คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ไม่มีผล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7620/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้กู้ยืมเกิน 50 บาทต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ หากไม่มี สิทธิเรียกร้องหนี้และยึดถือประกันไม่มีผล
แม้จำเลยทั้งสองจะนำสืบให้เห็นได้ว่าโจทก์ยังเป็นหนี้กู้ยืมจำเลยทั้งสองจำนวน 50,000 บาทจริง แต่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคแรก กำหนดว่าการกู้ยืมเงินกว่าห้าสิบบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ ดังนั้นหนี้เงินกู้ 50,000 บาท ดังกล่าว จึงเป็นหนี้ที่ไม่อาจฟ้องร้องให้บังคับคดีกันได้ เมื่อหนี้ที่จำเลยทั้งสองอาศัยเป็นมูลเหตุให้ยึดถือโฉนดที่ดินพิพาทไว้ไม่อาจฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ จำเลยทั้งสองจึงไม่มีสิทธิยึดถือโฉนดที่ดินพิพาทต่อไป จำเลยทั้งสองจะมีสิทธินำสืบถึงหนี้ จำนวนดังกล่าวหรือไม่ ไม่เป็นประโยชน์แก่คดีของจำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1826/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับผิดในหนี้แทนบุคคลอื่น: สัญญาไม่มีผลเมื่อเจ้าหนี้ไม่ใช่เจ้าหนี้เดิม
การที่ ท.และ ส.ยืมเงินจากโจทก์ไปชำระให้แก่บุตรจำเลยเป็นค่าสมัครไปทำงานต่างประเทศ เมื่อ ท.และ ส.ไม่ได้ไปทำงานบุตรจำเลยจึงเป็นลูกหนี้ที่ต้องชำระเงินให้แก่ ท.และ ส.โจทก์เป็นเพียงเจ้าหนี้ของ ท.และ ส.เมื่อ ท.และ ส.มิได้โอนสิทธิเรียกร้องให้โจทก์ บุตรจำเลยจึงไม่เป็นลูกหนี้โจทก์และไม่มีหนี้ที่จำเลยจะต้องรับผิดใช้แทนแต่อย่างใด การแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้จากบุตรจำเลยเป็นจำเลยจึงเกิดขึ้นไม่ได้ ดังนั้นการที่จำเลยทำสัญญากู้ให้โจทก์เพื่อชำระหนี้แทนบุตร จึงไม่มีมูลหนี้ที่จำเลยต้องรับผิด โจทก์จะฟ้องบังคับให้จำเลยชำระหนี้รายนี้มิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 366/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายฝากไม่มีผลทางกฎหมาย หนี้กู้ยืมยังคงมีผลบังคับใช้
การขายฝาก มีบัญญัติไว้เป็นเอกเทศสัญญาโดยเฉพาะ แต่นิติกรรมจะซื้อจะขายฝากมิได้มีบัญญัติไว้ในที่ใดให้มีได้ สัญญาจะซื้อจะขายฝากจึงมีขึ้นไม่ได้ตามกฎหมาย
จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ไป แล้วโจทก์จำเลยตกลงกันว่าจำเลยจะขายฝากที่ดินและห้องแถวให้แก่โจทก์ ให้ถือเอาหนี้ตามสัญญากู้เงินนั้นเป็นเงินชำระหนี้บางส่วนตามสัญญาขายฝาก แต่ครั้นเมื่อจำเลยยื่นคำขอแบ่งแยกที่ดินเพื่อขายฝากให้โจทก์ และเจ้าพนักงานได้บันทึกถ้อยคำโจทก์จำเลยไว้เท่านั้น โจทก์จำเลยก็เกี่ยงงอนกันเรื่องราคา จึงมิได้ทำสัญญาขายฝากกันเป็นหนังสือและจดทะเบียน ดังนี้ เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายฝากมีขึ้นไม่ได้ตามกฎหมายแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยว่าการกระทำของโจทก์จำเลยดังกล่าวนั้นจะเข้าลักษณะเป็นสัญญาจะซื้อจะขายฝากแล้วหรือไม่ และย่อมถือว่ายังไม่มีหนี้อันใดเกิดขึ้นใหม่อันจะเป็นการเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสารสำคัญแห่งหนี้เดิม ซึ่งจะทำให้หนี้กู้ยืมเดิมต้องระงับสิ้นไปด้วยการแปลงหนี้ใหม่ โจทก์จึงคงมีสิทธินำสัญญากู้ยืมมาฟ้องบังคับจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 366/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายฝากไม่มีผลทางกฎหมาย สัญญาเดิมยังใช้บังคับได้
การขายฝาก มีบัญญัติไว้เป็นเอกเทศสัญญาโดยเฉพาะแต่นิติกรรมจะซื้อจะขายฝากมิได้มีบัญญัติไว้ในที่ใดให้มีได้ สัญญาจะซื้อจะขายฝากจึงมีขึ้นไม่ได้ตามกฎหมาย
จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ไป แล้วโจทก์จำเลยตกลงกันว่าจำเลยจะขายฝากที่ดินและห้องแถวให้แก่โจทก์ ให้ถือเอาหนี้ตามสัญญากู้นั้นเป็นเงินชำระหนี้บางส่วนตามสัญญาขายฝาก แต่ครั้นเมื่อจำเลยยืนคำขอแบ่งแยกที่ดินเพื่อขายฝากให้โจทก์และเจ้าพนักงานได้บันทึกถ้อยคำโจทก์จำเลยไว้เท่านั้นโจทก์จำเลยก็เกี่ยงงอนกันเรื่องราคา จึงมิได้ทำสัญญาขายฝากกันเป็นหนังสือและจดทะเบียน ดังนี้ เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายฝากมีขึ้นไม่ได้ตามกฎหมายแล้วก็ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยว่าการกระทำของโจทก์จำเลยดังกล่าวนั้นจะเข้าลักษณะเป็นสัญญาจะซื้อจะขายฝากแล้วหรือไม่และย่อมถือว่ายังไม่มีหนี้อันใดเกิดขึ้นใหม่อันจะเป็นการเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสารสำคัญแห่งหนี้เดิมซึ่งจะทำให้หนี้กู้ยืมเดิมต้องระงับสิ้นไปด้วยการแปลงหนี้ใหม่ โจทก์จึงคงมีสิทธินำสัญญากู้ยืมมาฟ้องบังคับจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 921/2496

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลูกสร้างบนที่ดินของผู้อื่นโดยรู้เห็น การอ้างสิทธิอยู่ต่อไม่เป็นผล
ปลูกเรือนลงในที่ดิน โดยรู้อยู่ก่อนแล้วว่าเป็นที่ดินของผู้อื่น ซึ่งให้ตนอาศัย ดังนี้ กรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310,1312 ฉะนั้นเมื่อเจ้าของที่ดินไม่ประสงค์จะให้ผู้นั้นอยู่ในที่ดินของเขา ต่อไป ก็จะอ้างมาตรา 1310 หรือ 1312 มายันเจ้าของที่ดินไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 658/2485 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเลียนแบบเครื่องหมายการค้าต้องพิสูจน์เจ้าของเครื่องหมายก่อน หากพิสูจน์ไม่ได้ ฟ้องไม่มีผล
การที่จะฟ้องหาว่าจำเลยเลียนแบบอย่างเครื่องหมายการค้านั้น เมื่อไม่ได้ความว่ามีบุคคลหรือบริษัทหรือห้างใดเป็นเจ้าของแล้ว ก็ย่อมจะเอาผิดแก่จำเลยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2874/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมยกทรัพย์สินสินสมรสเกินส่วนที่ตนมีสิทธิ พินัยกรรมไม่ตกเป็นโมฆะ แต่ข้อกำหนดนั้นไม่มีผล
พินัยกรรมหรือข้อกำหนดพินัยกรรมย่อมตกเป็นโมฆะ ถ้าได้ทำขึ้นขัดต่อบทบัญญัติแห่งมาตรา 1652, 1653, 1656, 1657, 1658, 1660, 1661 หรือ 1663 ทั้งนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1705 ที่ดินพิพาทส่วนที่เหลือเนื้อที่ 11 ไร่ 87 ตารางวา เป็นสินสมรสส่วนของโจทก์เพียง 8 ไร่ 2 งาน 7,0625 ตารางวา โจทก์จึงมีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินส่วนดังกล่าวหลังจากที่จดทะเบียนหย่า การที่ ส. ทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองยกที่ดินพิพาทส่วนที่เหลือดังกล่าวให้แก่จำเลย จึงไม่ใช่กรณีตาม ป.พ.พ. บรรพ 5 ที่ตรวจแก้ไขชำระใหม่ พ.ศ.2519 มาตรา 1481 ที่บัญญัติ "สามีหรือภริยาไม่มีอำนาจทำพินัยกรรมยกสินสมรสเกินกว่าส่วนของตนให้แก่บุคคลใดได้" เพราะขณะทำพินัยกรรมโจทก์และ ส. ไม่ได้เป็นสามีภริยากันแล้ว ทั้งบทบัญญัติดังกล่าวก็ไม่ใช่บทมาตราที่จะตกเป็นโมฆะตามที่มาตรา 1705 บัญญัติ แต่เป็นการทำพินัยกรรมกำหนด การเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของผู้อื่นไม่ใช่ในเรื่องทรัพย์สินของตนเองตามมาตรา 1646 ก็มีผลเพียงว่า ข้อกำหนดที่ยกที่ดินพิพาทส่วนของผู้อื่นไม่มีผลบังคับเท่านั้น ส่วนข้อกำหนดอื่น เช่น การตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกคงมีผลบังคับได้ ดังนี้ หาทำให้พินัยกรรมตกเป็นโมฆะไม่เนื่องจากไม่ต้องด้วยกรณีตามมาตรา 1705 เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2618/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คหลังล้มละลาย: หนี้เกิดหลังคำสั่งศาล ไม่มีผลบังคับใช้ จำเลยไม่มีความผิด
จำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์ภายหลังจากศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เป็นการมุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นกับโจทก์ตามกฎหมายลักษณะตั๋วเงินประเภทเช็คซึ่งเป็นการกระทำเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลย โดยมิใช่กรณีกระทำตามคำสั่งหรือความเห็นชอบของศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้จัดการทรัพย์ หรือที่ประชุมเจ้าหนี้ ตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 หนี้ตามเช็คพิพาทไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยจึงขาดองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 จำเลยไม่มีความผิดตามฟ้อง