38 วรรคหนึ่ง กำหนดไว้เพื่อให้สิทธิและ ประโยชน์ต่าง ๆ ของโจทก์ที่จะพึงได้รับจาก สถาบันการบินพลเรือนในระหว่างที่โจทก์ยังไม่ได้รับการบรรจุ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งจากผู้ว่าการไม่น้อยกว่า ที่เคยได้รับอยู่ในขณะที่เป็นลูกจ้างของศูนย์ฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทยเป็นการชั่วคราวเท่านั้นหาได้ก่อให้เกิดสิทธิหรือประโยชน์ใด ๆ ที่โจทก์เคยได้รับอยู่ก่อนมาคิดคำนวณ ด้วย และเมื่อไม่มีระเบียบหรือบทกฎหมายใดให้สิทธิ โจทก์เรียกร้องเงินบำเหน็จได้ จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายเงินบำเหน็จแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 888/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนพนักงานรัฐวิสาหกิจและสิทธิบำเหน็จ: สัญญาจ้างใหม่ไม่ต่อเนื่องจากเดิม
พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันการบินพลเรือน พ.ศ. 2535 มาตรา 38 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้สถาบันการบินพลเรือนจำเลย (สบพ.) พิจารณารับโอนพนักงานหรือลูกจ้างของศูนย์ฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทย กรมการบินพาณิชย์ ซึ่งมีอยู่ในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับไปเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของ สบพ. โดยให้ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างรวมทั้งสิทธิและประโยชน์ต่าง ๆ เท่าที่เคยได้รับอยู่เดิมไปพลางก่อนจนกว่าผู้ว่าการจะได้บรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง แต่จะแต่งตั้งให้ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างต่ำกว่าเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ได้รับอยู่เดิมไม่ได้ และวรรคสองบัญญัติว่าการโอนลูกจ้างตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าเป็นการให้ออกจากงานเพราะทางราชการยุบตำแหน่งหรือทางราชการเลิกจ้างโดยไม่มีความผิด และให้ได้รับบำเหน็จตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง บทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวได้ระบุไว้อย่างชัดแจ้งแล้วว่า การที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างของศูนย์ฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทยได้โอนมาทำงานเป็นลูกจ้างของจำเลยตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันการบินพลเรือน พ.ศ. 2535 สัญญาจ้างระหว่างศูนย์ฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทยกับโจทก์ได้สิ้นสุดลงตามมาตรา 38 วรรคสอง ซึ่งโจทก์ก็ได้รับเงินบำเหน็จจากศูนย์ฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทยครบถ้วนแล้ว การที่โจทก์โอนมาทำงานกับจำเลยจึงเป็นสัญญาว่าจ้างใหม่ต่างหากจากสัญญาเดิม โดยกฎหมายฉบับดังกล่าวมิได้มีบทบัญญัติให้นับอายุงานโจทก์ต่อเนื่องกัน ฉะนั้น สิทธิและหน้าที่ระหว่างจำเลยกับโจทก์จึงต้องเป็นไปตามสัญญาว่าจ้างใหม่และเริ่มต้นนับอายุงานใหม่ และเมื่อจำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจจึงต้องนำระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 มาใช้บังคับ โจทก์จึงต้องอยู่ภายใตบังคับของระเบียบดังกล่าวด้วยซึ่งระเบียบดังกล่าวไม่ได้กำหนดให้จำเลยจ่ายเงินบำเหน็จในกรณีเลิกจ้างโจทก์เอาไว้ด้วย โจทก์มิใช่ลูกจ้างของส่วนราชการ โจทก์จึงไม่อาจนำระเบียบดังกล่าวมาใช้บังคับแก่โจทก์ได้ โจทก์อ้างว่ามีสิทธิได้รับบำเหน็จตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้างพ.