พบผลลัพธ์ทั้งหมด 24 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5175/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินโดยไม่ทราบหนี้สิน: ไม่เป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้
เมื่อจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ในคดีที่โจทก์ฟ้องให้ชำระหนี้เงินกู้และในที่สุดศาลฎีกามีคำพิพากษาวินิจฉัยว่ามีเหตุให้พิจารณาใหม่ตามคำร้องของจำเลยที่ 1 โดยฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 1 ไม่ทราบว่าถูกโจทก์ฟ้องให้ชำระหนี้เงินกู้ที่ศาลแพ่ง แต่เพิ่งมาทราบเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2540 ข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงเป็นอันยุติและผูกพันโจทก์กับจำเลยที่ 1 ผู้เป็นคู่ความด้วยเหตุนี้เอง การที่โจทก์กล่าวอ้างในฟ้องว่าเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2540 จำเลยทั้งสามร่วมกันโอนที่ดินพิพาททั้งสามแปลงในกรรมสิทธิ์ส่วนของจำเลยที่ 1 ให้แก่จำเลยที่ 2 แสดงให้เห็นว่าในวันตามฟ้องดังกล่าวจำเลยที่ 1 ยังไม่ทราบว่าถูกโจทก์ฟ้องให้ชำระหนี้เงินกู้ ดังนั้น ในขณะเกิดเหตุตามฟ้อง จึงไม่อาจฟังเป็นยุติว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันโอนทรัพย์โดยรู้ว่าโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ได้ใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้ทั้งนี้เพื่อมิให้โจทก์ได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิด ไม่อาจถือได้ว่าจำเลยทั้งสามมีเจตนาร่วมกันกระทำความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตาม ป.อ. มาตรา 350
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5608/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนต้องเกิดจากเจตนา และกรณีที่นายจ้างไม่ส่งเงินสมทบโดยที่ผู้ประกันตนไม่ทราบ
พ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ. 2533 ลักษณะ 2 หมวด 1 บัญญัติให้เรื่องการเป็นผู้ประกันตน รวมถึงการสิ้นสุดของความเป็นผู้ประกันตน อยู่ในกรอบอำนาจหน้าที่และการควบคุมของสำนักงานประกันสังคมจำเลย และยังให้สิทธิแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกันตนต่อจำเลยตามมาตรา 39 ว่า หากโจทก์ไม่พอใจคำสั่งของเลขาธิการสำนักงานประกันสังคมหรือของพนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคมที่สั่งการตามกฎหมายฉบับนี้ ให้โจทก์มีสิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วันนับแต่วันได้รับแจ้งคำสั่งตามมาตรา 85 คณะกรรมการอุทธรณ์ที่จัดตั้งขึ้นตามมาตรา 86 ก็เป็นคณะกรรมการของจำเลยโดยให้ผู้แทนสำนักงานประกันสังคมเป็นกรรมการและเลขานุการเพื่อต้องการให้คณะกรรมการอุทธรณ์ได้ตรวจสอบคำสั่งของเลขาธิการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคมอีกชั้นหนึ่ง คำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์จึงเป็นคำสั่งในหน่วยงานของจำเลย นอกจากนี้มาตรา 87 วรรคท้าย ยังได้บัญญัติรับรองสิทธิของโจทก์ไว้อีกว่า คำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์ ถ้าผู้อุทธรณ์ไม่พอใจให้มีสิทธินำคดีไปสู่ศาลแรงงานภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัย ดังนี้เมื่อจำเลยแจ้งการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 แก่โจทก์ โจทก์อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ และคณะกรรมการอุทธรณ์ของจำเลยมีคำวินิจฉัยยกอุทธรณ์โจทก์ การกระทำของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 55 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลย
พ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ. 2533 มีเจตนารมณ์เพื่อให้การสงเคราะห์แก่ลูกจ้างและบุคคลอื่น บทบัญญัติมาตราใดที่กำหนดเงื่อนไขให้บุคคลดังกล่าวต้องสิ้นสิทธิจึงต้องตีความอย่างเคร่งครัดว่าต้องเป็นกรณีกระทำโดยเจตนาเท่านั้น มาตรา 41 (4) ที่บัญญัติให้ความเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 สิ้นสุดลงเมื่อผู้ประกันตนไม่ส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกันจึงหมายถึงกรณีที่ผู้ประกันตนไม่ส่งเงินสมทบโดยจงใจ และไม่มีพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งผู้ประกันตนต้องรับผิดชอบ โจทก์ไม่ทราบมาก่อนว่า ธนาคาร ท. นายจ้างโจทก์ยกเลิกการส่งเงินสมทบแทนโจทก์และโจทก์ไม่ได้จงใจไม่ส่งเงินสมทบ ทั้งไม่ปรากฏว่ามีพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งโจทก์ต้องรับผิดชอบ ความเป็นผู้ประกันตนของโจทก์จึงยังไม่สิ้นสุดลงตามมาตรา 41 (4)
พ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ. 2533 มีเจตนารมณ์เพื่อให้การสงเคราะห์แก่ลูกจ้างและบุคคลอื่น บทบัญญัติมาตราใดที่กำหนดเงื่อนไขให้บุคคลดังกล่าวต้องสิ้นสิทธิจึงต้องตีความอย่างเคร่งครัดว่าต้องเป็นกรณีกระทำโดยเจตนาเท่านั้น มาตรา 41 (4) ที่บัญญัติให้ความเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 สิ้นสุดลงเมื่อผู้ประกันตนไม่ส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกันจึงหมายถึงกรณีที่ผู้ประกันตนไม่ส่งเงินสมทบโดยจงใจ และไม่มีพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งผู้ประกันตนต้องรับผิดชอบ โจทก์ไม่ทราบมาก่อนว่า ธนาคาร ท. นายจ้างโจทก์ยกเลิกการส่งเงินสมทบแทนโจทก์และโจทก์ไม่ได้จงใจไม่ส่งเงินสมทบ ทั้งไม่ปรากฏว่ามีพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งโจทก์ต้องรับผิดชอบ ความเป็นผู้ประกันตนของโจทก์จึงยังไม่สิ้นสุดลงตามมาตรา 41 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2782/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกป่าสงวน: จำเลยไม่มีความผิด หากไม่ทราบว่าเป็นพื้นที่ป่าสงวน แม้เป็นพื้นที่ป่าจริง
ที่ดินที่จำเลยบุกรุกเข้าไปทำการก่นสร้าง แผ้วถาง เป็นที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติหรือไม่ ย่อมเป็นข้อเท็จจริง หากไม่ใช่ป่าสงวนแห่งชาติจำเลยย่อมไม่มีความผิดและแม้จะเป็นป่าสงวนแห่งชาติแต่จำเลยเข้าก่นสร้าง แผ้วถางโดยไม่ทราบว่าเป็นป่าสงวนแห่งชาติจำเลยก็ไม่มีความผิด จำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 เป็นเพียงผู้รับจ้างเข้าทำไร่มันสำปะหลังให้จำเลยที่ 1 โดยสภาพพื้นที่เคยปลูกมันสำปะหลังมาก่อน จำเลยที่ 2ถึงที่ 7 ไม่อาจทราบได้ว่าเป็นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ทั้งโจทก์ไม่มีพยานคนใดเบิกความว่าจำเลยที่ 1 รู้ว่าเป็นป่าสงวนแห่งชาติและตามสภาพที่ดินก็ไม่มีต้นไม้ใหญ่กลับเป็นไร่มันสำปะหลังทั้งไม่มีป้ายแนวเขตว่าเป็นป่าสงวนแห่งชาติพฤติการณ์ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ทราบว่าที่เข้าไปก่นสร้าง แผ้วถางเป็นป่าสงวนแห่งชาติเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2782/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดป่าสงวน: ผู้กระทำไม่ทราบว่าเป็นป่าสงวนฯ ย่อมไม่มีความผิด แม้พื้นที่เป็นป่าสงวนฯ จริง
