พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5300/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องจัดการทรัพย์มรดกของลูกหนี้ที่ถึงแก่ความตายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย แม้ไม่มีทรัพย์สินเพียงพอชำระหนี้
ลูกหนี้ที่เป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษา อันเป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน เป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท และไม่มีทรัพย์สินใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้ เป็นกรณีที่โจทก์อาจฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลายได้ถ้าลูกหนี้ยังมีชีวิตอยู่ เมื่อลูกหนี้ถึงแก่ความตายแล้ว ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้จัดการทรัพย์มรดกของลูกหนี้จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 596/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งผู้จัดการมรดกต้องมีทรัพย์มรดกจริง การไม่มีทรัพย์สินไม่อาจเป็นเหตุให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 กำหนดเหตุในการร้องขอต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกไว้ 3 กรณี คือ (1) เมื่อเจ้ามรดกตาย ทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรมได้สูญหายหรืออยู่นอกราชอาณาเขต หรือเป็นผู้เยาว์ (2) เมื่อผู้จัดการมรดกหรือทายาทไม่สามารถหรือไม่เต็มใจที่จะจัดการ หรือมีเหตุขัดข้องในการจัดการหรือในการแบ่งปันมรดก (3) เมื่อข้อกำหนดพินัยกรรมซึ่งตั้งผู้จัดการมรดกไว้ ไม่มีผลบังคับได้ด้วยประการใด ๆ เหตุในการขอตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ร้องเป็นการอ้างว่ามีเหตุขัดข้องในการจัดการหรือแบ่งปันมรดก แต่ปรากฏว่าที่ดินที่ผู้ร้องอ้างว่าเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายนั้น ผู้ตายได้โอนให้บุคคลอื่นไปแล้วในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ จึงไม่เป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย ส่วนเงินฝากในบัญชี ผู้มีอำนาจในการถอนเงินจากบัญชีดังกล่าวได้ปิดบัญชีไปก่อนที่ผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกซึ่งเป็นการดำเนินการโดยชอบตามเงื่อนไขในคำขอเปิดบัญชีเงินฝากที่ทำไว้กับธนาคารจึงไม่มีเหตุขัดข้องในการจัดการหรือแบ่งปันมรดกของผู้ตายเพราะไม่มีทรัพย์มรดกของผู้ตายที่จะต้องจัดการ กฎหมายมิได้กำหนดเหตุให้ตั้งผู้จัดการมรดกเพื่อสืบหาทรัพย์มรดกของผู้ตายเพื่อนำมาจัดการแต่อย่างใด กรณีไม่มีเหตุตามกฎหมายที่ผู้ร้องจะร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1863/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวและไม่มีทรัพย์สินเพียงพอชำระหนี้ แม้เป็นข้าราชการ ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ได้
จำเลยมีเงินเดือนและเบี้ยเลี้ยงรวมเดือนละประมาณ 26,000 บาท จำเลยเป็นหนี้โจทก์จำนวน 104,025.39 บาท ซึ่งเป็นหนี้ที่เกิดจากการใช้บัตรเครดิตซื้อสินค้าและเบิกเงินสดโดยจำเลยไม่เคยชำระหนี้แก่โจทก์เลยเป็นเวลานานเกือบ 4 ปี ทำให้จำนวนหนี้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อนับถึงวันฟ้องมีจำนวน 204,600 บาท ซึ่งเมื่อเทียบกับรายได้ต่อเดือนของจำเลยแล้วจำนวนหนี้มีมากกว่ารายได้ แม้จำเลยเป็นข้าราชการมีเงินเดือน แต่เงินเดือนตลอดทั้งบำเหน็จบำนาญไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286(2) จำเลยรับราชการมานานแต่ไม่มีทรัพย์สินอื่นใดอีก แสดงว่าเงินเดือนและเบี้ยเลี้ยงของจำเลยมีจำนวนเพียงแค่การดำรงชีพของจำเลยในแต่ละเดือนเท่านั้น