ศ. 2519 มิได้ พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันการบินพลเรือน พ.ศ. 2535 มาตรา 38 วรรคหนึ่ง กำหนดไว้เพื่อให้สิทธิและประโยชน์ต่าง ๆ ของโจทก์ที่จะพึงได้รับจากสถาบันการบินพลเรือนในระหว่างที่โจทก์ยังไม่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งจากผู้ว่าการไม่น้อยกว่าที่เคยได้รับอยู่ในขณะที่เป็นลูกจ้างของศูนย์ฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทยเป็นการชั่วคราวเท่านั้น หาได้ก่อให้เกิดสิทธิหรือประโยชน์ใด ๆ ที่โจทก์เคยได้รับอยู่ก่อนมาคิดคำนวณด้วย และเมื่อไม่มีระเบียบหรือบทกฎหมายใดให้สิทธิโจทก์เรียกร้องเงินบำเหน็จได้ จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายเงินบำเหน็จแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2886/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกอสังหาริมทรัพย์: การกระทำไม่ต่อเนื่องเมื่อการเข้าไปยุติแล้ว การครอบครองต่อมาไม่ใช่ความผิดต่อเนื่อง
ความผิดฐานบุกรุกอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา362มี2ตอนตอนหนึ่งคือ เข้าไปเพื่อถือการครอบครองอีกตอนหนึ่งคือเข้าไปทำการ รบกวนการครอบครองของเขาจำเลยเข้าไปและครอบครองที่พิพาทของโจทก์ร่วมตลอดเวลาต่อๆมานั้นการกระทำอันหนึ่งคือการเข้าไปแม้จะล้อมรั้วและครอบครองตลอดมาก็เป็นการกระทำอีกขั้นหนึ่งการกระทำในส่วนหลังเป็นการกระทำผิดโดยลำพังแต่ประการเดียวไม่ได้เมื่อการเข้าไปอันเป็นการกระทำส่วนแรกยุติเสร็จสิ้นลงแล้วการกระทำในส่วนหลังต่อๆมาก็ ไม่เป็น ความผิดต่อเนื่องติดต่อเกิดขึ้นตลอดเวลาได้เพราะความผิดฐานบุกรุกได้เกิดขึ้นและสำเร็จแล้วเมื่อจำเลยเข้าไปกระทำการดังกล่าวส่วนการครอบครองที่ดินต่อมาเป็นเพียงผลของการบุกรุกการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา365
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3331-3340/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างรายวันไม่ต่อเนื่อง: ไม่มีสิทธิค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน
การวินิจฉัยว่าลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามกฎหมายหรือไม่ จะต้องพิจารณาถึงเงื่อนไขการจ้างหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างด้วยว่า ลูกจ้างและนายจ้างประสงค์จะให้การจ้างมีผลผูกพันเพียงใด และต้องเป็นลูกจ้างของนายจ้างคราวเดียวติดต่อกันตลอดระยะเวลาที่ทำงาน โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยมีหน้าที่ทำความสะอาดสถานีและขบวนรถของจำเลยโดยได้รับค่าจ้างเป็นรายวันเฉพาะวันที่มาทำงาน โจทก์มีสิทธิมาทำงานวันใดก็ได้ หรือไม่มาทำงานวันใดก็ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวหรือลางานและโจทก์ไม่อยู่ภายใต้ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย ดังนี้ การจ้างดังกล่าวแสดงว่าโจทก์จำเลยมีความประสงค์จะทำสัญญาจ้างกัน คราวละ1 วัน โดยจะเกิดสัญญาจ้างขึ้นในแต่ละวันที่โจทก์มาทำงานและสัญญาจ้างเป็นอันระงับไปเมื่อหมดเวลาทำงานของวันนั้น ๆ วันทำงานแต่ละวันของโจทก์จึงไม่ติดต่อกัน จะถือว่าโจทก์เป็นลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันตามที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 46 หรือข้อ 75 ไม่ได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3331-3340/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลักษณะการจ้างงานรายวันไม่ต่อเนื่อง ไม่เข้าข่ายลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชย
