พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2122/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาว่าจ้างซ่อมรถยนต์: ผู้ว่าจ้างคือโจทก์ จำเลยรับภาระแทนลูกหนี้ โจทก์ไม่ต้องชำระหนี้
ม.ขับรถยนต์โดยประมาทชนรถยนต์ของโจทก์ได้รับความเสียหายโดย ม.ยอมรับผิดต่อโจทก์ ต่อมาโจทก์และ ม.มาพบจำเลยที่อู่ของจำเลย เพื่อให้จำเลยประเมินค่าซ่อมรถยนต์ของโจทก์ จำเลยประเมินราคาค่าซ่อมและค่าอะไหล่รวม 100,000 บาท โจทก์และ ม.ตกลงค่าซ่อมและค่าอะไหล่ 70,000 บาทจำเลยตกลงรับจ้างซ่อมให้ ข้อตกลงระหว่างโจทก์และ ม.มีเงื่อนไขตามที่ระบุไว้ในสัญญาว่า ม.ชำระค่าซ่อมในวันทำสัญญา 30,000 บาท ส่วนที่เหลือ 40,000 บาทจะนำมาชำระที่อู่ของจำเลยภายในวันที่ 30 มีนาคม 2536 หากผิดนัดยอมชำระค่าซ่อมและค่าอะไหล่ 100,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัด โดยมีโจทก์และ ม.ลงชื่อเป็นคู่สัญญา จำเลยกับ พ.ภริยาจำเลยลงชื่อเป็นพยาน ในวันเดียวกันนั้นโจทก์และจำเลยทำสัญญาว่า อู่ของจำเลยจะซ่อมรถยนต์ของโจทก์ให้เสร็จประมาณวันที่ 5มีนาคม 2536 ได้รับชำระหนี้ล่วงหน้าแล้ว 30,000 บาท ส่วนที่เหลือ 40,000 บาทผู้ซ่อมจะเรียกเก็บจาก ม.โดยค่าซ่อมส่วนนี้โจทก์ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย โจทก์ลงชื่อในฐานะผู้ให้ซ่อม จำเลยลงชื่อในฐานะผู้ซ่อม แม้ตามสัญญาจะมิได้ระบุชัดว่าโจทก์หรือม.เป็นผู้ว่าจ้างจำเลย คงมีเงื่อนไขในข้อตกลงของโจทก์และ ม.ว่า ม.จะนำค่าซ่อมส่วนที่เหลือดังกล่าวแก่จำเลย เนื่องจากจำเลยเป็นเจ้าของอู่และยังเป็นเจ้าหนี้ในค่าซ่อมส่วนที่เหลือดังกล่าวด้วย แต่เงื่อนไขดังกล่าวยังไม่พอฟังว่า ม.ว่าจ้างจำเลยซ่อมเพราะตามสัญญาดังกล่าวยังมิได้กำหนดเวลาซ่อมเสร็จอันเป็นข้อสาระสำคัญของสัญญาว่าจ้างซ่อม ทั้งเป็นเรื่องระหว่างโจทก์และ ม.ซึ่งเป็นคู่สัญญา จำเลยมิได้เป็นคู่สัญญาด้วย แต่กำหนดเวลาซ่อมแล้วเสร็จมาระบุในสัญญาเอกสารหมาย จ.5 โดยมีโจทก์และจำเลยเป็นคู่สัญญา ทั้งการลงชื่อในสัญญาก็ได้ระบุว่าโจทก์ในฐานะผู้ให้ซ่อมจำเลยในฐานะผู้ซ่อม โจทก์จึงเป็นผู้ว่าจ้างจำเลยซ่อมรถยนต์ของโจทก์ หาใช่ ม.ไม่
เมื่อจำเลยซ่อมรถยนต์ของโจทก์เสร็จ และ ม.ผิดนัด ไม่นำเงินค่าซ่อมส่วนที่เหลือมาชำระแก่จำเลยตามที่ตกลงกับโจทก์ใน โจทก์ก็ต้องเป็นผู้ชำระค่าซ่อมดังกล่าวแก่จำเลย แต่เมื่อจำเลยตกลงกับโจทก์ว่าจำเลยจะเป็นผู้เรียกเก็บค่าซ่อมส่วนที่เหลือ 40,000 บาท จาก ม.เองโดยโจทก์ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับค่าซ่อมดังกล่าว แสดงว่าจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ในค่าซ่อมดังกล่าวตกลงรับภาระแทนโจทก์ โดยจะเรียกเก็บค่าซ่อมส่วนที่เหลือจาก ม.ตามที่ ม.