ไม่เหลือพอที่จะแบ่งไปผ่อนชำระหนี้แก่โจทก์ได้ เงินสะสมของข้าราชการมีสภาพเป็นส่วนหนึ่งของเงินเดือนข้าราชการ แม้จำเลยจะมีเงินสะสมในกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการก็ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีเช่นกัน ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวและไม่อาจชำระหนี้ได้ทั้งหมดทั้งพฤติการณ์ของจำเลยมิได้แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจในทางที่จะขวนขวายเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์ด้วยความสุจริตใจ คดีจึงไม่มีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1431/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ชำระบัญชีไม่ต้องรับผิดในหนี้ภาษีของบริษัทเลิกกิจการ หากไม่มีทรัพย์สินเหลือและไม่ได้ร้องขอให้ศาลสั่งล้มละลาย
จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ชำระบัญชีไม่ได้ร้องขอให้ศาลสั่งว่าบริษัทจำเลยที่ 1 ล้มละลาย แต่ความรับผิดร่วมกันในการยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นการยื่นรายการของบริษัทและนำเงินของบริษัทไปชำระค่าภาษี เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่านอกจากสิทธิเรียกร้องในเงินที่จำเลยที่ 1 ฝากไว้แก่ธนาคารซึ่งโจทก์ได้อายัดและนำมาชำระค่าภาษีบางส่วนแล้ว จำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินอื่นอีก และไม่มีการแบ่งปันทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 คืนแก่ผู้ถือหุ้นจำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดในหนี้ค่าภาษีของจำเลยที่ 1 เป็นส่วนตัว
บทบัญญัติตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 7(2) เป็นการกำหนดว่า ศาลภาษีอากรมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งที่เกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากร มิใช่บทบัญญัติว่าผู้ใดจะต้องรับผิดในหนี้ค่าภาษีอาก
บทบัญญัติตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 7(2) เป็นการกำหนดว่า ศาลภาษีอากรมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งที่เกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากร มิใช่บทบัญญัติว่าผู้ใดจะต้องรับผิดในหนี้ค่าภาษีอาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7001/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อสันนิษฐานลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย: การไม่มีทรัพย์สินเพียงพอชำระหนี้
พระราชบัญญัติ ญญัติล้มละลายฯ มาตรา 8(5) ได้แบ่งข้อสันนิษฐานไว้ก่อนว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวเป็น 2 กรณีคือ ลูกหนี้ถูกยึดทรัพย์ตามหมายบังคับคดี และลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้ เพียงกรณีใดกรณีหนึ่งก็เข้าข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้ว การที่โจทก์นำสืบว่า โจทก์สืบหาทรัพย์สินของจำเลยทั้งสามแล้ว แต่จำเลยทั้งสามไม่มีทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดพึงยึดมาชำระหนี้โจทก์ได้ต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสามนำพยานหลักฐานเข้ามาสืบว่าจำเลยทั้งสามมีทรัพย์สินดังกล่าวเพียงพอแก่การชำระหนี้ให้แก่โจทก์ได้ จึงไม่อาจหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2689/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้มละลาย: พฤติการณ์หนี้สินล้นพ้นตัวและไม่มีทรัพย์สินเพียงพอชำระหนี้
