คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ไม่ต้องจดทะเบียน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2454/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิใช้ทางจำเป็นเมื่อที่ดินถูกล้อมรอบ – ไม่ต้องจดทะเบียน
ที่ดินของโจทก์และที่ดินของจำเลยอยู่ติดกัน ที่ดินของโจทก์มีที่ดินของจำเลยและที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ เมื่อปรากฏว่าหากโจทก์จะออกสู่ทางสาธารณะ ทางที่ใกล้ที่สุดจะต้องผ่านที่ดินของจำเลยตามที่พิพาท โจทก์จึงมีสิทธิจะใช้ที่พิพาทเป็นทางจำเป็นผ่านไปสู่ทางสาธารณะได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 เมื่อที่พิพาทเป็นทางจำเป็น โจทก์ย่อมมีสิทธิใช้ทางดังกล่าวโดยอำนาจของกฎหมายไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3702/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนบ้านสังหาริมทรัพย์และการก่อตั้งสิทธิเหนือพื้นดิน โดยไม่ต้องจดทะเบียน
จำเลยซื้อบ้านจากการขายทอดตลาดอย่างสังหาริมทรัพย์ซึ่งจะต้องรื้อถอนออกไป การซื้อขายในลักษณะเช่นนี้ไม่ต้องทำเป็นหนังสือจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 และจำเลยย่อมโอนต่อให้ผู้ร้องสอดอย่างการโอนสังหาริมทรัพย์ได้เช่นเดียวกัน เมื่อจำเลยยกบ้านหลังพิพาทให้ผู้ร้องสอดโดยเสน่หา จึงไม่ต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และผู้รับโอนย่อมรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่โดยจะต้องรื้อถอนบ้านพิพาทออกไป
สัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์ยอมให้ผู้ร้องสอดอาศัยในที่ดินบริเวณที่ปลูกบ้านพิพาทได้ตลอดชีวิตของผู้ร้องสอดโดยไม่ต้องเสียค่าเช่าที่ดินมีลักษณะเป็นการก่อตั้งสิทธิเหนือพื้นดิน ซึ่งเป็นทรัพยสิทธิอย่างหนึ่งตาม ป.พ.พ.มาตรา 1410 แม้จะไม่ได้ทำเป็นหนังสือจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 1299 วรรคแรก ก็มีผลผูกพันระหว่างคู่สัญญา
การโอนบ้านอย่างสังหาริมทรัพย์ระหว่างจำเลยและผู้ร้องสอดเป็นคนละกรณีกันเรื่องผู้ร้องสอดมีสิทธิเหนือพื้นดินต่อโจทก์ไม่ทำให้การโอนบ้านพิพาทระหว่างจำเลยกับผู้ร้องสอดกลายเป็นการโอนอสังหาริมทรัพย์ ผู้ร้องสอดไม่ต้องรื้อบ้านพิพาทออกไปจากที่ดินโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1733/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เทศบาลมีอำนาจฟ้องคดีได้โดยไม่ต้องขออนุมัติ และสัญญาต่างตอบแทนไม่จำเป็นต้องจดทะเบียน
พ.ร.บ.เทศบาล พ.ศ.2496 มาตรา 7 และมาตรา 39 กำหนดให้เทศบาลตำบลเมืองพลโจทก์เป็นทบวงการเมือง มีคณะเทศมนตรีเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารกิจการของเทศบาลตามกฎหมาย โดยมีนายกเทศมนตรีเป็นหัวหน้า โจทก์จึงมีฐานะเป็นนิติบุคคลตาม ป.พ.พ.มาตรา 72 และนายกเทศมนตรีมีฐานะเป็นผู้แทนของโจทก์ตามที่กำหนดไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 75ที่จะแสดงให้ปรากฏซึ่งความประสงค์ของโจทก์ที่เป็นนิติบุคคล การฟ้องคดีนั้นเป็นการบริหารกิจการของเทศบาลอย่างหนึ่งซึ่งไม่มีบทบัญญัติใน พ.ร.บ.เทศบาล พ.ศ.2496 กำหนดไว้ในที่ใดว่าจะต้องมีการขออนุมัติผู้ใดก่อน นายกเทศมนตรีจึงมีอำนาจเป็นผู้แทนโจทก์ที่จะฟ้องคดีจำเลยได้ ในเมื่อโจทก์ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลย
โจทก์จำเลยได้มีข้อตกลงเป็นการตอบแทนกันให้จำเลยสร้างโรงภาพยนตร์ในที่ดินของโจทก์โดยให้โรงภาพยนตร์ตกเป็นของโจทก์ แต่จำเลยมีสิทธิเช่ามีกำหนด 20 ปี การที่มีข้อตกลงเป็นการตอบแทนกันดังกล่าวเป็นเรื่องของสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาข้อสัญญาต่างตอบแทนกันเช่นนี้ไม่มีบทกฎหมายกำหนดไว้ให้ต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่คู่กรณีจึงต้องผูกพันกันตามสัญญาที่มีลักษณะต่างตอบแทน เมื่อระยะเวลาที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องมานั้นอยู่ในระยะเวลาที่จำเลยยังมีสิทธิใช้ประโยชน์ในโรงภาพยนตร์ตามสัญญา