ที่ดินที่จำเลยบุกรุกเข้าไปทำการก่นสร้างแผ้วถางเป็นที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติหรือไม่ย่อมเป็นข้อเท็จจริงหากไม่ใช่ป่าสงวนแห่งชาติจำเลยย่อมไม่มีความผิดและแม้จะเป็นป่าสงวนแห่งชาติแต่จำเลยเข้าก่นสร้างแผ้วถางโดยไม่ทราบว่าเป็นป่าสงวนแห่งชาติจำเลยก็ไม่มีความผิด จำเลยที่2ถึงที่7เป็นเพียงผู้รับจ้างเข้าทำไร่มันสำปะหลังให้จำเลยที่1โดยสภาพพื้นที่เคยปลูกมันสำปะหลังมาก่อนจำเลยที่2ถึงที่7ไม่อาจทราบได้ว่าเป็นที่ป่าสงวนแห่งชาติทั้งโจทก์ไม่มีพยานคนใดเบิกความว่าจำเลยที่1รู้ว่าเป็นป่าสงวนแห่งชาติและตามสภาพที่ดินก็ไม่มีต้นไม้ใหญ่กลับเป็นไร่มันสำปะหลังทั้งไม่มีป้ายแนวเขตว่าเป็นป่าสงวนแห่งชาติพฤติการณ์ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่1ได้ทราบว่าที่เข้าไปก่นสร้างแผ้วถางเป็นป่าสงวนแห่งชาติเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10132/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกไปยังภูมิลำเนาที่ไม่ถูกต้องและการไม่ทราบถึงการถูกฟ้องเป็นเหตุให้ไม่ถือว่าจงใจขาดนัด
จำเลยที่1ได้ย้ายไปประกอบกิจการและจำเลยที่2ได้ย้ายไปอยู่ณที่บ้านเลขที่65หมู่ที่8ตำบลเชียงรากน้อยอำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยาตั้งแต่ปีพ.ศ.2531แต่ขณะที่จำเลยที่1ทำสัญญากู้ยืมเงินจากโจทก์และจำเลยที่2ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยทั้งสองได้ระบุภูมิลำเนาของจำเลยทั้งสองในสัญญากู้เงินและสัญญาค้ำประกันไว้ตรงกับหลักฐานทางทะเบียนของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทและหลักฐานทางทะเบียนบ้านโดยมิได้ระบุภูมิลำเนาเลขที่65ดังกล่าวไว้ในสัญญากู้เงินและสัญญาค้ำประกันทั้งที่จำเลยที่1ได้ย้ายไปประกอบกิจการและจำเลยที่2ได้ย้ายไปอยู่ณบ้านเลขที่65นั้นแล้วแต่ก็มิได้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของจำเลยที่1ดังนี้ถือว่าจำเลยที่1มีภูมิลำเนา2แห่งคือตามที่ได้จดทะเบียนที่ตั้งสำนักงานใหญ่และที่ได้ประกอบกิจการแท้จริงส่วนจำเลยที่2ซึ่งมีฐานะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่1ด้วยถือว่ามีภูมิลำเนาณภูมิลำเนาของจำเลยที่1ซึ่งเป็นสถานที่เดียวกับที่ระบุในทะเบียนบ้านถือว่าจำเลยที่2มีภูมิลำเนา2แห่งคือตามที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของจำเลยที่1และที่จำเลยที่1ประกอบกิจการแท้จริง เมื่อจำเลยทั้งสองใช้บ้านเลขที่34/1หมู่ที่4ตำบลคลองหนึ่งอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานีเป็นภูมิลำเนาในสัญญากู้เงินและสัญญาค้ำประกันจึงถือว่าจำเลยทั้งสองได้เลือกเอาบ้านเลขที่34/1ดังกล่าวเป็นภูมิลำเนาสำหรับการกู้ยืมเงินและการค้ำประกันกับโจทก์การที่เจ้าพนักงานศาลได้นำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องรวมทั้งหมายนัดสืบพยานโจทก์และคำบังคับไปส่งให้แก่จำเลยทั้งสองที่บ้านเลขที่34/1จึงเป็นการส่งหมายเรียกสำเนาคำฟ้องหมายนัดและคำบังคับโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วแต่เมื่อจำเลยทั้งสองมิได้อยู่ที่ภูมิลำเนาดังกล่าวและจำเลยทั้งสองไม่ทราบว่าถูกโจทก์ฟ้องดังนี้แม้การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องหมายนัดสืบพยานโจทก์และคำบังคับให้แก่จำเลยทั้งสองจะเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายแต่เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ทราบว่าถูกโจทก์ฟ้องจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองจงใจขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5101/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณา: ผู้ร้องไม่ทราบวันนัดไต่สวน ไม่ถือว่าขาดนัดตามกฎหมาย