การวินิจฉัยว่าลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามกฎหมายหรือ ไม่ จะต้องพิจารณาถึงเงื่อนไขการจ้างหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างด้วยว่า ลูกจ้างและนายจ้างประสงค์จะ ให้การจ้างมีผลผูกพันเพียงใดและต้องเป็น ลูกจ้างของ นายจ้างคราวเดียวติดต่อกันตลอดระยะเวลาที่ทำงาน โจทก์ เป็น ลูกจ้างจำเลยมีหน้าที่ทำความสะอาดสถานีและขบวนรถของจำเลยโดยได้รับค่าจ้างเป็นรายรับเฉพาะวันที่มาทำงานโจทก์มีสิทธิมาทำงาน วันใดก็ได้ หรือไม่มาทำงานวันใดก็ได้โดย ไม่ต้องบอกกล่าวหรือลางาน และโจทก์ไม่อยู่ภายใต้ระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย ดังนี้ การจ้าง ดังกล่าวแสดงว่าโจทก์จำเลยมีความประสงค์จะทำ สัญญาจ้างกัน คราวละ1 วันโดยจะเกิดสัญญาจ้างขึ้นในแต่ละวัน ที่โจทก์มาทำงานและสัญญาจ้างเป็นอันระงับไปเมื่อหมดเวลาทำงานของวันนั้นๆวันทำงานแต่ละวันของโจทก์จึงไม่ติดต่อกันจะถือว่า โจทก์เป็นลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันตามที่กำหนด ไว้ใน ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 46 หรือข้อ 75 ไม่ได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับ ค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2791/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชย vs. เงินบำเหน็จ: การหักเงินบำเหน็จออกจากค่าชดเชย และการนับอายุงานที่ไม่ต่อเนื่อง
สิทธิของลูกจ้างที่จะได้รับเงินบำเหน็จเป็นสิทธิที่เกิด ขึ้นโดยระเบียบเดิม เจตนาของโจทก์จำเลยในการทำข้อตกลงเปลี่ยนแปลงแก้ไขหลักการในการจ่ายเงินบำเหน็จจากระเบียบเดิมโดยให้จำเลยจ่ายเงินบำเหน็จตัดตอนเป็นรายปีให้แก่ลูกจ้างก็เพื่อให้โจทก์ได้รับเงินบำเหน็จไปใช้ประโยชน์ก่อนเป็นการเปลี่ยนแปลงระเบียบเดิมเฉพาะระยะเวลาการจ่ายเงินบำเหน็จเท่านั้น ส่วนสาระสำคัญอื่น ๆ เป็นไปตามเดิม การที่ระเบียบเดิมกำหนดว่า ถ้าเงินบำเหน็จมากกว่าค่าชดเชยให้ตัดเงินบำเหน็จเท่ากับจำนวนเงินชดเชย ถ้าเงินบำเหน็จน้อยกว่าค่าชดเชยก็ให้ได้รับแต่ค่าชดเชยอย่างเดียวมิได้เกี่ยวกับระยะเวลาการจ่ายเงินบำเหน็จ จำเลยมีสิทธินำระเบียบดังกล่าวมาใช้บังคับแก่โจทก์ได้ โจทก์เป็นลูกจ้างของบริษัทสุรามหาคุณจำกัด ก่อนเป็นลูกจ้างจำเลยโดยมิได้นับระยะเวลาทำงานติดต่อกัน ถือได้ว่า บริษัทสุรามหาคุณ จำกัด กับจำเลยมิได้โอนการจ้างแก่กัน การนับระยะเวลาการทำงานของโจทก์เพื่อคำนวณค่าชดเชยที่โจทก์จะได้รับจากจำเลยต้องนับแต่วันที่โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลย เงินบำเหน็จที่จะถือว่าเป็นค่าชดเชยที่จำเลยจ่ายไปแล้วก็คือเงินบำเหน็จที่จำเลยจ่ายไปตั้งแต่ปีที่โจทก์เข้าเป็นลูกจ้างจำเลย ส่วนเงินบำเหน็จที่บริษัทสุรามหาคุณจำกัด จ่ายไปก่อนหน้านั้นเป็นการจ่ายเงินบำเหน็จตัดตอนของบริษัทสุรามหาคุณ จำกัดเองจะนำระยะเวลาที่โจทก์ทำงานกับบริษัทสุรามหาคุณ จำกัด มาคำนวณเป็นค่าชดเชยรวมกับระยะเวลาที่โจทก์ทำงานกับจำเลยหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1687/2479
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียค่าอาชญาบัตร์จับสัตว์น้ำในบ่อที่ไม่ต่อเนื่องกับทางน้ำไหล แม้มีน้ำตลอดปี
กระทรวงว่าด้วยวิธีจัดการและตั้งอัตราเก็บ+อากรค่าน้ำ พ.ศ.+ ข้อ 14 วิดบ่อน้ำเพื่อจับปลาโดยบ่อน้ำนั้นมิได้ต่อเนื่องกับทางน้ำไหล แม้ว่าจะเป็นบ่อที่มีน้ำตลอดปีก็ตามก็ยังไม่มีความผิด อ้างฎีกาที่ 1086/2479 กระทรวงมีข้อความขัดข้องกับตัว พ.ร.บ.ต้องขอความใน พ.ร.บ.เป็นสำคัญ