จำเลยก็ต้องมีหน้าที่ชำระค่าตอบแทนตามสัญญา การที่ข้อตกลงในสัญญาจะเรียกว่าเป็นค่าเช่าหรืออย่างไรนั้นไม่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงไปให้ข้อตกลงที่มีอยู่ต่อกันขัดต่อกฎหมายแต่อย่างใด ในเมื่อจำเลยไม่ชำระตามข้อตกลงโจทก์ก็มีสิทธิที่จะฟ้องให้จำเลยชำระได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงชื่อที่จะเรียกว่าเป็นค่าเช่าหรือค่าตอบแทนตามสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1733/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เทศบาลมีอำนาจฟ้องคดีได้โดยไม่ต้องขออนุมัติ และสัญญาต่างตอบแทนไม่ต้องจดทะเบียน
พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 7 และมาตรา 39 กำหนดให้เทศบาลตำบลเมืองพลโจทก์เป็นทบวงการเมือง มีคณะเทศมนตรีเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารกิจการของเทศบาลตามกฎหมาย โดยมีนายกเทศมนตรีเป็นหัวหน้า โจทก์จึงมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 72 และนายกเทศมนตรีมีฐานะเป็นผู้แทนของโจทก์ตามที่กำหนดไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 75 ที่จะแสดงให้ปรากฏซึ่งความประสงค์ของโจทก์ที่เป็นนิติบุคคล การฟ้องคดีนั้นเป็นการบริหารกิจการของเทศบาลอย่างหนึ่งซึ่งไม่มีบทบัญญัติใน พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 กำหนดไว้ในที่ใดว่าจะต้องมีการขออนุมัติผู้ใดก่อน นายกเทศมนตรีจึงมีอำนาจเป็นผู้แทนโจทก์ที่จะฟ้องคดีจำเลยได้ ในเมื่อโจทก์ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลย โจทก์จำเลยได้มีข้อตกลงเป็นการตอบแทนกันให้จำเลยสร้างโรงภาพยนตร์ในที่ดินของโจทก์โดยให้โรงภาพยนตร์ตกเป็นของโจทก์แต่จำเลยมีสิทธิเช่ามีกำหนด 20 ปี การที่มีข้อตกลงเป็นการตอบแทนกันดังกล่าวเป็นเรื่องของสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาข้อสัญญาต่างตอบแทนกันเช่นนี้ไม่มีบทกฎหมายกำหนดไว้ให้ต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่คู่กรณีจึงต้องผูกพันกันตามสัญญาที่มีลักษณะต่างตอบแทน เมื่อระยะเวลาที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องมานั้นอยู่ในระยะเวลาที่จำเลยยังมีสิทธิใช้ประโยชน์ในโรงภาพยนตร์ตามสัญญา จำเลยก็ต้องมีหน้าที่ชำระค่าตอบแทนตามสัญญา การที่ข้อตกลงในสัญญาจะเรียกว่าเป็นค่าเช่าหรืออย่างไรนั้นไม่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงไปให้ข้อตกลงที่มีอยู่ต่อกันขัดต่อกฎหมายแต่อย่างใดในเมื่อจำเลยไม่ชำระตามข้อตกลงโจทก์ก็มีสิทธิที่จะฟ้องให้จำเลยชำระได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงชื่อที่จะเรียกว่าเป็นค่าเช่าหรือค่าตอบแทนตามสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3656/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทิศที่ดินให้ทางราชการเพื่อสาธารณประโยชน์ ถือเป็นการสละกรรมสิทธิ์โดยไม่ต้องจดทะเบียน
จำเลยทำหนังสืออุทิศที่ดินของจำเลยให้ทางราชการเพื่อให้ทำถนนและคลองส่งน้ำแม้มิได้จดทะเบียนการโอนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ถือได้ว่าเป็นการสละที่ดินให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตามป.พ.พ.มาตรา1304การอุทิศที่ดินของจำเลยมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายโดยไม่จำต้องมีการจดทะเบียน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1681/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้มูลนิธิ: ถือเป็นการแสดงเจตนาให้ประโยชน์แก่ผู้อื่น ไม่ต้องจดทะเบียนตาม ป.พ.พ. มาตรา 525
