พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4167/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างที่มีระยะเวลาทดลองงาน ทำให้สัญญาเป็นสัญญาไม่มีกำหนดระยะเวลาตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน
แม้สัญญาจ้างแรงงานจะกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้ 1 ปี แต่ในข้อ 2 ของสัญญามีข้อความว่า นายจ้างจัดให้มีระยะเวลาทดลองงานเป็นระยะเวลา 4 เดือน นับแต่วันทำสัญญา หากนายจ้างเห็นว่าความรู้ความสามารถ ฝีมือหรือความเอาใจใส่ของลูกจ้างไม่เป็นที่น่าพอใจ นายจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาฉบับนี้ในเวลาใด ๆ ในระหว่างอายุสัญญาทดลองงานก็ได้ เช่นนี้ ย่อมหมายถึงโจทก์ตกลงจ้างให้จำเลยทำงานโดยมีเวลาทดลองงาน 4 เดือน หากจำเลยผ่านการทดลองงานโจทก์จะจ้างต่อไป ถ้าหากไม่ผ่านการทดลองงานโจทก์มีสิทธิเลิกจ้างได้ ซึ่งไม่แน่นอนว่าสัญญาจ้างจะสิ้นสุดลงเมื่อใด จึงเป็นสัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 17 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3318/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างไม่มีกำหนดระยะเวลา การเลิกจ้างเนื่องจากไม่ยอมทำสัญญาใหม่ ไม่ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
จำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานในตำแหน่งพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินมีกำหนดระยะเวลาการจ้าง 5 ปี นับแต่วันที่26 กุมภาพันธ์ 2516 ตามสัญญาจ้างได้ระบุเงื่อนไขไว้ว่า เมื่อจ้างกันครบกำหนด 5 ปีแล้ว จำเลยจะจ้างโจทก์ต่ออีกคราวละ 1 ปี ต่อเมื่อจำเลยได้พิจารณาความเหมาะสมในการดำรงตำแหน่งและประสิทธิภาพการทำงานของโจทก์เป็นที่พอใจแล้ว เมื่อสัญญาจ้างครบกำหนดจำเลยได้ทำสัญญาจ้างโจทก์ต่ออีก 1 ปี โดยระบุเงื่อนไขเพิ่มเติมไว้ว่า หากสิ้นสุดระยะเวลาว่าจ้างตามสัญญานี้แล้ว และมิได้มีการแจ้งให้ท่านทราบเป็นลายลักษณ์อักษรก็ให้ถือว่าการจ้างสิ้นสุดลงตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญานี้ ต่อมาหลังจากสัญญาจ้างฉบับหลังสิ้นสุดลงแล้ว จำเลยหาได้แจ้งแก่โจทก์เป็นลายลักษณ์อักษรว่าจะต่อสัญญาจ้างให้โจทก์อีกหรือไม่และจำเลยคงให้โจทก์ทำงานในตำแหน่งเดิมและจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ตลอดมาการที่ตำแหน่งพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินเช่นโจทก์จะต้องผ่านการประเมินผลการปฏิบัติงานและตรวจสุขภาพทุกปีก็เพื่อพิจารณาความเหมาะสมในตำแหน่งและประสิทธิภาพการทำงานเท่านั้น จึงหามีผลเป็นการต่อสัญญาจ้างเป็นรายปีไม่ดังนั้นเมื่อสัญญาจ้างฉบับหลังสิ้นสุดลงและจำเลยจ้างโจทก์ต่อมา จึงเป็นการจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอนแต่ยังคงไว้ซึ่งความอย่างเดียวกันกับสัญญาเดิมซึ่งฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกเลิกสัญญาเสียเมื่อใดก็ได้โดยการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 581,582 การที่จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบว่าจะต่ออายุสัญญาจ้างให้โจทก์คราวละ5 ปี ตามสัญญาจ้างที่ปรับปรุงใหม่ ขอให้โจทก์แจ้งความประสงค์ภายในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2537 หากพ้นกำหนดถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะทำงานกับจำเลยต่อไป และจำเลยจะเลิกจ้างโจทก์นั้นโดยจำเลยบอกกล่าวล่วงหน้าโดยให้ระยะเวลาถึง 11 เดือนแก่โจทก์ในการตัดสินใจ และเป็นสัญญาจ้างใหม่ที่เป็นคุณกว่าเดิมทั้งเป็นผลสืบเนื่องจากการยื่นข้อเท็จจริงของสหภาพแรงงานพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินเพื่อให้เกิดความทัดเทียมกันในหมู่พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินด้วยกันและเป็นระเบียบเดียวกันแม้โจทก์จะไม่เป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานดังกล่าวและมิได้ลงลายมือชื่อในข้อเรียกร้องก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ไม่ยอมผูกพันตามสัญญาจ้างที่ปรับปรุงใหม่ดังกล่าวกรณีเช่นนี้จำเลยก็ย่อมมีเหตุผลสมควรที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้ ไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3318/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างไม่มีกำหนดระยะเวลา การเลิกจ้างและการปรับปรุงสัญญาจ้างใหม่ มิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
จำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานในตำแหน่งพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินมีกำหนดระยะเวลาการจ้าง5ปีนับแต่วันที่26กุมภาพันธ์2516ตามสัญญาจ้างได้ระบุเงื่อนไขไว้ว่าเมื่อจ้างกันครบกำหนด5ปีแล้วจำเลยจะจ้างโจทก์ต่ออีกคราวละ1ปีต่อเมื่อจำเลยได้พิจารณาความเหมาะสมในการดำรงตำแหน่งและประสิทธิภาพการทำงานของโจทก์เป็นที่พอใจแล้วเมื่อสัญญาจ้างครบกำหนดจำเลยได้ทำสัญญาจ้างโจทก์ต่ออีก1ปีโดยระบุเงื่อนไขเพิ่มเติมไว้ว่าหากสิ้นสุดระยะเวลาว่าจ้างตามสัญญานี้แล้วและมิได้มีการแจ้งให้ท่านทราบเป็นลายลักษณ์อักษรก็ให้ถือว่าการจ้างสิ้นสุดลงตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญานี้ต่อมาหลังจากสัญญาจ้างฉบับหลังสิ้นสุดลงแล้วจำเลยหาได้แจ้งแก่โจทก์เป็นลายลักษณ์อักษรว่าจะต่อสัญญาจ้างให้โจทก์อีกหรือไม่และจำเลยคงให้โจทก์ทำงานในตำแหน่งเดิมและจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ตลอดมาการที่ตำแหน่งพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินเช่นโจทก์จะต้องผ่านการประเมินผลการปฏิบัติงานและตรวจสุขภาพทุกปีก็เพื่อพิจารณาความเหมาะสมในตำแหน่งและประสิทธิภาพการทำงานเท่านั้นจึงหามีผลเป็นการต่อสัญญาจ้างเป็นรายปีไม่ดังนั้นเมื่อสัญญาจ้างฉบับหลังสิ้นสุดลงและจำเลยจ้างโจทก์ต่อมาจึงเป็นการจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอนแต่ยังคงไว้ซึ่งความอย่างเดียวกันกับสัญญาเดิมซึ่งฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกเลิกสัญญาเสียเมื่อใดก็ได้โดยการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา581,582การที่จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบว่าจะต่ออายุสัญญาจ้างให้โจทก์คราวละ5ปีตามสัญญาจ้างที่ปรับปรุงใหม่ขอให้โจทก์แจ้งความประสงค์ภายในวันที่25กุมภาพันธ์2537หากพ้นกำหนดถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะทำงานกับจำเลยต่อไปและจำเลยจะเลิกจ้างโจทก์นั้นโดยจำเลยบอกกล่าวล่วงหน้าโดยให้ระยะเวลาถึง11เดือนแก่โจทก์ในการตัดสินใจและเป็นสัญญาจ้างใหม่ที่เป็นคุณกว่าเดิมทั้งเป็นผลสืบเนื่องจากการยื่นข้อเท็จจริงของสหภาพแรงงานพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินเพื่อให้เกิดความทัดเทียมกันในหมู่พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินด้วยกันและเป็นระเบียบเดียวกันแม้โจทก์จะไม่เป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานดังกล่าวและมิได้ลงลายมือชื่อในข้อเรียกร้องก็ตามแต่เมื่อโจทก์ไม่ยอมผูกพันตามสัญญาจ้างที่ปรับปรุงใหม่ดังกล่าวกรณีเช่นนี้จำเลยก็ย่อมมีเหตุผลสมควรที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้ไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 251-253/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงานกลางในคดีจ้างงานต่างประเทศ และการจ้างงานไม่มีกำหนดระยะเวลา
โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยทำงานให้แก่จำเลยในประเทศไทยมูลคดีที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าจ้างค้างจ้าย ค่าทำงานล่วงเวลาสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชย และค่าเสียหายในการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมเกิดขึ้นในประเทศไทยแม้จำเลยจะมิได้มีภูมิลำเนาในประเทศไทย โจทก์ก็ชอบที่จะเสนอคดีต่อศาลแรงงานกลางได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 33.