คำร้องที่ผู้ร้องอ้างว่าผู้ร้องไม่ทราบวันนัดไต่สวนพยานผู้ร้องการที่ผู้ร้องไม่มาศาลในวันไต่สวนจะถือว่าผู้ร้องขาดนัดพิจารณาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 201 ไม่ได้ ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าผู้ร้องขาดนัดพิจารณาและจำหน่ายคดีของผู้ร้องจากสารบบความเป็นการไม่ชอบ เท่ากับเป็นการกล่าวอ้างว่าศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่เกี่ยวกับการพิจารณาโดยขาดนัดในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม อันเป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153 ผู้ร้องซึ่งได้รับความเสียหายต้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นก่อนมีคำพิพากษา แต่ต้องไม่ช้ากว่าแปดวันนับแต่วันที่ผู้ร้องทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้น
กรณีที่จะถือว่าคู่ความฝ่ายใดขาดนัดพิจารณาได้ ต้องปรากฏว่าคู่ความฝ่ายนั้นทราบวันนัดสืบพยานโดยชอบแล้วไม่มาศาล เมื่อตามคำร้องของผู้ร้องยังโต้เถียงข้อเท็จจริงอยู่ว่าผู้ร้องไม่ทราบกำหนดวันนัดไต่สวนสืบพยานผู้ร้องลายมือชื่อทราบวันนัดไม่ใช่ลายมือชื่อของผู้ร้องหรือทนายผู้ร้อง เช่นนี้คำร้องของผู้ร้องจึงมิใช่การขอให้พิจารณาใหม่
กรณีที่จะถือว่าคู่ความฝ่ายใดขาดนัดพิจารณาได้ ต้องปรากฏว่าคู่ความฝ่ายนั้นทราบวันนัดสืบพยานโดยชอบแล้วไม่มาศาล เมื่อตามคำร้องของผู้ร้องยังโต้เถียงข้อเท็จจริงอยู่ว่าผู้ร้องไม่ทราบกำหนดวันนัดไต่สวนสืบพยานผู้ร้องลายมือชื่อทราบวันนัดไม่ใช่ลายมือชื่อของผู้ร้องหรือทนายผู้ร้อง เช่นนี้คำร้องของผู้ร้องจึงมิใช่การขอให้พิจารณาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1073/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการโต้แย้งความเสียหายจากราคาขายทอดตลาดที่ต่ำกว่าราคาตลาด จำเลยอ้างว่าไม่ทราบการบังคับคดี
ตามคำร้องของจำเลยคัดค้านว่าจำเลยเพิ่งทราบว่ามีการยึดที่ดินและนำออกขายทอดตลาด โดยเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่เคยแจ้งการยึดและวันขายทอดตลาดให้จำเลยทราบมาก่อน ทั้งการขายทอดตลาดก็ต่ำกว่าราคาท้องตลาด ทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย เท่ากับจำเลยอ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อกฎหมาย และมีความหมายในเชิงปฏิเสธว่าวันที่ 18 มิถุนายน 2535อันเป็นวันขายทอดตลาดซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีได้กระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนนั้นจำเลยไม่ทราบมาก่อน ส่วนในข้อที่ว่าจำเลยทราบถึงการกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนตั้งแต่เมื่อใดนั้น ยังไม่มีข้อเท็จจริงที่ศาลจะรับฟังมาวินิจฉัยข้อกฎหมายในข้อว่าจำเลยได้ยื่นคำร้องล่วงเลยกำหนดเวลาแปดวันนับแต่วันทราบการฝ่าฝืนนั้นหรือไม่ ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 296 วรรคท้าย แห่ง ป.วิ.พ. ทั้งจำเลยฎีกาโต้เถียงอยู่ว่าจำเลยเพิ่งทราบถึงการฝ่าฝืนดังกล่าวในวันยื่นคำร้อง และคดีก็ยังมีประเด็นโต้เถียงกันเรื่องราคาแท้จริงตามราคาท้องตลาดแห่งที่ดินพิพาทอีกด้วย สมควรที่ศาลชั้นต้นจะต้องดำเนินการไต่สวนคำร้องของจำเลยต่อไปจนสิ้นกระแสความเสียก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 415/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับเงินจากผู้อื่นโดยไม่ทราบแหล่งที่มาที่ไม่ใช่ทรัพย์สินที่ถูกลักไป ไม่ถือเป็นการละเมิด
