คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ไม่มีผลบังคับ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6437/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานเกินกำหนดตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ทำให้คำสั่งนั้นไม่มีผลบังคับ
พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 124 กำหนดให้พนักงานตรวจแรงงานต้องทำการสอบสวนและมีคำสั่ง ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำร้อง หากมีกรณีจำเป็นไม่อาจมีคำสั่งในกำหนดเวลาได้ก็ให้ขอขยายระยะเวลาต่ออธิบดีหรือผู้ที่อธิบดีมอบหมาย จำเลยเป็นพนักงานตรวจแรงงานได้รับคำร้องของ ส. กับพวกเมื่อวันที่ 5 ก.พ. 2544 แต่มีคำสั่ง เมื่อวันที่ 19 ต.ค. 2544 ซึ่งเกินกว่า 60 วันโดยไม่ได้ขอขยายระยะเวลาตามกฎหมายคำสั่งของจำเลยจึง ไม่มีผลบังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2846/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: การแก้ไขสัญญาหลังลาออกไม่มีผลบังคับ
โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานแก้ไขสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นว่าจำเลยรับโจทก์เข้าทำงานในตำแหน่งพนักงานสโตร์อะไหล่ตามที่โจทก์ จำเลยตกลงกันในห้องพิจารณา ศาลแรงงานมีคำสั่งยกคำร้อง ข้อเท็จจริงเป็นอันยุติว่าจำเลยรับโจทก์เข้าทำงานในตำแหน่งพนักงานสโตร์ตาม สัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว แต่ภายหลังจากที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้แก้ไขสัญญาประนีประนอมยอมความต่อศาลแรงงาน โจทก์ก็ไม่ได้ทำงานกับ จำเลยเพราะโจทก์ลาออกไปแล้ว เท่ากับว่าโจทก์มิได้เป็นลูกจ้างของจำเลย อีกต่อไป ปัญหาเรื่องการแก้ไขสัญญาประนีประนอมยอมความตามคำร้อง ของโจทก์เพื่อให้ได้ความว่าจำเลยรับโจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างไม่ว่า ในตำแหน่งใดย่อมไม่เป็นประโยชน์ที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยต่อไป อุทธรณ์ ของโจทก์ที่ขอให้แก้ไขสัญญาประนีประนอมยอมความจึงไม่เป็นสาระ แก่คดี อันควรได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3149/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอายัดสิทธิเรียกร้องที่จำเลยไม่มีสิทธิเรียกร้องต่อผู้ร้อง ย่อมไม่มีผลบังคับ
โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้และยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอายัดเงินค่าก่อสร้างที่ผู้ร้องจะจ่ายให้แก่จำเลยที่ 1 ไว้ก่อนพิพากษาแต่จำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาผู้ร้องใช้สิทธิปรับตามสัญญาจ้างก่อสร้างซึ่งผู้ร้องมีสิทธิที่จะปรับได้ตั้งแต่เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดและยินยอมให้ผู้ร้องปรับโดยหักกลบลบหนี้กับค่าก่อสร้างตั้งแต่ก่อนที่จะมีหมายอายัดดังนั้น ในขณะที่มีการออกหมายอายัดและนับแต่นั้นต่อมาจำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องใดต่อผู้ร้องอันจะเป็นเหตุให้โจทก์ขออายัดและจัดการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 310,311 แม้ต่อมาผู้ร้องจะมีหนังสือแจ้งเจ้าพนักงานบังคับคดีว่ามีเงินจำนวนนั้นและจึงไม่มีสิทธิเรียกร้องใดต่อผู้ร้องอันจะเป็นเหตุให้โจทก์ขออายัดและตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 