ตกลงกับโจทก์ไว้โดยโจทก์ไม่ต้องชำระค่าซ่อมแก่จำเลย ข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาอย่างหนึ่งผูกพันจำเลยต้องปฏิบัติตาม เมื่อจำเลยไม่อาจเรียกค่าซ่อมจาก ม.ได้เนื่องจาก ม.ไม่ยอมชำระ จำเลยย่อมไม่มีสิทธิย้อนกลับมาฟ้องเรียกค่าซ่อมส่วนที่เหลือดังกล่าวจากโจทก์อีกเพราะขัดต่อสัญญาที่จำเลยตกลงทำกับโจทก์ไว้โดยจำเลยรู้อยู่ก่อนแล้วว่า ม.ต้องชำระค่าซ่อมแทนโจทก์ โจทก์จึงไม่ต้องชำระค่าซ่อมดังกล่าวแก่จำเลย
เมื่อจำเลยซ่อมรถยนต์ของโจทก์เสร็จ และ ม.ผิดนัด ไม่นำเงินค่าซ่อมส่วนที่เหลือมาชำระแก่จำเลยตามที่ตกลงกับโจทก์ใน โจทก์ก็ต้องเป็นผู้ชำระค่าซ่อมดังกล่าวแก่จำเลย แต่เมื่อจำเลยตกลงกับโจทก์ว่าจำเลยจะเป็นผู้เรียกเก็บค่าซ่อมส่วนที่เหลือ 40,000 บาท จาก ม.เองโดยโจทก์ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับค่าซ่อมดังกล่าว แสดงว่าจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ในค่าซ่อมดังกล่าวตกลงรับภาระแทนโจทก์ โดยจะเรียกเก็บค่าซ่อมส่วนที่เหลือจาก ม.ตามที่ ม.ตกลงกับโจทก์ไว้โดยโจทก์ไม่ต้องชำระค่าซ่อมแก่จำเลย ข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาอย่างหนึ่งผูกพันจำเลยต้องปฏิบัติตาม เมื่อจำเลยไม่อาจเรียกค่าซ่อมจาก ม.ได้เนื่องจาก ม.ไม่ยอมชำระ จำเลยย่อมไม่มีสิทธิย้อนกลับมาฟ้องเรียกค่าซ่อมส่วนที่เหลือดังกล่าวจากโจทก์อีกเพราะขัดต่อสัญญาที่จำเลยตกลงทำกับโจทก์ไว้โดยจำเลยรู้อยู่ก่อนแล้วว่า ม.ต้องชำระค่าซ่อมแทนโจทก์ โจทก์จึงไม่ต้องชำระค่าซ่อมดังกล่าวแก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9241/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินตกเป็นพ้นวิสัยเนื่องจากมีการเวนคืนที่ดิน ทั้งสองฝ่ายไม่ต้องชำระหนี้ต่อกัน
วัตถุประสงค์แห่งหนี้ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทคือการรับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามจำนวนเนื้อที่ที่จะซื้อสำหรับโจทก์และการชำระค่าที่ดินตามจำนวนที่ตกลงกันสำหรับจำเลย เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏตั้งแต่วันถึงกำหนดโอนตามสัญญาว่ามีการเวนคืนที่ดิน และที่ดินที่จะซื้อจะขายอยู่ในเขตเวนคืนด้วยอันจะมีผลทำให้ที่ดินที่จะซื้อจะขายถูกเวนคืนทั้งหมดหรือบางส่วนได้ ดังนั้น การปฏิบัติการชำระหนี้ตามสัญญาจึงเกิดปัญหาทั้งในส่วนจำนวนเนื้อที่ดินที่โจทก์จะพึงได้รับตามที่ได้ตั้งวัตถุประสงค์ไว้ และในส่วนจำนวนค่าที่ดินที่จำเลยมุ่งไว้ ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ตามสัญญาจะซื้อจะขาย กรณีถือได้ว่าการชำระหนี้ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทในคดีนี้ตกเป็นพ้นวิสัยเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันจะโทษฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็ไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 