คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ไม่มีผลย้อนหลัง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2074-2075/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขายที่ดินเพื่อประกอบกิจการ เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ แม้มีกฎหมายใหม่ไม่มีผลย้อนหลัง
โจทก์ทั้งสองเป็นสามีภริยากัน ที่ดินของโจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 รวมกันจำนวน 17 แปลง มีเนื้อที่ต่อเนื่องเป็นแปลงเดียวกัน มีการเทพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กเต็มพื้นที่ แม้ว่าโจทก์ทั้งสองจะใช้พื้นที่ส่วนหนึ่งในการปลูกบ้านเป็นที่อยู่อาศัย แต่ก็ได้ใช้ประกอบการค้าของบริษัททั้งของโจทก์เอง และบริษัทที่โจทก์ทั้งสองเป็นกรรมการบริษัทอยู่ด้วย โดยไม่ได้แบ่งแยกว่าส่วนใดใช้ประกอบกิจการหรือไม่ อีกทั้งยังให้บริษัท ก. เช่าที่ดินเกือบทั้งหมด ยกเว้นเพียงในส่วนที่เป็นที่ตั้งของบ้านและสำนักงานบริษัทของโจทก์ แม้จะมีที่ดินบางส่วนว่างอยู่ แต่ก็ถือว่าโจทก์ทั้งสองใช้ที่ดินทั้ง 17 แปลงในการประกอบกิจการทั้งหมดทุกแปลง เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2541 โจทก์ทั้งสองขายที่ดินทั้ง 17 แปลงพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่กรุงเทพมหานครจึงเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไรตามมาตรา 91/2 (6) ซึ่งตกอยู่ในบังคับที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 3 (5) แห่ง พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 244) พ.ศ.2534 ที่บังคับใช้อยู่ในขณะนั้น แม้ภายหลังจะมี พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 342) พ.ศ. 2541 ออกมาบังคับใช้แทนตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2542 กำหนดให้การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ขายมีไว้ในการประกอบกิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตาม มาตรา 91/2 (6) แห่ง ป.รัษฎากร มีแต่เฉพาะการขายของนิติบุคคลนั้น ก็เป็นเพียงกรณีที่รัฐประสงค์จะแก้ไขการจัดเก็บภาษีตามนโยบาย ไม่มีผลลบล้างบทบังคับใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับเดิมที่มีผลสมบูรณ์ในช่วงเวลาที่ผ่านมาแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4146/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือค้ำประกันต่อเนื่อง: ผลบังคับใช้แม้ทำหลังหนี้เดิมและไม่มีผลย้อนหลัง
หนังสือค้ำประกันจำเลยที่ 1 ที่จำเลยที่ 2 ทำไว้ต่อโจทก์เขียน พ.ศ. ผิดพลาด และนำแบบพิมพ์ของบริษัท ก. มาใช้ จำเลยที่ 2 จึงได้ทำหนังสือค้ำประกันฉบับพิพาทให้โจทก์ใหม่แทนหนังสือค้ำประกันฉบับเดิม แม้หนังสือค้ำประกันฉบับพิพาทจะทำขึ้นภายหลังวันที่จำเลยที่ 1 ทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้โจทก์ไว้และมิได้มีข้อความระบุว่าให้มีผลย้อนหลังไปถึงหนี้ที่จำเลยที่ 1 ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้โจทก์ไว้ก็ตาม แต่เมื่อเป็นผลสืบเนื่องต่อจากหนังสือค้ำประกันฉบับเดิมหนังสือค้ำประกันฉบับพิพาทจึงมีผลบังคับ