310(3),311 จะจัดส่งมาให้เมื่อได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลังและได้รับเงินจากกรมบัญชีกลางแล้ว ก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเดิมไม่มีสิทธิเรียกร้องใดต่อผู้ร้องกลับกลายมาเป็นผู้มีสิทธิเรียกร้อง หมายอายัดจึงไม่มีผลบังคับผู้ร้องศาลเพิกถอนหมายอายัดนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1338/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงเพิ่มค่าจ้างขัดมติคณะรัฐมนตรี ไม่มีผลบังคับ แม้จดทะเบียนตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์
โจทก์จำเลยทำข้อตกลงกันเป็นหนังสือมีความหมายว่า จำเลยตกลงเพิ่มค่าจ้างเงินเดือนให้พนักงานคนละ 2 ขั้น ผู้แทนของจำเลยจะนำข้อตกลงเสนอต่อคณะกรรมการของจำเลยต่อไป ดังนี้ การที่จำเลยนำสืบว่า ข้อตกลงมีเงื่อนไขว่าจำเลยจะปฏิบัติตามเมื่อได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้ว จึงมิใช่การแปลความหมายของข้อความในหนังสือข้อตกลง แต่เป็นการอ้างว่ายังมีข้อความอื่นเพิ่มเติมข้อความในหนังสือนั้นอยู่อีก ต้องห้ามมิให้นำสืบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจและโจทก์เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจที่ต้องอยู่ภายใต้บังคับของมติคณะรัฐมนตรี เมื่อคณะรัฐมนตรีได้มีมติห้ามไม่ให้รัฐวิสาหกิจใดปรับปรุงอัตราค่าจ้าง เงินเดือนเว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเป็นกรณีพิเศษ การที่โจทก์จำเลยตกลงกันปรับปรุงอัตราค่าจ้างและเงินเดือน โดยไม่ได้กำหนดให้ต้องได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีก่อน จึงเป็นการฝ่าฝืนมติของคณะรัฐมนตรี ไม่มีผลบังคับ และแม้ความตกลงดังกล่าวได้ดำเนินการตามขั้นตอนมาโดยชอบด้วยพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯก็ไม่เป็นเหตุให้กลับกลายเป็นข้อตกลงที่ใช้บังคับกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3540/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำเตือนพนักงานตรวจแรงงานไม่มีผลบังคับตามกฎหมาย นายจ้างมีสิทธิไม่ปฏิบัติตาม และไม่มีอำนาจฟ้องละเมิดต่อพนักงานตรวจแรงงาน
คำเตือนของพนักงานตรวจแรงงาน. เป็นเพียงความเห็นของพนักงานตรวจแรงงานเท่านั้น หามีผลบังคับไม่ หากนายจ้างเห็นว่าคำเตือนไม่ถูกต้องนายจ้างจะไม่ปฏิบัติตามก็ได้ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่าการที่นายจ้างไม่ปฏิบัติตามคำเตือนของพนักงานตรวจแรงงานเป็นความผิดและมีโทษ
นายจ้างไม่มีอำนาจฟ้องพนักงานตรวจแรงงานให้รับผิดฐานละเมิดต่อศาลแรงงานตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา8(5) ได้ เพราะมิใช่คดีอันเกิดแต่มูลละเมิดระหว่างนายจ้างและลูกจ้างสืบเนื่องจากข้อพิพาทแรงงานหรือเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2071/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอายัดสิทธิเรียกร้องที่จำเลยโอนให้ผู้อื่นก่อนมีคำสั่ง ศาลไม่มีอำนาจบังคับให้กรมอาชีวศึกษาจ่ายเงิน
ศาลสั่งอายัดสิทธิ์เรียกร้องของจำเลยก่อนมีคำพิพากษาตามคำร้องในกรณีฉุกเฉินของโจทก์ แต่ปรากฏว่าจำเลยได้โอนสิทธิ์เรียกร้องให้บุคคลอื่นไปก่อนแล้ว แม้ว่าเงินที่โจทก์ขอให้อายัดจะยังคงมีอยู่ที่บุคคลภายนอกผู้ได้รับคำสั่งอายัดก็ตาม คำสั่งอายัดนั้นไม่มีผลบังคับ เพราะโจทก์ไม่มีสิทธิ์ขอให้ศาลสั่งอายัดเงินดังกล่าว