คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ไม่มีค่าตอบแทน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3568/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เพิกถอนนิติกรรมโอนมรดกโดยไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทน
ร. ผู้จัดการมรดกผู้ตายจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งไม่ใช่ทายาทผู้ตายโดยไม่มีค่าตอบแทนและโดยไม่สุจริต แล้วจำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนให้แก่จำเลยที่ 2 โดยเสน่หา โจทก์ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายมีอำนาจฟ้องเพิกถอนนิติกรรมการโอนดังกล่าวได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ใช่ทายาทของผู้ตาย ดังนั้น จึงไม่อาจนำ ป.พ.พ. มาตรา 1754 มาใช้บังคับแก่คดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1687/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อลงทุน แม้ไม่มีค่าตอบแทน ก็ถือเป็นธุรกิจเฉพาะที่ต้องเสียภาษี
คำว่า ขาย อสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไรอันต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามพระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 244 มีความหมายกว้างกว่าคำว่า ซื้อขาย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 453 เพราะยังหมายความรวมถึงการจำหน่าย จ่าย โอน กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตามนิติกรรมสัญญาประเภทต่าง ๆ ทั้งนี้ไม่ว่าจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ด้วย การที่โจทก์ทำสัญญาต่างตอบแทนเพื่อลงทุนก่อสร้างอาคารพาณิชย์ในที่ดินของ พ. โดย พ.โอนกรรมสิทธิ์ใน ที่ดินบางส่วนให้โจทก์ก่อนทำการก่อสร้าง ต่อมาโจทก์กับ พ. ยกเลิกสัญญาการร่วมลงทุนก่อสร้างอาคารพาณิชย์ ดังกล่าว โจทก์จึงโอนที่ดินดังกล่าวคืนให้ พ. โดยไม่มีค่าตอบแทนก็ถือเป็นการขายตาม ป. รัษฎากร มาตรา 91/1 (4) แล้ว และเมื่อที่ดินที่ขายเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่โจทก์มีไว้โดยวัตถุประสงค์ที่จะประกอบกิจการก่อสร้างอาคารพาณิชย์ จึงเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ขายมีไว้ในการประกอบกิจการ ซึ่งเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือ หากำไร ตามมาตรา 91/2 (6) ประกอบพระราชกฤษฎีกาฉบับที่ 244 มาตรา 3 (5) โจทก์จึงต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4582/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เพิกถอนจำนองในคดีล้มละลาย: การกระทำอันไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทน
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องอ้างว่าจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินแต่ใส่ชื่อ น. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทน ต่อมามีการจดทะเบียนจำนองแก่ผู้คัดค้านในระหว่างระยะเวลา 3 ปี ก่อนมีการขอให้ล้มละลาย โดยไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทน ขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการจำนอง เป็นการกล่าวอ้างว่าการที่มีชื่อ น.ในโฉนดเป็นเพียงการถือกรรมสิทธิ์แทนจำเลยเท่านั้น มิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยได้โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้แก่ น. โดยรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบอันผู้ร้องจะต้องร้องขอเพิกถอนการฉ้อฉลระหว่างจำเลยกับ น. ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 113 ผู้ร้องจึงร้องขอให้เพิกถอนการจำนองได้โดยตรง
แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องจะเคยมีความเห็นว่าผู้คัดค้านรับจำนองที่ดินไว้โดยสุจริตและมีค่าตอบแทนจึงไม่เพิกถอนการจำนองก็ตาม แต่เมื่อได้มีการสั่งให้สอบสวนถึงข้อเท็จจริงในเรื่องนี้อีกครั้งแล้ว ผู้ร้องจึงยื่นคำร้องขอเพิกถอนการจำนองต่อศาลได้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114เพราะอำนาจในการร้องขอให้เพิกถอนไม่อาจสละได้
ผู้คัดค้านรับจำนองที่ดินพิพาทไว้โดยไม่มีค่าตอบแทน จึงฟังได้ว่า ผู้คัดค้านรับจำนองไว้โดยไม่สุจริตไปด้วย แม้ผู้คัดค้านได้ฟ้องบังคับจำนองในระหว่างที่คดีล้มละลายอยู่ในชั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องสอบสวนเพื่อพิจารณาร้องขอเพิกถอนการจำนองที่ดินพิพาท และผู้คัดค้านเป็นผู้ซื้อได้จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลก็ตาม ก็ไม่ทำให้ผู้คัดค้านกลายเป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดไปโดยสุจริต เมื่อผู้คัดค้านเพิ่งฟ้องบังคับจำนองหลังจากที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาด จึงถือไม่ได้ว่าการบังคับคดีที่ผู้คัดค้านฟ้องบังคับจำนองนั้นได้สำเร็จบริบูรณ์แล้วก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ การบังคับคดีและการที่ผู้คัดค้านเป็นผู้ซื้อทรัพย์ได้ จึงใช้ยันแก่ผู้ร้องไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 35/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนหุ้นโดยไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทน เพิกถอนได้หากผู้รับโอนรู้ถึงฐานะหนี้สินของผู้โอน
การที่ผู้คัดค้านที่ 1 อ้างว่าให้จำเลยกู้ยืมเงินครั้งละ500,000 บาท รวม 4 ครั้ง และผู้คัดค้านที่ 2 อ้างว่าให้จำเลย กู้ยืมเงินรวม 3 ครั้ง เป็นเงิน 1,300,000 บาท โดยไม่มีหลักฐาน การจ่ายเงินหรือหลักฐานการกู้ยืมเงิน และไม่มีหลักประกันใด ๆ ทั้งที่เงินที่ให้กู้ยืมก็มีจำนวนมาก และผู้คัดค้านที่ 1 ก็เป็น ผู้ประกอบการค้าน่าจะมีบัญชีเงินฝากในธนาคารซึ่งสามารถนำสืบถึง หลักฐานการจ่ายเงินให้กู้ได้ การที่ผู้คัดค้านที่ 1 นำสืบว่าให้ กู้ไปแล้วได้รับชำระหนี้เป็นหุ้นกู้จึงทำลายหลักฐานการกู้ยืมรวม ทั้งเช็คที่จำเลยจ่ายให้ ส่วนผู้คัดค้านที่ 2 อ้างเพียงว่าให้ จำเลยกู้ยืมเงิน โดยไม่มีพยานหลักฐานใด มาสืบสนับสนุนข้ออ้าง จึง ไม่น่าเชื่อว่าผู้คัดค้านทั้ง สองได้ให้จำเลยกู้ยืมเงินจริง ทั้ง ในชั้นสอบสวนของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านทั้งสองให้การว่าผู้คัดค้านทั้งสองรู้จักสนิทสนมกับ ช.กรรมการผู้จัดการบริษัทท. มานานแล้ว การรับโอนหุ้นของจำเลย ก็โอนมาจากบริษัทดังกล่าว นี้ ดังนั้น ผู้คัดค้านทั้งสองจึงน่าจะรู้ถึงฐานะและการมีหนี้สิน ของจำเลยดี และรู้ถึงการที่จำเลยถูกโจทก์ฟ้องและถูกบังคับคดี การที่ผู้คัดค้านทั้งสองรับโอนหุ้นของจำเลยไว้จึงเป็นการรับโอนไว้โดย ไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทน การเพิกถอนการโอนหุ้นเป็นไปโดยผลของคำพิพากษา ตราบใดที่ยัง ไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนการโอนก็ยังถือเป็นการโอน โดย ชอบอยู่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนการโอน เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้แต่งทนายความแก้ฎีกา ศาลฎีกาจึงไม่กำหนดค่าทนายความชั้นฎีกาให้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2204/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนที่ดินสินสมรสโดยไม่มีค่าตอบแทนและการยินยอมของคู่สมรสในคดีล้มละลาย
ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นภริยาของลูกหนี้ (จำเลยในคดีล้มละลาย) มีบุตรด้วยกัน 3 คน คือ ผู้คัดค้านที่ 2, 3, 4 ซึ่งเป็นผู้เยาว์ ผู้คัดค้านที่ 1 นำที่ดินที่ตนซื้อมาระหว่างสมรสไปจำนองเอาเงินมาสร้างตึกแถวบนที่ดิน ต่อมานำเงินอันเป็นสินส่วนตัวไปไถ่จำนอง แล้วจดทะเบียนยกที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้นให้ผู้คัดค้านที่ 2, 3, 4 โดยลูกหนี้รู้เห็นยินยอม และเป็นการโอนในระหว่าง 3 ปีก่อนมีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลาย ดังนี้ หนี้จำนองนั้นเป็นหนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินบริคณห์ถือได้ว่าเป็นหนี้ร่วมของผู้คัดค้านที่ 1 กับลูกหนี้ การที่ผู้คัดค้านที่ 1 ใช้เงินสินส่วนตัวชำระหนี้นั้น เป็นคนละส่วนกับการโอนที่ดินให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2, 3, 4 เงินไถ่จำนองไม่ใช่ค่าตอบแทนในการโอนที่ดิน การโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2, 3, 4 เป็นการโอนโดยไม่มีค่าตอบแทน และเป็นกรณีที่ลูกหนี้ยอมให้ผู้คัดค้านที่ 1 กระทำการโอนที่ดินในส่วนของตนอันจำต้องเพิกถอนศาลย่อมสั่งให้เพิกถอนสัญญาให้ที่ดินเฉพาะส่วนของลูกหนี้ มิฉะนั้นก็ให้ผู้คัดค้านที่ 1 ใช้ราคา
ปัญหาว่านิติกรรมยกให้เป็นนิติกรรมอำพราง มิใช่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อมิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2204/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินในคดีล้มละลาย: การโอนโดยไม่มีค่าตอบแทนและเจตนายินยอม
ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นภริยาของลูกหนี้ (จำเลยในคดีล้มละลาย) มีบุตรด้วยกัน 3 คนคือ ผู้คัดค้านที่ 2,3,4 ซึ่งเป็นผู้เยาว์ ผู้คัดค้านที่ 1 นำที่ดินที่ตนซื้อมาระหว่างสมรสไปจำนองเอาเงินมาสร้างตึกแถวบนที่ดินต่อมานำเงินอันเป็นสินส่วนตัวไปไถ่จำนอง แล้วจดทะเบียนยกที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้นให้ผู้คัดค้านที่ 2,3,4 โดยลูกหนี้รู้เห็นยินยอม และเป็นการโอนในระหว่าง 3 ปี ก่อนมีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลายดังนี้หนี้จำนองนั้นเป็นหนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินบริคณห์ถือได้ว่าเป็นหนี้ร่วมของผู้คัดค้านที่ 1 กับลูกหนี้การที่ผู้คัดค้านที่ 1 ใช้เงินสินส่วนตัวชำระหนี้นั้น เป็นคนละส่วนกับการโอนที่ดินให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2,3,4 เงินไถ่จำนองไม่ใช่ค่าตอบแทนในการโอนที่ดิน การโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2,3,4 เป็นการโอนโดยไม่มีค่าตอบแทนและเป็นกรณีที่ลูกหนี้ยอมให้ผู้คัดค้านที่ 1 กระทำการโอนที่ดินในส่วนของตนอันจำต้องเพิกถอนศาลย่อมสั่งให้เพิกถอนสัญญาให้ที่ดินเฉพาะส่วนของลูกหนี้มิฉะนั้นก็ให้ผู้คัดค้านที่ 1 ใช้ราคา
ปัญหาว่านิติกรรมยกให้เป็นนิติกรรมอำพราง มิใช่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อมิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 820/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนขายนา การโอนที่ไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทน ประเด็นอยู่ที่การพิสูจน์ความสุจริตและค่าตอบแทน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ขายนาให้โจทก์ ๆ ชำระราคาแล้ว จำเลยที่ 1 กลับโอนนาให้แก่จำเลยที่ 2-3 โดยไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทน ขอให้ศาลเพิกถอนและบังคับให้จำเลยโอนขายให้แก่โจทก์ตามสัญญา จำเลยให้การว่า การโอนระหว่างจำเลยเป็นไปโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน ประเด็นจึงมีว่า การโอนระหว่างจำเลยเป็นไปโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนหรือไม่ ซึ่งต้องฟังคำพะยานต่อไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 820/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนขายที่ดินไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทน ศาลต้องฟังพยานเพื่อพิสูจน์ความสุจริต