ทรัพย์ของโจทก์ถูกจำเลยที่ 1 ที่ 2 ลักไป จำเลยทั้งสองได้ ขายทรัพย์นั้นและมอบเงินที่ได้ให้จำเลยที่ 3 ที่ 4 แต่คดีฟังไม่ได้ ว่าจำเลยที่ 3 ที่ 4 ได้รับเงินไว้โดยรู้ว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้มา จากการขายทรัพย์ของโจทก์ที่ถูกลักไป ทั้งไม่ถือว่าเงินนั้นเป็น ของโจทก์เพราะไม่ใช่ทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำผิด การกระทำของ จำเลยที่ 3ที่ 4 จึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิ เรียกเงินดังกล่าวคืนจากจำเลยที่ 3 ที่ 4.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3704-3705/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลายื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: เจ้าหนี้ต้องยื่นตามกำหนด แม้ไม่ทราบหรือไม่ได้รับการแจ้ง
เจ้าหนี้จะรู้หรือไม่รู้กำหนดเวลายื่นคำขอรับชำระหนี้ เจ้าหนีก็จะยื่นคำขอรับชำระหนี้เมื่อล่วงเลยกำหนดเวลาขอรับชำระหนี้ตามที่มาตรา ๙๑ แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓ บัญญัติไว้ไม่ได้ และจะมีการไต่สวนลูกหนี้โดยเปิดเผยหรือไม่ ก็ไม่เป็นเหตุให้เจ้าหนี้มีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้เมื่อล่วงเลยกำหนดเวลาตามมาตราดังกล่าว
ผู้ร้องฎีกาว่า กำหนดเวลาขอรับชำระหนี้ไม่ใช่อายุความ เป็นเพียงระยะเวลาย่อม ย่น และขยายได้ตามกฎหมายวิธีพิจารณาความเหตุใดที่กำหนดเวลาขอรับชำระหนี้ไม่เป็นอายุความ แต่เป็นกำหนดระยะเวลา ผู้ร้องไม่ได้ยกเหตุผลขึ้นประกอบข้ออ้าง ฎีกาของผู้ร้องจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๔๙ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.
ผู้ร้องฎีกาว่า กำหนดเวลาขอรับชำระหนี้ไม่ใช่อายุความ เป็นเพียงระยะเวลาย่อม ย่น และขยายได้ตามกฎหมายวิธีพิจารณาความเหตุใดที่กำหนดเวลาขอรับชำระหนี้ไม่เป็นอายุความ แต่เป็นกำหนดระยะเวลา ผู้ร้องไม่ได้ยกเหตุผลขึ้นประกอบข้ออ้าง ฎีกาของผู้ร้องจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๔๙ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1723/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับซื้อของเก่าโบราณวัตถุโดยไม่ทราบว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำผิด ไม่ถือเป็นความผิดฐานรับของโจร
คนร้ายลักพระแสงกระบี่ของพระบรมรูปทรงม้าไปขายจำเลยที่ร้านซึ่งได้รับอนุญาตให้ค้าของเก่าโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุ ในเวลาค้าขายตามปกติ เป็นการกระทำตามปกติในธุรกิจการค้า แม้รับซื้อไว้ในราคาถูกและไม่ลงรายการการซื้อในบัญชีแสดงรายการโบราณวัตถุและศิลปวัตถุแต่จำเลยมิได้เก็บพระแสงกระบี่ไว้ในลักษณะปิดบังซ่อนเร้น ถือไม่ได้ว่าจำเลยรับซื้อไว้โดยรู้ว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาโดยการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ จำเลยไม่มีความผิดฐานรับของโจร