แม้อายุสัญญาขุดเจาะน้ำมันระหว่างจำเลยกับบริษัท ท. จะกำหนดเวลาไว้แน่นอน แต่โจทก์กับจำเลยมิได้ตกลงจ้างกันเพียงหมดอายุสัญญาระหว่างจำเลยกับบริษัท ท.คราวใดคาวหนึ่ง การจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงหาใช่การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอนไม่.
แม้อายุสัญญาขุดเจาะน้ำมันระหว่างจำเลยกับบริษัท ท. จะกำหนดเวลาไว้แน่นอน แต่โจทก์กับจำเลยมิได้ตกลงจ้างกันเพียงหมดอายุสัญญาระหว่างจำเลยกับบริษัท ท.คราวใดคาวหนึ่ง การจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงหาใช่การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอนไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 251-253/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงานและลักษณะการจ้างงาน: คดีเกิดขึ้นในไทย แม้จำเลยไม่มีภูมิลำเนา และสัญญาจ้างไม่มีกำหนดระยะเวลา
โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยทำงานให้แก่จำเลยในประเทศไทยมูลคดีที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าจ้างค้างจ้ายค่าทำงานล่วงเวลาสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าค่าชดเชยและค่าเสียหายในการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมเกิดขึ้นในประเทศไทยแม้จำเลยจะมิได้มีภูมิลำเนาในประเทศไทยโจทก์ก็ชอบที่จะเสนอคดีต่อศาลแรงงานกลางได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา33. แม้อายุสัญญาขุดเจาะน้ำมันระหว่างจำเลยกับบริษัทท.จะกำหนดเวลาไว้แน่นอนแต่โจทก์กับจำเลยมิได้ตกลงจ้างกันเพียงหมดอายุสัญญาระหว่างจำเลยกับบริษัทท.คราวใดคาวหนึ่งการจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงหาใช่การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอนไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1178/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างไม่มีกำหนดระยะเวลา การต่ออายุการจ้าง และสิทธิค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้าง
การที่กฎหมายซึ่งใช้บังคับขณะโจทก์เข้าทำงานกำหนดให้โจทก์พ้นจากตำแหน่ง เมื่อมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์เว้นแต่จะได้มีการต่ออายุนั้น เป็นเพียงบทกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับคุณสมบัติการเป็นพนักงานของโจทก์ ถือไม่ได้ว่าสัญญาจ้างระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาที่มีกำหนดระยะเวลา ดังนี้น เมื่อโจทก์ทำงานมาจนอายุครบหกสิยปีบริบูรณ์แล้วจำเลยได้มีคำสั่งต่ออายุการทำงานของโจทก์ออกไปอีก 1 ปี จึงเป็นเพียงขยายกำหนดเวลาการทำงานออกไป หาใช่ข้อตกลงทำสัญญาจ้างกันใหม่ภายหลังจากโจทก์มีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ไม่เพราะโจทก์มีสิทธิลาออกจากงานได้โดยไม่ถือว่าเป็นการผิดสัญญาจ้าง สัญญาจ้างนี้จึงยังเป็นสัญญาที่มิได้กำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนเช่นเดิม เมื่อจำเลยไม่ต่ออายุการทำงานของโจทก์อีกต่อไป จึงถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างอันจำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1178/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างไม่มีกำหนดระยะเวลา การต่ออายุไม่ใช่สัญญาใหม่ เลิกจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย
การที่กฎหมายซึ่งใช้บังคับขณะโจทก์เข้าทำงานกำหนด ให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งเมื่อมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์เว้นแต่จะได้มีการต่ออายุนั้น เป็นเพียงบทกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับคุณสมบัติการเป็นพนักงานของโจทก์ ถือไม่ได้ว่าสัญญาจ้างระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาที่มีกำหนดระยะเวลา ดังนั้น เมื่อโจทก์ทำงานมาจนอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์แล้วจำเลยได้มีคำสั่งต่ออายุการทำงานของโจทก์ออกไปอีก 1 ปี จึงเป็นเพียงขยายกำหนดเวลาการทำงานออกไป หาใช่ข้อตกลงทำสัญญาจ้างกันใหม่ภายหลังจากโจทก์มีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ไม่ เพราะโจทก์มีสิทธิลาออกจากงานได้โดยไม่ถือว่าเป็นการผิดสัญญาจ้าง สัญญาจ้างนี้จึงยังเป็นสัญญาที่มิได้กำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนเช่นเดิม เมื่อจำเลยไม่ต่ออายุการทำงานของโจทก์อีกต่อไป จึงถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างอันจำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 183/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าไม่มีกำหนดระยะเวลา การเลิกสัญญา และสิทธิของผู้ครอบครอง
คู่ความตกลงกันให้ศาลถือคำให้การของนายสมเพียงคนเดียวเป็นข้อเท็จจริงแห่งคดีเพื่อการวินิจฉัยคดีเท่านั้น ศาลต้องถือเอาคำเบิกความของนายสมเป็นยุติในข้อเท็จจริง
สัญญาเช่าที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาไว้ ทั้งไม่มีหนังสือเช่าต่อกัน ผู้เช่าและผู้ให้เช่าย่อมบอกเลิกสัญญาเช่าในขณะใดก็ได้ภายใต้เงื่อนไขที่กฎหมายบังคับไว้สำหรับการบอกกล่าวล่วงหน้า และการเลิกสัญญาเช่ากันนี้ ถ้าคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายได้แสดงกิริยาอาการอย่างไร อันเป็นที่เห็นได้ว่าคู่สัญญาตกลงเลิกกันแล้ว สัญญาระหว่างเขาทั้งสองเป็นอันระงับไปในตัว
สัญญาเช่าที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาไว้ ทั้งไม่มีหนังสือเช่าต่อกัน ผู้เช่าและผู้ให้เช่าย่อมบอกเลิกสัญญาเช่าในขณะใดก็ได้ภายใต้เงื่อนไขที่กฎหมายบังคับไว้สำหรับการบอกกล่าวล่วงหน้า และการเลิกสัญญาเช่ากันนี้ ถ้าคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายได้แสดงกิริยาอาการอย่างไร อันเป็นที่เห็นได้ว่าคู่สัญญาตกลงเลิกกันแล้ว สัญญาระหว่างเขาทั้งสองเป็นอันระงับไปในตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 166/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าไม่มีกำหนดระยะเวลา ผู้ให้เช่าย่อมมีสิทธิบอกเลิกได้ การต่อสู้เรื่องตัวแทนต้องยกขึ้นเป็นประเด็นชัดเจน
สัญญาเช่าที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาเช่า ผู้ให้เช่าย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ตาม ป.ม.แพ่งฯ มาตรา 566.