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ขายนาให้โจทก์ โจทก์ชำระราคาแล้ว จำเลยที่ 1 กลับโอนนาให้แก่จำเลยที่ 2-3 โดยไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทนขอให้ศาลเพิกถอนและบังคับให้จำเลยโอนขายให้แก่โจทก์ตามสัญญาจำเลยให้การว่า การโอนระหว่างจำเลยเป็นไปโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนประเด็นจึงมีว่า การโอนระหว่างจำเลยเป็นไปโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนหรือไม่ ซึ่งต้องฟังคำพยานต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 731/2489 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนที่ดินต้องพิสูจน์การไม่มีค่าตอบแทนหรือการไม่สุจริตของผู้รับโอน
ฟ้องขอให้ทำลายการโอนที่ดินเพื่อให้เจ้าของเดิมโอนที่ให้แก่ตนตามสัญญาซื้อขายนั้นเป็นหน้าที่ของโจทก์ต้องนำสืบว่าการโอนนั้นได้กระทำโดยไม่มีค่าตอบแทน หรือกระทำโดยไม่สุจริต เมื่อโจทก์สืบไม่สมโจทก์ก็ต้องแพ้คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 420/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินให้วัดโดยไม่มีค่าตอบแทน ไม่ถือเป็นการขายเพื่อหากำไร จึงไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
มาตรา 91/2 (6) แห่ง ป.รัษฎากร มิได้บัญญัติไว้ว่าการขายอสังหาริมทรัพย์กรณีใดเป็นการขายที่เข้าลักษณะเป็นทางค้าหรือหากำไรอันต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะแต่ได้บัญญัติให้การขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรเป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขตามที่กำหนดโดย พ.ร.ฎ.ซึ่ง พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากรว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 244) ฯ มาตรา 3 ที่ใช้บังคับอยู่ขณะนั้นบัญญัติให้การขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไรตามมาตรา 91/2 (6) แห่ง ป.รัษฎากร มีดังต่อไปนี้ (1) ... (6) การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่เข้าลักษณะตาม (1) (2) (3) (4) หรือ (5) ที่ได้กระทำภายในห้าปีนับแต่วันที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้น เว้นแต่... อันแสดงว่าการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่เข้าลักษณะตาม (1) (2) (3) (4) หรือ (5) ที่ได้กระทำภายในห้าปีนับแต่วันที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้นมิใช่ว่าจะเป็นทางค้าหรือหากำไรเสมอไป แต่เป็นข้อเท็จจริงที่ต้องพิจารณาเป็นรายกรณี คดีนั้นแม้จะฟังได้ว่าการที่โจทก์จดทะเบียนโอนที่ดินทั้ง 11 แปลง ให้แก่วัดใหม่กระทุ่มล้ม ถือเป็นการขายตาม ป.รัษฎากร มาตรา 91/1 (4) ที่ได้กระทำภายในห้าปีนับแต่วันที่โจทก์ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้นก็ตาม แต่ผู้ที่โจทก์โอนที่ดินทั้ง 11 แปลงให้มีฐานะเป็นวัดตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ ฯ และเป็นการโอนโดยไม่มีค่าตอบแทนทั้งปรากฏตามที่โจทก์นำสืบว่าที่ดินดังกล่าวติดต่อเป็นผืนเดียวกันและอยู่ติดกับที่ดินที่ตั้งวัดใหม่กระทุ่มล้ม ปัจจุบันใช้ในการจัดกิจกรรมของวัดและเป็นลานกีฬาชุมชนอันแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์ที่ต้องการบริจาคที่ดินทั้ง 11 แปลงเพื่อเป็นการกุศลให้ใช้เป็นสถานที่ทางศาสนาและสาธารณประโยชน์โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในทางการค้าหรือหากำไร การโอนที่ดินดังกล่าวจึงไม่ใช่การขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร โจทก์จึงไม่จำต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
of 2