จำเลยทั้งสองไม่มีทรัพย์สินที่จะยึดมาขายทอดตลาดชำระหนี้จำเลยที่ 1 เป็นหนี้ตามคำพิพากษาอีก 3 คดี ซึ่งยังไม่มีการชำระหนี้ จำเลยทั้งสองย้ายที่อยู่หลายครั้งโดยไม่แจ้งให้เจ้าหนี้ทราบ พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยทั้งสองมีหนี้สินล้นพ้นตัว คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดมีผลเป็นคำพิพากษา พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 179(1) บัญญัติให้คิดค่าขึ้นศาลสำหรับคำฟ้องหรือคำร้องขอให้ล้มละลายห้าสิบบาท จำเลยทั้งสองอุทธรณ์คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด จึงเป็นการอุทธรณ์คำพิพากษาซึ่งพิพากษาตามคำฟ้องขอให้ล้มละลาย ต้องเสียค่าขึ้นศาลสำหรับคำฟ้องอุทธรณ์ดังกล่าว 50 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2557/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ล้มละลาย: การมีหนี้สินล้นพ้นตัวจากคำพิพากษาและการไม่มีทรัพย์สินเพียงพอชำระหนี้
จำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาคดีแพ่ง จำนวน 200,000 บาทพร้อมดอกเบี้ย เมื่อครบกำหนดตามคำบังคับแล้ว จำเลยไม่ได้ชำระหนี้ศาลออกหมายบังคับคดี ปรากฏว่า จำเลยมีเงินฝากในบัญชีกระแสรายวันและบัญชีออมทรัพย์เหลือประมาณ 400 บาท และ 200 บาทตามลำดับ และไม่มีทรัพย์สินอื่นใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้ จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 8(5) ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 178/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายัดทรัพย์สินชั่วคราว - สิทธิเรียกร้อง - จำเลยไม่มีทรัพย์สินในไทย - เหตุผลสมควรคุ้มครองโจทก์
จำเลยตั้งโจทก์เป็นตัวแทนประสานงานเพื่อผลประโยชน์ของจำเลยในการได้รับจ้างงานในโครงการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ต่อมาจำเลยได้เข้าเป็นคู่สัญญากับกิจการร่วมค้าไอทีโอโดยเป็นผลจากการดำเนินการของโจทก์ตามสัญญาตั้งตัวแทน โจทก์มีสิทธิเรียกร้องอันเป็นมูลหนี้ตามสัญญาดังกล่าวที่จะฟ้องร้องจำเลยได้ คดีของโจทก์จึงมีมูลที่จะฟ้องร้อง ส่วนปัญหาว่า โจทก์ไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาตั้งตัวแทน หรือจำเลยได้รับการจ้างเหมาช่วงงานดังกล่าวโดยไม่ได้เป็นผลจากการปฏิบัติตามสัญญาของโจทก์หรือไม่ ยังเป็นที่โต้เถียงกันซึ่งต้องนำสืบพยานหลักฐานกันในชั้นพิจารณาต่อไป แม้จำเลยไม่ตั้งใจยักย้ายทรัพย์สินของตนไปให้พ้นจากอำนาจศาล ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 255 (1) (ก) แต่การที่จำเลยไม่มีภูมิลำเนาในประเทศไทย ไม่มีสำนักงานสาขาในประเทศไทยแม้เคยมีก็ปิดสำนักงานสาขาไปแล้วเพราะใบอนุญาตประกอบกิจการของคนต่างด้าวไม่ถูกต้อง และการที่จำเลยไม่มีทรัพย์สินใดในประเทศไทย ทั้งจำเลยไม่มีทรัพย์สินอยู่ในประเทศไทยพอที่โจทก์จะบังคับคดีได้ ย่อมเป็นเหตุจำเป็นอื่นที่เป็นการยุติธรรมและสมควรที่จะคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ในระหว่างพิจารณาตามมาตรา 255 (1) (ข) จึงนำวิธีคุ้มครองชั่วคราวตามที่โจทก์ขอมาใช้ในการสั่งให้อายัดเงินค่าจ้างที่กิจการร่วมค้าไอทีโอบุคคลภายนอกจะชำระให้แก่จำเลยได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 254 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1818/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเฉลี่ยทรัพย์ในคดีล้มละลาย: ศาลฎีกาอนุญาตให้เฉลี่ยทรัพย์ได้เมื่อจำเลยไม่มีทรัพย์สินอื่นเพียงพอชดใช้หนี้