แม้คำฟ้องโจทก์จะบรรยายแต่เพียงว่า จำเลยที่ 2 ได้ทำหนังสือค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ตามสำเนาเอกสารหมาย จ.4 โดยมิได้บรรยายว่า จำเลยที่ 2 ทำหนังสือค้ำประกันตามเอกสารหมาย จ.4 ต่อเนื่องกับหนังสือค้ำประกันตามสำเนาเอกสารหมาย จ.10 ก็ตาม แต่การที่โจทก์นำสืบพยานบุคคลถึงหนังสือค้ำประกันตามสำเนาเอกสารหมาย จ.10 ก็เพื่อให้เกิดความชัดเจนว่ามูลเหตุที่จำเลยที่ 2 ต้องทำหนังสือค้ำประกันตามเอกสารหมาย จ.4ให้โจทก์มีความเป็นมาอย่างไร จึงไม่เป็นการสืบเพิ่มเติม ตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารและไม่เป็นการสืบนอกฟ้องนอกประเด็น การที่ศาลล่างทั้งสองรับฟังพยานบุคคลดังกล่าวจึงมิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 และ 142

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 895/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการบังคับใช้ พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า: ไม่มีผลย้อนหลัง แม้มีการแก้ไขเพิ่มเติม
พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า ฯ 2490 มุ่งหมายแก้ไขวิเคราะห์ศัพท์คำว่า "เคหะ" ใน พ.ร.บ.ปี พ.ศ. 2489 เท่านั้น แม้ในมาตรา 4 จะมีความว่าให้ใช้บังคับแก่บรรดาคดีแพ่งที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาลก็ดี ก็ต้องหมายความว่า ใช้บังคับแก่คดีซึ่งตกอยู่ในบังคับแห่ง พ.ร.บ.ปี พ.ศ. 2489 อันค้างพิจารณาอยู่ในศาลเท่านั้นเอง ถ้าคดีที่โจทก์ฟ้องและค้างพิจารณาอยู่ ไม่ตกอยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.ปี พ.ศ. 2489 ก็จะนำเอา พ.ร.บ. ปี พ.ศ. 2490 ย้อนหลังไปบังคับไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 895/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการใช้บังคับของ พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า: ไม่มีผลย้อนหลัง แม้มีการแก้ไขคำนิยาม 'เคหะ'
พระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯ 2490 มุ่งหมายแก้ไขวิเคราะห์ศัพท์คำว่า 'เคหะ' ในพระราชบัญญัติปี พ.ศ.2489 เท่านั้น แม้ในมาตรา 4 จะมีความว่าให้ใช้บังคับแก่บรรดาคดีแพ่งที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาลก็ดี ก็ต้องหมายความว่าใช้บังคับแก่คดีซึ่งตกอยู่ในบังคับแห่งพระราชบัญญัติปีพ.ศ.2489 อันค้างพิจารณาอยู่ในศาลเท่านั้นเอง ถ้าคดีที่โจทก์ฟ้องและค้างพิจารณาอยู่ ไม่ตกอยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติปี พ.ศ.2489 ก็จะนำเอาพระราชบัญญัติปี พ.ศ.2490 ย้อนหลังไปบังคับไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 476/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียภาษีศุลกากร: พิกัดอัตราใหม่ไม่มีผลย้อนหลัง ใบขนสินค้าถูกต้องแล้วเรียกเก็บเพิ่มไม่ได้
เมื่อผู้ส่งของออกนอกราชอาณาจักรได้ยื่นใบส่งสินค้าโดยถูกต้องและได้เสียค่าภาษีศุลกากรตามพิกัดอัตราในเวลาออกใบขนสินค้านั้นเสร็จแล้วหากเรือบรรทุกของยังไม่ได้ออกเดินทางได้มีการประกาศใช้พิกัดอัตราศุลกากรใหม่ พนักงานเจ้าหน้าที่หามีอำนาจที่จะเพิกถอนใบขนสินค้าที่ออกไปโดยครบถ้วนถูกต้องแล้วนั้นไม่ เมื่อใบขนสินค้ายังคงใช้ได้อยู่ พนักงานเจ้าหน้าที่ก็ไม่มีทางเรียกเก็บค่าภาษีใหม่ได้แต่ประการใด