ที่พิพาทเป็นที่ดินซึ่งผู้มีจิตศรัทธาหลายรายได้บริจาคเงินซื้อเพื่อจะยกให้แก่มูลนิธิที่จะตั้งขึ้นในที่พิพาท จึงได้ใส่ชื่อจำเลยซึ่งเป็นผู้ปกครองศาลเจ้าให้เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ไว้ก่อน เมื่อจำเลยเอาที่พิพาทไปจำนองและขายให้แก่บุคคลอื่นก็มีผู้ช่วยกันออกเงินไถ่จำนองและซื้อกลับคืนมา แล้วใส่ชื่อจำเลยและบุคคลอื่น ๆ เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมไว้ในโฉนด เพื่อป้องกันมิให้จำเลยนำไปจำนองหรือขายให้แก่ผู้อื่นอีก และได้ทำหนังสือกันไว้ว่ายินยอมโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่มูลนิธิดังกล่าวแล้ว ฉะนั้น การที่จำเลยและบุคคลอื่น ๆ เป็นเจ้าของที่พิพาทก็เป็นการถือกรรมสิทธิ์ไว้เพื่อมูลนิธิโจทก์นั่นเอง เมื่อโจทก์ได้รับอำนาจเป็นมูลนิธิแล้ว ที่พิพาทดังกล่าวก็ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ตั้งแต่ได้รับอำนาจเป็นมูลนิธิเป็นต้นไป กรณีจึงหาได้เป็นการให้ที่ตกอยู่ในบังคับจะต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 ไม่ เมื่อปรากฏว่ามูลนิธิโจทก์ได้แสดงเจตนาที่จะถือเอาประโยชน์จากสัญญาดังกล่าวแล้วจำเลยจึงมีหน้าที่จะต้องไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1709/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค่าเลี้ยงชีพหลังแยกทาง: สัญญาผูกพันโดยไม่ต้องจดทะเบียนเมื่อมีเจตนาชัดเจน
จำเลยทำสัญญาให้โจทก์ไว้ มีความว่า จำเลยได้เสียเป็นสามีภริยากับโจทก์มาประมาณ 10ปี แต่มิได้จดทะเบียนสมรสบัดนี้จำเลยประสงค์จะแต่งงานใหม่กับหญิงอื่น แต่โดยคุณงามความดีที่มีไมตรีต่อกันมานาน จำเลยจึงตกลงจ่ายเงินค่าเลี้ยงชีพให้แก่โจทก์เดือนละ 300 บาท ตลอดเวลาที่โจทก์ยังไม่มีสามีใหม่ ถ้าไม่ปฏิบัติตามสัญญา ขอให้โจทก์ฟ้องร้องต่อศาลหรือทางราชการกรมเจ้าสังกัดของจำเลยได้การแสดงเจตนาของจำเลย ดังนี้ มีลักษณะในทำนองที่จำเลยประสงค์จะมิให้เกิดข้อยุ่งยากขึ้นในระหว่างจำเลยกับโจทก์ในเมื่อจำเลยแต่งงานใหม่กับหญิงอื่น หาใช่การให้คำมั่นว่า จะให้ทรัพย์สินแก่โจทก์โดยเสน่หาตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 526 ประกอบด้วยมาตรา 521 ไม่ จึงมิใช่กรณีที่จะต้องมีการจดทะเบียนสัญญาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อให้สัญญานี้มีผลบังคับ จำเลยมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าเลี้ยงชีพให้โจทก์ตามสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1135/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่ให้เงินช่วยค่าก่อสร้างเป็นสัญญาต่างตอบแทนผูกพันได้ไม่ต้องจดทะเบียน
สัญญาเช่าห้องแถว ซึ่งผู้เช่าให้เงินแก่ผู้ให้เช่าเป็นเงินช่วยค่าก่อสร้าง และผู้ให้เช่ายอมให้เช่าอยู่ได้ 6 ปี 10 เดือนนั้น เป็นสัญญาต่างตอบแทน มีผลผูกพันกันได้โดยไม่ต้องจดทะเบียน และแม้ผู้เช่าจะเช่าอยู่มาเกิน 1 ปี ผู้ให้เช่าก็ฟ้องขับไล่ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1124/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ส่วนควบของที่ดินและผลของการเช่า: การโอนตึกที่ปลูกบนที่ดินเช่าไม่ต้องจดทะเบียน
จำเลยได้เช่าที่ดินของผู้ร้องขัดทรัพย์ปลูกตึกตึกย่อมเป็นส่วนควบของที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 107 จำเลยมีสิทธิอยู่ในตึกนี้ได้ก็อาศัยสัญญาเช่าที่ดินและตึกนี้ย่อมตกเป็นของผู้ร้องไปในตัวตามระยะเวลาที่ตกลงกัน ฉะนั้น เมื่อจำเลยจะโอนตึกรายนี้ให้เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินเมื่อไร ไม่จำต้องไปทำการโอนจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ (อ้างฎีกา 561/2488)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1054/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาแบ่งกำไรจากการค้า ไม่ใช่การให้โดยเสน่หา ไม่ต้องจดทะเบียน ฟ้องเรียกเงินได้
จำเลยทำสัญญายินยอมแบ่งกำไรเนื่องจากการค้าให้โจทก์ซึ่งเป็นมารดามาช่วยค้าขายตามที่ตกลงกันไว้ ดังนี้ สัญญานั้นไม่ใช่เป็นการให้โดยเสน่หา ซึ่งต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ โจทก์ย่อมฟ้องเรียกเงินตามข้อตกลงนั้นได้
of 2