เมื่อกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มิได้บัญญัตินิยามความหมายคำว่า "การบังคับคดีได้สำเร็จบริบูรณ์" ไว้เป็นการเฉพาะ การตีความความหมายของคำดังกล่าวตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 90/12 (5) ที่บัญญัติเป็นข้อยกเว้นให้ศาลไม่จำต้องงดการบังคับคดีไว้ในกรณีที่การบังคับคดีได้สำเร็จบริบูรณ์แล้วก่อนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะได้ทราบว่าได้มีการยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการนั้น คงต้องพิจารณาเทียบเคียงกับกรณีกิจการที่ได้กระทำไปแล้วหากมีกรณีที่ลูกหนี้ล้มละลาย เนื่องจากผลของการล้มละลายหรือการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ย่อมไม่อาจกระทบกระเทือนต่อกิจการที่ได้กระทำไปจนเสร็จสิ้นก่อนแล้วเช่นเดียวกัน การที่มาตรา 110 วรรคสอง ซึ่งเป็นกรณีของผลของการล้มละลายเกี่ยวกับกิจการที่ได้กระทำไปแล้ว ได้ให้ความหมายของคำว่า การบังคับคดีได้สำเร็จบริบูรณ์เมื่อพ้นกำหนดเวลาที่อนุญาตให้เจ้าหนี้อื่นยื่นคำขอเฉลี่ยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และตาม ป.วิ.พ. มาตรา 326 วรรคห้า ซึ่งกำหนดหลักเกณฑ์การขอเฉลี่ยทรัพย์ ในกรณีอายัดสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตามคำพิพากษา โดยกำหนดระยะเวลาที่อนุญาตให้เจ้าหนี้อื่นยื่นคำร้องขอเฉลี่ยเสียก่อนสิ้นระยะเวลา 15 วัน นับแต่วันชำระเงิน ดังนั้น เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับเงินตามเช็คที่ผู้ร้องนำส่งตามหนังสือแจ้งอายัดที่พิพาทนี้ในวันที่ 21 พฤษภาคม 2563 กำหนดเวลาที่อนุญาตให้เจ้าหนี้อื่นยื่นคำขอเฉลี่ยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งดังกล่าว คือวันที่ 5 มิถุนายน 2563 จำเลยยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการต่อศาลล้มละลายกลางในวันที่ 24 กรกฎาคม 2563 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากพ้นกำหนดระยะเวลา 15 วัน นับแต่วันชำระเงิน ถือว่าการบังคับคดีได้สำเร็จบริบูรณ์แล้วก่อนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะทราบว่าได้มีการยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ ศาลแรงงานกลางไม่จำเป็นต้องงดการบังคับคดีไว้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/12 (5)
ที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่า หากผู้คัดค้านสละสิทธิในการบังคับคดีหรือไม่ดำเนินการบังคับคดีภายในเวลาที่กำหนดให้ผู้ร้องบังคับคดีต่อไปนั้น เนื่องจากตาม ป.วิ.พ. มาตรา 327 บัญญัติว่า "ในกรณีที่มีการถอนการบังคับคดี ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีส่งคำบอกกล่าวถอนการบังคับคดีให้ผู้ยื่นคำร้องขอซึ่งได้รับอนุญาตจากศาลตามมาตรา 324 หรือเจ้าหนี้ผู้ขอเฉลี่ยซึ่งได้รับอนุญาตตามมาตรา 326 ทราบโดยไม่ชักช้า...." ดังนั้น หากมีการถอนการบังคับคดีจึงต้องดำเนินการตามขั้นตอนของบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งในส่วนนี้มาจึงไม่ชอบ
ที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่า หากผู้คัดค้านสละสิทธิในการบังคับคดีหรือไม่ดำเนินการบังคับคดีภายในเวลาที่กำหนดให้ผู้ร้องบังคับคดีต่อไปนั้น เนื่องจากตาม ป.วิ.พ. มาตรา 327 บัญญัติว่า "ในกรณีที่มีการถอนการบังคับคดี ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีส่งคำบอกกล่าวถอนการบังคับคดีให้ผู้ยื่นคำร้องขอซึ่งได้รับอนุญาตจากศาลตามมาตรา 324 หรือเจ้าหนี้ผู้ขอเฉลี่ยซึ่งได้รับอนุญาตตามมาตรา 326 ทราบโดยไม่ชักช้า...." ดังนั้น หากมีการถอนการบังคับคดีจึงต้องดำเนินการตามขั้นตอนของบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งในส่วนนี้มาจึงไม่ชอบ