372ต่างฝ่ายต่างไม่ต้องชำระหนี้ต่อกันต่อไปอีก กรณีไม่อาจเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ และจำเลยต้องคืนเงินมัดจำให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2487/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาที่ไม่มีมูลหนี้เนื่องจากเกิดจากการหลอกลวง สัญญาเป็นโมฆะและไม่ต้องชำระหนี้
จำเลยทั้งสามนำสืบว่า ป. สามีโจทก์หลอกลวง บ. บุตรจำเลยที่ 1 ส.หลานจำเลยที่2พ. บุตรจำเลยที่ 3 กับพวกรวม 8 คนว่าสามารถจัดส่งบุคคลทั้งแปดไปทำงานที่ประเทศซาอุดิอาระเบีย ได้โดยเรียกเงินจากบุคคลทั้งแปดคนละ 52,000 บาท บ. ส.และพ.มีเงินให้ ป. ไม่ถึงคนละ 52,000 บาท จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3จึงได้ทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์ตามจำนวนเงินที่ยังขาดอยู่ให้โจทก์ยึดถือไว้โดยมิได้รับเงินจากโจทก์เลย เมื่อปรากฏในภายหลังว่าความจริง ป. ไม่สามารถส่งคนหางานไปทำงานที่ประเทศดังกล่าวตามที่อวดอ้างได้ จำเลยทั้งสามจึงขอให้โจทก์คืนหนังสือสัญญากู้ยืมเงินและโฉนดที่ดินที่มอบให้โจทก์ไว้เป็นประกัน แต่โจทก์ไม่ยอมคืนให้ดังนี้นอกจากจะเป็นการนำสืบถึงที่มาหรือมูลเหตุแห่งการทำสัญญากู้ยืมเงินที่โจทก์นำมาฟ้องแล้ว ยังเป็นการนำสืบว่าสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวไม่มีมูลหนี้เป็นสัญญาที่ไม่สมบูรณ์ มิใช่เป็นการนำสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารที่กฎหมายบังคับว่าจะต้องมีมาแสดง จึงไม่ขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 94(ข).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2198/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความเป็นสัญญาต่างตอบแทน หากฝ่ายใดไม่ปฏิบัติตาม อีกฝ่ายไม่ต้องชำระหนี้
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันต่อศาลว่าจำเลยยอมออกจากบ้านพิพาทภายในกำหนด 3 เดือน นับแต่วันทำสัญญาในวันที่จำเลยขนย้ายออกจากบ้านโจทก์ โจทก์ยอมจ่ายเงินให้จำเลยหนึ่งหมื่นบาททันที พ้นกำหนดแล้วจำเลยไม่ยอมออกไปตามสัญญายอมจนโจทก์ขอให้ศาลบังคับให้จับจำเลยมาขังไว้จนกว่าจำเลยจะออกไปดังนี้ สัญญายอมดังกล่าวเป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อจำเลยมิได้ปฏิบัติตามสัญญา และการที่จำเลยออกจากบ้านพิพาทเพราะการบังคับคดีของศาล โจทก์จึงมิต้องจ่ายเงินหนึ่งหมื่นบาทให้จำเลย
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 26/2514)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 26/2514)