จำเลยให้การว่าการบอกเลิกสัญญาของนายสถิตย์ไม่มีผลตามกฎหมาย เพราะนายสถิตย์ไม่ใช่คู่สัญญากับจำเลย จำเลยทำสัญญาเช่ากับนายแม้นต่างหาก จำเลยไม่ได้กล่าวให้มีประเด็นไว้ในคำให้การว่า นายสถิตย์ไม่ใช่ตัวแทนของโจทก์ในการบอกเลิกสัญญา ฉะนั้นเพียงแต่คำให้การของจำเลย จึงยังไม่พอจะชี้ได้ว่าการบอกเลิกสัญญานั้น ไม่มีผลตามกฎหมาย
คดีที่จำเลยขอให้ศาลชี้ขาดเบื้องต้นตามมาตรา 24 เมื่อศาลชั้นต้นไม่ได้สั่งชี้ขาด จำเลยจะยกขึ้นฎีกาไม่ได้.
(อ้างฎีกาที่ 1/2492.)
จำเลยให้การว่าการบอกเลิกสัญญาของนายสถิตย์ไม่มีผลตามกฎหมาย เพราะนายสถิตย์ไม่ใช่คู่สัญญากับจำเลย จำเลยทำสัญญาเช่ากับนายแม้นต่างหาก จำเลยไม่ได้กล่าวให้มีประเด็นไว้ในคำให้การว่า นายสถิตย์ไม่ใช่ตัวแทนของโจทก์ในการบอกเลิกสัญญา ฉะนั้นเพียงแต่คำให้การของจำเลย จึงยังไม่พอจะชี้ได้ว่าการบอกเลิกสัญญานั้น ไม่มีผลตามกฎหมาย
คดีที่จำเลยขอให้ศาลชี้ขาดเบื้องต้นตามมาตรา 24 เมื่อศาลชั้นต้นไม่ได้สั่งชี้ขาด จำเลยจะยกขึ้นฎีกาไม่ได้.
(อ้างฎีกาที่ 1/2492.)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 166/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าไม่มีกำหนดระยะเวลา ผู้ให้เช่าย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ แม้ตัวแทนไม่ใช่คู่สัญญา
สัญญาเช่าที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาเช่า ผู้ให้เช่าย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 566
จำเลยให้การว่าการบอกเลิกสัญญาของนายสถิตย์ไม่มีผลตามกฎหมายเพราะนายสถิตย์ไม่ใช่คู่สัญญากับจำเลย จำเลยทำสัญญาเช่ากับนายแม้นต่างหาก จำเลยไม่ได้กล่าวให้มีประเด็นไว้ในคำให้การว่า นายสถิตย์ไม่ใช่ตัวแทนของโจทก์ในการบอกเลิกสัญญา ฉะนั้นเพียงแต่คำให้การของจำเลย จึงยังไม่พอจะชี้ได้ว่าการบอกเลิกสัญญานั้น ไม่มีผลตามกฎหมาย
คดีที่จำเลยขอให้ศาลชี้ขาดเบื้องต้นตามมาตรา 24 เมื่อศาลชั้นต้นไม่ได้สั่งชี้ขาด จำเลยจะยกขึ้นฎีกาไม่ได้(อ้างฎีกาที่ 1/2492)
จำเลยให้การว่าการบอกเลิกสัญญาของนายสถิตย์ไม่มีผลตามกฎหมายเพราะนายสถิตย์ไม่ใช่คู่สัญญากับจำเลย จำเลยทำสัญญาเช่ากับนายแม้นต่างหาก จำเลยไม่ได้กล่าวให้มีประเด็นไว้ในคำให้การว่า นายสถิตย์ไม่ใช่ตัวแทนของโจทก์ในการบอกเลิกสัญญา ฉะนั้นเพียงแต่คำให้การของจำเลย จึงยังไม่พอจะชี้ได้ว่าการบอกเลิกสัญญานั้น ไม่มีผลตามกฎหมาย
คดีที่จำเลยขอให้ศาลชี้ขาดเบื้องต้นตามมาตรา 24 เมื่อศาลชั้นต้นไม่ได้สั่งชี้ขาด จำเลยจะยกขึ้นฎีกาไม่ได้(อ้างฎีกาที่ 1/2492)